เทศบาลเมืองนราธิวาส

เทศบาลเมืองในจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย

เทศบาลเมืองนราธิวาส เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำบางนราริมฝั่งตะวันตก ซึ่งไหลออกสู่อ่าวไทยทางทิศเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศใต้ 1,141 กิโลเมตร มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบางนาคทั้งตำบล และมีประชากรในปี พ.ศ. 2565 จำนวน 42,007 คน[1]

เทศบาลเมืองนราธิวาส
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Narathiwat
แม่น้ำบางนรา ช่วงไหลผ่านเมืองนราธิวาส
แม่น้ำบางนรา ช่วงไหลผ่านเมืองนราธิวาส
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองนราธิวาส
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองนราน่าอยู่ สวยคู่ธรรมชาติ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ก้าวล้ำนำหน้าบริหาร ประชาบาลอยู่เย็น โดดเด่นการกีฬา การศึกษาเป็นเลิศ ลือเลื่องการค้าชายแดน
ทม.นราธิวาสตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส
ทม.นราธิวาส
ทม.นราธิวาส
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองนราธิวาส
ทม.นราธิวาสตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.นราธิวาส
ทม.นราธิวาส
ทม.นราธิวาส (ประเทศไทย)
พิกัด: 6°25′35″N 101°49′23″E / 6.4264°N 101.8231°E / 6.4264; 101.8231
ประเทศ ไทย
จังหวัดนราธิวาส
อำเภอเมืองนราธิวาส
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีไพซอล อาแว
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.5 ตร.กม. (2.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)[1]
 • ทั้งหมด42,007 คน
 • ความหนาแน่น5,563.73 คน/ตร.กม. (14,410.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04960102
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนพิชิตบำรุง ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส 96000
เว็บไซต์www.naracity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

เทศบาลเมืองนราธิวาสเดิมชื่อ "บางนรา" ลักษณะเป็นหมู่บ้านชายทะเล และเป็นท่าเรือสำคัญในแถบนี้ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479[2] และได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสใหม่ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2499[3]

ภูมิศาสตร์

แก้

เมืองนราธิวาสตั้งอยู่ติดทะเลด้านอ่าวไทย บนชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรมลายู สภาพโดยทั่วไปลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ มีแม่น้ำบางนราเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่านทางทิศตะวันออกของตัวเมือง นอกจากนี้ ยังมีแม่น้ำโคกเคียน และคลองยะกัง มีอาณาเขตโดยสังเขป ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดทะเลด้านอ่าวไทย
  • ทิศใต้ ติดกับตำบลลำภู
  • ทิศตะวันออก ติดแม่น้ำบางนรา และตำบลกะลุวอเหนือ
  • ทิศตะวันตก ติดกับตำบลโคกเคียน

ชุมชน

แก้

ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาสมีทั้งหมด 35 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนกาแลตาแป
  • ชุมชนกำปงปายง
  • ชุมชนท่าเรือ 2000
  • ชุมชนพนาสณฑ์
  • ชุมชนกาแลปาแย
  • ชุมชนจือปอ
  • ชุมชนบางนาค
  • ชุมชนพิทักษ์ลิขิต
  • ชุมชนกำปงตาโก๊ะ
  • ชุมชนชายทะเล
  • ชุมชนบือตง
  • ชุมชนมัดยามัน
  • ชุมชนกำปงบารู 1
  • ชุมชน ณ นคร
  • ชุมชนบูรณะ
  • ชุมชนเมาะสือแม
  • ชุมชนกำปงบารู 2
  • ชุมชนตลาดเก่า
  • ชุมชนประชาภิรมย์
  • ชุมชนยะกัง 1
  • ชุมชนกำปงบารู 3
  • ชุมชนโต๊ะกอดอร์
  • ชุมชนประชาร่วมใจ
  • ชุมชนยะกัง 2
  • ชุมชนรายอบือรากะ
  • ชุมชนร่วมอุทิศ
  • ชุมชนละม้ายอุทิศ
  • ชุมชนวัดบางนรา
  • ชุมชนสมัยอาณาจักร
  • ชุมชนหลังตลาดสด
  • ชุมชนอดุลตานนท์
  • ชุมชนฮูยงตันหยง
  • ชุมชน 912
  • ชุมชนกูแบบาเดาะ
  • ชุมชนตรอกช้างสมานฉันท์

การศึกษา

แก้
สถาบันการศึกษาสังกัดเทศบาล
สถาบันการศึกษาสังกัด สพท. นราธิวาส เขต 1
  • โรงเรียนอนุบาลนราธิวาส
  • โรงเรียนเมืองนราธิวาส

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2565 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองนราธิวาส". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ก): 824–827. 29 พฤศจิกายน 2479. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-15.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (63 ก): 934–938. 14 สิงหาคม 2499.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้