นพพล โกมารชุน

ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง

นพพล โกมารชุน (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2496) ชื่อเล่น ตู่ เป็นนักแสดง ผู้กำกับ ผู้จัดละครชาวไทยเชื้อสายจีน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) ประจำปีพุทธศักราช 2564

นพพล โกมารชุน
เกิด14 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
ประเทศไทย
บิดาเสนอ โกมารชุน
มารดาจุรี โอศิริ
คู่สมรสปรียานุช โกมารชุน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับ
  • ผู้จัดละคร
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นอินทร - เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2527)
ซูหลิน - กนกลายโบตั๋น (2533)
อาเหลียง - ลอดลายมังกร (2535)
เต็งล้อ - หงส์เหนือมังกร (2543)
เมฆา - เหนือเมฆ 2 มือปราบจอมขมังเวทย์ (2555)
พระยาประเสริฐภักดี - ชาติพยัคฆ์ (2559)
ท่านจรินทร์ - กระเช้าสีดา (2564)
หยางจงเหลียน - ใต้หล้า (2565)
อากงเปา - มาตาลดา (2566)
ปรเมศ - ชีวิตภาคสอง (2566)
รางวัล
ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง
พ.ศ. 2564 – (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์)
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงนำชายดีเด่น
พ.ศ. 2543 – หงส์เหนือมังกร
ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น
พ.ศ. 2532 – สุดแต่ใจจะไขว่คว้า
พ.ศ. 2537 – โสมส่องแสง
เมขลาผู้แสดงนำชายดีเด่น
พ.ศ. 2523 – สี่แผ่นดิน
พ.ศ. 2526 – น้ำตาลไหม้
ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 – สายโลหิต
ผู้กำกับละครแนวชีวิตยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2547 – แม่อายสะอื้น

ประวัติ แก้

เป็นบุตรชายของนักแสดงอาวุโส เสนอ โกมารชุน (พี่ชายของ เสน่ห์ โกมารชุน) และ จุรี โอศิริ อดีตนักแสดงและนักพากย์ชาวไทยซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักพากย์และนักแสดง) ประจำปี พุทธศักราช 2541 มีพี่ชายหนึ่งคนคือ นายจามร โกมารชุน (ถึงแก่กรรม) แสดงภาพยนตร์โดยเป็นตัวเอกในหลายเรื่อง แต่ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่กล่าวถึงอย่างแท้จริงด้วยกันสามบทบาท คือ การรับบท อินทร ชายหนุ่มผู้เย็นชาทนงตัวแต่แฝงด้วยความอบอุ่นอ่อนโยนและแอบรัก ละเวง มัณฑนากรสาวนางเอกของเรื่อง ในละคร เก้าอี้ขาวในห้องแดง ทางช่อง 3 (พ.ศ. 2527) ประกบคู่กับ มยุรา เศวตศิลา ซูหลิน หนุ่มจีนแผ่นดินใหญ่ผู้แสนดีและมีอุดมการณ์ ในละคร กนกลายโบตั๋น ทางช่อง 7 (พ.ศ. 2533) คู่กับ ปรียานุช ปานประดับ และเกิดเป็นความรักจนกลายเป็นคู่ชีวิตกันในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นก็สร้างความประทับใจให้ผู้ชมอีกครั้งกับบท อาเหลียง ในละครโทรทัศน์เรื่อง ลอดลายมังกร ในปี พ.ศ. 2535 ทางช่อง 7 ประกบคู่กับ ปรียานุช ปานประดับ และ อภิรดี ภวภูตานนท์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

ต่อมา นพพลจึงเปลี่ยนบทบาทไปรับบทรองในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายเรื่อง เช่น มือปืน 2 สาละวิน ในปี พ.ศ. 2536 เป็นต้น และในยุคอดีตนั้น ช่วงปลายปี พ.ศ. 2532 ถึงปลายปี พ.ศ. 2536 นพพลเคยเป็นพิธีกรรายการ จุดเดือด ของ เจเอสแอล คู่กับ กาญจนาพร ปลอดภัย และ จรียา ทิพยะวัฒน์ และเคยเป็นพิธีกรรายการ เจาะโลกมหัศจรรย์ ด้วย ช่วงเวลาดังกล่าว

นอกจากนี้แล้ว นพพล ยังผันตัวเองไปทำงานเบื้องหลัง โดยเฉพาะในฐานะผู้กำกับละคร ป้อนงานผลิตให้ช่อง 3 กับบริษัท ยูม่า จำกัด เช่น กตัญญูประกาศิต (พ.ศ. 2533), น้ำตาหยดสุดท้าย (พ.ศ. 2536), โสมส่องแสง (พ.ศ. 2537) เป็นต้น โดยมีนักแสดงคู่ใจอย่าง ฉัตรชัย เปล่งพานิช รับบทเป็นพระเอกให้แทบทั้งหมด

ชีวิตส่วนตัว นพพล สมรสกับ ปรียานุช ปานประดับ ภรรยานักแสดงที่พบรักกันจากการร่วมแสดงในเรื่องกนกลายโบตั๋น แต่ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน เนื่องจากปรียานุชร่างกายไม่แข็งแรง ปัจจุบัน ได้ผันตัวเองเป็นผู้กำกับละครและผู้จัดละคร โดยเปิดกิจการของตนเอง ชื่อ บริษัท เป่าจินจง เมื่อปี 2541[1]

ผลงานการแสดง แก้

ภาพยนตร์ แก้

  • ใต้ฟ้าสีคราม (2521) รับบท ลีเจ็ง
  • อีพริ้ง คนเริงเมือง (2523) รับบท เปรมฤทัย
  • รักครั้งสุดท้าย (2524) รับบท พจน์เวท
  • ขังแดง (2524) รับบท บุญรับ ริ้วรองทอง
  • รักครั้งแรก (2524)
  • รักพยาบาท (2524)
  • นานแค่ไหนก็ยังรัก (2524) รับบท ร.อ.ท วีระ มหาวีระยุทธ
  • หญิงก็มีหัวใจ (2524)
  • 5 คม (2524) รับบท สุเทพ สวนดอก (ภาคเหนือ)
  • ทอง ภาค 2 (2525) รับบท ร.อ ปางแก
  • ตามรักตามฆ่า (2525) รับบท แมนฤทธิ์
  • เหนือชีวิต (2525)
  • รักข้ามรุ่น (2525) รับบท หนุงหนิง
  • มาดามยี่หุบ (2525) รับบท สมัชชา
  • ล่าข้ามโลก (2526)
  • น.ส.เย็นฤดี (2526) รับบท ไอ้ขาว
  • สิงห์ด่านเกวียน (2526)
  • เจ้าสาวเงินล้าน (2526)
  • แม่ดอกกระถิน (2526)
  • วันนั้นคงมาถึง (2527)
  • สัจจะมหาโจร (2527) รับบท เติบ
  • ผ่าโลกบันเทิง (2527) รับบท เข้ม
  • ซากุระ (2527) รับบท พลชิต
  • ถล่มเจ้าพ่อ (2527)
  • ปล้นลอยฟ้า (2528)
  • เครื่องแบบสีขาว (2529) รับบท หมอนิพิท
  • กว่าจะรู้เดียงสา (2530) รับบท เม้ง (พี่ชายของชยา)
  • 2482 นักโทษประหาร (2531) รับบท หลวงวิจิตรวาทการ
  • ทอง 3 (2531)
  • ทอง 4 (2533)
  • ต้องปล้น (2534) รับบท เสี่ยธงชัย
  • กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ (2534)
  • บุญตั้งไข่ (2535)
  • มือปืน 2 สาละวิน (2536) รับบท สมศักดิ์
  • เกิดมาลุย (2547) รับบท นายพลหยาง
  • มายเบสท์บอดี้การ์ด (2553) รับบท วีระ
  • WATERBOYY รักใสใส..วัยรุ่นชอบ (2558) รับบท โค้ชหนึ่ง
  • ตุ๊ดตุ่กู้ชาติ (2561) รับบท ปะละมินถิ่น

ละคร แก้


ปี พ.ศ เรื่อง รับบทเป็น ออกอากาศ
2559 ชาติพยัคฆ์ พระยาประเสริฐภักดี (เจิม) ช่อง 3
บุษบาเร่ฝัน ดร.ถ้วยทอง (รับเชิญ)
เพชฌฆาตดาวโจร โสภณ (พ่อของเล้ง) ช่องวัน 31
2560 เพลิงบุญ คุณฤทธิ์ พินิจพันธ์ ช่อง 3
2561 ข้ามสีทันดร คุณทูล (พ่อของเที่ยงวัน)
ประกาศิตกามเทพ เหม บุญญาฉัตรพงษ์
กาหลมหรทึก นายฮวด ช่องวัน 31
เลือดข้นคนจาง สุกิจ จิระอนันต์ (อากง)
2562 สายลับจับกลิ่น เจ้าสัวอาทิตย์
ด้ายแดง เจ้าสัวหม่า (รับเชิญ) ช่อง 3
2563 ทะเลแปร เจ้าสัวกิมพ้ง แสงวารินทร์ (พ่อประพจน์) ช่องอมรินทร์ทีวี
ฟากฟ้าคีรีดาว นักบวชในศาสนาฮินดู (รับเชิญ) ช่อง 3
2564 โหมโรง ท่านครู (ศร) ช่อง ไทยพีบีเอส กด 3
กระเช้าสีดา ท่านจรินทร์ ช่องวัน 31
2565 ใต้หล้า หยางจงเหลียน
ซุปตาร์2550 เผ่า (รับเชิญ) ช่อง 3 HD
2566 มาตาลดา เปา
Home School นักเรียนต้องขัง อามิน จีเอ็มเอ็ม 25
ชีวิตภาคสอง ปรเมศ ช่องวัน 31
2567 เกมรักปาฏิหาริย์

ละครเวที แก้

  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปี 2554

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต BLACK VALENTINE Charity Concert ตอน เพราะรักแท้คือ การให้...ไม่สิ้นสุด (13 กุมภาพันธ์ 2559)
  • คอนเสิร์ต 60 ปี ชีวิตละคร นพพล โกมารชุน (2 พฤศจิกายน 2556)
  • คอนเสิร์ต วันแห่งความรักของผู้ชายชื่อ เศรษฐา ศิระฉายา (14 กุมภาพันธ์ 2550)

พิธีกร แก้

พากย์เสียง แก้

  • 47 Ronin พากย์เป็น Oishi (ฮิโรยูกิ ซานาดะ)
  • The Great Wall พากย์เป็น Strategist Wang (หลิวเต๋อหัว)

กำกับการแสดง แก้

รางวัล แก้

ด้านการแสดง แก้

  • รางวัลตุ๊กตาทองทีวีมหาชนในฐานะผู้แสดงนำยอดเยี่ยมฝ่ายชาย จากเรื่องสี่แผ่นดิน ทางช่อง 5
  • รางวัลเมขลาผู้แสดงนำยอดเยี่ยมฝ่ายชาย จากละครเรื่อง “สี่แผ่นดิน” ปี 2523 ทางช่อง 5
  • รางวัลเมขลาผู้แสดงนำยอดเยี่ยมฝ่ายชาย จากละครเรื่อง “น้ำตาลไหม้” ปี 2526 ทางช่อง 3
  • รางวัลเมขลาผู้แสดงประกอบยอดเยี่ยมฝ่ายชาย จากละครเรื่อง “สายโลหิต” ปี 2529 ทางช่อง 3
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำดารานำชายดีเด่น จากละครเรื่อง “หงส์เหนือมังกร” ปี 2543 ทางช่อง 5

ด้านกำกับการแสดง แก้

  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำจากละครเรื่อง " สุดแต่ใจจะไขว่คว้า" ปี 2532 ทางช่อง 3
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำจากละครเรื่อง "โสมส่องแสง" ปี 2537 ทางช่อง 3
  • รางวัลยอดเยี่ยม TOP AWARDS โดยนิตยสารทีวีพูล จากละครเรื่อง "เก็บแผ่นดิน" ปี 2544 ทางช่อง 7
  • รางวัลยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง "เมืองดาหลา" ปี. 2546 ทางช่อง 7
  • รางวัลยอดเยี่ยม TOP AWARDS 2004 โดยนิตยสารทีวีพูล จากละครเรื่อง "แม่อายสะอื้น" ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลยอดเยี่ยม Star Entertainment Awards 2004 จากละครเรื่อง "แม่อายสะอื้น" ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลเมขลาในฐานะผู้กำกับละครแนวชีวิตยอดเยี่ยมครั้งที่ 23 โดย สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย จากละครเรื่อง "แม่อายสะอื้น" ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลเพชรสยามสาขาดนตรี นาฏศิลป์และนันทนาการ ในฐานะผู้กำกับละครโทรทัศน์ ประจำปี 2548 โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • รางวัลในฐานะผู้กำกับการแสดงยอดนิยม TV GOSSIP AWARDS 2006 โดย นิตยสารทีวีกอสซิป ร่วมกับ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ จากละครเรื่อง "แคนลำโขง"ปี 2549 ทางช่อง 7
  • รางวัลในฐานะผู้กำกับการแสดงละครยอดเยี่ยม Star Entertainment Awards 2006 โดย สมาคมนักข่าวบันเทิง จากละครเรื่อง "สายน้ำสามชีวิต" ปี 2549 ทางช่อง 7
  • รางวัลในฐานะผู้กำกับการแสดงละครยอดเยี่ยม TOP AWARDS 2006 โดย นิตยสารทีวีพูล จากละครเรื่อง "สายน้ำสามชีวิต"ปี 2549 ทางช่อง 7
  • รางวัลในฐานะผู้กำกับการแสดงละครยอดนิยม TV GOSSIP AWARDS 2006 โดย นิตยสารทีวีกอสซิป ร่วมกับ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ จากละครเรื่อง "สายน้ำสามชีวิต" ปี 2549 ทางช่อง 7

ด้านการผลิต แก้

  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะละครส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น และรางวัลเมขลาด้านละครอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดีเด่น จากละครเรื่อง "ทิพยดุริยางค์" ปี 2543 ทางช่อง 7
  • รางวัลบทละครโทรทัศน์ในฐานะสื่อสร้างสรรค์ดีเด่น โดย ชมรมเพื่อนวันพุธ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย จากละครเรื่อง "สงครามดอกรัก" ปี 2544 ทางช่อง 7
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น จากละครเรื่อง "เก็บแผ่นดิน" ปี 2544 ทางช่อง 7
  • รางวัลในฐานะละครดีเด่น จากละครเรื่อง " เก็บแผ่นดิน " โดย สมาคมนักข่าวบันเทิง ปี 2545 ทางช่อง 7
  • รางวัลละครโทรทัศน์ปลูกจิตสำนึกในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมูลนิธิป้องกันต่อต้านอาชญากรรมและยาเสพติดในประเทศไทย จากละครเรื่อง "เมืองดาหลา" ปี 2546 ทางช่อง 7
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ทีมนักแสดงดีเด่น จากละคร เมืองดาหลา ปี 2546 ทางช่อง 7
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำทางด้านเพลงประกอบละครดีเด่น ในเพลง “บ่วงรัก”ร้องโดย ศรัณยา ส่งเสริมสวัสดิ์ จากละครเรื่อง "บ่วงบรรจถรณ์" พ.ศ. 2546
  • รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยมจากละครเรื่อง "โซ่เสน่หา" ปี 2546 ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม TOP AWARDS 2004 โดย นิตยสารทีวีพูล จากเรื่อง "แม่อายสะอื้น" ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม คม ชัด ลึก อวอร์ด 2004 จากละครเรื่อง "แม่อายสะอื้น" ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม Star Entertainment Awards 2004 โดย สมาคมนักข่าวบันเทิง จากละครเรื่อง "แม่อายสะอื้น" ปี 2547 ทางช่อง 7
  • รางวัลละครโทรทัศน์ยอดเยี่ยม Star Entertainment Awards 2006 โดย สมาคมนักข่าวบันเทิง จากละครเรื่อง "สายน้ำ สามชีวิต" ปี 2549 ทางช่อง 7
  • รางวัลละครสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม TOP AWARDS 2006 โดย นิตยสารทีวีพูล จากละครเรื่อง"สายน้ำ สามชีวิต" ปี 2549 ทางช่อง 7

รางวัลอื่น ๆ แก้

  • รางวัลในฐานะพระเอกที่สุดของช่อง 7 ติดต่อกัน 2 ปีซ้อน โดย JSL
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำในฐานะนักแสดงที่ใช้ภาษาไทยยอดเยี่ยม ปี 2536

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้