พ.ศ. 2531
ปี
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1988)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พุทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1350 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- มหาศักราช 1910
- ปีจัดพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
- 100 ปี พระยาอนุมานราชธน
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2531 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1988 MCMLXXXVIII |
Ab urbe condita | 2741 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1437 ԹՎ ՌՆԼԷ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6738 |
ปฏิทินบาไฮ | 144–145 |
ปฏิทินเบงกอล | 1395 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2938 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 36 Eliz. 2 – 37 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2532 |
ปฏิทินพม่า | 1350 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7496–7497 |
ปฏิทินจีน | 丁卯年 (เถาะธาตุไฟ) 4684 หรือ 4624 — ถึง — 戊辰年 (มะโรงธาตุดิน) 4685 หรือ 4625 |
ปฏิทินคอปติก | 1704–1705 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3154 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1980–1981 |
ปฏิทินฮีบรู | 5748–5749 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2044–2045 |
- ศกสมวัต | 1910–1911 |
- กลียุค | 5089–5090 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11988 |
ปฏิทินอิกโบ | 988–989 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1366–1367 |
ปฏิทินอิสลาม | 1408–1409 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 63 (昭和63年) |
ปฏิทินจูเช | 77 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4321 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 77 民國77年 |
เวลายูนิกซ์ | 567993600–599615999 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี:
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม - เกิดเหตุเพลิงไหม้โรงแรมเฟิส์ท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คน
- 4 มกราคม - สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 4 เริ่มแพร่ภาพออกอากาศ
กุมภาพันธ์
แก้- 1 กุมภาพันธ์ - พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศเปิดสมรภูมิบ้านร่มเกล้า ระหว่างไทย-ลาว ที่ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
- 19 กุมภาพันธ์ - มีการประกาศหยุดยิงในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า
- 25 กุมภาพันธ์ - ภัตตาคาร ห้อยเทียนเหลา ในเยาวราชเปิดบริการเป็นวันสุดท้าย
มีนาคม
แก้- 4 มีนาคม - เหตุลอบสังหาร นายชัยวัฒน์ พลังวัฒนกิจ หรือ โหงว ห้าพลัง ที่สนามมวยเวทีลุมพินี ซึ่งเป็นคดีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องของเจ้าพ่อกับเจ้าพ่อ
- 8 มีนาคม - วันสถาปนามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- 13 มีนาคม - อุโมงค์เซคัง อุโมงค์ที่ยาวที่สุดในโลกในประเทศญี่ปุ่นเปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการ
- 21 มีนาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูนชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติแอฟริกา ครั้งที่ 16 ณ ประเทศโมร็อกโก
เมษายน
แก้- 5 เมษายน- เหตุการณ์จี้เครื่องบินคูเวตแอร์เวย์เที่ยวบิน 422ที่ทะเลอาหรับหลังออกจากสนามบินดอนเมืองปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติคูเวต มีผู้เสียชีวิต 2 ราย
- 26 เมษายน - คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนงานโครงการพัฒนาดอยตุง ตามพระราชดำริ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม - ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับโลกเท่านั้น
- 9 พฤษภาคม - เขาค้อ แกแล็คซี่สร้างประวัติศาสตร์เป็นแชมป์โลกคู่แฝดคู่แรกของโลกในวันนี้เมื่อชิงแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวท WBA ชนะคะแนน วิลเฟรโด วาสเควซ โดยแฝดน้องคือ เขาทราย แกแล็คซี่ครองแชมป์โลกตั้งแต่ พ.ศ. 2527
- 21 พฤษภาคม - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ
- 24 พฤษภาคม - ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลคนที่ 37
- 31 พฤษภาคม - องค์การอนามัยโลก ได้จัดวันงดสูบบุหรี่โลกเป็นครั้งแรก
มิถุนายน
แก้- 14 มิถุนายน - มูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคล และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 12 กรกฎาคม
- 27 มิถุนายน - ชาง จุงกู ทำลายสถิติป้องกันแชมป์โลกสูงสุดของทวีปเอเชียโดยป้องกันแชมป์โลกรุ่นไลท์ฟลายเวท WBC ครั้งที่ 15 ได้ในวันนี้ ทำลายสถิติเดิมของโยโกะ กูชิเก้นที่ทำไว้ 14 ครั้ง และเป็นสถิติโลกในรุ่น 108 ปอนด์ด้วย ก่อนจะถูกทำลายลงโดยยูห์ เมียงวู
กรกฎาคม
แก้- 2 กรกฎาคม - พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
- 11 กรกฎาคม - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาของสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย
- 24 กรกฎาคม - ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่าพรรคชาติไทยได้ที่นั่งมากที่สุดและเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม
- 28 กรกฎาคม - พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 3 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม - พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง
- 4 สิงหาคม - พรรคชาติไทยจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศ
- 8 สิงหาคม - เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าครั้งใหญ่โดยนักศึกษาและประชาชน
- 12 สิงหาคม - นายพลเส่ง ละวินประกาศลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาลเนื่องจากการประท้วงอย่างรุนแรงของนักศึกษาและประชาชน
- 29 สิงหาคม -
- พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และนายกรัฐมนตรี ให้เป็นรัฐบุรุษ
- การชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกรุ่นมินิฟลายเวท IBF ระหว่างสมุทร ศิษย์นฤพนธ์ แชมป์โลกขาวไทยกับ ฮวาง อินเคียว ผู้ท้าชิงชาวเกาหลีใต้ที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นการป้องกันแชมป์โลกคู่สุดท้ายของโลกที่ชกกัน 15 ยก
กันยายน
แก้- 9 กันยายน - เครื่องบินตูโปเลฟ 131 ของสายการบินแอร์เวียดนาม ตกที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีผู้เสียชีวิต 76 คน รวมทั้งรัฐมนตรีของเวียดนาม และนักการทูตชาวอินเดีย
- 15 กันยายน - วันสถาปนาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล หรือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในปัจจุบัน
- 17 กันยายน - 2 ตุลาคม - กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ โซล ประเทศเกาหลีใต้
- 24 กันยายน -
- กีฬาโอลิมปิก : เบน จอห์นสัน "เอาชนะ" คาร์ล ลูอิส และ ลินฟอร์ด คริสตี ในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร ด้วยเวลา 9.79 วินาที (ต่อมาถูกเพิกถอนเนื่องจากพบว่าใช้สารกระตุ้น)
- ก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยขึ้นในพม่า
- 27 กันยายน - วันสถาปนาพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย นำโดย ออง ซาน ซูจี ในพม่า
- 29 กันยายน - องค์การนาซาส่งกระสวยอวกาศขึ้นบินเป็นครั้งแรก หลังจากโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
ตุลาคม
แก้พฤศจิกายน
แก้- 10 พฤศจิกายน - ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ประเทศไทย หลังการเรียกร้องขอคืนจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา
- 16 พฤศจิกายน - เบนาซีร์ บุตโต วัย 35 ปี ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน นับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศมุสลิม
- 22 พฤศจิกายน - เกิดเหตุโคลนถล่มและซุงจากการลักลอบทำลายป่า ทะลักเข้าใส่หมู่บ้านที่ตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน เหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ
- 24 พฤศจิกายน - ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด จ.สุราษฎร์ธานี เพาะพันธุ์ปลาตะพัดหรือปลามังกร หรือปลาอะโรวาน่า ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดหายาก ใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
ธันวาคม
แก้- 18 ธันวาคม – ทีมฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบียชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 9 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์
- 21 ธันวาคม - ผู้ก่อการร้ายวางระเบิด เที่ยวบินแพนแอมที่ 103 เมืองล็อกเกอร์บี สกอตแลนด์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 270 คน
- 30 ธันวาคม - คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสถาปนาเป็นคณะวิชาในลำดับที่ 16 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- 31 ธันวาคม - มีเหตุการณ์ไฟไหม้งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2532 ที่ จ.เชียงใหม่ มีผู้เสียชีวิต 10 คน บาดเจ็บ 240 คน เป็นเหตุที่ทำให้งานปีใหม่ต้องยกเลิกโดยปริยาย
ไม่ทราบวัน
แก้- ประเทศไทยเริ่มใช้เหรียญ 5 บาท และ 10 บาท
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันเกิด
แก้มกราคม
แก้- 9 มกราคม - สุชาร์ มานะยิ่ง (ออม) พิธีกร นักแสดงหญิงชาวไทย และเป็นบุตรสาวของ พรพรรณ วนา นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 16 มกราคม - นีแกลส เปนต์เนอร์ นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก
- 20 มกราคม
- อิสริยะ ภัทรมานพ (ฮั่น) นักร้อง นักแสดงชายชาวไทย
- อร อรดี นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 28 มกราคม - ณัฐวรา วงศ์วาสนา (มิ้นท์) นักแสดงชาวไทย
- 31 มกราคม - เหมือนแพร พานะบุตร (กิ่ง The Star) นักร้องชาวไทย
กุมภาพันธ์
แก้- 3 กุมภาพันธ์ - โจว คยูฮยอน นักร้องเกาหลีวง Super Junior
- 7 กุมภาพันธ์ - ไอ คาโงะ อดีตนักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 11 กุมภาพันธ์ - หลี่ ฉุน นักร้องหญิงชาวจีน
- 13 กุมภาพันธ์ - หลิน เกิงซิน นักแสดงชาวจีน
- 18 กุมภาพันธ์ - ชิมชางมิน (MAX TVXQ) นักร้องกลุ่มชายของเกาหลี
- 22 กุมภาพันธ์
- มิณฑิตา วัฒนกุล นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- โก อู-รี นักร้องนวงเรนโบว์ (วงดนตรีเกาหลี)
- 26 กุมภาพันธ์ - คิม ย็อน คย็อง อดีตกัปตันวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเกาหลีใต้
- 29 กุมภาพันธ์
- ก้านตอง ทุ่งเงิน นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- ธรรมพร จูมจัตุรัส นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
มีนาคม
แก้- 1 มีนาคม - ปอ ปาริชาต นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 3 มีนาคม - อุษามณี ไวทยานนท์ (ขวัญ) นักแสดงชาวไทย
- 5 มีนาคม
- พิชญา เชาวลิต (ฟาง) นักแสดงหญิงชาวไทย
- อีลียา ควาชา นักกีฬากระโดดน้ำชาวยูเครน
- 9 มีนาคม - ภัทรนิษฐ์ แก้วมณี นักแสดงหญิงชาวไทย
- 12 มีนาคม - วิทวัส สิงห์ลำพอง นักแสดง พิธีกร และนายแบบชาวไทย
- 14 มีนาคม
- ซูเมีย อบัลฮาจา นักมวยไทยชาวโมร็อกโก
- ณธฤษภ์ ธรรมรสโสภณ นักฟุตบอลชาวไทย
- 23 มีนาคม - ณัฐชา วิทยากาศ นักแสดงชาวไทย
- 24 มีนาคม - สุธีวัน ทวีสิน นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 25 มีนาคม - กาญจน์คณึง เนตรศรีทอง นักแสดงหญิงชาวไทย
- 30 มีนาคม - กณิณ ปัทมนันถ์ นักแสดงชาวไทย
เมษายน
แก้- 3 เมษายน - ติม กรึล นักฟุตบอลชาวดัตช์
- 11 เมษายน - ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล (กระติ๊บ) นักแสดงหญิงชาวไทย
- 17 เมษายน - ทากาฮิโระ โมริอุจิ นักร้องนำวง ONE OK ROCK ชาวญี่ปุ่น
- 19 เมษายน - ฮารุนะ โคจิมะ นักแสดง นักร้อง อดีตสมาชิกไอดอลญี่ปุ่นวง AKB48
- 25 เมษายน - โจนาธาน เบลีย์ นักแสดงชายชาวอังกฤษ
พฤษภาคม
แก้- 17 พฤษภาคม - ปาลิตา โกศลศักดิ์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 18 พฤษภาคม - แทยัง วง บิ๊กแบง จากประเทศเกาหลีในสังกัด YG Entertainment
- 23 พฤษภาคม - จรณ โสรัตน์ (ท็อป) นักแสดงชายชาวไทย
- 27 พฤษภาคม - เขมนิจ จามิกรณ์ (แพนเค้ก) นักแสดงหญิงชาวไทย
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน - ทามากิ นามิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 6 มิถุนายน - ธีรศิลป์ แดงดา นักฟุตบอลชาวไทย
- 8 มิถุนายน - ภคมน บุณยะภูติ นักร้อง นักแสดงชาวไทย
- 24 มิถุนายน - นิชคุณ หรเวชกุล ชาวไทย ซึ่งเป็นนักแสดง พิธีกร และนักร้องวง 2PM จากประเทศเกาหลีในสังกัด JYP Entertainment
กรกฎาคม
แก้- 7 กรกฎาคม - พิชยดนย์ พึ่งพันธ์ (ซัน) นักแสดงชาวไทย
- 17 กรกฎาคม - ณัฐรัฐ โมริส เลอกรอง นักแสดงและนายแบบชาวไทย
- 26 กรกฎาคม - จิรัฐชัย ชยุติ นักร้องชาวไทย
- 27 กรกฎาคม - แคทลียา อินทะชัย นักร้องและนักแสดงชาวไทย
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม - กรวรรณ สุทธิวงศ์ (กวาง เดอะสตาร์) เดอะสตาร์ปีที่ 7
- 3 สิงหาคม - โด๋ ถิ มิญ นักวอลเลย์บอลชาวเวียดนาม
- 8 สิงหาคม - เจ้าหญิงเบียทริซแห่งยอร์ก พระธิดาองค์โตในเจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก กับซาราห์ ดัชเชสแห่งยอร์ก อดีตพระชายา
- 10 สิงหาคม - พรพรรณ ฤกษ์อัตการ นักแสดงและนางงามชาวไทย
- 18 สิงหาคม - ควอน จียง G-DRAGON วง บิ๊กแบง จากประเทศเกาหลีในสังกัด YG Entertainment
กันยายน
แก้- 6 กันยายน - นิธิดล ป้อมสุวรรณ (ไนกี้) นักแสดงชาวไทย
- 13 กันยายน - ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- 16 กันยายน - เท็ดดี้ ไกเกอร์ นักร้องชายชาวอเมริกัน
- สุมณทิพย์ ชี - นักแสดงหญิงชาวไทย
- 20 กันยายน - ภัทริน ลาภกิตติกุล นักแสดงและพิธีกรชาวไทย
- 26 กันยายน - กฤษณ์ บุญญะรัง (บี้ เดอะ สกา) ยูทูปบอร์ชาวไทย
ตุลาคม
แก้- 4 ตุลาคม - ยูบิน สมาชิกวง Wonder Girls ชาวเกาหลีใต้
- 12 ตุลาคม - แคลัม สกอตต์ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ
- 13 ตุลาคม - ฟ้าเพชรน้อย ส.จิตรพัฒนา แชมป์โลกมวยสากลเยาวชน
- 17 ตุลาคม - กรกันต์ สุทธิโกเศศ นักร้อง นักแสดงชื่อดัง ผู้ประกาศข่าว ช่อง เวิร์คพอยท์
- 17 ตุลาคม - ยูโกะ โอชิมะ นักร้อง นักแสดง อดีตสมาชิกไอดอลญี่ปุ่นวง AKB48
- 18 ตุลาคม - ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ (พีค) นักแสดงชาวไทย
- 20 ตุลาคม
- ขวัญกวินท์ ธำรงรัฐเศรษฐ์ (เกี่ยวก้อย) นักแสดง และนางแบบชาวไทย
- ริสะ นีงากิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 21 ตุลาคม - ทิตชญา ภูดิทกุลกานต์ นักแสดงชาวไทย
- 23 ตุลาคม - จิรวัฒน์ สอนวิเชียร นักฟุตซอลชาวไทย
- 27 ตุลาคม
- ภูวรินทร์ คีแนน นักร้องชาวไทย
- ฌอห์ณ จินดาโชติ นักแสดง และพิธีกรชาวไทย
พฤศจิกายน
แก้- 6 พฤศจิกายน - เอมมา สโตน นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- 23 พฤศจิกายน - พูลภัทร อัตถปัญญาพล นักแสดงชาวไทย
- 27 พฤศจิกายน - ชีรณัฐ ยูสานนท์ (น้ำชา) นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน - ธนบูลย์ วัลลภศิรินันท์ นักแสดง ดีเจ และ พิธีกรชาวไทย
- 29 พฤศจิกายน
- อธิชนัน ศรีเสวก (ไอซ์) นักแสดง และนางแบบชาวไทย
- พิมพ์นิภา จิตตธีรโรจน์ (แก้มบุ๋ม) นักแสดงชาวไทย
ธันวาคม
แก้- 4 ธันวาคม - มาริโอ้ เมาเร่อ นักแสดงชาวไทย
- 5 ธันวาคม - นวพล ลำพูน นักแสดงและนายแบบชาวไทย
- 7 ธันวาคม
- บุษกร ตันติภนา (เอ้ก) นางแบบ นักร้อง นักแสดง พิธีกรรายการโทรทัศน์
- เอมิลี บราวนิง นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลีย
- โทรุ ยามาชิตะ มือกีต้าร์วง ONE OK ROCK ชาวญี่ปุ่น
- 10 ธันวาคม - กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า (เกรซ) นักแสดงชาวไทย
- 17 ธันวาคม - ริน ทาคานาชิ นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 23 ธันวาคม
- เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชาวไทย
- เอริ คาเมอิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 24 ธันวาคม - คิม แจ-คย็อง นักร้องวงเรนโบว์ (วงดนตรีเกาหลี)
- 28 ธันวาคม - พินทุสร ศรีณรงค์ นักดนตรีชาวไทยและหัวหน้าวงดุริยางค์เยาวชนไทย ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ
วันถึงแก่กรรม
แก้- 11 มกราคม - ประมูล อุณหธูป (นามปากกา อุษณา เพลิงธรรม) นักประพันธ์ชาวไทย (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
- 15 กุมภาพันธ์ - ริชาร์ด ไฟน์แมน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2461)
- 5 พฤษภาคม - ไมเคิล ชารา นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 23 มิถุนายน พ.ศ. 2471)
- 8 พฤษภาคม - โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2450)
- 25 กรกฎาคม - จูดิธ บาร์ซี นักแสดงเด็กชาวอเมริกัน (เกิด 6 มิถุนายน พ.ศ. 2521)
- 27 สิงหาคม - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ประสูติ 2 มีนาคม พ.ศ. 2440)
- 1 กันยายน - หลุยส์ อัลวาเรซ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2454)
- 16 ตุลาคม - ซาฟีนาซ ซุลฟิการ์ อดีตสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์ (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2464)
- 3 ธันวาคม - หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของไทย (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444)
- 26 ธันวาคม - หม่อมเจ้าวิศิษฎ์สวัสดิรักษ์ สวัสดิวัตน์ (ประสูติ 5 เมษายน พ.ศ. 2442)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้ละครโทรทัศน์
แก้- ยอดหญิงสิงห์วอลเลย์ (Attack No.1) ละครโทรทัศน์ญี่ปุ่น (พ.ศ. 2545) - โคซึเอะ อายุฮาระ ตัวละครเอกของเรื่อง เกิดวันที่ 14 กันยายนของปีนี้
รางวัล
แก้รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – Johann Deisenhofer, Robert Huber, Hartmut Michel
- สาขาวรรณกรรม – นากิบ มาห์ฟูซ
- สาขาสันติภาพ – กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ
- สาขาฟิสิกส์ – Leon Max Lederman, Melvin Schwartz, Jack Steinberger
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจมส์ ดับเบิลยู. แบล็ก, เจอร์ทรูด บี. เอลเลียน, จอร์จ เอช. ฮิทชิงส์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Maurice Allais