การก่อการกำเริบ 8888

การประท้วง การเดินขบวน และความไม่สงบทางการเมืองทั่วประเทศพม่า (เมียนมาร์) ที่เกิดขึ้นสูงส

การก่อการกำเริบ 8888 (อังกฤษ: 8888 Uprising[6]; พม่า: ၈၈၈၈ အရေးအခင်း หรือ ရှစ်လေးလုံးအရေးအခင်း) เป็นการกำเริบระดับชาติเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมื่อ ค.ศ. 1988 การก่อการกำเริบนี้เริ่มขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 และจากวันที่นี้ (8-8-88) ทำให้เหตุการณ์นี้มักเป็นที่รู้จักในชื่อ "การก่อการกำเริบ 8888"

การก่อการกำเริบ 8888
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า
บริเวณเจดีย์ซู่เลในปัจจุบัน สถานที่นัดพบสำคัญของเหตุการณ์
วันที่12 มีนาคม ค.ศ. 1988 (1988-03-12)21 กันยายน ค.ศ. 1988 (1988-09-21)
(6 เดือน 1 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่พม่า (ทั้งประเทศ)
สาเหตุ
  • การยกเลิกธนบัตร
  • การจัดการเศรษฐกิจที่ผิดพลาด
  • ความล้มเหลวของ วิถีพม่าสู่สังคมนิยม
  • ฉ้อราษฎร์บังหลวง
  • การปกครองแบบเผด็จการทหาร
เป้าหมายประชาธิปไตย
วิธีการ
สถานะการปราบปรามด้วยความรุนแรง
การยอมผ่อนปรน
  • การเลือกตั้งแต่ผลการเลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับจากทหาร
  • นายพลเน วิน​ลาออก
จำนวน
ความเสียหาย
เสียชีวิต
  • 3,000 – 10,000 คน [3][4][5]
  • ผู้ประท้วงนับหมื่นคนหนีเข้าประเทศไทยและเข้าร่วมกับกลุ่มที่ใช้ความรุนแรง ซึ่งต่อมาถูกกองทัพปราบ
บาดเจ็บไม่ทราบ
ถูกจับกุมไม่ทราบ

ประเทศพม่าปกครองด้วยพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าในฐานะรัฐที่มีพรรคการเมืองเดียวมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 การปกครองเน้นชาตินิยมและรัฐเข้าควบคุมการวางแผนทุกประการ การลุกฮือครั้งนี้เริ่มจากนักศึกษาในย่างกุ้งเมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 การประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ[3] ต่อมามีคนเรือนแสนที่เป็นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บ้านและหมอ ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง[7] การประท้วงสิ้นสุดลงในวันที่ 18 กันยายน หลังจากเกิดรัฐประหารที่นองเลือดของสภาฟื้นฟูกฎหมายและกฎระเบียบแห่งรัฐซึ่งเป็นองค์กรที่เปลี่ยนรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า มีผู้เสียชีวิตนับพันคนจากปฏิบัติการทางทหารระหว่างการก่อการกำเริบ[3][4][5] ในขณะที่ในพม่ารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 350 คน[8][9]

ในระหว่างวิกฤติการณ์ อองซาน ซูจีได้ปรากฏตัวขึ้นในฐานะสัญลักษณ์ของชาติ เมื่อทางกองทัพจัดการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2533 พรรคของเธอคือสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยได้ 80% ของที่นั่งทั้งหมดในสภา แต่กองทัพปฏิเสธผลการเลือกตั้งและกักตัวอองซาน ซูจีไว้ในบ้านพัก การกักตัวสิ้นสุดลงประมาณ พ.ศ. 2553

ภูมิหลัง

แก้

ปัญหาทางเศรษฐกิจ

แก้

ก่อนเข้าสู่วิกฤติ พม่าปกครองด้วยระบบที่โดดเดี่ยวตัวเองของเนวินตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ประเทศมีหนี้สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีเงินสดสำรองระหว่าง 20 – 35 ล้านเหรียญ อัตราหนี้สินภาคบริการเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณของประเทศ[10] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีนักศึกษาออกมาประท้วงคว่ำบาตรรัฐบาลที่ประกาศยกเลิกธนบัตรที่ใช้ในตลาด[11]

ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2530 เนวินได้ประกาศยกเลิกธนบัตรราคา 100 75 35 และ 25 จ๊าดที่เพิ่งออกใช้ใหม่ และให้ใช้ธนบัตรเพียง 45 และ 90 จ๊าด เนื่องจากเป็นธนบัตรที่ตัวเลขหารด้วยเก้าลงตัว ซึ่งถือเป็นเลขนำโชคของเนวิน[12] นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งได้เริ่มประท้วงที่ย่างกุ้ง[13] ทำให้มหาวิทยาลัยในย่างกุ้งปิดเพื่อให้นักศึกษากลับบ้าน ต่อมา มีการประท้วงครั้งใหญ่ในมัณฑะเลย์โดยพระสงฆ์และกรรมกร มีการเผาอาคารของรัฐและธุรกิจของรัฐ[14] สื่อในพม่ารายงานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการประท้วง แต่ข้อมูลได้แพร่กระจายไปโดยเร็วในหมู่นักศึกษา[14]

เมื่อมีการเปิดเรียนอีกครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 มีกลุ่มที่เคลื่อนไหวใต้ดินในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ออกมาวางระเบิดในเดือนพฤศจิกายน ตำรวจได้รับจดหมายจากกลุ่มใต้ดินซึ่งจัดการประท้วงขนาดเล็กในมหาวิทยาลัย[15] หลังจากที่พม่าได้รับสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้วางนโยบายให้เกษตรกรขายผลผลิตในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อให้รัฐบาลได้กำไรเพิ่มขึ้น จึงมีการประท้วงอย่างรุนแรงในเขตชนบท[16]

การประท้วงระยะแรก

แก้

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งได้โต้เถียงในร้านน้ำชาซานดา ซินเกี่ยวกับการเล่นดนตรีผ่านเครื่องเสียง[6][14] คนที่เมาไม่สามารถกรอเทปไปยังเพลงที่นักศึกษาต้องการ[17] ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกันขึ้น คนในร้านที่เป็นลูกชายของเจ้าหน้าที่ BSPP ถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายนักศึกษาและถูกปล่อยตัวอย่างรวดเร็ว นักศึกษาได้ประท้วงที่สถานีตำรวจในท้องถิ่น แต่มีตำรวจ 500 คนมาสลายการชุมนุม นักศึกษาคนหนึ่งชื่อโพน เมาถูกยิงเสียชีวิต เหตุการณ์ทำให้ผู้ต้องการประชาธิปไตยโกรธแค้นและมีการปลุกระดมในมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่ไม่เคยเข้าร่วมมาก่อนได้มาร่วมด้วยและได้ขยายเป้าหมายจากการใช้อำนาจของตำรวจไปสู่การประท้วงการทำงานของรัฐบาล

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม มีการประท้วงเกิดขึ้นหลายแห่ง และมีการสลายฝูงชนด้วยแก๊สน้ำตา กลุ่มนักศึกษาได้ขว้างก้อนหินเข้าใส่ตำรวจ เผาร้านน้ำชาและอาคารอีกหลายหลัง ในวันที่ 16 มีนาคม นักศึกษาประท้วงต้องการให้เน วินลาออกและยกเลิกการปกครองด้วยระบอบพรรคการเมืองเดียว และได้ตั้งขบวนเดินเข้าหาทหารที่ทะเลสาบอินยา ทำให้มีนักศึกษาหลายคนเสียชีวิตและถูกข่มขืน นักศึกษาหลายคนได้ยินเสียงตำรวจตะโกน “อย่าให้มันหนี” และ “ฆ่ามัน” ซึ่งทำให้กลุ่มต่อต้านได้รับการสนับสนุนมากขึ้น การประท้วงครั้งนี้ได้ลุกลามไปจนถึงวันที่ 18 มีนาคม รัฐบาลจึงควบคุมสถานการณ์ได้ รัฐบาลพม่ารายงานว่าตำรวจยิงนักศึกษาเสียชีวิต 2 คน นักศึกษาถูกจับกุม 625 คน ต่อมาได้ปล่อยตัว 484 คน ควบคุมตัวไว้ 141 คน

เน วินลาออก

แก้

หลังจากการประท้วงครั้งล่าสุด ได้ประกาศปิดมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหลายเดือน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 มีการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา .ในวันที่ 17 มิถุนายน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งย่างกุ้งได้จัดชุมนุมใหญ่ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม และให้รัฐบาลรับรองสหภาพนักศึกษาที่ถูกยุบไปเมื่อ พ.ศ. 2505 รัฐบาลสั่งปิดมหาวิทยาลัยในวันที่ 21 มิถุนายนและสั่งให้นักศึกษาจากต่างจังหวัดกลับภูมิลำเนา นักศึกษายังคงประท้วงต่อไป มีนักศึกษาและตำรวจปราบจลาจลจำนวนมากที่เสียชีวิตจากการประท้วงในเดือนนี้ รัฐบาลได้ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่ 18.00 – 6.00 น. จนถึง 19 กรกฎาคม และมีการประท้วงได้กระจายไปเกิดขึ้นในอีกหลายเมืองในพม่า เช่น พะโค มัณฑะเลย์ ทวาย ตองอู ชิตตเว ปกอกกู เมอกุย มินบู และมยิตจีนาเป็นต้น ผู้ประท้วงต้องการให้ใช้ระบอบหลายพรรคการเมือง ทำให้เน วินประกาศลาออกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เน วินกล่าวว่าเขาเห็นด้วยกับระบบหลายพรรคการเมืองแต่ต้องให้เป็นหน้าที่ตัดสินใจของเส่ง วิน ผู้นำคนใหม่[18]

การประท้วงหลัก

แก้

1 – 7 สิงหาคม

แก้
 
ธงของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า

การประท้วงมาถึงจุดสูงสุดในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาวางแผนให้มีการประท้วงทั่วประเทศในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ข่าวของการประท้วงไปถึงเขตชนบท และ 4 วันก่อนการประท้วง นักศึกษาทั่วประเทศออกมาประท้วงให้เส่ง วินลาออกและรัฐบาลทหารสลายตัวไป มีการติดโปสเตอร์ตามถนนในย่างกุ้งโดยสหภาพนักศึกษาพม่าทั้งมวล กลุ่มใต้ดินออกมาเคลื่อนไหวซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงของพระสงฆ์และคนงานใน พ.ศ. 2523 ในช่วง 2 - 10 สิงหาคม กลุ่มผู้ประท้วงได้ปรากฏตัวในเมืองส่วนใหญ่ในพม่า

 
ธงของ สันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่กลายเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้บนท้องถนนของพม่า

ในช่วงนี้ หนังสือพิมพ์ของฝ่ายต่อต้านได้ตีพิมพ์อย่างอิสระ การเดินขบวนประท้วงสามารถทำได้ และผู้ปราศรัยได้รับการคุ้มครอง ในย่างกุ้ง สัญลักษณ์แรกของการเคลื่อนไหวปรากฏในวันพระที่ชเวดากอง ซึ่งนักศึกษาออกมาสนับสนุนการประท้วง ในบางพื้นที่มีการบริจาคเพื่อสนับสนุนการเดินขบวน

ในช่วง 2-3 วันแรกของการประท้วงในย่างกุ้ง ผู้ประท้วงได้ติดต่อทนายและพระในมัณฑะเลย์เพื่อให้เข้าร่วมการประท้วง นักศึกษาเข้าร่วมการประท้วงอย่างรวดเร็ว พร้อมกับชาวพม่าหลายอาชีพ การประท้วงบนถนนในย่างกุ้งได้แพร่กระจายไปตามเมืองสำคัญ มีผู้ประท้วง 10,000 คนที่พระเจดีย์สุเล มีการเผาหุ่นของเน วินและเส่ง วิน มีการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่องในสนามกีฬาและโรงพยาบาลทั่วประเทศ[19] รัฐบาลได้ประกาศกฏอัยการศึกในวันที่ 3 สิงหาคมห้ามชุมนุมเกิน 5 คนและห้ามออกนอกเคหสถานระหว่าง 20.00 – 4.00 น.

8 – 12 สิงหาคม

แก้

การนัดหยุดงานที่วางแผนไว้เริ่มในวันที่ 8 สิงหาคม การประท้วงอย่างหนักเกิดขึ้นทั้งพม่ารวมทั้งชนกลุ่มน้อย ชาวพุทธและมุสลิม นักศึกษา คนงาน เยาวชน ล้วนออกมาประท้วง มีการเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมกับการเรียกร้องของประชาชน ในมัณฑะเลย์มีการประท้วงอย่างเป็นระบบและอภิปรายเกี่ยวกับระบบหลายพรรค ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมมาจากเมืองและหมู่บ้านใกล้เคียง มีการนัดหยุดงาน ชาวนาที่ไม่พอใจรัฐบาลได้ไปประท้วงที่ย่างกุ้ง

หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลไดมีคำสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ เน วินสั่งว่า “ปืนไม่ได้มีไว้ยิงขึ้นฟ้า” ผู้ประท้วงได้ใช้ดาบ มีด ก้อนหิน สารพิษและรถจักรยานเป็นอาวุธ ผู้ประท้วงเผาสถานีตำรวจ ในวันที่ 10 สิงหาคม ทหารได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลย่างกุ้ง ฆ่าหมอและพยาบาลที่รักษาผู้บาดเจ็บจากการประท้วง วิทยุของรัฐบาลรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุม 1,451 คน ทหารได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 95 คน บาดเจ็บ 240 คน

13 – 31 สิงหาคม

แก้

เส่ง วินได้ลาออกอย่างไม่มีใครขาดหมายในวันที่ 12 สิงหาคม ทำให้ผู้ประท้วงเกิดความสับสน ในวันที่ 19 สิงหาคม ท่ามกลางเสียงเรียกร้องต้องการรัฐบาลพลเรือน ดร. หม่อง หม่องได้เข้ามาเป็นรัฐบาล ซึ่งเขาเป็นพลเรือนคนเดียวในพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ามาของหม่อง หม่องทำให้นักศึกษาที่เป็นแกนนำในการประท้วงได้ประกาศปฏิเสธการแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ การประท้วงเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ในมัณฑะเลย์มีผู้ออกมาประท้วง 100,000 คนรวมทั้งพระสงฆ์ และในชิตตเวอีก 50,000 คน มีการเดินขบวนในตองจีและมะละแหม่ง อีก 2 วันต่อมามีผู้คนหลากหลายอาชีพเข้าร่วมการประท้วง ในช่วงนี้

ในวันที่ 26 สิงหาคม อองซาน ซูจีได้ออกมาร่วมกับผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการกลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อการต่อสู้ในพม่า ซูจีเรียกร้องให้ประชาชนชุมนุมโดยสงบ ณ จุดนี้ ในเวลานั้น การลุกฮือมีลักษณะคล้ายกับการกำเริบพลังประชาชนในฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2529 ในเวลานี้ อูนุและอาวจีได้กลับมามีบทบาททางการเมืองอีก

กันยายน

แก้

ในการประชุมสภาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2531 มีผู้ออกเสียงให้ใช้ระบบหลายพรรคการเมืองถึง 90% พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าออกมาประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้ง แต่พรรคฝ่ายค้านเรียกร้องให้ลาออก เพื่อให้มีรัฐบาลชั่วคราวเข้ามาจัดการเลือกตั้ง พรรคโครงการสังคมนิยมพม่าปฏิเสธ ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงออกมาอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2531 ในช่วงกลางเดือนกันยายน การประท้วงเป็นไปด้วยความรุนแรงและผิดกฎหมาย เกิดการประท้วงกันอย่างรุนแรง

รัฐประหารและสลอร์ก

แก้
รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2531
วันที่18 กันยายน พ.ศ. 2531
ที่ตั้งร่างกุ้ง พม่า (ปัจจุบันคือย่างกุ้ง พม่า)
ประเภทรัฐประหารโดยกองทัพ
สาเหตุการก่อการกำเริบ 8888
เหตุจูงใจการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
จัดโดยพลเอก ซอมอง
ผู้เข้าร่วมกองทัพพม่า
ผลการก่อตั้งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (สลอร์ก)
  • การระงับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517
  • ล้มล้างอำนาจรัฐทั้งมวลที่ก่อร่างขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517
ถ้าทหารยิง มันไม่ใช่การยิงขึ้นฟ้า แต่จะยิงไปข้างหน้าเพื่อฆ่า
 
— เน วิน[20][21]

ในวันที่ 18 กันยายน ทหารได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง นายพลซอหม่องได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2517 และจัดตั้งสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐหรือสลอร์ก หลังจากที่ได้ประกาศกฏอัยการศึก ได้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้น นักศึกษา พระสงฆ์และนักเรียนราวพันคนถูกสังหาร และมีประชาชนอีก 500 คนถูกฆ่าในการประท้วงนอกสถานทูตสหรัฐอเมริกา นักศึกษาบางส่วนได้หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย

สิ้นเดือนกันยายน ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน และผู้บาดเจ็บไม่ทราบจำนวน เฉพาะในย่างกุ้งมีผู้เสียชีวิตประมาณพันคน ในวันที่ 21 กันยายน รัฐบาลได้เข้ามาปกครองประเทศและขบวนการต่อต้านได้สลายตัวไปในเดือนตุลาคม เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2531 เชื่อว่าผู้เสียชีวิตร่วมหมื่นคนและสูญหายอีกจำนวนมาก

หลังจากนั้น

แก้
 
การรำลึกเหตุการณ์การก่อการกำเริบ 8888 มีอย่างต่อเนื่องทั่วโลก

หลายคนในพม่าเชื่อว่าระบอบนี้จะล่มสลายเพราะสหประชาชาติและประเทศเพื่อนบ้านตัดความช่วยเหลือ ชาติตะวันตกและญี่ปุ่นตัดความช่วยเหลือทันที อินเดียได้ปิดชายแดนและจัดตั้งค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนพม่า ใน พ.ศ. 2532 สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติประชาธิปไตยได้ออกไปอยู่ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนที่มีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลเช่นกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง ต่อมาหลายคนเข้าร่วมฝึกเป็นทหาร

สื่อในพม่าระหว่างนั้นถูกควบคุมและรายงานข่าวที่เป็นมิตรกับรัฐบาล ระหว่าง พ.ศ. 2531 – 2543 รัฐบาลพม่าได้สร้างพิพิธภัณฑ์ 20 แห่ง ให้รายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทของทหารในประวัติศาสตร์พม่า

ความสำคัญ

แก้

ในปัจจุบันเหตุการณ์นี้เป็นที่จดจำในพม่า นักศึกษาพม่าที่อยู่ในไทยได้จัดงานรำลึกทุกวันที่ 8 สิงหาคม ในการฉลองครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์นี้ในพม่า มีผู้ถูกจับกุม 48 คน[22] มีผู้เขียนบทกวีเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์นี้ ภาพยนตร์ใน พ.ศ. 2538 เรื่อง Beyond Rangoon ใช้ข้อมูลจากเหตุการณ์นี้ ผู้ประท้วงบางคนมีบทบาทอีกในการประท้วงต่อต้านรัฐบาลพม่าใน พ.ศ. 2550 กลุ่มนักศึกษา 88 มีส่วนในการจัดการประท้วงและถูกจับกุมคุมขังหลายคน

อ้างอิง

แก้
  1. Neeraj Gautam (2009). Buddha, his life & teachings. Mahavir & Sons Publisher. ISBN 81-8377-247-1.
  2. 2.0 2.1 Fong (2008), pp. 149
  3. 3.0 3.1 3.2 Ferrara (2003), pp. 313
  4. 4.0 4.1 Fogarty, Phillipa (7 August 2008). Was Burma's 1988 uprising worth it?. BBC News.
  5. 5.0 5.1 Wintle (2007)
  6. 6.0 6.1 Yawnghwe (1995), pp. 170
  7. Aung-Thwin, Maureen. (1989). Burmese Days เก็บถาวร 2006-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Foreign Affairs.
  8. Ottawa Citizen. 24 September 1988. pg. A.16
  9. Associated Press. Chicago Tribune. 26 September 1988.
  10. Lintner (1989), pp. 94–95.
  11. Boudreau (2004), pp. 192
  12. Tucker (2001), pp. 228
  13. Lwin (1992)
  14. 14.0 14.1 14.2 Boudreau (2004), pp. 193
  15. Lintner (1989), pp. 95–97.
  16. Yitri (1989)
  17. Fong (2008), pp. 147
  18. Fong (2008). In 1962, Lwin had ordered troops to fire on student protestors, killing dozens, and ordered the Union Building at Rangoon University to be blown up.
  19. Mydans, Seth. (12 August 1988). Uprising in Burma: The Old Regime Under Siege. The New York Times.
  20. Yeni. "Twenty Years of Marking Time". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2011.
  21. Kyi May Kaung (8 สิงหาคม 2008). "Burma: waiting for the dawn". Open Democracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011.
  22. *Tun, Aung Hla. (8 August 2008). Myanmar arrests "8-8-88" anniversary marchers. International Herald Tribune.

หนังสือและวารสาร

  • Boudreau, Vincent. (2004). Resisting Dictatorship: Repression and Protest in Southeast Asia. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-83989-1.
  • Burma Watcher. (1989). Burma in 1988: There Came a Whirlwind. Asian Survey, 29(2). A Survey of Asia in 1988: Part II pp. 174–180.
  • Callahan, Mary. (1999). Civil-military relations in Burma: Soldiers as state-builders in the postcolonial era. Preparation for the State and the Soldier in Asia Conference.
  • Callahan, Mary. (2001). Burma: Soldiers as State Builders. ch. 17. cited in Alagappa, Muthiah. (2001). Coercion and Governance: The Declining Political Role of the Military in Asia. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-4227-6
  • Clements, Ann. (1992). Burma: The Next Killing Fields? Odonian Press. ISBN 978-1-878825-21-6
  • Delang, Claudio. (2000). Suffering in Silence, the Human Rights Nightmare of the Karen People of Burma. Parkland: Universal Press.
  • Europa Publications Staff. (2002). The Far East and Australasia 2003. Routledge. ISBN 978-1-85743-133-9.
  • Ferrara, Federico. (2003). Why Regimes Create Disorder: Hobbes's Dilemma during a Rangoon Summer. The Journal of Conflict Resolution, 47(3), pp. 302–325.
  • Fink, Christina. (2001). Living Silence: Burma Under Military Rule. Zed Books. ISBN 978-1-85649-926-2
  • Fong, Jack. (2008). Revolution as Development: The Karen Self-determination Struggle Against Ethnocracy (1949–2004). Universal-Publishers. ISBN 978-1-59942-994-6
  • Ghosh, Amitav. (2001). The Kenyon Review, New Series. Cultures of Creativity: The Centennial Celebration of the Nobel Prizes. 23(2), pp. 158–165.
  • Hlaing, Kyaw Yin. (1996). Skirting the regime's rules.
  • Lintner, Bertil. (1989). Outrage: Burma's Struggle for Democracy. Hong Kong: Review Publishing Co.
  • Lintner, Bertil. (1990). The Rise and Fall of the Communist Party of Burma (CPB). SEAP Publications. ISBN 978-0-87727-123-9.
  • Lwin, Nyi Nyi. (1992). Refugee Student Interviews. A Burma-India Situation Report.
  • Maung, Maung. (1999). The 1988 Uprising in Burma. Yale University Southeast Asia Studies. ISBN 978-0-938692-71-3
  • Silverstein, Josef. (1996). The Idea of Freedom in Burma and the Political Thought of Daw Aung San Suu Kyi. Pacific Affairs, 69(2), pp. 211–228.
  • Smith, Martin. (1999). Burma – Insurgency and the Politics of Ethnicity. Zed Books. ISBN 978-1-85649-660-5
  • Steinberg, David. (2002). Burma: State of Myanmar. Georgetown University Press. ISBN 978-0-87840-893-1
  • Tucker, Shelby. (2001). Burma: The Curse of Independence. Pluto Press. ISBN 978-0-7453-1541-6
  • Wintle, Justin. (2007). Perfect Hostage: a life of Aung San Suu Kyi, Burma’s prisoner of conscience. New York: Skyhorse Publishing. ISBN 978-0-09-179681-5
  • Yawnghwe, Chao-Tzang. Burma: Depoliticization of the Political. cited in Alagappa, Muthiah. (1995). Political Legitimacy in Southeast Asia: The Quest for Moral Authority. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-2560-6
  • Yitri, Moksha. (1989). The Crisis in Burma: Back from the Heart of Darkness? University of California Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้