มหาศักราช (ตัวย่อ ม.ศ.; อังกฤษ: Shalivahana era, Saka era) เป็นศักราชที่ใช้ตามปีครองราชย์ของ พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ หรือ พระเจ้าสลิวาหนะ ศากยะวงศ์องค์หนึ่ง[1] ที่มีอาณาเขตยิ่งใหญ่ปกครองอาณาเขตถึงบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ อินเดียส่วนเหนือ อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน และส่วนตะวันตกของจีน ปีมหาศักราชนั้นในหนังสือไทยจะอ้างถึงปีที่เริ่มครองราชย์คือ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78)[2] ในขณะที่บันทึกต่างประเทศระบุว่าครองราชย์ในปี ค.ศ. 127 (พ.ศ. 670)[3] [4] ด้านสารานุกรมบริเตนนิการะบุว่าไม่ทราบปีครองราชย์ที่แน่นอน คาดว่าอยู่ในช่วง ค.ศ. 78 - 144[5]

เหรียญที่มีภาพDamasena ผู้ปกครองเซแทร็ปตะวันตก ระบุปีผลิตเหรียญที่ ม.ศ. 153 (100-50-3 ในตัวเลขอักษรพราหมี) ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 231

เมื่อมหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียงต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่[ต้องการอ้างอิง] สันนิษฐานว่าอาณาจักรอยุธยา เลิกใช้มหาศักราชจากเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2112 และเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)[ต้องการอ้างอิง]

ปัจจุบันการแปลงมหาศักราชเป็นพุทธศักราช ให้นำ 621 บวกปีมหาศักราชนั้น จะได้ปีพุทธศักราช หากจะแปลงพุทธศักราชเป็นมหาศักราชก็ทำได้ด้วยการนำ 621 ลบกับปีพุทธศักราชนั้น จะได้ปีมหาศักราช

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ทำไมเรียกว่า"ศักราช"". aksorn.com. Dek-D.com. 23 เมษายน 2549.
  2. "ความรู้เรื่องศักราชที่ใช้ในหนังสือไทย". สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.
  3. Falk, Harry (2001). "The yuga of Sphujiddhvaja and the era of the Kuṣâṇas". Silk Road Art and Archaeology. VII: 121–136.
  4. Falk, Harry (2004). "The Kaniṣka era in Gupta records". Silk Road Art and Archaeology. X: 167–176.
  5. Maren Goldberg, บ.ก. (6 February 2009). Kaniska Kushan king. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 December 2019.