มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง

มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง (พม่า: ရန်ကုန် တက္ကသိုလ်; อังกฤษ: University of Yangon) เป็นมหาวิทยาลัย แห่งแรกของประเทศพม่า ก่อตั้งขึ้นในสมัยที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และเป็นรากฐานของการพัฒนาระดับอุดมศึกษาของพม่าภายใต้การบริหารของรัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษ[1] มหาวิทยาลัยย่างกุ้งมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองในสังคมพม่าตั้งแต่สมัยต่อต้านอาณานิคมของอังกฤษจนถึงการประท้วงครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2539[2]

มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ရန်ကုန် တက္ကသိုလ်
สัทอักษรสากล: [jàɴɡòʊɴ tɛʔkəθò]
University Scho 84.JPG
ชื่อเดิม
  • วิทยาลัยร่างกุ้ง (2421)
  • วิทยาลัยรัฐบาล (2449)
  • มหาวิทยาลัยวิทยาลัย (2463)
  • มหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ร่างกุ้ง (2507)
คติพจน์นตฺถิ สมํ วิชฺชา มิตฺตํ
(ไม่มีมิตรใดเสมอด้วยวิชาความรู้)
คติพจน์อังกฤษ
There's no friend like wisdom.
ประเภทPublic
สถาปนาพ.ศ. 2421
พระอธิการดร. โพ กาวน์
ปริญญาตรี2,000
บัณฑิตศึกษา3,000
ที่ตั้ง,
เครือข่ายเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
เว็บไซต์yufund.org
uy.edu.mm
อาคารของมหาวิทยาลัยที่ได้รับความเสียหายจาก สงครามโลกครั้งที่ 2.

ประวัติแก้ไข

 
หอธรรมมะ

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2421 ในชื่อวิทยาลัยร่างกุ้งโดยเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยกัลกัตตา โดยรัฐบาลอาณานิคมของอังกฤษในพม่า ต่อมาได้ขยายวิทยาเขตไปในเมืองมัณฑะเลย์ ในปี พ.ศ. 2468 วิทยาลัยฝึกหัดครูและ วิทยาแพทย์ศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2473 ทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นแหล่งต่อต้านรัฐบาลอาณานิคมอังกฤษไปทั่วทั้งพม่า เนื่องจากการประท้วงมักจะมีจุดเริ่มต้นจากนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง นักคิดและปัญญาชนในพม่าปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อการเมืองพม่า เช่น นายพลออง ซาน,พลเอกเน วิน,นายกรัฐมนตรีคนแรกอู นุ

ต่อมาการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2505 นายพลเน วิน ได้นำวิถีของพม่าสู่สังคมนิยม (Burmese Way to Socialism)มาเปลี่ยนแปลงระบอบเศรษฐกิจของพม่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งมองว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารความไม่เป็นธรรมจึงจัดการประท้วง ต่อต้านความอยุติธรรมของของสภาปฏิวัติในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 นักศึกษาได้จัดการประท้วงต่อต้านความอยุติธรรมของของสภาปฏิวัติ ในอาคารสหภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง กองทัพได้ตอบสนองโดยการจับกุมผู้นำนักศึกษา นักศึกษาออกมายืนนอกอาคาร ตะโกนคำขวัญ และเข้ายึดวิทยาเขต กองทัพได้เข้าล้อมมหาวิทยาลัยและโยนแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชน ในตอนเย็นเวลาประมาณ 17.30 น. รถบรรทุกทหาร 2 คัน ได้มาถึงและยิงปืนไรเฟิลเข้าใส่ฝูงชน โดยยิง 3 นาที สลับกับการพัก 2 นาที ในเวลานั้น อองจีและตินเปเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง และเส่ง วินเป็นผู้บัญชาการภาคสนาม ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นคนสั่งยิง หลังจากนั้นไม่นาน เน วินได้กล่าวสุนทรพจน์ทางวิทยุ สรุปสถานการณ์ กองทัพประกาศว่านักศึกษาเสียชีวิต 17 คน อาคารสหภาพนักศึกษาถูกระเบิดทิ้งเมื่อ 6.00 น.ของวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2505[3][4][5]

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้งมีบทบาทในการประท้วงในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2539 ทางมหาวิทยาลัยได้พิจารณาการหยุดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี (เต็มเวลา) ไปหลังจากมีการประท้วงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงจากงานวิจัยในสายกฎหมาย และด้านประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่สำคัญในการต้อนรับผู้นำที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อองซานซูจี ฮิลลารี คลินตัน และ บารัค โอบามา เป็นต้น [6]

สาขาวิชาที่เปิดสอนแก้ไข

แบ่งออกเป็น 14 แผนก/ภาควิชา[7]

  • มนุษยวิทยา (Anthropology)
  • โบราณคดี (Archaeology)
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
  • ภาษาอังกฤษ (English)
  • ภูมิศาสตร์ (Geography)
  • ประวัติศาสตร์ (History)
  • เคมีอุตสาหกรรม (Industrial Chemistry)
  • นิติศาสตร์ (Law)
  • ห้องสมุด (Library)
  • พม่าศึกษา (Myanmar)
  • ตะวันออกศึกษา (Oriental Studies)
  • ปรัชญา (Philosophy)
  • ฟิสิกซ์ (Physics)
  • ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย (URC)

อ้างอิงแก้ไข

  1. James, Helen (2005). Governance And Civil Society In Myanmar: Education, Health, and Environment. Routledge. ISBN 0-415-35558-3.
  2. Ko Yin Aung (23 December 1999). "Prospects of education in Myanmar". The New Light of Myanmar.
  3. "Activists Detained Ahead of July 7 Anniversary | The Irrawaddy Magazine". Irrawaddy.org. สืบค้นเมื่อ 2014-01-20.
  4. Boudreau, Vincent (2004) Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia Cambridge University Press, Cambridge, U.K., pp. 37-39, 50-51 เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ISBN 0-521-83989-0
  5. Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps. New York: Farrar, Straus and Giroux. ISBN 0-374-16342-1.
  6. https://blog.eduzones.com/tonsungsook/111020[ลิงก์เสีย]
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-17. สืบค้นเมื่อ 2016-02-15.