โบโชะ อองซาน (พม่า: ဗိုလ်ချုပ် အောင်ဆန်း, เอ็มแอลซีทีเอส: aung hcan:, ออกเสียง: [àʊɰ̃ sʰáɰ̃]; 13 กุมภาพันธ์ 1915 – 19 กรกฎาคม 1947) เป็นนักการเมือง, นักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช และนักปฏิวัติชาวพม่า ผู้ก่อตั้งกองทัพพม่า และได้รับการขนานให้เป็นบิดาแห่งรัฐพม่าสมัยใหม่ เขามีบทบาทมากในการได้รับเอกราชของพม่า แต่ถูกลอบสังหารราวหกเดือนก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราช

พลตรี
อองซาน
အောင်ဆန်း
ผู้นำคนที่ 5 แห่งพม่าของบริเตน
รองประธานคณะผู้บริหารระดับสูงของพม่า
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน ค.ศ. 1946 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
ก่อนหน้า Sir Paw Tun
ถัดไป อู้นุ (เป็นนายกรัฐมนตรี)
ประธานสันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
ดำรงตำแหน่ง
27 มีนาคม ค.ศ. 1945 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
ก่อนหน้า ไม่มี
ถัดไป อู้นุ
รัฐมนตรีว่าการสงครามแห่งพม่า
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1945
ก่อนหน้า ไม่มี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด Htein Lin
13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915(1915-02-13)
นะเมาะ, ภาคมะกเว, ประเทศพม่าของบริเตน
เสียชีวิต 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1947(1947-07-19) (32 ปี)
ย่างกุ้ง, ประเทศพม่าของบริเตน
สาเหตุการเสียชีวิต ถูกลอบสังหาร
ที่ไว้ศพ Martyrs' Mausoleum, ประเทศพม่า
เชื้อชาติ พม่า
พรรค สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า
บิดา U Pha
มารดา Daw Suu
คู่สมรส Khin Kyi (สมรส ค.ศ. 1942)
ญาติ Ba Win (พี่/น้องชาย)
Aung Than (พี่/น้องชาย)
Sein Win (หลานชาย)
Alexander Aris (หลานชาย)
บุตร Aung San Oo
Aung San Lin
อองซานซูจี
Aung San Chit
ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
อาชีพ นักการเมือง, พลตรี
ลายมือชื่อ Aung San Signature.svg
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ Burma National Army
สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์
พรรคคอมมิวนิสต์พม่า
ยศ พลตรี

อองซานทั้งก่อตั้งและมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับกลุ่มและขบวนการทางการเมือง และเข้าใช้ชีวิตไปกับการศึกษาแนวคิดทางการเมืองต่าง ๆ ตลอด เขาเป็นผู้นิยมการต่อต้านลัทธิจักรวรรดิ และเมื่อเป็นนักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์และสังคมนิยม ต่อมาได้ศึกษาเกี่ยวกับวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่นเมื่อครั้งเป็นสมาชิกของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการระดับสูงของสภานักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน และเป็นบรรณาธิการประจำหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย อองซานเข้าร่วมสมาคมทะขิ่นในปี 1938 ในตำแหน่งเลขาธิการ และต่อมาได้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และพรรคสังคมนิยมพม่า

ชีวิตช่วงต้นแก้ไข

อองซานเกิดที่เมืองเล็ก ๆ ชื่อนะเมาะในภาคมะกเว เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1915 ในครอบครัวชนชั้นกลาง[1] เข้ามีพี่น้องรวมตัวเอง 9 คน โดยเป็นคนสุดท้อง ในจำนวนนี้เป็นพี่สาวสามคน และพี่ชายห้าคน[2] ชื่อ "อองซาน" นั้นตั้งโดยพี่ชายคนหนึ่งของเขา Aung Than อองซานเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนพุทธของสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งใน นะเมาะ แต่ต่อมาได้ย้ายไปเยนานช่อง ตอนอยู่ประถมสี่ หลังพี่ชายคนโตสุด Ba Win ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมที่เมืองนั้น[3]

เมื่อเป็นวัยรุ่น อองซานมักอ่านหนังสือและครุ่นคิดกับตัวเองอยู่คนเดียวเป็นเวลาหลายชั่วโมง ในบทความชิ้นแรกสุดที่เขาได้เขียน ซึ่งตีพิมพ์ในส่วน "ความเห็น" ของ The World of Books เขาต่อต้านแนวคิดปัจเจกนิยมของตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอู้ตั่น แต่ต่อมาอองซานและอู้ตั่นก็เป็นเพื่อนกัน[4]

การปฏิวัติตะคีนแก้ไข

ในเดือนตุลาคม ปี 1938 อองซานออกจากการศึกษานิติศาสตร์และเข้าสู่เวทีการเมืองระดับชาติ ในเวลานี้เขามีจุดยืนต่อต้านอังกฤษและต่อต้านลัทธิจักรวรรดิอย่างมั่นคง เขาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ สมาคมทะขิ่น และเป็นเลขานุการของสมาคมจนถึงเดือนสิงหาคม 1940 ขณะดำรงตำแหน่ง เขาได้มีส่วนช่วยจัดการชุดการนัดประท้วงหยุดงานซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อการปฏิวัติ ME 1300 ซึ่งตั้งตามปฏิทินพม่า 1300 ตรงกับเดือนสิงหาคม 1938 ถึงกรกฎาคม 1939[5]

ในวันที่ 18 มกราคม 1939 สมาคมเราชาวพม่าประกาศเจตจำนงที่จะใช้กำลังเพื่อล้มรัฐบาล ส่งผลให้ประชาคมถูกเพ่งเล็งและกำจัดโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ในวันที่ 23 มกราคม ตำรวจบุกเข้าสำนักงานของสมาคมที่เจดีย์ชเวดากอง และอองซานถูกจับกุมและคุมขังในคุกเป็นเวลา 15 วัน ฐานอั้งยี่และสมรู้ร่วมคิดล้มล้างรัฐบาล แต่ต่อมาได้ถูกเพิกถอนข้อกล่าวหา[6] หลังเขาถูกปล่อยตัว เขาได้วางแผนการเพื่อขับเคลื่อนการได้รับเอกราชของพม่าโดยการเตรียมจัดการนัดประท้วงหยุดงานใหญ่ทั่วประเทศ, การรณรงค์ไม่จ่ายภาษี และจัดความไม่สงบผ่านการรบแบบกองโจร[7]

มนเดือนสิงหาคม 1939 อองซานร่วมก่อตั้งและเป็นเลขาธิการประจำพรรคคอมมิวนิสต์พม่า ที่ซึ่งในภายหลังเขายอมรับว่าความสัมพันธ์กับพรรคไม่ค่อยราบรื่นนัก เขาเข้าร่วมและลาออกจากพรรคถึงสองครั้ง ไม่นานหลังตั้งพรรค เขาได้ตั้งองค์กรคล้ายคลึงขึ้นอีก คือ "พรรคประชาปฏิวัติ" (People's Revolutionary Party) หรืออีกชื่อคือ "พรรคปฏิวัติพม่า" (Burma Revolutionary Party) ซึ่งมีจุดยืนมาร์กซิสต์ มีเป้าหมายเพื่อล้มล้างการปกครองของอังกฤษเหนือพม่า ต่อมาพรรคนี้กลายเป็นพรรคสังคมนิยมพม่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[8]

นับตั้งแต่เป็นนักเรียนจนถึงสมัยทำงานทางการเมือง อองซานแทบไม่ได้รับค่าตอบแทนมากนัก เขาจึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในช่วงนี้อยู่ในความยากจน สมาชิกและผู้ร่วมงานกับเขาชื่นชมเขามากในฐานะบุคคลที่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมและจรรยาบรรณการทำงานที่แข็งแกร่ง แต่บางครั้งเขาก็ถูกวิจารณ์ว่าขาดทักษะการประชาสัมพันธ์ และบ้างถึงกับว่าเขาเป็นคนหยิ่งยโส ตลอดช่วงนี้เขาปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์และไม่เคยมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว[9]

สงครามโลกครั้งที่สองแก้ไข

หลังสงครามโลกครั้งที่สองปะทุในเดือนกันยายน 1939 อองซานมีส่วนร่วมก่อตั้งองค์การชาตินิยมอีกแห่ง คือ กลุ่มเสรีภาพ ซึ่งเชื่อมการทำงานของตะคีน, สหพันธ์นักเรียนนักศึกษาพม่า, พระสงฆ์ที่มีความตื่นตัวทางการเมือง และพรรคยาจกของ ดร. Ba Maw[10] โดยมี Ba Maw เป็น anarshin ("เผด็จการ") ของฟรีดอมบล็อก ส่วนอองซานเป็นเลาธิการของกลุ่ม กิจกรรมและเป้าหมายของกลุ่มมีใจกลางอยู่ที่แนวคิดการใช้ประโยชน์จากสงครามเพื่อให้พม่าได้รับเอกราช[11] ซึ่งนำเอาแบบอย่างในการดำเนินการมาจาก "กลุ่มก้าวหน้า" ของอินเดีย ซึ่งนำโดยจันทระ โพส ผู้ที่มีการติดต่อเสมอ ๆ กับ Ba Maw[12] ในปี 1939 ถูกจับกุมฐานล้มรัฐบาล แต่ต่อมาก็ถูกปล่อยตัว[13] หลังเพียงสิบเจ็ดวัน[14]

ในเดือนมีนาคม 1940 เขาเข้าร่วมการประชุมของคองเกรสแห่งชาติอินเดีย ที่รามคฤห์ในประเทศอินเดีย[15] พร้อมทั้งสมาชิกตะคีน เช่น Than Tun และ Ba Hein ระหว่างนั้น อองซานได้พบกับผู้นำขบวนการเอกราชอินเดียจำนวนมาก เช่น ชวาหะร์ลาล เนห์รู, มหาตมะ คานธี และ สุภาษ จันทระ โพส[16]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองแก้ไข

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สมาชิกของกองทัพพม่าที่ตั้งขึ้นเองบางส่วนได้รับข้อเสนอรับตำแหน่งในกองทัพแห่งชาติของพม่าถายใต้บังคับการของอังกฤษ ข้อตกลงมีขึ้นที่ซีลอนโดยลอร์ดหลุยส์ เมาท์แบตเติน เมื่อกันยายน 1945 อองซานไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมการตกลงนี้เพราะเขากำลังตกเป็นประเด็นถกเถียงว่าเขาควรถูกนำเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมหรือไม่ จากบทบาทของเขาในการประหารชีวิตผู้นำมุสลิมใน สะเทิม ระหว่างสงคราม[17]

การลอบสังหารแก้ไข

ในช่วงปีท้าย ๆ ของพม่าภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร อองซานได้ผูกมิตรกับผู้ว่าการพม่า เรจินัลด์ ดอร์มัน-สมิธ ในปี 1946 ราวหนึ่งปีก่อนเขาถูกลอบสังหาร อองซานเคยกล่าวว่าเขารู้สึกกลัวว่าตนเองอาจถูกลอบสังหาร[18]

เวลาราว 10:30 นาฬิกา ของวันที่ 19 กรกฎาคม 1947 รถจีปของกองทัพคันหนึ่งพร้อมกลุ่มชายติดอาวุธขับเข้ามาในสวนของอาคารรัฐมนตรี ขณะอองซานกำลังมีประชุมกับสมาชิกรัฐบาลชุดใหม่ อาคารนี้ไม่มีกำแพงหรือรั้วล้อมในเวลานั้น[19] และถึงแม้จะมีคนเตือนแล้วว่าอองซานกำลังถูกวางแผนฆาตกรรม[20] ยามรักษาประตูเข้าออกของอาคารก็ไม่มีทีท่าจะกังวลกับชายติดอาวุธกลุ่มนี้ที่เข้ามาในอาคาร[19] ชายสี่คนลงจากรถพร้อมปืนปืนกลมือทอมป์สันสามลำ และ สเตนหนึ่งลำ[21] พร้อมระเบิด วิ่งขึ้นบนบันไดเข้าไปยังโถงประชุม ยิงยามรักษาประตูด้านนอกห้อง และบุกเข้าไปในโถงประชุม[19] มือปืนตะโกนว่า "อยู่กับที่! อย่าขยับ!"[20] อองซานลุกขึ้นและถูกยิงเข้าที่อก เสียชีวิตโดยทันที และมีสมาชิกสภาอีกสี่คนที่ถูกกราดยิง สามคนได้รับบาดเจ็บ และสามคนเท่านั้นที่รอดชีวิต[19]

ยู ซอว์ อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าก่อนสงครามโลกครั้งที่สองคนสุดท้าย ถูกจับกุมฐานก่อการฆาตกรรมในวันเดียวกัน[22] ต่อมา ยู ซอว์ถูกตัดสินกระทำผิดจริงและประหารชีวิตโดยการแขวนคอ อย่างไรก็ตามมีการถกเถียงถึงกลุ่มหรือพรรคอื่น ๆ ที่มีส่วนร่วมในการก่อการลอบสังหารอองซานในครั้งนี้ บางส่วนเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของอังกฤษเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง[23]

มรดกแก้ไข

สุสานผู้พลีชีพสร้างขึ้นที่ฐานของเจดีย์ชเวดากองในปี 1947 และวันที่ 19 กรกฎาคม วันที่อองซานถูกลอบสังหาร ได้รับการประกาศเป็นวันผู้เสียสละแห่งพม่า วันหยุดทางการของรัฐบาลพม่า[24][25] สุสานของอองซานหลังเดิมถูกทำลายจากเหตุระเบิดเมื่อ 9 ตุลาคม 1983 ในระหว่างความพยายามลอบสังหารประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ช็อน ดู-ฮวัน โดยเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือ[25][26] ไม่กี่เดือนหลังอองซานเสียชีวิต พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในวันที่ 4 มกราคม 1948 แต่ต่อมาในเดือนสิงหาคม 1948 ได้เกิดความขัดแย้งภายในพม่าระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งยังคงดำเนินมาถึงปัจจุบัน[27][28]

ธนบัตรจัต พม่าตีพิมพ์ภาพของอองซานบนธนบัตรครั้งแรกในปี 1958 ราวสิบปีหลังเขาถูกฆาตกรรม หน้าของเขาปรากฏบนธนบัตรพม่าจนกระทั่งพม่าถูกระฐประหารโดยกองทัพ ตั้งแต่ปี 1988 เป็นต้นมา รูปของอองซานถูกแทนที่ด้วยภาพวิถีชีวิตพม่า เป็นไปได้ว่าเพื่อลดความนิยมของลูกสาวของอองซาน อองซานซูจี ซึ่งกำลังมีบทบาททางการเมืองต่อต้านการรัฐประหารและเผด็จการในเวลานั้น ในปี 2017 สมัชชาแห่งสหภาพลงคะแนนเสียง 286 ต่อ 107 เพื่อนำภาพของอองซานกลับมา โดยมีธนบัตร 1,000 จัต ที่มีภาพของอองซานออกสู่สาธารณะอีกครั้งเมื่อ 4 มกราคม 2020 วันครบรอบการได้รับเอกราช[29]

ครอบครัวแก้ไข

ขณะอองซานดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการรบในปี 1942 เขาพบและสมรสกับ Khin Kyi ทั้งคู่มีลูกด้วยกันสี่คน หลังอองซานถูกสังหาร ภรรยาหม้ายของเขาได้รับแต่งตั้งเป็นทูตพม่าประจำอินเดีย และจากนั้นครอบครัวก็ย้ายออกจากพม่า[30] ลูกคนที่อายุน้อยที่สุดที่มีชีวิตรอดคือ อองซานซูจี ขณะเกิดเหตุลอบสังหารอองซาน เธออายุเพียงสองขวบเท่านั้น[31] ต่อมาอองซานซูจีได้ก้าวเข้าสู่การเมืองพม่าและเป็นบุคคลสำคัญในการเมืองพม่าจนกระทั่งเธอถูกรัฐประหารในปี 2021

อ้างอิงแก้ไข

  1. Thant 213
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Nay 99
  3. Nay 106
  4. Thant 214
  5. Naw 41-43
  6. Naw 44
  7. Smith 58
  8. Smith 56-57
  9. Naw 45-48
  10. Lintner 1990
  11. Thant 217
  12. Naw 49
  13. Smith 58
  14. Lintner 2003 41
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ as
  16. Thant 228
  17. Smith 65-66
  18. Thant 248
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Thant254
  20. 20.0 20.1 Lintner 2003 xii
  21. "Who Killed Aung San?". The Irrawaddy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-07-17. สืบค้นเมื่อ 2021-05-11.
  22. Lintner 2003 xiii
  23. Smith 71-72
  24. Ye Mon and Myat Nyein Aye
  25. 25.0 25.1 BBC News
  26. Thant 293
  27. Thant 258-259
  28. Lintner 2003 203
  29. Zaw
  30. Rogers 27
  31. Thant 333

บรรณานุกรมแก้ไข