รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564

รัฐประหารในประเทศพม่า[4][5] เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เมื่ออองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ, ประธานาธิบดี วี่น-มหยิ่น และผู้นำคนอื่น ๆ ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ถูกทหารพม่าควบคุมตัว หลายชั่วโมงต่อมา กองทัพพม่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และแถลงว่า มีการถ่ายโอนอำนาจให้แก่พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด[6][7]

รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งและวิกฤตการณ์การเมืองภายในประเทศพม่า

อองซานซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่า (ซ้าย) และมี่นอองไลง์ หัวหน้าคณะรัฐประหาร (ขวา)
วันที่1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
สถานที่
ผล

รัฐประหารสำเร็จ

คู่สงคราม

รัฐบาลพม่า

 พม่า
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
วี่น-มหยิ่น
(ประธานาธิบดีพม่า)
อองซานซูจี
(ที่ปรึกษาแห่งรัฐ)
มี่นอองไลง์
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของหน่วยบริการป้องกัน)
มหยิ่นซเว
(รองประธานาธิบดีพม่า)

ภูมิหลัง

แก้

ประเทศพม่าถูกทหารปกครองมาตั้งแต่รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2505 และอองซานซูจี บุตรสาวของอองซาน ผู้ก่อตั้งประเทศสมัยใหม่ รณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจนมีชื่อเสียง ต่อมาใน พ.ศ. 2533 ทหารยอมให้จัดการเลือกตั้งอย่างเสรี และพรรคเอ็นแอลดีของซูจีชนะถล่มทลาย แต่ทหารยังไม่ยอมคลายอำนาจ และกักซูจีไว้ในที่พำนัก

ช่วง พ.ศ. 2554–2558 เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเบื้องต้น จนได้เลือกตั้งใน พ.ศ. 2558 ผลปรากฏว่า พรรคเอ็นแอลดีของซูจีได้ชัยชนะ แต่ทหารยังกุมอำนาจสำคัญ ซึ่งรวมถึงอำนาจแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งในสี่[4][8]

รัฐประหารครั้งนี้เป็นผลพวงจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ซึ่งพรรคเอ็นแอลดีได้ที่นั่งในสภา 396 ที่จากทั้งหมด 476 ที่ นับว่าได้เสียงข้างมากยิ่งกว่าการเลือกตั้งที่ชนะในปี พ.ศ. 2558 ส่วนพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ซึ่งเป็นหุ่นเชิดของทหาร ได้เพียง 33 ที่นั่ง[4]

ทหารโต้แย้งผลการเลือกตั้งโดยอ้างว่า การลงคะแนนไม่สุจริต จนเกิดข่าวลือเรื่องรัฐประหารเป็นเวลาหลายวัน ทำให้มหาอำนาจตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐ แสดงความกังวล[4]

เหตุการณ์

แก้

มโย ญุน โฆษกพรรคเอ็นแอลดี กล่าวว่า อองซานซูจี, วี่น-มหยิ่น, ฮานตา-มหยิ่น และผู้นำพรรคอีกหลายคนถูก "นำตัว" ไปในช่วงเช้า และตัวเขาคงถูกควบคุมตัวในไม่ช้าเช่นกัน[9] ช่องทางสื่อสารหลายช่องหยุดทำงาน สายโทรศัพท์เข้าสู่กรุงเนปยีดอขัดข้อง เอ็มอาร์ทีวี โทรทัศน์ของรัฐ ระบุว่า ไม่สามารถออกอากาศได้เนื่องจาก "ปัญหาทางเทคนิค"[9] และมีรายงานอินเทอร์เน็ตล่มเมื่อ 3 นาฬิกา[10] มีผู้พบเห็นทหารในกรุงเนปยีดอและเมืองหลักอย่างย่างกุ้ง[11]

ต่อมา ทหารประกาศออกสำนักข่าวเมียวดีโทรทัศน์ที่ตนควบคุมว่า จะเข้าควบคุมประเทศเป็นเวลาหนึ่งปี[12] มีแถลงการณ์ซึ่งมหยิ่นซเว รักษาการประธานาธิบดี ลงนาม ประกาศว่า ความรับผิดชอบด้าน "นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ" ได้ถ่ายโอนไปให้แก่พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ทั้งสิ้นแล้ว[13] มีการเรียกประชุมสภากลาโหมและความมั่นคง โดยมีมหยิ่นซเว รักษาการประธานาธิบดี เป็นประธาน และมีนายทหารระดับสูงเข้าร่วม จากนั้น ทหารแถลงว่า จะจัดเลือกตั้งใหม่ และคืนอำนาจให้ต่อเมื่อเลือกตั้งแล้วเท่านั้น[14]

การประท้วง

แก้

ชาวพม่าราว 200 คน กับชาวไทยที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอีกจำนวนหนึ่ง ชุมนุมประท้วงรัฐประหารครั้งนี้ที่สถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ ประเทศไทย[15] การประท้วงยุติลงด้วยการถูกตำรวจไทยปราบปราม ผู้ประท้วงบางคนบาดเจ็บ บางคนถูกจับ[16]

ชาวพม่าในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รวมตัวกันประท้วงที่หน้าสำนักงานสหประชาชาติเช่นกัน[17]

ปฏิกิริยา

แก้

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ

แก้
 
  พม่า
  ประณาม
  ห่วงกังวล
  เป็นกลาง
  ไม่มีท่าที

หลายประเทศ อาทิ บังคลาเทศ[18] จีน[19] อินเดีย[20] อินโดนีเซีย[21] มาเลเซีย[22] ปากีสถาน[23] ฟิลิปปินส์[24] เกาหลีใต้[25] และ สิงคโปร์[26] แสดงความห่วงกังวลต่อการรัฐประหาร และสนับสนุนให้มีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหา ในขณะที่ ออสเตรเลีย[27][28] แคนาดา[29] ฝรั่งเศส[30] เยอรมนี[31] ญี่ปุ่น[32] นิวซีแลนด์[33] สเปน[34] สวีเดน[35] ตุรกี[36] สหราชอาณาจักร[37] และ สหรัฐ[38] ได้ออกแถลงประณามการรัฐประหาร พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวอองซานซูจี และผู้นำคนอื่น ๆ; ทางด้านทำเนียบขาวได้ออกแถลงการขู่ว่าจะใช้มาตราการคว่ำบาตร[39][40][41]

กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ได้ออกมาปฏิเสธสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พร้อมระบุอีกว่ารัฐประหารดังกล่าวเป็นกิจการภายใน[42][43][44] ทางด้านองค์การระหว่างรัฐบาลอย่าง สหประชาชาติ[45] อาเซียน,[46][47] และ สหภาพยุโรป ได้ออกมาแสดงความกังวล พร้อมเรียกร้องให้มีการเจรจากันก่อนจากทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังออกแถลงการประณามเพิ่มและเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง[48]

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อพิจารณาร่างมติที่กระตุ้นให้พม่าหวนคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว ทั้งประณามการกระทำของกองทัพพม่าและเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษ แต่จีนและรัสเซียใช้สิทธิยับยั้ง[49] ด้านอินเดียและเวียดนามยังตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับข้อมตินี้[50]

ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของพม่าเยือนประเทศไทยเป็นชาติแรก[51] ซึ่งหนังสือพิมพ์รัฐของพม่าระบุว่า ทางการไทยเป็นผู้เชิญ นับเป็นเครื่องมือหนึ่งของทางการพม่าในการสร้างความชอบธรรม[52]

อ้างอิง

แก้
  1. "Myanmar coup: Aung San Suu Kyi detained as military seizes control". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  2. 2.0 2.1 "Myanmar's Military Leader Declares Himself Prime Minister And Promises Elections". Associated Press. NPR. 2 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2021. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  3. "Amid Coup, Myanmar's NLD Lawmakers Form Committee to Serve as Legitimate Parliament". The Irrawaddy. 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Beech, Hannah (31 January 2021). "Myanmar's Leader, Daw Aung San Suu Kyi, Is Detained Amid Coup". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
  5. Mahtani, Shibani; Lynn, Kyaw Ye. "Myanmar military seizes power in coup after detaining Aung San Suu Kyi". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  6. Foundation, Thomson Reuters. "Myanmar army says carried out detentions in response to election fraud". news.trust.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  7. "Myanmar gov't declares 1-year state of emergency: President's Office". www.xinhuanet.com.
  8. "As Myanmar opens to the world, the mess inside becomes more apparent". Bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  9. 9.0 9.1 Foundation, Thomson Reuters. "Aung San Suu Kyi and other leaders arrested, party spokesman says". news.trust.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  10. "Internet disrupted in Myanmar amid apparent military uprising". NetBlocks (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  11. "Myanmar's Aung San Suu Kyi 'detained by military', NLD party says". BBC News. 2021-02-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  12. "Myanmar military says it is taking control of the country". AP NEWS. 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  13. "Myanmar military stages coup, declares state of emergency for a year". Deccan Herald (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  14. "Myanmar to clarify voter fraud, hold new round of elections". The Myanmar Times. 2021-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  15. "ด่วน! ชาว 'พม่า' ชู 3 นิ้วบุกประท้วงหน้าสถานทูต ต้านรัฐประหารในประเทศ". Bangkok Biz News. 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  16. Myanmar’s military stages coup d’etat: Live news
  17. "Myanmar workers in Japan protest against Tatmadaw's actions". The Myanmar Times. 2021-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  18. "Bangladesh wants democratic process upheld in Myanmar". Dhaka Tribune. 2A Media Limited. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  19. "China 'notes' Myanmar coup, hopes for stability". REUTERS. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  20. "Deeply concerned by developments in Myanmar, says India". The Times of India. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  21. "Indonesia Urges All Parties in Myanmar to Exercise Self-Restraint". Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Indonesia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  22. "Press Release: Latest Situation in Myanmar". Ministry of Foreign Affairs (Malaysia). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  23. "Pakistan hopes from all sides in Myanmar to be restraint, work for peace: Zahid Hafeez". www.radio.gov.pk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  24. Lee-Brago, Pia (3 February 2021). "Philippines following Myanmar situation with deep concern". Philstar.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  25. "S. Korea expresses concerns over Myanmar coup". Yonhap News Agency. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  26. "MFA Spokesperson's Comments in Response to Media Queries on the Detention of Myanmar Leaders and Officials". Ministry of Foreign Affairs Singapore. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  27. Tillett, Andrew (1 February 2021). "Australia joins global condemnation of Myanmar generals". Financial Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  28. "Statement on Myanmar". Minister for Foreign Affairs – Minister for Women – Senator the Hon Marise Payne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021.
  29. "Justin Trudeau on Myanmar: "The democratic process must be respected"". Cult MTL. 2 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  30. "France calls on Myanmar military to release Suu Kyi, respect election results". uk.sports.yahoo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  31. "Germany condemns Myanmar coup 'in strongest terms'". Aa.com.tr. 8 November 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  32. "Japan urges Myanmar military to free Suu Kyi, restore democracy". Manila Bulletin. Agence France-Presse. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  33. Mahuta, Nanaia (1 February 2021). "New Zealand statement on Myanmar". via beehive.gov.nz. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  34. "Sánchez condena el golpe de Estado en Myanmar y pide vuelta a la democracia". La Vanguardia (ภาษาสเปน). 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  35. "Foreign Minister condemns military coup in Myanmar". sverigesradio.se. Sveriges Radio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  36. Bir, Burak (1 February 2021). "Turkey condemns, 'deeply concerned' by coup in Myanmar". Anadolu Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  37. "UK condemns military coup in Myanmar". Anadolu Agency. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  38. "Statement by White House Spokesperson Jen Psaki on Burma". The White House. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  39. Patrick Wintour; Julian Borger (2 February 2021). "Myanmar coup: Joe Biden threatens to resume sanctions". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  40. "'Serious blow to democracy': World condemns Myanmar military coup". Al Jazeera. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  41. Cherni, Hajer (1 February 2021). "La Maison Blanche menace les auteurs du coup d'État militaire du Myanmar de sanctions" [White House threatens perpetrators of Myanmar military coup with sanctions]. Anadolu Agency (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  42. "West condemns Myanmar coup but Thailand, Cambodia shrug". Bangkok Post. Bangkok Post Public Company Ltd. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  43. "Myanmar's army seizes power, detains Aung San Suu Kyi". National Post (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). Reuters. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  44. "Myanmar military coup: Nordic and Asian reactions". ScandAsia. 2 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  45. "Statement attributable to the Spokesperson for the Secretary General – on Myanmar". United Nations Secretary-General. 31 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  46. "ASEAN calls for "return to normalcy" in Myanmar after coup". Reuters. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  47. Christiastuti, Novi (1 February 2021). "Negara-negara ASEAN Bahas Kudeta Militer di Myanmar" [Intergovernmental Organization ASEAN Discusses Military Coup in Myanmar] (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  48. Adkins, William (1 February 2021). "EU leaders condemn military coup in Myanmar". Politico. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  49. "Myanmar coup: China blocks UN condemnation as protest grows". BBC News. 3 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  50. "Aung San Suu Kyi could face two years in jail over 'illegal' walkie-talkies". The Guardian. 3 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  51. "Myanmar foreign minister visits Thailand, 1st visit abroad since coup". Kyodo News+. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.
  52. Rojanaphruk, Pravit (28 February 2021). "Opinion: Thai Gov't's Risky Gamble on Myanmar Junta". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.