ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ (อักษรจีน:龍尾古廟; อังกฤษ: Leng Buai Ia Shrine) เป็นศาลเจ้าของกลุ่มจีนแต้จิ๋ว ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เลขที่ 125 ภายในซอยเจริญกรุง 16 หรือตรอกอิสรานุภาพ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับซอยเยาวราช 6 ในฝั่งถนนเยาวราชได้[1]
ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ | |
---|---|
龍尾古廟 | |
ด้านหน้าศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะในปี พ.ศ. 2566 | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาชาวบ้านจีน |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
เทพ | เล่งบ๊วยเอี๊ยะ |
หน่วยงานกำกับดูแล | สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย |
ปีที่อุทิศ | พ.ศ. 2386 |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | 125 ซอยเจริญกรุง 16 แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ |
ประเทศ | ประเทศไทย |
สถาปัตยกรรม | |
ประเภท | สถาปัตยกรรมจีน |
รูปแบบ | โครงสร้างไม้รับน้ำหนักหลังคาแบบชาเหลียง |
ทิศทางด้านหน้า | ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ |
ศาลแห่งนี้สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 อ้างอิงจากจารึกปีก่อตั้งในระฆังของศาลเจ้าที่ระบุปีที่ 23 ของจักรพรรดิเต้ากวัง หรือ พ.ศ. 2386 ทั้งนี้ข้อมูลบางแหล่งมีการระบุป้ายภาษาจีนที่ระบุปีก่อตั้งตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่แน่ชัดของหลักฐานดังกล่าว[2] ภายในศาลมีแท่นบูชาเล่งบ๊วยเอี๊ยะ หรือเทพเจ้าหางมังกร[3] เป็นประธาน พร้อมกับภริยา ฝั่งช้ายมือตั้งแท่นบูชาเทพเจ้ากวนอูและฝั่งขวามือเป็นแท่นบูชาพระแม่สวรรค์ มีเสาเป็นรูปมังกรพัน ฝั่งขวาใกล้ประตู เป็นที่ตั้งระฆังโบราณที่สร้างมาแต่รัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวง แห่งราชวงศ์ชิง ตัวศาลเจ้าเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน เป็นอาคารหลังเดียว หลังคาใหญ่ปูด้วยกระเบื้องเคลือบสี มีมังกรสองตัวหันหน้าเข้าหากันอยู่ด้านบน[4][5]
นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ป้ายโบราณที่จารึกในรัชสมัยจักรพรรดิกวังซฺวี่ แห่งราชวงศ์ชิง รวมถึงป้ายจารึกในราชวงศ์หมิง รวมทั้งยังมีระฆังจารึกชื่อ เฉิน ไท จื้อ ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานที่ศาลเจ้านี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีกระถางธูปสังเค็ดพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เก็บไว้ด้วย
ชุมชนรอบศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ เป็นตลาดสด ซึ่งอยู่ตรงข้ามตลาดเก่าฝั่งถนนเยาวราช นับว่าเป็นตลาดอีกแห่งหนึ่งที่มีความคึกคักและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน รวมถึงยังได้รับความนิยมไปถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกด้วย[1] [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 หนุ่มลูกทุ่ง (2008-11-18). "ท่อง 3 ตลาดเก่ากลางกรุง อดีตที่ยังมีลมหายใจ". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ไชยพจน์พานิช, อชิรัชญ์ (2014). สถาปัตยกรรมศาลเจ้าจีนสะท้อนภาพชาวจีนในสังคมสมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). สืบค้นเมื่อ 7 July 2023.
- ↑ 3.0 3.1 "ตลาดเล่งบ๊วยเอี๊ยะ…ตลาดเก่ากลางกรุงบนถนนสายมังกร". อัศวิน ขวัญเมือง. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.[ลิงก์เสีย]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNationsonline1
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อchaliot1
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ศาลเจ้าเล่งบ้วยเอี๊ยะ จากเว็บไซต์เยาวราช
- เฟซบุกชุมชนเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
- ‘ศาลเจ้าเล่งบ้วยเอี๊ยะ’ ศาลเจ้าเก่าแก่กลางตลาดเยาวราช เก็บถาวร 2018-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์เทรเวลไทยแลนด์
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์