อดิศร เพียงเกษ

นักการเมืองชาวไทย

รองศาสตราจารย์พิเศษ อดิศร เพียงเกษ ม.ป.ช. ม.ว.ม.[2][3] (เกิด 6 กันยายน พ.ศ. 2495) ชื่อเล่น ตุ๊ อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (ประธานวิปรัฐบาล) อดีตข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตำแหน่งโฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)[4][5] อดีตประธานสถานีประชาชน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงเป็นประธานกรรมการมูลนิธิไกวแก้ว เพียงเกษ

อดิศร เพียงเกษ
อดิศร ใน พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
(0 ปี 144 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
ภูมิธรรม เวชยชัย
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าประชา มาลีนนท์
พงศกร เลาหวิเชียร
นิกร จำนง
พิเชษฐ สถิรชวาล
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี
ถัดไปสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 47 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
ก่อนหน้าเนวิน ชิดชอบ
ถัดไปรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
(2 ปี 26 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการสัมพันธ์ ทองสมัคร
ก่อนหน้าสมชัย วุฑฒิปรีชา
ถัดไปสฤต สันติเมทนีดล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
(0 ปี 344 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการยิ่งพันธ์ มนะสิการ
ก่อนหน้าอุดมศักดิ์ ทั่งทอง
ถัดไปพรเทพ เตชะไพบูลย์
ประธานคณะกรรมการประสานงาน
สภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2566 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
(0 ปี 160 วัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้านิโรธ สุนทรเลขา
ถัดไปวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 122 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กันยายน พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ราชอาณาจักรไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคอมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (2510 - 2515)
ประชาธิปัตย์ (2515 - 2524)
แรงงานประชาธิปไตย (2524 - 2530)
ชาติไทย (2530 - 2533)
มวลชน (2533 - 2535)
พลังธรรม (2535 - 2538)
ดำรงไทย (2538)
นำไทย (2538 - 2540)
ความหวังใหม่ (2540 - 2543)
ไทยรักไทย (2543 - 2550)
พลังประชาชน (2550 - 2551)
เพื่อไทย (2551 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสดร.เยาวนิตย์ เพียงเกษ[1]

ประวัติ

แก้

รองศาสตราจารย์พิเศษอดิศรเกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2495 ที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายทองปักษ์ เพียงเกษ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น[1] กับนางไกวแก้ว เพียงเกษ

การศึกษา

แก้

รองศาสตราจารย์พิเศษอดิศร เพียงเกษ จบการศึกษาระดับประถมปีที่ 1-2 ที่โรงเรียนหลักเมือง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม และย้ายไประดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ที่โรงเรียนบ้านขามเฒ่า (ขามเฒ่าผดุงศิลป์) ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย และระดับชั้นประถมปีที่ 5-7 ที่โรงเรียนมาตุภูมิอนุสรณ์ ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ที่ก่อตั้งโดยทองปักษ์ บิดาของเขา ใช้ศาลาวัดบ้านขามเฒ่า เป็นสถานที่เรียน จากนั้นจบการศึกษามัธยมต้น ที่โรงเรียนบำรุงไทย 1, โรงเรียนสงเคราะห์นิยมวิทยา, และโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น แล้วจบการศึกษามัธยมปลาย ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ รุ่น 10-12 (DSA84) เลขประจำตัวนักเรียน ท.ศ.11260

ในระดับอุดมศึกษา อดิศรสำเร็จนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนด้าน Oriental Studies ระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ประเทศพม่า, ปริญญาเอกด้านปรัชญาและด้านพุทธศาสนาจากมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย, ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.1) จากสถาบันพระปกเกล้า, ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

การเมือง

แก้

ขณะที่รศ.พิเศษอดิศรเป็นนักศึกษา เขาร่วมชุมนุมขับไล่พระถนอม เมื่อกลางเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2519 อันเป็นชนวนสำคัญของเหตุการณ์ 6 ตุลา หลังจากนั้นครอบครัวของเขาได้เข้าเป็นแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยพำนักอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และมีชื่อจัดตั้งว่า "สหายศรชัย" หรือ "สหายสอง"

รศ.พิเศษอดิศรเริ่มเข้าสู่การเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[6] กระทั่งได้รับการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น สังกัดพรรคมวลชน เมื่อปี พ.ศ. 2534 และต่อมา ย้ายไปสังกัดพรรคพลังธรรม และเข้ารับตำแหน่ง รองเลขาธิการให้กับพรรคนำไทย[7] ในที่สุดจึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ตัดสิทธิทางการเมืองของเขา เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[8]

รศ.พิเศษอดิศรเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมา 4 สมัย ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[9] เมื่อ พ.ศ. 2535 และเป็น ส.ส.สังกัดพรรคพลังธรรม ชนะการเลือกตั้งแบบยกทีมในเขต 1 จังหวัดขอนแก่น ในการเลือกตั้ง 35/2 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม[10] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (11 มีนาคม พ.ศ. 2548)[11] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2 สิงหาคม 2548)

ด้านภรรยา ดร.เยาวนิตย์ เพียงเกษ ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนและกองทุน[12]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 40[13] แต่การเลือกตั้งกล่าวเป็นโมฆะ

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 23[14] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 18[15] และได้รับการเลือกตั้ง[16] และต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งแต่งตั้งให้อดิศรเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล[17]

งานสื่อสารมวลชน

แก้
  • ผู้ดำเนินรายการวิทยุ “กุญแจเมืองไทย” (อดิศร เพียงเกษ, วิสา คัญทัพ และ ไพจิตร อักษรณรงค์) ทาง FM 105 MHz
  • ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “สร้างบ้านแปงเมือง” ทาง MVTV
  • ประธานสถานีประชาธิปไตย D-Station
  • ประธานสถานีประชาชน People Channel และผู้ดำเนินรายการ "คุยกับอดิศร"
  • ประธานที่ปรึกษาสถานีโทรทัศน์ทีวี 24 และวิทยากรประจำรายการ "ตรงไปตรงมา"
  • ผู้ก่อตั้งเพจ "ตรงไปตรงมาทีวี" และจัดรายการออนไลน์ผ่านเพจตรงไปตรงมาทีวี
  • ผู้ดำเนินรายการคลิปสั้น "ประเด็นร้อนกลอนผะหยา" ทางเพจ Voice Online

ผลงานเพลง

แก้

ขับร้อง

แก้
  • เพลงแคน
  • เพลงพิณ
  • ลำน้ำพอง

ประพันธ์เนื้อร้อง และขับร้อง

แก้
  • น่าอาย
  • มือถือสากปากถือศีล
  • สู้ทุกเมื่อเพื่อประชาธิปไตย
  • ตีนโตประชาธิปไตย

ประพันธ์เนื้อร้อง

แก้
  • ประชาธิปไตยของประชาชน (2552,วันชนะ เกิดดี) ขับร้อง)
  • ความไม่เป็นธรรม (2552, มุกข์ เมทินี ขับร้อง และ วันชนะ เกิดดี นำมาขับร้องใหม่ในปี พ.ศ. 2557)
  • คนธรรมดา (จตุพร พรหมพันธุ์ ขับร้อง)

ชีวิตส่วนตัว

แก้

รศ.พิเศษอดิศร เพียงเกษ สมรสกับ ดร.เยาวนิตย์ เพียงเกษ (สกุลเดิม: พินสำริด) ผู้มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายการะเกด" ปัจจุบันเป็นอาจารย์ ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

ในด้านงานอดิเรกรศ.พิเศษอดิศรมีความชอบแต่งกาพย์กลอนและเป่าแคน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 อดิศร เพียงเกษ
  2. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. รองศาสตราจารย์พิเศษประจำมหาวิทยาลัย
  4. "ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (83 ง): 11. 31 ตุลาคม 2019.
  5. ชวน เซ็นตั้ง 3 แกนนำเพื่อไทย ประยุทธ์-อดิศร-ภูมิธรรม นั่งทีมงานผู้นำฝ่ายค้านฯ
  6. ปากพารุ่ง? "เฉลิม-อดิศร" คู่บุญคู่กรรม - คมชัดลึก
  7. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคนำไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอน 56ง 13 กรกฎาคม 2538
  8. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  12. ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
  13. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  14. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  15. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  16. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (36 ก): 38. 20 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.
  17. "นายกฯ ตั้งวิปรัฐบาล "อดิศร เพียงเกษ" นั่งประธาน". ไทยพีบีเอส. 14 กันยายน 2023. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๘, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้