ปฏิทินอาร์มีเนีย

ปฏิทินอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian calendar) เป็นปฏิทินดั้งเดิมของอาร์มีเนียที่เคยมีการใช้งานในช่วงสมัยกลาง

ปฏิทินอาร์มีเนียอิงตามความยาวของปีคงที่ 365 วัน เนื่องจากวันสุริยะคติมี 365.25 วัน ไม่ใช่ 365 วัน ทำให้ทั้งปีสุริยะคติและปฏิทินจูเลียนเลื่อนช้า ๆ ทุกปี โดยจะเลื่อนไปหนึ่งปีจูเลียนทุก ๆ 1,461 ปี ดังนั้น ปีอาร์มีเนียที่ 1461 (ค.ศ. 2011 ทั้งแบบกริกอเรียนและจูเลียน) เป็นปีที่ครบวงจรหนึ่งรอบ และปฏิทินอาร์มีเนียจึงล่าช้าไปหนึ่งปี

ใน ค.ศ. 352 อันเดรอัสแห่งไบแซนไทน์รวบรวมตารางนี้ให้แก่ชาวอาร์มีเนียเพื่อระบุวันทำพิธีทางศาสนา เมื่อตารางหมดลงในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 552 (ปฏิทินจูเลียน) จึงมีการใช้งานปฏิทินอาร์มีเนียขึ้น[1] ทำให้ปีที่ 1 ของปฏิทินนี้เริ่มต้นในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 552 ตามปฏิทินจูเลียน[1] ปีอาร์มีเนียที่ 1462 (ปีแรกของวงจรที่สอง) เริ่มขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ตามปฏิทินจูเลียน (24 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 ตามปฏิทินกริกอเรียน)

การนิพจน์เชิงวิเคราะห์ของวันที่อาร์มีเนียมีทั้งชื่อวันในสัปดาห์แบบเก่า ชื่อแบบคริสเตียนของวันในสัปดาห์ วันในเดือน วัน/เดือน/ปี หลัง ค.ศ. 552 และพิธีกรรมทางศาสนา[2]

ปฏิทินอาร์มีเนียแบ่งออกเป็น 12 เดือน แต่ละเดือนมี 30 วัน กับห้าวัน (เพิ่มวัน) ที่มีชื่อว่า aweleacʿ ("ฟุ่มเฟือย") ตัวเลขปีมักเขียนด้วยตัวเลขอาร์มีเนีย ซึ่งเป็นตัวอักษรจากชุดตัวอักษรอาร์มีเนียนำหน้าอักษรย่อ ԹՎ คือ t’vin หมายถึง "ในปี" เช่น ԹՎ ՌՆԾԵ หมายถึง "ปี 1455"

เดือน แก้

ชื่อเดือนในปฏิทินแสดงอิทธิพลของปฏิทินโซโรอัสเตอร์[3] และในภาษากลุ่มคอเคซัสใต้สองเดือน (เดือนที่ 2 และ 3) มีระบบทับศัพท์ชื่อภาษาอาร์มีเนียต่าง ตารางข้างล่างทับศัพท์ตามระบบHübschmann-Meillet-Benveniste:

เดือน
# ภาษาอาร์มีเนีย ทับศัพท์แบบ
H-M
ความหมาย ศัพทมูลวิทยา/หมายเหตุ
1 նաւասարդ nawasard ปีใหม่ อเวสตะ: *nava sarəδa
2 հոռի hoṙi สอง จากจอร์เจีย ორი (ori) หมายถึง "สอง"
3 սահմի sahmi สาม จากจอร์เจีย სამი (sami) หมายถึง "สาม"
4 տրէ trē โซโรอัสเตอร์ Tïr
5 քաղոց kʿałocʿ เดือนแห่งพืชผล จากอาร์มีเนียเก่า քաղեմ (kʿałem) หมายถึง "เพื่อรวบรวม" จากPIE *kʷl̥-
6 արաց aracʿ เวลาเก็บเกี่ยว จากอาร์มีเนียเก่า արաց[4](aracʿ), หมายถึงเวลาเก็บเกี่ยว, การเก็บเกี่ยวองุ่น/ผลไม้
7 մեհեկան mehekan เทศกาลมิถรา อิเรเนียน *mihrakān-; โซโรอัสเตอร์ Mitrō
8 արեգ areg เดือนดวงอาทิตย์ จากอาร์มีเนียเก่า արեւ (arew) หมายถึง "ดวงอาทิตย์" จาก PIE *h₂rew-i- ซึ่งมีความหมายเดียวกัน
9 ահեկան ahekan เทศกาลไฟ อิเรเนียน *āhrakān-; โซโรอัสเตอร์ Ātarō
10 մարերի mareri กลางปี อเวสตะ maiδyaīrya; โซโรอัสเตอร์ Dīn
11 մարգաց margacʿ
12 հրոտից hroticʿ เปอร์เซียกลาง *fravartakān; โซโรอัสเตอร์ Spendarmat̰
13 աւելեաց[5] aweleacʿ ซ้ำซาก, ฟุ่มเฟือย การเพิ่มวัน

วันในเดือน แก้

วันในเดือน
# ชื่อ ภาษาอาร์มีเนีย ความหมาย
1 Areg Արէկ ดวงอาทิตย์
2 Hrand Հրանդ ดินที่ผสมกับไฟ
3 Aram Արամ
4 Margar Մարգար ศาสดา
5 Ahrank’ Ահրանկ เผาครึ่งหนึ่ง
6 Mazdeł
7 Astłik Աստղիկ Astłik
8 Mihr Միհր Mihr
9 Jopaber วุ่นวาย
10 Murç Մուրց ชัยชนะ
11 Erezhan ฤๅษี
12 Ani Անի ชื่อเมือง
13 Parkhar
14 Vanat Վանատ เจ้าภาพ เจ้าอาวาสวัด
15 Aramazd Արամազդ Aramazd
16 Mani Մանի จุดเริ่มต้น
17 Asak Ասակ ไร้จุดเริ่มต้น
18 Masis Մասիս เขาอารารัต
19 Anahit Անահիտ Anahit (เทพีอาร์มีเนีย)
20 Aragats Արագած เขาอารากัตส์
21 Gorgor ชื่อภูเขา
22 Kordvik จังหวัดที่ 6 ในArmenia Major
23 Tsmak Ծմակ ลมตะวันออก
24 Lusnak Լուսնակ ดวงจันทร์ครึ่งดวง
25 Tsrōn การกระจายตัว
26 Npat Նպատ Apam Napat
27 Vahagn Վահագն โซโรอัสเตอร์ Vahrām; อเวสตะ Verethragna, ชื่อวันที่ 20
28 Sim Սիմ ภูเขา
29 Varag Վարագ ชื่อภูเขา
30 Gišeravar ดาวประจำเมือง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Tumanian, B. (1973). History of Chronology.
  2. Armenian calendar for 2021
  3. L. H. Gray, "On Certain Persian and Armenian Month- Names as Influenced by the Avesta Calendar," JAOS 28 (1907), 339.
  4. "արաց - Wiktionary". en.wiktionary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-31.
  5. "Hin Haykakan Tomar". haytomar.com.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

บรรณานุกรม แก้

  • V. Bănăţeanu, “Le calendrier arménien et les anciens noms des mois”, in: Studia et Acta Orientalia 10, 1980, pp. 33–46
  • Edouard Dulaurier, Recherches sur la chronologie arménienne technique et historique (1859), 2001 reprint ISBN 978-0-543-96647-6.
  • Jost Gippert, Old Armenian and Caucasian Calendar Systems in The Annual of The Society for The Study of Caucasia", 1, 1989, 3-12.[1]Jost Gippert: Old Armenian and Caucasian Calendar Systems [I: Frame]
  • Louis H. Gray, On Certain Persian and Armenian Month-Names as Influenced by the Avesta Calendar, Journal of the American Oriental Society (1907)
  • P'. Ingoroq'va, “Jvel-kartuli c'armartuli k'alendari” (“The Old Georgian pagan calendar”), in: Sakartvelos muzeumis moambe (“Messenger of the Museum of Georgia”), 6, 1929–30, pp. 373–446 and 7, 1931–32, pp. 260–336
  • K'. K'ek'elije, “Jveli kartuli c'elic'adi” (“The Old Georgian year”), in: St'alinis saxelobis Tbilisis Saxelmc'ipo Universit'et'is šromebi (“Working papers of the Tbilisi State University by the name of Stalin”) 18, 1941, reprinted in the author's “Et'iudebi jveli kartuli lit'erat'uris ist'oriidan” (“Studies in the history of Old Georgian literature”) 1, 1956, pp. 99–124.