มี่นอองไลง์

ผู้นำทางทหารชาวพม่า

พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ (พม่า: မင်းအောင်လှိုင်; เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2499)[1] เป็นทหารบกชาวพม่า ปกครองประเทศพม่าในฐานะประธานสภาบริหารแห่งรัฐ นับตั้งแต่ยึดอำนาจในเหตุการณ์รัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[2] นอกจากนี้ เขายังแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีพม่าในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 และแต่งตั้งตนเองเป็นประธานาธิบดีในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567[3] ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 เขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพพม่า ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีอำนาจทางการเมืองสูงในประเทศ เขาได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากพลเอกอาวุโส ต้านชเว ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนก่อน เพื่อสืบทอดตำแหน่งต่อไป ก่อนที่ต้านชเวจะเกษียณอายุราชการและถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือน[4][5][6] ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด มี่นอองไลง์ เคยดำรงตำแหน่งเสนาธิการร่วมระหว่างปี 2553 ถึง 2554

มี่นอองไลง์
มี่นอองไลง์ ใน พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดีพม่า
รักษาการ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ก่อนหน้ามหยิ่นซเว (รักษาการ)
นายกรัฐมนตรีพม่า คนที่ 12
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดีมหยิ่นซเว (รักษาการ)
ตนเอง (รักษาการ)
รองซอวี่น
ก่อนหน้าเต้นเซน
ประธานคณะมนตรีบริหารประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดีมหยิ่นซเว (รักษาการ)
ตนเอง (รักษาการ)
รองซอวี่น
ก่อนหน้าอองซานซูจี
(ในตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่า)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 มีนาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าต้านชเว
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
ทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสจูจูลา (Kyu Kyu Hla)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ พม่า
สังกัดกองทัพพม่า
ยศ พลเอกอาวุโส
ผ่านศึกสงครามกลางเมืองพม่า

ประวัติ

แก้

มี่นอองไลง์สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันป้องกันประเทศพม่า และจบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ย่างกุ้ง จากนั้นศึกษาต่อที่ Defense Service Academy (วิทยาลัยกลาโหม) เข้ารับราชการในกองทัพบกเมื่อปี 2520 จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารรัฐมอญ พ.ศ. 2545 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารภาคสามเหลี่ยมในรัฐชาน เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเจรจากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย 2 กลุ่ม คือ กองทัพแห่งรัฐว้าและกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตยหรือกลุ่มหยุดยิงเมืองลา[7]

พ.ศ. 2552 มี่นอองไลง์ในยศพลโทเป็นผู้นำกำลังเข้าต่อต้านกลุ่มกองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตยในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยโกก้าง ส่งผลให้ชาวโกก้างราว 3.7 หมื่นคนลี้ภัยเข้าไปในประเทศจีน[8]

พ.ศ. 2553 มี่นอองไลง์ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองยุทธการพิเศษที่ 2 หน่วยบัญชาการทหารภาครัฐชานและรัฐกะเหรี่ยง และเสนาธิการร่วมกองทัพพม่า ต่อมาในพ.ศ. 2554 เขาสืบทอดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดต่อจากพลเอกอาวุโสต้านชเว[9][10]

มี่นอองไลง์ถือเป็นนายทหารที่มีอิทธิพลในพม่า และเป็นผู้หนึ่งที่เคยประกาศต่อหน้ารัฐบาลว่า กองทัพจะยังคงมีบทบาทในทางการเมืองพม่าต่อไปเหมือนเช่นในอดีต[11] และย้ำว่า กองทัพมีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องรัฐธรรมนูญ แต่ในส่วนลึกเขาก็ยังคงต้องฟังเสียงประธานาธิบดีเต้นเซน ประธานรัฐสภาพลเอก ชเวม่าน นายทหารสายเหยี่ยวที่คุมรัฐสภาอยู่ เพราะความใกล้ชิดอย่างมากกับต้านชเว ที่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการเมืองในสหภาพพม่า

ในปี พ.ศ. 2564 เขาเป็นผู้นำก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลประชาธิปไตยของอองซานซูจี และประธานาธิบดีวิ่น-มหยิ่น หลังจากที่พรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตยของซูจีชนะการเลือกตั้งอย่างถลมถลาย โดยเขาอ้างว่ามีการทุจริตการเลือกตั้ง และได้เข้าจับกุมซูจีพร้อมด้วยแกนนำพรรคของเธอมาดำเนินคดีในหลากหลายข้อหา ปัจจุบันมิ่นอองไลง์ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและรักษาการประธานาธิบดีตั้งกลางปี พ.ศ. 2567 ตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งเขาได้ปราบปรามผู้ประท้วงต่อต่านการรัฐประหารด้วยวิธีการรุนแรง จนกลุ่มชาติพันธุ์น้อยใหญ่ได้ตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลทหาร อย่างไรก็ดีมิ่นอองไลง์ก็ยังประกาศกฎอัยการศึกเพื่อรักษาอำนาจของเขาต่อไปเรื่อย ๆ[12]

เกียรติคุณ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2561 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1
  •   รัสเซีย :
    • พ.ศ. 2566 –   เครื่องอิสริยาภรณ์อเล็กซานเดอร์ เนฟสกี้

อ้างอิง

แก้
  1. Senior General Min Aung Hlaing Tatmadaw Commander-in-Chief, Alternative Asean Network on Burma, http://www.altsean.org/Research/Regime%20Watch/Executive/CIC.php เก็บถาวร 2011-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Min Aung Hlaing Appointed Vice-Senior General, By DAVID PAQUETTE / THE IRRAWADDY, April 3, 2012, http://www.irrawaddy.org/archives/1890
  3. "The leader of Myanmar's army government is named acting president so he can renew state of emergency". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2024-07-22. สืบค้นเมื่อ 2024-07-23.
  4. "Myanmar army ruler takes prime minister role, again pledges elections". Reuters. 1 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2021. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  5. "Who is Myanmar junta chief Min Aung Hlaing? 5 things to know," เก็บถาวร 19 ธันวาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 6 February 2021, Nikkei Asia, retrieved 28 December 2021
  6. "Myanmar coup: Aung San Suu Kyi detained as military seizes control". BBC News. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2021.
  7. Vice-Senior General Min Aung Hlaing Tatmadaw Commander-in-Chief, Alternative Asean Network on Burma, http://www.altsean.org/Research/Regime%20Watch/Executive/CIC.php เก็บถาวร 2011-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Min Aung Hlaing Appointed Vice-Senior General, By DAVID PAQUETTE / THE IRRAWADDY, April 3, 2012, http://www.irrawaddy.org/archives/1890
  9. Min Aung Hlaing Appointed Vice-Senior General, By DAVID PAQUETTE / THE IRRAWADDY, April 3, 2012, http://www.irrawaddy.org/archives/1890
  10. Myanmar general defends military's political role, By AYE AYE WIN, Associated Press – Tue, Mar 27, 2012, http://news.yahoo.com/myanmar-general-defends-militarys-political-role-061046525.html
  11. Min Aung Hlaing Appointed Vice-Senior General, By DAVID PAQUETTE / THE IRRAWADDY, April 3, 2012, http://www.irrawaddy.org/archives/1890
  12. "รัฐประหารเมียนมา 2564 อำนาจอธิปไตยที่ไม่ได้เป็นของประชาชน" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-02-01.
  13. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 44 ข ลงวันที่ 15 กันยายน 2560 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่นายทหารต่างประเทศ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/B/044/1.PDF เก็บถาวร 2021-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนที่ 10 ข ลงวันที่ 26 มีนาคม 2556 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่นายทหารต่างประเทศ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/B/010/2.PDF เก็บถาวร 2021-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน