ชาวจีนแต้จิ๋ว
ชาวจีนแต้จิ๋ว (潮州人) คือชาวฮั่นที่เป็นคนท้องถิ่นในเขตเตี่ยซัวในภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน และพูดภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาไม่ ทุกวันนี้คนแต้จิ๋วส่วนใหญ่อาศัยอยู่นอกประเทศจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย และยังสามารถพบคนแต้จิ๋วได้เกือบทุกที่ทั่วโลกอีกด้วยทั้งใน ทวีปอเมริกาเหนือ ออสตราเลเซีย และประเทศฝรั่งเศส ชาวแต้จิ๋วอพยพมีประมาณมากกว่า 10 ล้านคน ซึ่งมีมากพอ ๆ กับประชากรของเตี่ยซัวเอง ชาวแต้จิ๋วพูดภาษาที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาจีนฮกเกี้ยน โดยกล่าวกันว่า คนแต้จิ๋วมีฮกเกี้ยนเป็นบรรพบุรุษ ในขณะที่อาหารแต้จิ๋วก็มีลักษณะเฉพาะตัว บรรพบุรุษของชาวแต้จิ๋วอพยพมายังเขตเตี่ยซัวในปัจจุบัน จากที่ราบตอนกลางของจีนเพื่อที่จะหลบหนีจากสงครามกลางเมืองอย่างต่อเนื่องในระหว่างสมัยราชวงศ์จิ้น
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) (มณฑลกวางตุ้ง, มณฑลฝูเจี้ยน) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ฮ่องกง ชาวจีนโพ้นทะเล (โดยการสืบเชื้อสาย): เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย), ทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา, แคนาดา), ทวีปออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์), ฝรั่งเศส | |
ภาษา | |
แต้จิ๋ว + ภาษาของประเทศที่พำนักอาศัย | |
ศาสนา | |
ตามประเพณีทั่วไปของชาวจีนฮั่นที่นับถือทั้ง 4 ศาสนาพร้อมกัน ได้แก่: นอกจากนี้ยังมีศาสนาคริสต์จำนวนเล็กน้อย | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวฮกเกี้ยน |
ชาวจีนแต้จิ๋ว | |||||||||||||||||
ภาษาจีน | 潮州人 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ศัพท์
แก้คำว่าแต้จิ๋วสามารถเขียนแบบอักษรโรมันได้หลายแบบ และรู้จักกันในภาษาจีนกลางว่า Chaozhou ren และภาษาจีนกวางตุ้งว่า Chiuchow yan ในการกล่าวถึงตัวเองว่าเป็นคนเชื้อชาติจีนคนแต้จิ๋วโดยทั่วไปใช้ ตึ่งนั้ง (唐人; แปลตามตัวอักษรได้ว่า พสกนิกรแห่งราชวงศ์ถัง หรือ ประชาชนของราชวงศ์ถัง ซึ่งตรงกันข้ามกับ ฮังนั้ง (漢人/汉人) ซึ่งหมายถึง 'ชาวราชวงศ์ฮั่น' ชาวแต้จิ๋วพลัดถิ่นโดยทั่วไปใช้ ฮัวนั้ง (華人/华人) เพื่อระบุความเป็นคนจีนในความหมายทางวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามนอกจากชาวแต้จิ๋วจะอ้างตนเองเป็นประชาชนของราชวงศ์ถัง การเรียกในลักษณะเดียวกันนี้ยังปรากฏในหมู่ชาวจีนกวางตุ้งก็มักเรียกตนเองตามภาษาจีนกวางตุ้งว่า ถ่องหยั่น (唐人) เช่นเดียวกัน[1]
โดยปกติแล้วชาวแต้จิ๋วเรียกกันเองว่า กากี่นั้ง (家己人) ซึ่งหมายถึง 'คนกันเอง'[2] และอธิบายตนแก่ต่างชนเผ่าว่า เตี่ยจิว ส่วนคำว่าแต้จิ๋วคือคำที่ชาวไทยสยามใช้เรียกซึ่งหมายถึงคนของแต้อ๋องไม่เกี่ยวข้องทางความหมายกับคำว่าเตี่ยจิวแต่อย่างใด
ประวัติ
แก้ในอดีตคนเหล่านี้ถูกเรียกว่าเหอเลา (Helao) หรือฝูเลา (Fulao) เนื่องจากส่วนใหญ่อพยพมาจากมณฑลเหอหนาน และมณฑลซานซีผ่านทางมณฑลฝูเจี้ยน โดยที่ยังคงรักษาภาษาและประเพณีจากจีนภาคกลางตอนเหนือไว้อย่างดี ตามที่ได้ถูกบันทึกไว้ในพันธุประวัติและจารึกโบราณ คนเหล่านี้ที่แต่เดิมอพยพไปทางภาคใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนโดยเฉพาะที่ฉวนโจว (Quanzhou) และผู่เถียน(Putian) ได้ตั้งถิ่นฐานในเฉาซานเป็นกลุ่ม ๆ และในไม่ช้าก็กระจายไปทั่วพื้นที่เฉาซาน ความโดดเดี่ยวทางภูมิศาสตร์และความยากลำบากในการเดินทางในอดีตทำให้พวกเหอเลาและฝูเลากลายเป็นประชากรที่ค่อนข้างใกล้ชิดกัน เมื่อไม่นานมานี้การศึกษาการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมสนับสนุนว่า แม้ว่าชาวจีนฮั่นทั้งหมดมีความเกี่ยวดองกันอย่างแท้จริงและมีรากเหง้าเดียวกัน ชาวแต้จิ๋วกลับมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดที่สุดกับบริเวณหมินหนาน (Minnan) ของมณฑลฝูเจี้ยน และพวกที่มาจากเทือกเขาไตฮัง (Taihang) ของจีนภาคกลางตอนเหนือ[3]
คนที่พูดภาษาถิ่นกวางตุ้งเรียกพวกเขาว่า "ฮกโล่" มีความหมายตามตัวอักษรว่า "ผู้ชายจากฮกเกี้ยน" แม้ว่าคำว่า"แต้จิ๋ว" ถูกใช้ในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) ในศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 คำว่า "แต้จิ๋ว" กลายมาจากจังหวัดแต้จิ๋ว (Chaozhou Fu) ชื่อเมืองที่พวกเขาจากมา
ชาวแต้จิ๋วในสิงคโปร์
แก้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสภาพความอดอยากแร้นแค้น ชาวแต้จิ๋วมากมายจากบ้านเกิดมาที่สิงคโปร์เพื่อเริ่มชีวิตใหม่ ผู้อพยพชาวแต้จิ๋วรุ่นแรก ๆ สามารถระบุถิ่นกำเนิดได้ 8 อำเภอ ได้แก่ เฉาอัน, เฉิงห่าย, เฉาหยาง, เจิ้งหยาง, เหราผิง, ผู่หนิง, ฮุ่ยหลาย และหนานอ้าว นอกจากผู้อพยพใหม่ที่ออกจากท่าเรือซานโถวแล้ว ยังมีชาวแต้จิ๋วที่ย้ายมาจากสยามและหมู่เกาะเรียวในอินโดนีเซีย
ทุกวันนี้ภาษาถิ่นแต้จิ๋วใหญ่เป็นอันดับสองในเกาะนครรัฐแห่งนี้รองจากฮกเกี้ยน
ชาวแต้จิ๋วในไต้หวัน
แก้ลูกหลานชาวแต้จิ๋วส่วนใหญ่ในไต้หวันได้กลืนกลายเป็นฮกเกี้ยนไปแล้ว พวกเขาพูดภาษาฮกเกี้ยนแทนที่จะเป็นแต้จิ๋ว
วัฒนธรรม
แก้วัฒนธรรมแต้จิ๋วเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการก่อร่างสร้างเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่เป็นอันหนี่งอันเดียวในมณฑลกวางตุ้ง และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลก ตลอดช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานมากกว่า 1,000 ปี เขตเฉาซานซึ่งในอดีตถูกเรียกว่าเขตปกครองแต้จิ๋ว ได้ก่อกำเนิดและพัฒนาวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ ซึ่งปรากฏลักษณะเฉพาะพิเศษในภาษา อุปรากร อาหาร การชงชา ดนตรี และ การเย็บปักถักร้อย
ภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือเตี่ยจิวอ่วย (潮州話) ที่ซึ่งวัฒนธรรมแต้จิ๋วถูกถ่ายทอดได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในภาษาจีนถิ่นที่เก่าแก่ที่สุดที่เก็บรักษาลักษณะอันงดงามและสละสลวยจากภาษาจีนโบราณไว้ ซึ่งได้สูญหายไปในภาษาถิ่นอื่น ๆ บางภาษา มีคนพูดภาษาถิ่นแต้จิ๋วอยู่โดยประมาณ 10 ล้านคนในเฉาซานและมากกว่า 5 ล้านคนนอกจีนแผ่นดินใหญ่
อุปรากรแต้จิ๋ว หรือเตี่ยเกี๊ย (潮劇) ซึ่งก็คืองิ้วเป็นรูปแบบศิลปะดั้งเดิมซึ่งมีประวัติมากกว่า 500 ปี และเป็นที่ชื่นชอบของคนแต้จิ๋ว 20 ล้านคนในมากกว่า 20 ประเทศและภูมิภาค มีรากฐานจากการเต้นรำและเพลงช้าพื้นบ้าน อุปรากรแต้จิ๋วได้สร้างรูปแบบของตัวเองภายใต้อิทธิพลของอุปรากรนานซี (Nanxi Opera) นานซีเป็นหนึ่งในอุปรากรจีนที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งถือกำเนิดในราชวงศ์ซ่ง ท่วงทำนองของมันอ่อนช้อยและเพลิดเพลิน เต็มไปด้วยสีสันของท้องถิ่น รูปแบบเก่าแก่ของเครื่องดนตรีประสานเสียงยังคงเก็บรักษาลักษณะพิเศษไว้ ตัวตลกและผู้หญิงคือตัวละครที่มีลักษณะเด่นที่สุดในอุปรากรแต้จิ๋ว อีกทั้งทักษะการทรงตัวเป็นที่สะดุดตามากกว่าการแสดงรูปแบบอื่น ๆ
ชากังฟู หรือกังฮูแต๊/กังฮูเต๊ (工夫茶) เอสเพรสโซของชาจีนรวมกับลูกเตะที่น่าเกรงขาม ซึ่งถูกจิบครั้งแรกย้อนกลับไปในราชวงศ์ซ่ง ที่ยังคงเฟื่องฟูและเป็นส่วนสำคัญของมารยาททางสังคมในเฉาซาน ซึ่งไม่แปลกแต่อย่างใดที่พิธีชงชาได้ถูกปฏิบัติในบ้านของชาวแต้จิ๋วทั่วไปในทุก ๆ วัน แม้ว่ามันจะมีรสชาติขมเมื่อสัมผัสปากครั้งแรก แต่เป็นรสที่ยังกรุ่นต่อไปอยู่ในปากที่ทำให้ชากังฟูอาจเป็นวัฒนธรรมชาที่น่าหลงใหลมากที่สุดในจีน การดื่มชากังฟูในแง่นี้คือรูปแบบของศิลปะมากกว่าแค่การบรรเทาความกระหายน้ำ
ดนตรีแต้จิ๋ว หรือเตี่ยจิวอิมเง้า (潮州音樂) ได้รับความนิยมเล่นในโรงน้ำชาในเตี่ยซัว โดยมีเครื่องสายแต้จิ๋ว,ฆ้อง,กลองและขลุ่ยจีนดั้งเดิม ซึ้งล้วนมีส่วนร่วมในรูปของวงดนตรี ดนตรีกลองเตี่ยจิวปัจจุบันกล่าวกันว่าคล้ายกับรูปแบบของดนตรีกลองและเป่าของราชวงศ์ฮั่นและถัง
รายนามบุคคลสำคัญชาวจีนแต้จิ๋วที่มีชื่อเสียง
แก้ในประเทศจีน
แก้- หลี เกียเซ้ง - นักธุรกิจใหญ่ชาวฮ่องกง นักลงทุน ประธานกรรมการของบริษัท CK Hutchison Holdings
ในประเทศไทย
แก้พระราชวงศ์
แก้- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ใช้แซ่แต้ (鄭)
นักการเมือง
แก้- บรรหาร ศิลปอาชา - อดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2540) และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ใช้แซ่เบ๊ (馬)
- นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้แซ่หลี่ (李)
- พล.อ.สุจินดา คราประยูร - อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ใช้แซ่โล้ว (盧)
- พล.ต.จำลอง ศรีเมือง - อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532, พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535) ใช้แซ่โล้ว (盧)
- นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ - อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ใช้แซ่จึง(莊)
นักธุรกิจและเจ้าของกิจการ
แก้- ธนินท์ เจียรวนนท์ - ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ใช้แซ่เจี๋ย (謝)
- ชิน โสภณพนิช - ผู้ก่อตั้งและเจ้าของกิจการธนาคารกรุงเทพ ใช้แซ่ตั้ง (陳)
- เจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริษัทไทยเบฟเวอเรจและเจ้าของกิจการเบียร์ช้าง ฯลฯ - ใช้แซ่โซว (蘇)
- นายเหียกวงเอี่ยม ประธานมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ผู้สนับสนุนพรรคก๊กมินตั๋งในไทย ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
- ปัญญา นิรันดร์กุล ประธานบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) - ใช้แซ่อึ้ง (黄)
พิธีกร
แก้- วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ - พิธีกรและผู้บรรยายพิเศษ ใช้แซ่ตั้ง (陳)
นักแสดงและศิลปิน
แก้- ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว - นักร้อง นักดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ใช้แซ่โอ (胡)
- นพพล โกมารชุน - นักแสดง
- ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง - นักแสดง
- คริส หอวัง - นักแสดง
- พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล หรือบิวกิ้น - นักแสดงและนักร้อง ใช้แซ่เบ๊ (馬)
- กฤษฏ์ อำนวยเดชกร หรือพีพี - นักแสดงและนักร้อง ใช้แซ่ลิ้ม (林)
- วริฏฐิสา ลิ้มธรรมมหิศร - นักแสดงและนางแบบ ใช้แซ่ลิ้ม (林)
อ้างอิง
แก้- ↑ Ramsey, S. Robert (1987). The Languages of China. Princeton University Press. pp. 98–99. ISBN 978-0-691-06694-3.
- ↑ gaginang.org
- ↑ 星破解漢人基因圖譜 南北華人基因差異微妙 เก็บถาวร 2009-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Yahoo! News retrieved 2010-01-15