อำเภอเมืองนราธิวาส
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เมืองนราธิวาส เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส
อำเภอเมืองนราธิวาส | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Narathiwat |
คำขวัญ: ทักษิณพระตำหนัก ถิ่นรักสันติธรรม บาติกล้ำเลอค่า นราทัศน์งามตา อ่าวมะนาวเพลินใจ พระใหญ่วัดเขากง ทรงคุณค่ามัสยิดกลาง | |
แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอเมืองนราธิวาส | |
พิกัด: 6°25′34″N 101°49′23″E / 6.42611°N 101.82306°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นราธิวาส |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 305.115 ตร.กม. (117.806 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 126,342 คน |
• ความหนาแน่น | 414.08 คน/ตร.กม. (1,072.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 96000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9601 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองนราธิวาส ถนนพิชิตบำรุง ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 96000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่เข้ามาทางปักษ์ใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้ว จึงเสด็จประทับ ณ เมืองสงขลา และได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ที่เคยขึ้นกับอยุธยามาก่อน ให้มาอ่อนน้อมดังเดิม โดยพระยาไทรบุรี และพระยาตรังกานูยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงรับสั่งให้ยกทัพไปเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2332 เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานตราตั้งให้แก่พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งในเป็นเมืองมนตรีขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยปกติสุขตลอดมา ครั้นเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย น้องชายพระยาหลวงสวัสดิภักดีผู้ช่วราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งอยู่ที่บ้านยามู
ในระหว่างนั้นพวกของซาเห็ดรัตนวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกับปล้นบ้านพระยาปัตตานี และบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านกะลาพอ แขวงเมืองสายบุรี นอกจากนั้นเมืองปัตตานีซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เที่ยวปล้นบ้านเรือนราษฎรจนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้ราบคาบได้ จึงแจ้งราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถียนจ๋อง) ออกมาปราบปราม และจัดนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี, เมืองหนองจิก, เมืองยะลา, เมืองรามันห์, เมืองระแงะ, เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีพระยาปัตตานี (ต่วนสุหลง), พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ), พระยายะลา (ต่วนบางกอก) และพระยาระแงะ (หนิเดะ) โดยเจ้าเมืองทั้ง 4 ได้สมคบคิดกันเป็นกบฏขึ้น จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรี และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ลงมาปราบ และพิจารณาเห็นว่า หนิบอสูชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่งแต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่งได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการต่อสู้ด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีนี้จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ สืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะมาตั้งใหม่ที่ตำบลตันหยงมัส
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า เพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครอง และตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง 7 ที่ยังทับซ้อนกันอยู่หลายแห่ง จึงได้วางระเบียบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่กาลสมัย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกบริเวณ 7 หัวเมืองออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลปัตตานี เพื่อสะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะมาตั้งที่บ้านมะนาลอ อำเภอบางนราต่อมาได้ยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในการปกครองได้แก่ อำเภอบางนรา, อำเภอตันหยงมัส, กิ่งอำเภอยะบะ, อำเภอสุไหงปาดี และกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ
ครั้นต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงศาสตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้าน และควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองนราธิวาส" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของคนดี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเป็นเปลี่ยนเป็น "จังหวัดนราธิวาส" จากนั้นเป็นต้นมา
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเมืองนราธิวาสมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบาเจาะ อำเภอไม้แก่น (จังหวัดปัตตานี) และอ่าวไทย
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอตากใบ อำเภอเจาะไอร้อง และอำเภอระแงะ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอยี่งอ
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเมืองนราธิวาสแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 63 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บางนาค | (Bang Nak) | - | |||||||
2. | ลำภู | (Lam Phu) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
3. | มะนังตายอ | (Manang Tayo) | 7 หมู่บ้าน | |||||||
4. | บางปอ | (Bang Po) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
5. | กะลุวอ | (Kaluwo) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
6. | กะลุวอเหนือ | (Kaluwo Nuea) | 13 หมู่บ้าน | |||||||
7. | โคกเคียน | (Khok Khian) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเมืองนราธิวาสประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองนราธิวาส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนาคทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำภู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำภูทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังตายอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะนังตายอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกะลุวอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเคียนทั้งตำบล
หน่วยกู้ภัย
แก้- สมาคมกู้ภัยนรา 01
- มูลนิธิเมตตาธรรมนราธิวาส