สาวิตต์ โพธิวิหค
สาวิตต์ โพธิวิหค กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร หลายสมัย
สาวิตต์ โพธิวิหค | |
---|---|
สาวิตต์ ในปี พ.ศ. 2553 | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
ประวัติ
แก้สาวิตต์ โพธิวิหค หรือที่รู้จักกันในนาม ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของพลอากาศเอกสวัสดิ์ และนางอุไร โพธิวิหค (คงพันธุ์) [2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันเอ็มไอที ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2510 จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน จนสำเร็จการศึกษาเป็นดุษฎีบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2516
การทำงาน
แก้สาวิตต์ โพธิวิหค เริ่มเข้าสู่งานการเมืองโดยการเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2519 เป็นเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (เกษม จาติกวณิช) ในปี พ.ศ. 2520 จากนั้นได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2535/2 เป็นครั้งแรก และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2535-2538[3] และปี พ.ศ. 2540-2543 รวมทั้งสิ้น 2 สมัย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ "ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค ซุปเปอร์แมนหรืออะไรกันแน่?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖