โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์
โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ (อังกฤษ: Robert A. Heinlein) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน มักถูกเรียกขานว่า "ประธานนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์" (dean of science fiction writers)[1] นับว่าเป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลมากคนหนึ่ง ไฮน์ไลน์ กับ ไอแซค อสิมอฟ และ อาเทอร์ ซี. คลาร์ก ได้รับยกย่องว่าเป็น "Big Three" หรือพี่ใหญ่ทั้งสามแห่งวงการนิยายวิทยาศาสตร์[2][3]
โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ | |
---|---|
เกิด | 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 รัฐมิสซูรี สหรัฐ |
เสียชีวิต | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (อายุ 80 ปี) แคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
อาชีพ | นักเขียน |
สัญชาติ | อเมริกัน |
แนว | นิยายวิทยาศาสตร์ นิยายแฟนตาซี วรรณกรรมเยาวชน |
แนวร่วมในทางวรรณคดี | Golden Age of Science Fiction |
ผลงานที่สำคัญ | Starship Troopers, เขามาจากดาวอังคาร, ทวิดารา, จันทราปฏิวัติ |
ผลงาน
แก้บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
- Stranger in a strange land (ได้ Hugo) - นิยายไซไฟที่ดังที่สุดในอเมริกาของไฮน์ไลน์ เป็นเรื่องราวออกแนวศาสนา เคยแปลในชื่อไทยว่า "เขามาจากดาวอังคาร" หลายสิบปีมาแล้ว แต่ฉบับแปลได้ทอนเนื้อหาออกไปมากทีเดียว
- The moon is a harsh mistress (ได้ Hugo) - แปลในชื่อไทยว่า จันทราปฏิวัติ / สนพ. ask media เรื่องออกแนว political sci-fi เกี่ยวกับการปฏิวัติของชาวจันทราเพื่อปลดแอกตนออกจากโลก
- Double star (ได้ Hugo) - เป็นเรื่องออกแนว political sci-fi เช่นเดียวกับจันทราปฏิวัติ
- Starship troopers (ได้ Hugo) - อีกเรื่องที่ดังมากๆ และถูกนำไปทำเป็นหนัง hollywood เนื้อเรื่องออกแนว military sci-fi
- Have space suit - will travel - แปลในชื่อไทยว่า ลุยอุตลุดไปกับชุดอวกาศ / สนพ. ask media ไฮน์ไลน์เขียนเรื่องแนวตะลุยอวกาศไว้หลายเรื่อง ซึ่งตัวเรื่องจะออกแนวเด็กกว่าแนวอื่นๆ
ในนิยายของไฮน์ไลน์หลายๆ เรื่อง ได้ประดิษฐ์สำนวนที่ดังๆ และถูกใช้กันจนกลายเป็นสำนวนธรรมดา เช่น TANSTAAFL (there ain't no such thing as a free lunch) จากเรื่อง จันทราปฏิวัติ เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ "WonderCon 2008 :: Robert A. Heinlein Memorial Blood Drive". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-20. สืบค้นเมื่อ 2009-08-23.
- ↑ Robert J. Sawyer. The Death of Science Fiction
- ↑ Sir Arthur Clarke Named Recipient of 2004 Heinlein Award เก็บถาวร 2009-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Heinlein Society Press Release. May 22, 2004.