พงศกร เลาหวิเชียร
พงศกร เลาหวิเชียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และอดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก
พงศกร เลาหวิเชียร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2483 เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร |
เสียชีวิต | 15 มกราคม พ.ศ. 2554 (70 ปี) กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | พรผจง เลาหวิเชียร |
ประวัติ
แก้พงศกร เลาหวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2483 ที่เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร[1] สมรสกับ รองศาสตราจารย์ พรผจง เลาหวิเชียร (สกุลเดิม: กมลเชษฐ์) มีบุตร 2 คน
พงศกร เลาหวิเชียร จบการศึกษาปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 และปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโกไฮแลนด์ ในปี พ.ศ. 2511 นอกจากนั้นยังผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 3
การทำงาน
แก้พงศกร เลาหวิเชียร เริ่มเข้ารับราชการประจำแผนกกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2506 เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการขนส่งทางบก จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2542
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18 ของพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ต่อมาในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้นายพงศกร เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ "พงศกร เลาหวิเชียร" ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑