นิกร จำนง ม.ป.ช. ม.ว.ม. จ.ภ. ประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวราวุธ ศิลปอาชา) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[1] ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา สังกัดพรรคชาติไทย

นิกร จำนง
นิกรในปี พ.ศ. 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
22 สิงหาคม พ.ศ. 2546 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาชน (2531–2532)
ชาติไทย (2532–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2553–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสุวิมล จำนง

ประวัติ

แก้

นิกร จำนง เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ที่ตำบลจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เป็นบุตรของนายชูชาติ กับนางแฉล้ม จำนง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท สาขาการบริหารภาครัฐ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐทาร์ลตัน[2] ประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน

แก้

นิกร จำนง เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา ใน พ.ศ. 2531 และ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ต่อมาได้หันมาลงสมัครในแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทย[3] ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2533[4] และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2545[5] ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการพรรค[6]

ต่อมาเมื่อพรรคชาติไทย ถูกตัดสินยุบพรรค ในปี พ.ศ. 2551 นายนิกร จำนง ในฐานะคณะกรรมการบริหารพรรคจึงถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[7] กระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2553 เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 4[8] แต่การเลือกตั้งครั้งนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้เป็นโมฆะ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 3[9] และได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น

นิกร จำนง ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความปลอดภัยทางถนน[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. ประวัติ นิกร จำนง
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-13.
  6. ""หมอเปรม"รุกหนัก-ฝันนั่งเก้าอี้รองประธานสภาฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21.
  7. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติไทยพัฒนา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2014-01-22.
  9. เปิด 67 รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ชาติไทยพัฒนา ‘วราวุธ ศิลปอาชา’ ขึ้นเบอร์ 1
  10. ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐