เก็บแผ่นดิน
เก็บแผ่นดิน เป็นละครที่สร้างจากงานเขียนที่ชื่อว่า ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ[1][2] ประพันธ์โดย นายพันดี ซึ่งพูดถึงการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยที่ชื่อว่า เผ่าคาเซ ที่ปกป้องรักษาดินแดนจากรัฐบาลสหพันธรัฐซาวิน ซึ่งดินแดนทั้งสองมีอาณาเขตติดกับแผ่นดินประเทศไทย
เก็บแผ่นดิน | |
---|---|
ประเภท | แอกชัน ดรามา |
เค้าโครงจาก | หนังสือ ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ |
เขียนโดย | นายพันดี (ปรียานุช ปานประดับ) |
บทโดย | เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ |
กำกับโดย | นพพล โกมารชุน พ.ศ. 2544 |
แสดงนำ | พ.ศ. 2544 • ภูธเนศ หงษ์มานพ • พิยดา จุฑารัตนกุล • ณัฐวุฒิ สกิดใจ • อรรถพร ธีมากร • อเล็กซ์ เรนเดลล์ |
ดนตรีแก่นเรื่องเปิด | พ.ศ. 2544 เก็บแผ่นดิน ขับร้อง ทีมขาเจี๊ยบ |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนตอน | 15 ตอน พ.ศ. 2544 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | สุรางค์ เปรมปรีดิ์ พ.ศ. 2544 |
สถานที่ถ่ายทำ | ประเทศไทย |
ผู้กำกับภาพ | ศุภฌา ครุฑนาค พ.ศ. 2544 |
แอนิเมเตอร์ | โสภา นันกระโทก พ.ศ. 2544 |
ผู้ลำดับภาพ | ถกล เกตุเกยูร พ.ศ. 2544 |
กล้อง | ชูชีพ พ่วงทอง พ.ศ. 2544 เชิดพงษ์ ชาญสำรวจ พ.ศ. 2544 |
ความยาวตอน | พ.ศ. 2544 120 นาที/ตอน ทุกวันจันทร์และอังคาร เวลา 20:20 - 22.20 น. |
บริษัทผู้ผลิต | บริษัท เป่า จิน จง จำกัด |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี พ.ศ. 2544 ช่อง 3 เอชดี พ.ศ. 2563 ตามแผนเดิม |
ออกอากาศ | 22 มกราคม 2544 – 26 มีนาคม 2544 พ.ศ. 2544 ไม่ได้ออกอากาศ |
ละครถูกสร้างขึ้น 2 ครั้ง ในครั้งแรกกำกับโดย นพพล โกมารชุน[3] ออกอากาศทางช่อง 7 เอชดี ในปี พ.ศ. 2544 และถูกนำมาสร้างใหม่อีกครั้งเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของช่อง 3 เอชดี [4] เมื่อปี พ.ศ. 2563 กำกับโดย ภูธเนศ หงษ์มานพ[5] แต่ปัจจุบันถอนตัวทั้งนักแสดงเรื่องนี้แต่อย่างใด เนื่องจากช่อง 3 ยังมีละครน้อย 2567 อาทิ มือปราบมหาอุตม์ ดวงใจเทวพรหม ฯลฯเป็นอุปสรรคในการถ่ายทำ[6] ต่อมาทางผู้จัดได้ยุติโครงการที่จะถ่ายทำ และนักแสดงถอนตัวหมด
เรื่องย่อ
แก้บริเวณพรมแดนประเทศไทย มีชนเผ่าชื่อว่า คาเซ ที่มีผู้นำชื่อว่า ละยี เป็นแกนนำในการต่อสู้เพื่อปกป้องชนเผ่าของตนเองจากรัฐบาล สหพันธรัฐซาวิน โดยละยี มีลูกชายชื่อว่า นาคา ซึ่งได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ และ มินทะดา ทหารของเผ่าที่รักและศรัทธาในตัวของละยี โดยหลังจากสงครามระหว่างเผ่าและรัฐบาลสงบลง มินทะดาถูกส่งมาเรียนที่ประเทศไทยพร้อมกับเพื่อนที่ชื่อว่า สิพราย และได้พบกับ อองดี นักศึกษาสัญชาติซาวินที่หลบหนีอยู่ในประเทศไทยเนื่องจากมีอุดมการเช่นเดียวกับชาวคาเซ
มินทะดาได้พบรักกับ พันพัสสา นักศึกษาชาวไทย แต่ถูกกีดกันจากครอบครัวของพันพัสสาเนื่องจากต้องการให้รักกับ ชลชาติ ทหารบกที่มีอนาคตหน้าที่การงานที่ดี ต่อมามินทะดาถูกเรียกตัวกลับไปยังคาเซ พันพัสสาจึงหนีจากครอบครัวตามมินทะดากลับไปที่คาเซด้วย พิพัช พ่อของพันพัสสาจึงขอให้เพื่อนของตนที่เป็นทหารป้องกันไม่ให้ลูกสาวของตนข้ามชายแดนไทยไปยังคาเซได้ และถูกพากลับมายังประเทศไทยหลังจากการปะทะโดยคิดว่ามินทะดาได้เสียชีวิตลงไปแล้ว แต่อันที่จริงมินทะดายังไม่เสียชีวิต และกลับไปพบกับหมู่บ้านของตนที่ถูกโจมตีจนเสียหายจากรัฐบาลซาวิน
จากเหตุการณ์นั้น มินทะดา สิพราย และยะโพ จึงจัดตั้งกองกำลังของเผ่าตนเองขึ้นมาด้วยวิธีการต่อสู้แบบใหม่ ในขณะเดียวกันภายในเผ่าก็มีความคิดที่หลากหลายในการเอาชนะรัฐบาลซาวินจนเกิดการทะเลาะกัน ซึ่งนาคาได้เตือนสติให้ทุกคนอย่าทะเลาะกันเองและทำให้รัฐบาลซาวินได้เปรียบไปกว่านี้
วันหนังนาคาได้พบกองทัพของรัฐบาลซาวินกำลังวางแผนที่จะโจมตีหมู่บ้าน จึงได้เตือนทุกคนและช่วยให้ทุกคนในหมู่บ้านหนีรอดมาได้ ทำให้หลังจากนั้นชาวคาเซสนับสนุนให้นาคาเป็นหัวหน้าของชนเผ่า ซึ่งเขาได้ประกาศว่า "ต่อไปนี้ คาเซจะมีประเทศ" โดยในฝั่งของชลชาติเองก็ได้มาประจำการในพื้นที่ใกล้เคียงในฝั่งไทย และทำงานแก้ไขปัญหาชนกลุ่มน้อยจนมีชื่อเสียง
ในฝั่งของพิพัช พ่อของพันพัสสาได้มอบหมายให้พันพันสาไปเจรจาเพื่อรับงานรับเหมาก่อสร้างถนนเพื่อไปยังสถานีเรดาร์ทางการทหารในพื้นที่ของชลชาติ เพื่ออยากให้ทั้งสองคนได้ใกล้ชิดกัน และพันพัสสาได้เห็นการทำงานที่จริงใจของชลชาติต่อชาวบ้านในพื้นที่ทำให้เริ่มเปิดใจให้กับชลชาติ
ทางของเผ่าคาเซ ยะโพได้หักหลังกลุ่มคาเซเพื่อไปสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลซาวิน โดยวางแผนจับตัวนาคาในพื้นที่ฝั่งไทยขณะข้ามไปเที่ยวงานวัด ซึ่งแผนของเขาสำเร็จ ทำให้หมู่บ้านถูกโจมตีเนื่องจากขาดผู้นำ จนเกิดการบาดเจ็บอย่างหนัก มินทะดาและพวกจึงตัดสินใจข้ามมายังฝั่งไทยเพื่อปล้นยาที่ค่ายผู้อพยพ ทำให้พันพัสสาทราบว่ามินทะดายังมีชีวิตอยู่ และยอมใช้ตัวเองเป็นตัวประกัน เพื่อข้ามกลับไปยังหมู่บ้านคาเซ และได้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง
จากนั้นมินทะดาได้ช่วยเหลือนาคากลับมาจากการจับกุมของรัฐบาลซาวิน จึงได้มีการรวมตัวอีกครั้งเพื่อต่อสู้ โดยมีอองดี และกลุ่มนักศึกษาร่วมต่อสู้ในครั้งนี้ ซึ่งเวลาเดียวกันชลชาติได้นำกำลังทหารไทยมาช่วยเหลือพันพัสสากลับไปยังฝั่งไทย
ในเช้าวันรุ่งขึ้น รัฐบาลซาวินได้ปฏิบัติการครั้งใหญ่เพื่อกวาดล้างชนเผ่าคาเซ ทำให้นาคาเจ็บหนัก มินทะดาจึงต้องตัดสินใจปฏิบัติการอีกครั้งด้วยการข้ามไปปล้นในฝั่งไทย และถูกปิดล้อมโดยกองกำลังของชลชาติ มินทะดามีโอกาสในการตอบโต้ชลชาติแต่เลือกที่จะไม่ยิง เนื่องจากทราบว่าชลชาติจะเป็นคนที่ดูแลพันพันสาได้ดีกว่าตนเอง ขณะเดียวกันกองทัพเผ่าคาเซของนาคาได้ถอยร่นจากการโจมตีของรัฐบาลซาวินข้ามลำน้ำเข้ามายังฝั่งไทย ชลชาติจึงจำเป็นต้องสั่งให้ยิงสกัดกองกำลังติดอาวุธของนาคา พันพัสสาจึงขอร้องให้มินทะดาลี้ภัยเข้ามายังฝั่งไทย แต่มินทะดารู้ดีว่าชลชาติจะดูแลพันพัสสาได้ดีกว่า จนกระทั่งนาคาถูกทหารรัฐบาลซาวินยิงเสียชีวิตกลางลำน้ำแบ่งเขตประเทศไทยและซาวิน มินทะดาจึงอุ้มศพนาคากลับไปยังฝั่งของตน และหันกลับไปมองภาพของพันพัสสาคู่กับชลชาติไว้ในความทรงจำเป็นครั้งสุดท้าย[7]
นักแสดง
แก้รายชื่อนักแสดงหลัก
แก้ปี | พ.ศ. 2544 | ไม่ได้วางแผน |
---|---|---|
มินทะดา | ภูธเนศ หงษ์มานพ | ภาณุวัฒน์ เปรมมณีนันท์ |
ชลชาติ | ณัฐวุฒิ สะกิดใจ | ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ |
พันพัสสา | พิยดา จุฑารัตนกุล | อิษยา ฮอสุวรรณ |
สิพราย | อรรถพร ธีมากร | อเล็กซ์ เรนเดลล์ |
ละยี | พลวัฒน์ มนูประเสริฐ[8] | ศรุต วิจิตรานนท์ |
เญซ่า (เยี่ยซ่า) | ปรียานุช ปานประดับ | พิยดา จุฑารัตนกุล |
นาคา | อเล็กซ์ เรนเดลล์[9] | จัสติน เบนเน็ต[10] |
ยะโพ | ศิววงศ์ ปิยะเกศิน | ศรัณย์ แก้วจินดา |
พ่อเฒ่า | สุรชัย จันทิมาธร | |
อองดี | ศรุต วิจิตรานนท์ | นพวิชญ์ ไทยแท้ |
มะนุ | อริศรา วงษ์ชาลี | กรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์ |
เข่งล่า | ทัศนาวลัย องอาจอิทธิชัย | นิศาชล ต้วมสูงเนิน |
มอจูนาย | วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ | กฤษฎี พวงประยงค์ |
นางใส้อั่ว | พิมพ์ศิริ คชหิรัญ | จรรยา ธนาสว่างกุล |
นางเเมว | ดรีนุช ส่องเเสง | อำภา ภูษิต |
มะเมี๊ยะ | นันชภัทร เพชรสีสรรณ | พุทธิดา สมัยนิยม |
ตัวละครหลัก
แก้ตัวละครหลักของละครเก็บแผ่นดิน[7] ประกอบไปด้วย
- มินทะดา : นายทหารชาวคาเซที่ศรัทธาในตัวของละยี ผู้นำชนเผ่า และเป็นผู้เลี้ยงดูนาคา ลูกชายของละยี โดยเป็นตัวละครหลักของเรื่องฝ่ายชาย
- พันพัสสา : นักศึกษาสาวชาวไทย ที่ได้รู้จักกับมินทะดาในมหาวิทยาลัย และตกหลุมรักกัน เป็นตัวละครหลักของเรื่องฝ่ายหญิง
- ชลชาติ : นายทหารบกชาวไทย สังกัดกองทัพบก เป็นบุคคลที่ครอบครัวของพันพัสสาพยายามให้พันพัสสาได้คบหาด้วย
- สิพราย : ชาวคาเซ เป็นเพื่อนกับมินทะดา เข้ามาศึกษาต่อที่ประเทศไทยพร้อมกับมินทะดา และเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ปกป้องชาวคาเซ
- ละยี : ผู้นำชนเผ่าคาเซ ที่ต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดของตัวเองจากรัฐบาลสหพันธรัฐซาวิน
- เญซ่า (เยี่ยซ่า) : ภรรยาของละยี ผู้นำชนเผ่าคาเซ และเป็นมารดาของนาคา ผู้นำเผ่ารุ่นต่อมา
- นาคา : ผู้นำชนเผ่าคาเซรุ่นต่อมา เป็นลูกของละยี ผู้นำเผ่าและเญซ่า
- ยะโพ : ชาวคาเซ เป็นเพื่อนกับมินทะดา และเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ปกป้องชาวคาเซ
- พ่อเฒ่า : ผู้อาวุโสของเผ่าคาเซ
- อองดี : นักศึกษาชาวซาวินที่มีความคิดสนับสนุนอุดมการณ์ของชาวคาเซ
- มะนุ : หญิงสาวชาวคาเซ ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ปกป้องชาวคาเซ
- เข่งล่า : หญิงสาวชาวคาเซ ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ปกป้องชาวคาเซ
- มอจูนาย : ชาวคาเซซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ปกป้องชาวคาเซ
เพลงประกอบละคร
แก้พ.ศ. 2544
แก้เพลงประกอบละครเก็บแผ่นดินในปี พ.ศ. 2544 และถูกจัดจำหน่ายรวมอยู่ในในรูปแบบซีดีรวมเพลงละคร เป่าจินจง[11] ประกอบไปด้วย
ลำดับ | ชื่อเพลง | เนื้อเพลง | ทำนอง | เรียบเรียง | ยาว |
---|---|---|---|---|---|
1. | "เก็บแผ่นดิน" (ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ) | สุรชัย จันทิมาธร | สุรชัย จันทิมาธร | ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก | 3:24 |
2. | "โลกเราไม่เท่ากัน" | สันติ เศวตวิมล | สันติ เศวตวิมล | ศราวุธ ทุ่งขี้เหล็ก | 3:31 |
การตอบรับ
แก้หลังออกอากาศในเวอร์ชันปี พ.ศ. 2544 ละครเก็บแผ่นดิน ถือเป็นละครที่สร้างเรทติ้งที่สูงมากให้กับสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศขณะนั้น คือช่อง 7 สี[12]
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2561 ละครเก็บแผ่นดิน พ.ศ. 2544 ยังได้รับการยกย่องจากกระทรวงวัฒนธรรมให้ละครเก็บแผ่นดิน เป็น 1 ใน 99 สุดยอดละครไทย สมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากกว่า 2,649 เรื่อง[13]
รางวัล
แก้พ.ศ. 2544
แก้ละครเก็บแผ่นดินหลังจากออกอากาศในปี พ.ศ. 2544 ได้รับรางวัลประกอบไปด้วย[14]
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 16 ด้านละครสร้างสรรค์สังคมดีเด่น พ.ศ. 2544
- รางวัล TOP AWARDS 2001 โดย นิตยสารทีวีพูล พ.ศ. 2544
- รางวัลกำกับการแสดงยอดเยี่ยม นพพล โกมารชุน
- รางวัลดาราสมทบชายยอดเยี่ยม อรรถพร ธีมากร
- รางวัลดาวรุ่งชายยอดเยี่ยม ณัฐวุฒิ สะกิดใจ
- รางวัล Star Entertainment Awards ครั้งที่ 1 โดย สมาคมนักข่าวบันเทิง พ.ศ. 2544
- รางวัลละครดีเด่น
- รางวัลกำกับการแสดงดีเด่น นพพล โกมารชุน
- รางวัลผู้เขียนบทโทรทัศน์ดีเด่น เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ
- รางวัลนักแสดงประกอบชายดีเด่น อรรถพร ธีมากร
บทวิจารณ์
แก้ละครเก็บแผ่นดินในปี พ.ศ. 2544 ถูกพูดถึงในฐานะที่เป็นละครที่พูดถึงการต่อสู้ของกลุ่มชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อยที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่ออธิปไตยของตนเอง ผ่านชนเผ่าและประเทศสมมุติ[15] ซึ่งผู้เขียนบทประพันธ์เปิดเผยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรีในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งหลังจากสร้างละครและออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ทำให้สังคมมีความเข้าใจถึงปัญหาชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้านมากยิ่งขึ้น[16]
ในขณะที่ อัจฉรา รัศมีโชติ เจ้าหน้าที่หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวในงาน อาเซียนป๊อปคัลเจอร์ ซึ่งจัดขึ้นโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ว่าประเทศไทยนิยามชาวพม่าผ่านละครด้วยภาพลักษณ์ในอดีตของชาวพม่า ซึ่งได้ศึกษาเรื่องราวของละครไทย แบ่งเป็น 3 ประเภท จำนวน 6 เรื่อง โดยละครเก็บแผ่นดินนั้นอยู่ในประเภทของละครที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนชายขอบ มีการแสดงออกถึงความเป็นพม่าผ่านลักษณะท่าทาง และชื่อของตัวละครที่ให้ความรู้สึกว่าไม่ใช่คนไทย อาทิ มินทะดา อองดี[17]
ต่อมาหลังจากการประกาศจัดทำละครเก็บแผ่นดินในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการเผยแพร่เบื้องหลังการถ่ายทำในชื่อว่า ก่อนไปเก็บแผ่นดิน 2020[18] ทางยูทูปแชแนลของผู้ผลิต จนกระทั่งเลยกำหนดการออกฉายมาจนถึงปี พ.ศ. 2565 ก็ยังไม่มีการออกอากาศละครแต่อย่างใด โดยทางผู้ผลิตประกาศว่ามีความล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19[6] แต่ในสังคมออนไลน์พันทิปกลับมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจมาจากสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศพม่าหลังจากการรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 ซึ่งเนื้อหาของละครพูดถึงการลุกขึ้นต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยคล้ายคลึงสถานการณในประเทศพม่า อาจจะทำให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[19] ในขณะที่ตัวผู้กำกับละครและนักแสดงนำละครเก็บแผ่นดิน พ.ศ. 2563 ได้ร่วมประชาสัมพันธ์ช่องทางการรับบริจาคสิ่งของต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศพม่าบริเวณใกล้ชายแดนไทย ภายในการเสวนาออนไลน์ เรื่อง มนุษยธรรมริมฝั่งสาละวินโดยสำนักข่าวเดอะรีพอร์ตเตอร์[20] ละครเรื่องนี้ดองนานมากแล้วมา 4 ปี จนกระทั่งเลยออกอากาศวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2567 ต่อจากน่านฟ้าชลาลัย และต่อมาเขาประกาศทางเพจช่อง 3 ว่าเรื่องนี้ดองไว้นาน จะมาฉาย ในปี พ.ศ. 2567 เท่านั้น แต่ว่าช่อง 3 เปิดไปลบ ละครโทรทัศน์ ช่อง 3 ว่าจะไม่มีการออกอากาศ เพราะว่าช่อง 3 ได้ถูกวางแผนนานมาก จนล่าสุดไม่ได้ออกอากาศสักปี
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลละครอย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2022-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (พ.ศ. 2554)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ ผลงานของ นายพันดี (ปรียานุช ปานประดับ)". www.kunmaebook.com.
- ↑ "ไปเก็บแผ่นดินที่สิ้นชาติ". Pantip.
- ↑ ละครไทยในความทรงจำ - เก็บแผ่นดิน 2544 | Facebook | By ละครไทยในความทรงจำ, สืบค้นเมื่อ 2022-07-26
- ↑ ""เป่าจินจง" รีเมคละคร "เก็บแผ่นดิน" ฉลอง 50 ปี ช่อง 3". mgronline.com. 2019-11-08.
- ↑ "เก็บแผ่นดิน". www.thairath.co.th.
- ↑ 6.0 6.1 matichon (2021-04-11). "ตู่ นพพล ประกาศเบรกกองละคร เก็บแผ่นดิน หลังมีพนักงานติดเชื้อโควิด". มติชนออนไลน์.
- ↑ 7.0 7.1 "เก็บแผ่นดิน | Pau Jin Jong". paujinjong.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
- ↑ "Bloggang.com : : khaooat : เปิดกล้องละคร เก็บแผ่นดิน". BlogGang.
- ↑ "ประวัติ อเล็กซ์ เรนเดลล์". entertainment.trueid.net.
- ↑ "เปิดหมู่บ้านคาเซ บวงสรวงละครฟอร์มยักษ์ เก็บแผ่นดิน". kapook.com. 2020-11-09.
- ↑ "รวมละครเป่าจินจง เพลงผ้าฟ้าล้อมดาว". www.here.co.th.
- ↑ ""ช่อง3"ควรให้โอกาส"เป่าจินจง" | daradaily". www.daradaily.com.
- ↑ "วธ.ประกาศยกย่อง99สุดยอด'ละครไทย'ในสมัยรัชกาลที่9". dailynews. 2018-10-05.
- ↑ "เก็บแผ่นดิน | Pau Jin Jong". paujinjong.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-18. สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
- ↑ ""ช่อง3"ควรให้โอกาส"เป่าจินจง" | daradaily". www.daradaily.com.
- ↑ "'เก็บแผ่นดิน' ละครสะท้อนปัญหาของรัฐและชนกลุ่มน้อย เตรียมรีเมกลงจอช่อง 3 ปีหน้า". THE STANDARD. 2019-10-24.
- ↑ PCL, The Post Publishing. "ชาวพม่าในจอแก้วไทยภาพซ้ำ". www.posttoday.com.
- ↑ "ก่อนไปเก็บแผ่นดิน2020 ep.1 | Pau Jin Jong". paujinjong.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-10.
- ↑ "เก็บแผ่นดินเมื่อไรจะได้ออนแอร์". Pantip.
- ↑ admin (2021-05-16). "ระดมทุนช่วยเหลือชาวบ้านหนีภัยสู้รบริมสาละวินคึกคัก ศิลปิน-ดาราร่วมรณรงค์ ผู้กำกับ-พระเอกละครดัง "เก็บแผ่นดิน"เห็นใจชาวบ้านพลัดถิ่น หลายฝ่ายจี้รัฐบาลไทยเปิดช่องทางช่วยเหลือ-เชื่อวิธีสกัดกั้นทำลายภาพพจน์ประเทศ". สำนักข่าวชายขอบ : transbordernews.