โรช วิภัติภูมิประเทศ
พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ (14 มิถุนายน พ.ศ. 2473 – 8 มกราคม พ.ศ. 2559) เป็นทหารเรือและนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
โรช วิภัติภูมิประเทศ | |
---|---|
โรช ปีที่ถ่าย พ.ศ. 2540 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2473 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 8 มกราคม พ.ศ. 2559 (85 ปี) |
พรรคการเมือง | พลังธรรม (2534–2537) นำไทย (2537–2539) ชาติพัฒนา (2539–2541) ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2559) |
คู่สมรส | ศรีบังอร วิภัติภูมิประเทศ |
ประวัติ
แก้พลเรือโท โรช เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2473 ที่โรงพยาบาลทหารเรือ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพลเรือจัตวา เรียง วิภัติภูมิประเทศ และนางบุญชุบ วิภัติภูมิประเทศ[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2496 และระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และยังมีศักดิ์เป็นลุงของนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย[2]
พลเรือโท โรช ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว รวมอายุได้ 85 ปี[3]
งานการเมือง
แก้พลเรือโท โรช เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 10 เขตบางกอกน้อย ตลิ่งชัน บางพลัด ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (2 สมัย) สังกัดพรรคพลังธรรม ต่อมาในรัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 1) เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม[4] (25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538) หลังจากนั้นได้เข้าร่วมงานกับ ศาสตราจารย์พิเศษ อำนวย วีรวรรณ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคนำไทย[5]
พลเรือโท โรช ได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย ก่อนเสียชีวิตเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[9]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อข่าว
- ↑ "'พล.ร.ท.โรช' อดีต รมต.ไทยรักไทย เสียชีวิต". ไทยรัฐ.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 56ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2538
- ↑ https://www.dailynews.co.th/politics/371925
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๓๐, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔