รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2505

รัฐประหารในประเทศพม่า เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 เป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองแบบสังคมนิยมและการครอบงำการเมืองของกองทัพพม่า เป็นระยะเวลา 26 ปี ระบบการเมืองที่เป็นผลสืบเนื่องดำเนินมากระทั่งวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2531 เมื่อกองทัพยึดอำนาจในฐานะสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) หลังการก่อการกำเริบ 8888 ทั่วประเทศ รัฐประหาร พ.ศ. 2505 นำโดยพลเอก เนวี่น และสภาปฏิวัติสังคมนิยม ซึ่งมีสมาชิก 24 คน ในระยะเวลา 12 ปีถัดจากนี้ กระทั่ง พ.ศ. 2517 พม่าปกครองด้วยกฎอัยการศึก และมีการขยายบทบาทของทหารอย่างสำคัญในเศรษฐกิจ การเมืองและรัฐการพม่า[1] นโยบายและอุดมการณ์ของรัฐบาลหลังรัฐประหารตั้งอยู่บนแนวคิดวิถีพม่าสู่สังคมนิยม (Burmese Way to Socialism) ซึ่งมีการประกาศต่อสาธารณะหนึ่งเดือนหลังรัฐประหารและเสริมด้วยการจัดตังพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า

รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2505
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า
RangoonStreetView.jpg
วันที่2 มีนาคม ค.ศ. 1962
สถานที่ย่างกุ้ง, พม่า
ผล สาธารณรัฐระบบรัฐสภาถูกล้มเลิก, ก่อตั้งระบอบสังคมนิยมทหาร
คู่สงคราม
Flag of Burma (1948–1974).svg กองทัพพม่า Flag of Burma (1948–1974).svg สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
Flag of Burma (1948–1974).svg เนวี่น
(ประธานสภาปฏิวัติ)
Flag of Burma (1948–1974).svg วี่น-มอง (ประธานาธิบดีพม่า)
Flag of Burma (1948–1974).svg อู้นุ
(นายกรัฐมนตรีพม่า)
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
กองกำลังทหารพม่า ตำรวจ. ที่เหลือเป็นกลาง
ความสูญเสีย
1 - 2 คน

ภูมิหลังแก้ไข

 
พลเอก เนวี่น (ขวา) ผู้นำในการก่อรัฐประหาร

หลังจากพม่าได้รับเอกราช มีความตึงเครียดทางการทหารและการลุกฮือของชนกลุ่มน้อย ใน พ.ศ. 2491 เนวินขึ้นมามีอำนาจในกองทัพ ต่อมา ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2492 เนวินได้เป็นผู้บัญชาการทหารและเข้าควบคุมทหารทั้งหมดแทนนายพลสมิท ดุนที่เป็นชาวกะเหรี่ยง ทำให้เนวินได้จัดระเบียบกองทัพใหม่ ต่อมา อู้นุได้ร้องขอให้เนวินเป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลเมื่อ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2501 หลังจากที่สันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์แตกออกเป็นสองส่วน และอู้นุเกือบไม่ได้รับการไว้วางใจจากรัฐสภา เนวินได้ฟื้นฟูกฎระเบียบใหม่ในระหว่างที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาล การเลือกตั้งใหม่ใน เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 นั้นอู้นุเป็นฝ่ายชนะ และได้จัดตั้งรัฐบาลเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2503

รัฐประหารแก้ไข

ต่อมาเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 เนวินขึ้นสู่อำนาจอีกครั้งโดยการก่อรัฐประหาร ตัวเขาเองมีสถานะเป็นประมุขรัฐ ในฐานะประธานสภาปฏิวัติสหภาพ และเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย เขาได้จับกุมอู้นุ เจ้าส่วยแต้กและคนอื่น ๆ อีกหลายคน และประกาศจัดตั้งรัฐสังคมนิยม เซาเมียะ เทียก บุตรชายของเจ้าส่วยแต้กถูกยิงเสียชีวิตหลังการวิจารณ์รัฐประหาร เจ้าฟ้าจาแสงหายตัวไปอย่างลึกลับหลังจากหยุดที่จุดตรวจใกล้ตองจี[2]

หลังจากมีการลุกฮือที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 ได้มีการส่งทหารเข้าไปจัดระเบียบใหม่ มีการเผาผู้ประท้วงและทำลายอาคารสหภาพนักศึกษา[3] หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยทั่วประเทศถูกสั่งปิดเป็นเวลา 2 ปี จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2507 ใน พ.ศ. 2531 อีก 26 ปีต่อมา เนวินปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการทำลายอาคารสหภาพนักศึกษา โดยกล่าวว่าเป็นคำสั่งของอองจี้

หลังจากนั้นและผลกระทบแก้ไข

รัฐประหารได้เปลี่ยนพม่าจากสหภาพที่มีหลายพรรคการเมืองไปเป็นรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวคือพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การลงทุนของเอกชนโดยเฉพาะที่ไม่ใช่ของพม่าถูกยึดเป็นของรัฐ บริษัทต่างชาติต่างถอนตัวออกไป และปกครองประเทศด้วยกฎอัยการศึกจนถึง พ.ศ. 2517 จึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ใช้ชื่อประเทศว่าสาธารณรัฐสังคมแห่งสหภาพพม่าได้ใช้ธงชาติที่มีสัญลักษณ์ของสังคมนิยม ผลของรัฐประหารทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของพม่าหยุดชะงักจนกลายเป็นประเทศด้อยพัฒนาใน พ.ศ. 2530

อ้างอิงแก้ไข

  1. Schock, Kurt (1999). "People Power and Political Opportunities: Social Movement Mobilization and Outcomes in the Philippines and Burma". Soc. Probs. 46: 358. {{cite journal}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |1= (help)
  2. Smith, Martin (1991). Burma — Insurgency and the Politics of Ethnicity. London and New Jersey: Zed Books.
  3. Boudreau, Vincent (2004) Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia Cambridge University Press, Cambridge, U.K., pp. 37-39, 50-51 เก็บถาวร 2011-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ISBN 0-521-83989-0