ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ นักพูดที่มีชื่อเสียง เจ้าของฉายา ต้นตำรับนักพูดเมืองไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร, และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รวม 5 สมัย

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข​
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม​ พ.ศ. 2538
(0 ปี 206 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการอาทิตย์ อุไรรัตน์
ก่อนหน้านายแพทย์ อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
ถัดไปธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
22 สิงหาคม พ.ศ. 2544 – 18 กันยายน พ.ศ. 2544
(0 ปี 27 วัน)
ถัดไปวิชิต ปลั่งศรีสกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(8 ปี 116 วัน)
ก่อนหน้าเดโช สวนานนท์
ถัดไปอาทิตย์ อุไรรัตน์
เขตเลือกตั้งเขต 3
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังใหม่
กิจประชาคม (2529-2531)
พลังธรรม (2531-2543)
ไทยรักไทย (2543-2550)
คู่สมรสมาลีรัตน์ มฤคพิทักษ์
อาชีพนักพูด
นักการเมือง

ประวัติ

แก้

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2487 ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นพี่ชายของ ประสาร มฤคพิทักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทวิทยาศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านการพูดและมนุษยสัมพันธ์ที่สถาบันเดล คาร์เนกี กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อศึกษาจบแล้วเดินทางกลับประเทศไทย ได้ก่อตั้งสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่ชุมชน เมื่อปี พ.ศ. 2515 ซึ่งถือได้ว่าเป็นสถาบันสอนการพูดแห่งแรก ๆ ของประเทศไทย และยังคงดำเนินกิจการจนถึงปัจจุบัน

การทำงาน

แก้

นักพูด

แก้

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เป็นที่รู้จักดีจากการเป็นนักพูด เป็นบุคคลแรกที่จัดการทอล์คโชว์ขึ้นในประเทศไทย เป็นวิทยากรอบรมการพูดและสร้างเสริมบุคลิกภาพ จนทำให้ได้รับการขนานนามว่า "ต้นตำรับนักพูดเมืองไทย"[1]

ปัจจุบัน เป็นพิธีกรดำเนินรายการ เก่ง3 ซึ่งเป็นรายการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองและเรื่องทั่วไปของบ้านเมือง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไททีวี ช่อง 2 ในเวลาประมาณ 21.00 น. ทุกคืนวันเสาร์

การเมือง

แก้

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังใหม่ ในปี พ.ศ. 2517[2] และเป็นกรรมการบริหารพรรคกิจประชาคม[3] เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ของพรรคพลังธรรม 4 สมัย นับตั้งแต่การเลือกตั้งปี พ.ศ. 2531 จนถึงปี พ.ศ. 2538

ภายหลังจากที่ไม่ได้รับเลือกตั้งใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ทินวัฒน์ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 72 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 โดยในระยะแรกไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่ง ภายหลังจาก ประยุทธ มหากิจศิริ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

นอกจากนี้ ทินวัฒน์เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[4] และประธานคณะธรรมาธิการการสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 3 สังกัดพรรคพลังธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 3 สังกัดพรรคพลังธรรม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 3 สังกัดพรรคพลังธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 3 สังกัดพรรคพลังธรรม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทน)

ข้อวิจารณ์

แก้

ระเบิดน้ำมันหมู

แก้

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 ในขณะนั้นเป็นช่วงสงครามอิรัก สหรัฐอเมริกาบุกโจมตีอิรักทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน ทินวัฒน์ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภาว่า ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ความรุนแรงสยบความรุนแรง การสั่งสอนชาวอัฟกันนั้นไม่ยาก ไม่ต้องใช้ขีปนาวุธ, ไม่ต้องใช้เอฟ-14, ไม่ต้องใช้โทมาฮอว์ก, ใช้แค่ระเบิดน้ำมันหมู หรือเครื่องบินพ่นน้ำมันหมูก็พอ และระบุด้วยว่า ได้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว

หลังการให้สัมภาษณ์ ได้เกิดความไม่พอใจจากบุคคลภายในพรรคไทยรักไทยและภายนอก โดยเฉพาะชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้กรรมการกลางอิสลามยื่นหนังสือถึงพันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เพื่อกดดันนายทินวัฒน์ให้ลาออกจาก สส. จนในวันที่ 18 กันยายน 2544 ทินวัฒน์ได้ประกาศลาออกจากการเป็น สส. ต่อที่ประชุมพรรค โดยกล่าวว่า

"ไม่คิดว่าหมูเป็นสถาบันที่เป็นศัตรูกับอิสลามผมเป็นคนโชคร้าย แต่มองโลกในแง่ดีมีอารมณ์ขัน คิดว่าสหรัฐฯ ไม่น่าจะใช้อาวุธ หรืออะไรที่มีต้นทุนสูงในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย มีคนกล่าวหาว่าผมไม่ระวังคำพูด ผมก็อาย เพราะผมเป็นอาจารย์สอนพูด และเป็นเสียเอง ก็ไม่ควรให้อภัยตนเอง ขอยืนยันว่าไม่มีเจตนาที่จะลบหลู่ศาสนาใด ผมถือโอกาสขออภัยต่อพี่น้องมุสลิมทั่วประเทศว่า ไม่มีเจตนาล่วงเกินต่อศาสนา เพียงแต่ต้องการลดความรุนแรงของโลก และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาก็ยังไม่ได้ส่ง เพราะหลังจากที่ผมพูดไปแล้วเห็นท่าไม่ดี มีคนวิจารณ์มาก จึงได้สั่งให้ลูกน้องเบรกไว้ก่อน"[5]

ทำให้ทินวัฒน์เป็น สส.ที่มีอายุการทำงานในสภาสั้นที่สุด เพียง 27 วันเท่านั้น

คำสังให้พิทักษ์ทรัพย์

แก้

ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีคำสั่งศาลล้มละลายกลาง โดยธนาคารกรุงเทพเป็นโจทย์ผู้ฟ้องร้อง สั่งให้ทินวัฒน์ และมาลีรัตน์ ภริยา เป็นบุคคลล้มละลาย และมีคำสังให้พิทักษ์ทรัพย์ในบริษัทของเจ้าตัว[6]


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติอาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2011-07-29.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคกิจประชาคม ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔ (เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร ภาพเครื่องหมาย ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และนโยบายของพรรค)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  5. "ปลาหมอตายเพราะปาก : รัฐมนตรีลาออกเพราะปากเสีย | OK NATION". www.oknation.net (ภาษาอังกฤษ).
  6. พูดไม่ออก! ศาลล้มละลายสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด"ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์" อดีตรัฐมนตรีและต้นตำรับนักพูดเมืองไทย จากมติชน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้