ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย
ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบีย (อาหรับ: المنتخب العربي السعودي لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติของประเทศซาอุดีอาระเบียในการแข่งขันระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย มีฉายาคือ อัลศอกรฺ (Al-Saqour) หรือภาษาอังกฤษคือ The Falcons (นกเหยี่ยว) และ อัลอัคฎอร (Al-Akhdar) หรือภาษาอังกฤษคือ The Green ซึ่งมาจากสีประจำทีมคือสีเขียว ซาอุดีอาระเบียได้ลงแข่งขันทั้งในรายการของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
Shirt badge/Association crest | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉายา | الأخضر ("สีเขียว") الصقور الخضر ("เหยี่ยวเขียว") الصقور العربية ("เหยี่ยวอาหรับ") เศรษฐีน้ำมัน (ในภาษาไทย) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาพันธ์ย่อย | ดับเบิลยูเอเอฟเอฟ (เอเชียตะวันตก) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สมาพันธ์ | เอเอฟซี (เอเชีย) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | แอร์เว เรอนาร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
กัปตัน | ซัลมาน อัลฟะร็อจญ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ติดทีมชาติสูงสุด | มุฮัมมัด อัดดะเอียะอ์ (178)[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทำประตูสูงสุด | มาญิด อับดุลลอฮ์ (72)[2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสฟีฟ่า | KSA | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับฟีฟ่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับปัจจุบัน | 56 3 (20 มิถุนายน 2024)[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับสูงสุด | 21 (กรกฎาคม ค.ศ. 2004) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับต่ำสุด | 126 (ธันวาคม ค.ศ. 2012) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เลบานอน 1–1 ซาอุดีอาระเบีย (เบรุต ประเทศเลบานอน; 18 มกราคม ค.ศ. 1957) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนะสูงสุด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ติมอร์-เลสเต 0–10 ซาอุดีอาระเบีย (ดิลี ประเทศติมอร์ตะวันออก; 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แพ้สูงสุด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สหสาธารณรัฐอาหรับ 13–0 ซาอุดีอาระเบีย (กาซาบล็องกา ประเทศโมร็อกโก; 3 กันยายน ค.ศ. 1961) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟุตบอลโลก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 6 (ครั้งแรกใน 1994) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รอบคัดเลือก 16 ทีม (1994) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอเชียนคัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 10 (ครั้งแรกใน 1984) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1984, 1988, 1996) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาหรับคัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 7 (ครั้งแรกใน 1985) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1998, 2002) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาเรเบียนกัลฟ์คัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 24 (ครั้งแรกใน 1970) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1994, 2002, 2003) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 1992) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (1992) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกียรติยศ
|
ซาอุดีอาระเบียเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชีย[4][5] โดยชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพ 3 สมัย (ค.ศ. 1984, 1988 และ 1996) และเป็นหนึ่งในสองทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุด 6 ครั้ง และพวกเขายังคว้าเหรียญเงินในเอเชียนเกมส์ 1986 ซาอุดีอาระเบียเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 6 ครั้ง และยังเป็นชาติแรกในเอเชียที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศการแข่งขันของฟีฟ่าในนามทีมชาติชุดใหญ่ โดยเข้าชิงชนะเลิศรายการ คิงฟาฮัด คัพ ใน ค.ศ. 1992 ซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ "ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ" โดยมีเพียงอีกสองชาติที่ทำสถิติดังกล่าวได้จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ออสเตรเลีย ใน ค.ศ. 1997 (ซึ่งลงแข่งขันในนามสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนียในขณะนั้น) และญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2001
ซาอุดีอาระเบียลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1994 โดยเอาชนะเบลเยียม และโมร็อกโกได้ในรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะเข้าไปแพ้สวีเดนในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ส่งผลให้พวกเขาเป็นทีมจากชาติอาหรับประเทศที่สองที่เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลก ต่อจากโมร็อกโกในฟุตบอลโลก 1986 และเป็นหนึ่งในห้าทีมของเอเชียที่ทำได้ (ร่วมกับญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และเกาหลีเหนือ)
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซาอุดีอาระเบียสร้างความประหลาดใจด้วยการเอาชนะทีมแชมป์อย่างอาร์เจนตินาในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่มด้วยผลประตู 2–1 ถือเป็นครั้งแรกที่อาร์เจนตินาแพ้ชาติจากทวีปเอเชียในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย อย่างไรก็ตาม พวกเขาตกรอบแบ่งกลุ่มจากการแพ้อีกสองนัดถัดมาและจบอันดับสุดท้าย ซาอุดีอาระเบียจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันสองรายการสำคัญคือ เอเชียนคัพ 2027 และ ฟุตบอลโลก 2034 ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาจะเป็นเจ้าภาพการแข่งขันสองรายการดังกล่าว
ประวัติ
แก้ฟุตบอลทีมชาติซาอุดีอาระเบียมีจุดเริ่มต้นใน ค.ศ. 1951 จากการรวมตัวของผู้เล่นจากสโมสรกีฬาอัล-เวห์ดา เมกกะ และ สโมสรฟุตบอลอัลอะฮ์ลี (ญิดดะฮ์) เพื่อลงแข่งขันเกมกระชับมิตรพบกับทีมจากกระทรวงสาธารณสุขจากประเทศอียิปต์ ในวันที่ 27 มิถุนายน ณ เมืองญิดดะฮ์ และทั้งสองทีมได้แข่งขันกันอีกครั้งในวันต่อมา โดยซาอุดีอาระเบียใช้ผู้เล่นของสโมสรฟุตบอลอัล อิติตฮัด และ สโมสรฟุตบอลอัลฮิลาล ต่อมาในเดือนสิงหาคม เจ้าชาย อับดุลลาห์ บิน ไฟซาล อัล ซาอุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดการแข่งขันกระชับมิตรกับอียิปต์เป็นครั้งที่สาม และถือเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดในการจัดตั้งทีมฟุตบอลเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศ
ใน ค.ศ. 1953 ซาอุดีอาระเบียก็ได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลขึ้น และได้เดินทางไปแข่งขันกระชับมิตรระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก ณ กรุงดามัสกัส ประเทศซีเรีย ในวโรกาสที่สมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด เสด็จขึ้นครองราชย์[6] ต่อมาใน ค.ศ. 1957 ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมแข่งขันรายการแพนอาหรับเกมส์ ที่เบรุต ประเทศเลบานอน โดยสมเด็จพระราชาธิบดีซะอูด บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด ได้รับเชิญให้เสด็จไปร่วมพิธีเปิด ณ สนาม คามิลล์ ชามูน สปอร์ตส์ ซิตี สเตเดียม ร่วมกับ คามิลล์ ชามูน ประธานาธิบดีเลบานอน และในนัดเปิดสนามเป็นการแข่งขันระหว่างซาอุดีอาระเบีย และเลบานอน โดยเสมอกันไป 1–1 และซาอุดีอาระเบียตกรอบแบ่งกลุ่ม
สหพันธ์ฟุตบอลซาอุดีอาระเบีย ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1956 ทว่าหลังจากนั้น ซาอุดีอาระเบียไม่ได้ร่วมแข่งขันในรายการสำคัญใด ๆ จนกระทั่งเอเชียนคัพ 1984 ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ได้เป็นสมัยแรก เอาชนะจีนในรอบชิงชนะเลิศ 2–0 และพวกเขากลายเป็นหนึ่งในทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในทวีปเอเชียนับตั้งแต่นั้น โดยเข้าชิงชนะเลิศเอเชียนคัพได้อีก 4 ครั้งติดต่อกัน และคว้าแชมป์เพิ่มได้อีกสองครั้งในปี 1988 (ชนะจุดโทษเกาหลีใต้) และ 1996 (ชนะจุดโทษสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) และได้ร่วมแข่งขันเอเชียนคัพทุกครั้งนับตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถคว้าแชมป์เพิ่มได้ โดยผลงานดีสุดคือการเข้าชิงชนะเลิศในเอเชียนคัพ 2007 แพ้อิรัก 0–1
พวกเขาเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายสมัยแรกในฟุตบอลโลก 1994 ภายใต้ผู้ฝึกสอนชาวอาร์เจนตินา ฆอร์เก โซลารี และผู้เล่นพรสวรรค์สูงอย่าง ซะอีด อัลอุวัยรอน และ ซามี อัลญาบิร พาทีมผ่านเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะแพ้สวีเดน 1–3 และพวกเขาเข้าร่วมฟุตบอลโลกในอีกสามครั้งถัดมา แต่ไม่สามารถชนะในรอบแบ่งกลุ่มแม้แต้นัดเดียว และไม่ได้เข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2010 และ 2014 ก่อนจะกลับมาแข่งขันในฟุตบอลโลก 2018 แพ้เจ้าภาพอย่างรัสเซียในนัดเปิดสนามขาดลอย 0–5[7] ซึ่งถือเป็นการชนะด้วยผลประตูที่มากที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาลของชาติเจ้าภาพในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย[8] นับตั้งแต่อิตาลีเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1934 เอาชนะสหรัฐด้วยผลประตู 7–1[9] ซาอุดีอาระเบียตกรอบแรกอีกครั้งหลังจากแพ้อุรุกวัยไปอย่างสูสี 0–1[10] แม้พวกเขาจะเอาชนะอียิปต์ได้ในนัดสุดท้าย 2–1[11] ในครั้งนี้ซาอุดีอาระเบียมีผลงานในฟุตบอลโลกที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งพวกเขาแพ้เยอรมนี 0–8 และจบในอันดับ 32 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้ายจากการจัดอันดับรวมเมื่อจบการแข่งขัน[12] อย่างไรก็ตาม พวกเขายังได้รับเสียงชื่นชมจากการชนะได้หนึ่งนัดในครั้งนี้ นับเป็นชัยชนะครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1994[13]
ซาอุดีอาระเบียลงแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 ด้วยความคาดหวังว่าจะทำผลงานได้ดีขึ้น แต่พวกเขาจบอันดับสองของกลุ่ม หลังจากแพ้กาตาร์ในรอบสุดท้าย[14] ส่งผลให้พวกเขาต้องพบกับทีมใหญ่อย่างญี่ปุ่นและแพ้ไป 0–1 แม้พวกเขาจะเล่นได้ดีกว่าตลอดทั้งเกม
ในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ซาอุดีอาระเบียได้แข่งขันกับปาเลสไตน์ ที่เวสต์แบงก์เป็นครั้งแรก โดยก่อนหน้านี้การแข่งขันระหว่างสองทีมจะจัดขึ้น ณ ประเทศที่สาม การแข่งขันดังกล่าวถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของซาอุดีอาระเบียและอิสราเอล ทว่าก็ได้รับการวิจารณ์จากองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ว่าจะเป็นการสนับสนุนอำนาจอธิปไตยในเขตเวสต์แบงก์[15] ทั้งสองทีมเสมอกันไป 0–0
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 3 ซาอุดีอาระเบียอยู่ในกลุ่มบีร่วมกับญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, จีน, โอมาน และเวียดนาม พวกเขาสามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลก 2022 รอบสุดท้ายได้หลังจากที่ออสเตรเลียเปิดบ้านแพ้ญี่ปุ่น 0–2 โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับอาร์เจนตินา โปแลนด์ และเม็กซิโก และตกรอบแรกจากผลงานชนะหนึ่งนัดและแพ้สองนัด แม้จะทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในนัดแรกจากการชนะอาร์เจนตินา
คู่แข่ง
แก้อิหร่านถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของซาอุดีอาระเบียด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ และการแข่งขันได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความขัดแย้งจากการแบ่งแยกลัทธิทางศาสนา ซาอุดีอาระเบียมีผลงานการพบกันที่เป็นรองเล็กน้อย โดยชนะ 4 ครั้ง เสมอ 6 ครั้ง และแพ้ 5 ครั้ง และการพบกันของทั้งสองชาติถือเป็นหนึ่งในสิบการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเมืองที่ดุเดือดที่สุด[16]
อิรักถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญเช่นกัน โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากทศวรรษ 1970 จากเหตุการณ์สงครามอ่าว ซึ่งอิรักได้รุกรานพันธมิตรของซาอุดีอาระเบีย และนับแต่นั้นความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติก็ไม่แน่นอนนัก โดยมีทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงบวกสลับกับความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดจนถึงปัจจุบัน โดยอิรักเกือบจะถอนตัวจากการแข่งขัน กัลฟ์ คัพ ออฟ เนชั่นส์ ใน ค.ศ. 2013 หลังจากได้รับการปฏิเสธการเป็นเจ้าภาพ โดยอิรักเชื่อว่าซาอุดีอาระเบียเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
คู่แข่งชาติอื่น ๆ ของซาอุดีอาระเบียได้แก่ กาตาร์, คูเวต และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สนาม
แก้ตั้งแต่อดีต ซาอุดีอาระเบียมักจะลงเล่นที่สนาม คิง ฟาฮัด อินเตอร์เนชันแนล สเตเดียม ตั้งอยู่ในกรุงรียาด เป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่มีหลังคาขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีฉายาว่า "The Pearl" หรือ ไข่มุก โดยเป็นสยามเหย้าในการแข่งขันรายการสำคัญของทีมชาติซาอุดีอาระเบียทั้งในการแข่งขันระดับภูมิภาครวมถึงฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ซาอุดีอาระเบียมีการใช้สนามอื่น ๆ มากขึ้น ในฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก พวกเขาลงเล่นที่ สนามปรินซ์ โมฮาเหม็ด บิน ฟาฮัด สเตเดียม ในอัดดัมมาน และในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก พวกเขาใช้สนาม ไฟซาล บิน ฟาฮัด และนับตั้งแต่ทศวรรษ 2010 ซาอุดีอาระเบียลงเล่นที่คิงอับดุลลอห์สปอร์ตซิตี ในรียาด ซึ่งเป็นสนามที่สร้างขึ้นใหม่ความจุกว่า 60,000 ทีนั่ง
ผลงาน
แก้นักเตะชุดปัจจุบัน
แก้รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวเพื่อลงแข่งขันรายการ เอเชียนคัพ 2023[17]ระหว่างวันที่ 16 – 25 มกราคม พ.ศ. 2567
- คู่แข่ง: โอมาน, คีร์กีซสถาน และ ไทย
- ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 หลังจากการพบกับ จอร์แดน
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | เนาวาฟ อัลอะกีดี | 10 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 4 | 0 | อันนัศร์ |
2 | DF | Fawaz Al-Sqoor | 23 เมษายน ค.ศ. 1996 | 4 | 0 | อัชชะบาบ |
3 | DF | Awn Al-Saluli | 2 กันยายน ค.ศ. 1998 | 2 | 0 | Al-Taawoun |
4 | DF | Ali Lajami | 24 เมษายน ค.ศ. 1996 | 4 | 0 | อันนัศร์ |
5 | DF | อะลี อาล บุลัยฮี | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 | 47 | 1 | อัลฮิลาล |
6 | MF | Eid Al-Muwallad | 14 ธันวาคม ค.ศ. 2001 | 1 | 0 | Al-Okhdood |
7 | MF | Mukhtar Ali | 30 ตุลาคม ค.ศ. 1997 | 6 | 0 | Al-Fateh |
8 | MF | อับดุลอิลาฮ์ อัลมาลกี | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1994 | 32 | 0 | อัลฮิลาล |
9 | FW | ฟิรอส อัลบุร็อยกาน | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 | 36 | 6 | อัลอะฮ์ลี |
10 | MF | ซาลิม อัดเดาซะรี | 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 78 | 22 | อัลฮิลาล |
11 | FW | ศอเลียะห์ อัชชะฮ์รี | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 | 29 | 15 | อัลฮิลาล |
12 | DF | Saud Abdulhamid | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 | 31 | 1 | อัลฮิลาล |
13 | DF | Hassan Kadesh | 27 กันยายน ค.ศ. 1992 | 3 | 0 | อัลอิตติฮาด |
14 | MF | Abbas Al-Hassan | 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 | 2 | 0 | Al-Fateh |
15 | MF | Abdullah Al-Khaibari | 16 สิงหาคม ค.ศ. 1996 | 18 | 0 | อันนัศร์ |
16 | MF | ซามี อันนัจญ์อี | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 | 18 | 2 | อันนัศร์ |
17 | DF | ฮัสซาน อัตตัมบักตี | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 | 26 | 0 | อัลฮิลาล |
18 | MF | Abdulrahman Ghareeb | 31 มีนาคม ค.ศ. 1997 | 21 | 2 | อันนัศร์ |
19 | MF | Fahad Al-Muwallad | 14 กันยายน ค.ศ. 1994 | 76 | 17 | อัชชะบาบ |
20 | FW | Abdullah Radif | 20 มกราคม ค.ศ. 2003 | 7 | 1 | Al-Shabab |
21 | GK | Raghed Al-Najjar | 20 ธันวาคม ค.ศ. 1996 | 0 | 0 | อันนัศร์ |
22 | GK | Ahmed Al-Kassar | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 | 0 | 0 | Al-Fayha |
23 | MF | มุฮัมมัด กันนู | 22 กันยายน ค.ศ. 1994 | 47 | 2 | อัลฮิลาล |
24 | MF | นาศิร อัดเดาซะรี | 19 ธันวาคม ค.ศ. 1998 | 16 | 0 | อัลฮิลาล |
25 | MF | Ayman Yahya | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 | 10 | 0 | อันนัศร์ |
26 | MF | Faisal Al-Ghamdi | 13 สิงหาคม ค.ศ. 2001 | 4 | 0 | อัลอิตติฮาด |
ผู้ฝึกสอน
แก้ผู้ฝึกสอน | จาก | ถึง |
---|---|---|
อับดุลเราะห์มาน เฟาซี | 1957 | 1961 |
อะลี ชาอวช | 1967 | 1969 |
จอร์จ สกินเนอร์ | 1970 | 1970 |
โมฮัมเหม็ด เชตา | 1970 | 1972 |
ตาฮา อิสมาอิล | 1972 | 1974 |
Abdo Saleh El Wahsh | 1974 | 1974 |
เฟเรนซ์ ปุสกัส | 1975 | 1975 |
บิล แม็คแกร์รี | 1976 | 1977 |
แดนนี อัลลิสัน | 1978 | 1978 |
เดวิด วู้ดฟิลด์ | 1979 | 1979 |
รูเบนส์ มิเนลลี | 1980 | 1980 |
มาริโอ ซากัลโล | 1981 | 1984 |
เคาะห์ลีล อิบรอฮีม อัลซะยานี | 1984 | 1986 |
การ์ลูส ฌูแซร์ กัสติลโญ่ | 1986 | 1986 |
ออสวัลโด | 1987 | 1987 |
รอนนี อเลน | 1988 | 1988 |
การ์ลูส กัลเล็ตติ | 1988 | 1988 |
โอมาร์ บอร์ราส | 1988 | 1988 |
การ์ลูส อัลแบร์โต ปาร์เรย์รา | 1988 | 1990 |
เมติน ตูเรล | 1990 | 1990 |
เคลาดินโญ่ การ์เซีย | 1990 | 1992 |
เวโลโซ | 1992 | 1992 |
เนลสัน โรซา มาร์ตินส์ | 1992 | 1992 |
แคนดิญโญ่ | 1993 | 1993 |
ลีโอ บีนฮัคเคอร์ | 1993 | 1994 |
โมฮัมเหม็ด อัลเคาะห์ราชี | 1994 | 1994 |
อิโว เวิร์ทมันน์ | 1994 | 1994 |
ฆอร์เก โซลารี | 1994 | 1994 |
โมฮัมเหม็ด อัลเคาะห์ราชี | 1995 | 1995 |
เซ มาริโอ | 1995 | 1996 |
เนโล วินกาดา | 1996 | 1997 |
ฮันเซล วัลเดม | 1996 | 1997 |
อ็อตโต ฟิตส์เตอร์ | 1998 | 1998 |
การ์ลูส อัลแบร์โต ปาร์เรย์รา | 1998 | 1998 |
โมฮัมเหม็ด อัลเคาะห์ราชี | มิถุนายน 1998 | มิถุนายน 1998 |
อ็อตโต ฟิตส์เตอร์ | 1999 | กุมภาพันธ์ 1999 |
มิลาน มาคาลา | พฤษภาคม 1999 | 2000 |
นาศิร อัลโญฮัร | 2000 | 2000 |
สโลโบดัน ซานทรัช | สิงหาคม 2001 | สิงหาคม 2001 |
นาศิร อัลโญฮัร | สิงหาคม 2001 | กรกฎาคม 2002 |
เจอร์ราร์ด ฟาน เดอ เลม | สิงหาคม 2002 | สิงหาคม 2004 |
มาร์ติน คูปมัน | 2002 | 2002 |
นาศิร อัลโญฮัร | กันยายน 2004 | พฤศจิกายน 2004 |
กาเบรียล กัลเดรอน | พฤศจิกายน 2004 | ธันวาคม 2005 |
มาร์กอส ปาเกตา | 2006 | 2007 |
เอลิโอ ดอส อันฌูส | มีนาคม 2007 | มิถุนายน 2008 |
นาศิร อัลโญฮัร | มิถุยายน 2008 | กุมภาพันธ์ 2009 |
ฌูแซร์ เปเซโร | กุมภาพันธ์ 2009 | มกราคม 2011 |
นาศิร อัลโญฮัร | มกราคม 2011 | กุมภาพันธ์ 2011 |
โรเจริโอ รอเลนโซ | มิถุนายน 2011 | กรกฎาคม 2011 |
แฟรงก์ ไรจ์การ์ด | สิงหาคม 2011 | มกราคม 2013 |
ฆวน รามอน โลเปซ กาโร | มกราคม 2013 | ธันวาคม 2014 |
คอสมิน โอลาโรอู | ธันวาคม 2014 | มกราคม 2015 |
Faisal Al Baden | มีนาคม 2015 | สิงหาคม 2015 |
แบร์ต ฟัน มาร์ไวก์ | กันยายน 2015 | กันยายน 2017 |
Edgardo Bauza | กันยายน 2017 | พฤศจิกายน 2017 |
Juan Antonio Pizzi | พฤศจิกายน 2017 | 2019 |
Youssef Anbar | 2019 | 2019 |
แอร์เว เรอนาร์ | 2019 | 2023 |
Laurent Bonadéi | 2021 | 2021 |
Saad Al-Shehri | 2023 | 2023 |
โรแบร์โต มันชีนี | 2023 | 2024 |
แอร์เว เรอนาร์ | 2024 |
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "FIFA Century Club" (PDF). Fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
- ↑ "Majed Abdullah". RSSSF.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
- ↑ "How Saudi Arabian football is thriving with two big targets in sight". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-28.
- ↑ "How Saudi Arabia got back to top of Asian football". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-18.
- ↑ "1953.. أول بعثة رياضية إلى الخارج". arriyadiyah.com (ภาษาอาหรับ).
- ↑ "Impressive Russia win World Cup opener". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ 161385360554578 (2018-06-20). "Are Saudi Arabia the worst team ever at a World Cup?". talkSPORT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "History of the World Cup: 1934 – Italy wins for Il Duce - Sportsnet.ca". www.sportsnet.ca.
- ↑ "The climate of the UK - Atmosphere and climate - Edexcel - GCSE Geography Revision - Edexcel". BBC Bitesize (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ https://digitalhub.fifa.com/m/3448065c375af8be/original/rsfgqnivvkgwkhlvrsah-pdf.pdf
- ↑ "BBC SPORT | WORLD CUP | Germany v Saudi Arabia | Germany savage Saudis". news.bbc.co.uk.
- ↑ "Salah scores but Egypt lose to Saudis". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-24.
- ↑ "AFC Asian Cup 2019: Saudi Arabia 0-2 Qatar in Abu Dhabi". iranpress.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.washingtonpost.com/world/middle_east/saudi-arabia-breaks-its-decades-long-boycott-to-play-soccer-in-the-west-bank/2019/10/14/9cd78ca0-eea2-11e9-bb7e-d2026ee0c199_story.html
- ↑ "Policy Goals: Soccer and the Saudi-Iranian Rivalry". www.csis.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "مانشيني يعلن قائمة الأخضر المشاركة في كأس آسيا 2023". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-21. สืบค้นเมื่อ 2024-01-09.