เขตสัมพันธวงศ์
สัมพันธวงศ์ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่มีขนาดพื้นที่เล็กและมีจำนวนประชากรน้อยที่สุด สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
เขตสัมพันธวงศ์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Khet Samphanthawong |
บรรยากาศของเยาวราชยามค่ำคืน | |
คำขวัญ: พระทองคำล้ำค่า ซุ้มประตูจีนงามตา แหล่งการค้าทองคำ สืบสานวัฒนธรรมไทย–จีน เที่ยวชิมสตรีตฟู้ดเยาวราช สำเพ็งตลาดเก่า ศาลเจ้าศักดิ์สิทธิ์[1] | |
แผนที่กรุงเทพมหานคร เน้นเขตสัมพันธวงศ์ | |
พิกัด: 13°43′53″N 100°30′51″E / 13.73139°N 100.51417°E | |
ประเทศ | ไทย |
เขตปกครองพิเศษ | กรุงเทพมหานคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1.416 ตร.กม. (0.547 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 19,546[2] คน |
• ความหนาแน่น | 13,803.67 คน/ตร.กม. (35,751.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10100 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1013 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 37 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 |
เว็บไซต์ | www |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตสัมพันธวงศ์ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางรักและเขตปทุมวัน มีคลองผดุงกรุงเกษม เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
แก้เขตนี้เป็นสถานที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พวกเขาได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน โดยมีถนนวานิช 1 หรือ "ถนนสำเพ็ง" เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางชาวจีนจนถึงปัจจุบัน
อำเภอสัมพันธวงศ์ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนทรงวาดตัดกับถนนปทุมคงคา ตำบลศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งอยู่ในเขตวัดสัมพันธวงศาราม จึงสันนิษฐานได้ว่าอำเภอสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายไปตั้งที่ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล
ต่อมาได้มีการยุบรวม "อำเภอสามแยก" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตึกแถวสี่แยกถนนทรงวาดกับถนนเยาวราช มีเขตปกครอง 6 ตำบล และ "อำเภอจักรวรรดิ" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ข้างสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ มีเขตปกครอง 18 ตำบล มาขึ้นกับอำเภอสัมพันธวงศ์ แล้วแบ่งเขตปกครองใหม่ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสัมพันธวงศ์ ตำบลจักรวรรดิ และตำบลตลาดน้อย
ต่อมาใน พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดการบริหารราชการใหม่ในเขตนครหลวง อำเภอสัมพันธวงศ์ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตสัมพันธวงศ์ แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้เขตสัมพันธวงศ์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่
หมาย เลข |
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2566) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2566) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|
1. |
จักรวรรดิ | Chakkrawat | 0.484 |
5,886 |
12,161.16 |
|
2. |
สัมพันธวงศ์ | Samphanthawong | 0.483 |
7,324 |
15,163.56
| |
3. |
ตลาดน้อย | Talat Noi | 0.449 |
6,336 |
14,111.36
| |
ทั้งหมด | 1.416 |
19,546 |
13,803.67
|
ประชากร
แก้สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสัมพันธวงศ์[3] | ||
---|---|---|
ปี (พ.ศ.) | ประชากร | การเพิ่มและการลด |
2535 | 43,387 | ไม่ทราบ |
2536 | 43,220 | -167 |
2537 | 42,126 | -1,094 |
2538 | 40,412 | -1,714 |
2539 | 39,585 | -827 |
2540 | 38,984 | -601 |
2541 | 38,628 | -356 |
2542 | 37,593 | -1,035 |
2543 | 36,925 | -668 |
2544 | 36,899 | -26 |
2545 | 36,127 | -772 |
2546 | 35,547 | -580 |
2547 | 32,223 | -3,324 |
2548 | 31,674 | -549 |
2549 | 31,142 | -532 |
2550 | 30,646 | -496 |
2551 | 30,088 | -558 |
2552 | 29,283 | -805 |
2553 | 28,617 | -666 |
2554 | 28,001 | -616 |
2555 | 27,426 | -575 |
2556 | 26,932 | -494 |
2557 | 26,359 | -573 |
2558 | 25,694 | -665 |
2559 | 24,785 | -909 |
2560 | 24,150 | -635 |
2561 | 23,655 | -495 |
2562 | 22,463 | -1,192 |
2563 | 21,324 | -1,139 |
2564 | 20,777 | -547 |
2565 | 20,168 | -609 |
2566 | 19,546 | -622 |
การคมนาคม
แก้ทางสายสำคัญในเขตสัมพันธวงศ์ ได้แก่
|
สถานที่สำคัญ
แก้ถนนเยาวราช
แก้ถนนเยาวราช มีความยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร โดยเกือบตลอดถนนทั้งสายจะเต็มไปด้วยร้านขายทองและร้านอาหาร และเป็นชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยมากที่สุดในประเทศไทย
ในปัจจุบันมีประตูซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของไชนาทาวน์อยู่ ซึ่งได้สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ตั้งอยู่กลางวงเวียนโอเดียน สุดถนนเยาวราช
วัดและศาลเจ้า
แก้วัดและศาลเจ้าที่สำคัญ ได้แก่
|
สถานที่สำคัญอื่น ๆ
แก้
|
|
เทศกาล
แก้ในช่วงเทศกาล ถนนเยาวราชจะปิดทั้งสาย
อ้างอิง
แก้- ↑ สำนักงนเขตสัมพันธวงศ์. "วิสัยทัศ/คำขวัญ." [ออนไลน์.] เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkok.go.th/samphanthawong/page/sub/13300/วิสัยทัศ/คำขวัญ. [ม.ป.ป.]. สืบค้น 11 สิงหาคม 2562.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
- ↑ สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
- แผนที่เขตสัมพันธวงศ์ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ เขตสัมพันธวงศ์
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์