ชุดกีฬาฟุตบอล
ในกีฬาฟุตบอล ชุดกีฬา หมายถึง อุปกรณ์มาตรฐานและเครื่องแต่งกายของนักฟุตบอล ในภาษาอังกฤษ สำเนียงบริเตนใช้คำว่า "kit" หรือ "strip" และสำเนียงอเมริกันใช้คำว่า "uniform" ตามกติกานั้นกำหนดให้ใช้ชุดกีฬา และห้ามไม่ให้สวมใส่สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้เล่นอื่น ในการแข่งขันแต่ละแห่งนั้นอาจระบุเงื่อนไขเฉพาะ เช่น กฎบังคับด้านขนาดของโลโก้ที่แสดงบนเสื้อและกล่าวว่า ในการแข่งขันแต่ละนัดระหว่าง 2 ทีมนั้น หากสีของชุดกีฬาเหมือนหรือคล้ายกัน ทีมเยือนจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกชุด
โดยปกติแล้วนักฟุตบอลจะมีหมายเลขอยู่ด้านหลังของเสื้อ โดยทีมแรกจะสวมเสื้อตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 11 เพื่อให้พอสอดคล้องกับตำแหน่งการเล่น แต่ในระดับอาชีพแล้ว หมายเลขของผู้เล่นเข้าใหม่มักจะถูกกำหนดจากหมายเลขของผู้เล่นคนอื่นในทีม ซึ่งผู้เล่นแต่ละคนในทีมจะถูกกำหนดหมายเลขตายตัวในฤดูกาลนั้น ๆ สโมสรอาชีพมักจะแสดงนามสกุลหรือชื่อเล่นบนเสื้อ อาจจะอยู่เหนือ (มีบางครั้งที่อยู่ต่ำกว่า) หมายเลขเสื้อ
ชุดฟุตบอลนั้นมีการพัฒนา แต่เดิมผู้เล่นจะสวมเสื้อผ้าฝ้ายหนา ๆ กางเกงทรงหลวมยาวถึงเข่าและรองเท้าหนังแข็ง ๆ หนัก ๆ ต่อมาในศตวรรษที่ 20 รองเท้าเบาและอ่อนลง ส่วนกางเกงสั้นลง และการพัฒนาด้านการผลิตเสื้อผ้าและการพิมพ์ ได้มีการผลิตเสื้อใยสังเคราะห์ที่เบาลง พร้อมกับการออกแบบที่มีสีสันและซับซ้อนขึ้น เมื่อการเติบโตของการโฆษณาในศตวรรษที่ 20 ทำให้เกิดโลโก้ของผู้สนับสนุนบนเสื้อผ้า และมีการผลิตเสื้อให้แฟนฟุตบอลได้ซื้อหากัน ก่อให้เกิดรายได้จำนวนมากสู่สโมสร
อุปกรณ์
แก้อุปกรณ์พื้นฐาน
แก้กติกาฟุตบอลระบุอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องใส่ของนักฟุตบอลทุกคน โดยในกฎข้อ 4 กล่าวว่า นักฟุตบอลทุกคนต้องมีอุปกรณ์ 5 ชนิด คือ เสื้อ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า รองเท้า และ สนับแข้ง[1] อนุญาตให้ผู้รักษาประตูใส่กางเกงขายาวแทนกางเกงขาสั้นได้[2] นักฟุตบอลส่วนมากใส่รองเท้าสตัด (ภาษาอังกฤษอเมริกันอาจเรียกว่า "soccer shoes"[3][4] หรือ "cleats"[4]) แต่กฎไม่ได้ระบุรายละเอียดเฉพาะของรองเท้า[1] เสื้อต้องมีแขนเสื้อ (จะแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้) และผู้รักษาประตูต้องสวมเสื้อที่แตกต่างจากนักฟุตบอลคนอื่น รวมถึงผู้ตัดสิน อาจใส่กางเกงซับในกันหนาวได้ แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีกางเกงขาสั้น สนับแข้งต้องสามารถใส่ถุงเท้าปกคลุมได้ทั้งหมด วัสดุของสนับแข้งอาจทำจากยาง พลาสติก หรือวัสดุใกล้เคียง และต้องอยู่ในระดับที่สามารถป้องกันได้อย่างสมเหตุสมผล[1] ส่วนข้อห้ามในการใช้อุปกรณ์ มีระบุไว้ในกฎว่า "ห้ามผู้เล่นสวมอุปกรณ์หรืออะไรก็ตามที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้เล่นอื่น"[1]
ในการแข่งขันทั่วไป กำหนดให้ผู้เล่นบนสนามทุกคนในทีมสวมเสื้อสีเดียวกัน ถึงแม้ว่ากฎจะบอกเพียงว่า "ทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่เสื้อสีที่แตกต่างกัน รวมถึงแตกต่างกับผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสิน"[1] ในการแข่งขันระหว่างทีมนั้น หากเสื้อของทีมเยือนมีสีใกล้เคียงกับทีมเหย้า ทีมเยือนต้องเปลี่ยนสีชุด[5] ด้วยกฎนี้ ทำให้ทีมมีเสื้อชุดที่ 2 หรืออาจหมายถึง เสื้อทีมเยือน หรือ สีทีมเยือน ในการแข่งขันระหว่างทีมชาติ ในบางครั้งทีมชาติก็ยังเลือกใส่เสื้อทีมเยือน แม้จะไม่ได้ใส่เสื้อสีขัด ยกตัวอย่างเช่น ฟุตบอลทีมชาติอังกฤษจะใส่เสื้อสีแดง (เสื้อทีมเยือน) ในขณะที่เป็นทีมเหย้า เพื่อให้เหมือนกับชุดที่ใส่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1966[6] สโมสรอาชีพหลายสโมสรมีชุดที่ 3 ใช้ในกรณีหากทั้งเสื้อทีมเยือนหรือทีมเหย้าใกล้เคียงกับฝั่งตรงข้าม[7] สโมสรส่วนใหญ่มักจะคงสีหลักของทีมต่อเนื่องมาหลายทศวรรษ[7] และสีนี่เองที่ส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมสโมสร[8] ทีมชาติในการแข่งขันระหว่างประเทศมักจะสวมเสื้อสีเดียวกับกีฬาประเภทอื่นของทีมชาติด้วยเช่นกัน สีเสื้อทีมชาติมักยึดมาจากสีในธงชาติ แต่ก็มียกเว้น เช่น ฟุตบอลทีมชาติอิตาลี สวมเสื้อสีน้ำเงินแทน เพราะเป็นสีของราชวงศ์ซาวอย ในขณะที่ทีมชาติออสเตรเลีย สวมเสื้อสีเดียวกับสีแห่งชาติ คือ สีเขียวและทอง ที่ทั้ง 2 สีไม่ปรากฏบนสีธงชาติ ส่วนฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ สวมเสื้อสีส้ม ซึ่งเป็นสีของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา[9]
ปกติเสื้อของชุดฟุตบอลทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ที่ไม่ดูดซับเหงื่อและความร้อนจากร่างกายในลักษณะเดียวกับเสื้อที่ทำจากใยธรรมชาติ[10] สโมสรอาชีพส่วนใหญ่มีโลโก้ผู้สนับสนุนด้านหน้าของเสื้อ ซึ่งหมายถึงการสร้างรายได้ให้กับสโมสร[11] และบางสโมสรยังเสนอให้มีโลโก้ด้านหลังของเสื้อด้วย[12] กฎของแต่ละแห่ง มีข้อห้ามเรื่องขนาดของโลโก้ หรือตำแหน่งของโลโก้ที่ปรากฏอยู่บนเสื้อ[13] การแข่งขันอย่างในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ ให้ผู้เล่นสวมเสื้อที่มีโลโก้ของพรีเมียร์ลีกบนแขนเสื้อ[14] หมายเลขของผู้เล่นส่วนใหญ่จะแปะที่ด้านหลังของเสื้อ แต่ในการแข่งขันระดับทีมชาติมักจะแปะหมายเลขไว้ด้านหน้า[15] และการแข่งขันของทีมอาชีพ มีการแปะนามสกุลของผู้เล่นเหนือหมายเลขเสื้อ[16] กัปตันของแต่ละทีมจะสวมปลอกกัปตันทีมรอบแขนซ้าย เพื่อระบุตำแหน่งกัปตันทีมให้ผู้ตัดสินและผู้สนับสนุนรับรู้
ผู้เล่นโดยมากในปัจจุบัน สวมรองเท้าที่ทำขึ้นพิเศษที่อาจทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ รองเท้าสมัยใหม่นั้นมีการตัดลงไปเล็กน้อยเหนือข้อเท้าเพื่อให้แตกต่างจากรองเท้าหุ้มข้อสูงในอดีต และมีสตั๊ดติดอยู่ที่ฝ่าเท้า สตั๊ดมีทั้งยึดติดอยู่กับฝ่าเท้าเลยหรือรุ่นที่นำออกได้[17] รองเท้าสมัยใหม่อย่างเช่น อาดิดาส พรีเดเตอร์ มีแนวความคิดดั้งเดิมที่ออกแบบให้กับอดีตผู้เล่นลิเวอร์พูล เคร็ก จอห์นสตัน มีการออกแบบทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น มีถุงลมที่ฝ่าเท้าและใบมีดยางแทนที่ของสตั๊ด[18] ใบมีดนั้นเป็นที่ถกเถียงในหมู่ผู้จัดการทีมชั้นนำ โดยลงความเห็นว่า ก่อให้เกิดความบาดเจ็บได้ทั้งต่อผู้เล่นฝั่งตรงข้ามและผู้สวมใส่เอง[19][20]
กติการะบุว่าผู้เล่นทุกคน ไม่ว่าจะเพศไหน ก็ต้องสวมเสื้อทีมแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 สโมสรฟุตบอลหญิงเนเธอร์แลนด์ เอฟเวเดอรักท์ (FC de Rakt) ตกเป็นหัวข้อข่าวระดับนานาชาติโดยได้เปลี่ยนชุดกีฬาแบบเก่ามาสวมกระโปรงสั้นและเสื้อรัดรูปแทน รูปแบบชุดกีฬานี้เป็นการเรียกร้องจากทีมเอง และถูกสมาคมฟุตบอลเนเธอร์แลนด์ห้ามใช้ชุดดังกล่าว แต่ต่อมาได้กลับคำตัดสินเมื่อปรากฏว่าสโมสรสวมกางเกงอยู่ใต้ด้านในกระโปรง สมาคมจึงอ่อนข้อให้[21]
อุปกรณ์อื่น
แก้กติกาอนุญาตให้ผู้เล่นสวมถุงมือได้[22] ส่วนผู้รักษาประตูมักจะสวมถุงมือพิเศษ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1970 ผู้เล่นมักไม่ค่อยสวมถุงมือ[23] แต่ปัจจุบันถือเป็นเรื่องผิดปกติหากผู้รักษาประตูไม่สวมถุงมือ ในการแข่งขันระหว่างทีมชาติโปรตุเกส กับทีมชาติอังกฤษในการแข่งขันยูโร 2004 รีการ์ดูถูกวิจารณ์อย่างมากหลังตัดสินใจไม่สวมถุงมือในการดวลลูกโทษ[24] ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา การออกแบบถุงมือได้มีการพัฒนาอย่างชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องป้องกันนิ้วหักไปด้านหลัง มีการแบ่งแต่ละส่วนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และอุปกรณ์สำหรับฝ่ามือก็ออกแบบให้ป้องกันสำหรับให้การยึดเกาะดีมากขึ้น[23] ถุงมือมีการออกแบบในแต่ละส่วนเพื่อความหลากหลาย เช่น แบบแฟลตปาล์ม, โรลล์ฟิงเกอร์, และเนกาทีฟ ที่มีความแตกต่างในการเย็บและความพอดีมือ[25]
ในบางครั้งผู้รักษาประตูจะสวมหมวกแก๊ปเพื่อป้องกันแสงจ้าจากดวงอาทิตย์หรือแสงจ้าจากดวงไฟ[22] ส่วนผู้เล่นที่มีปัญหาด้านสายตา อาจสามารถใส่แว่นสายตาได้ ตราบใดที่ไม่เป็นอันตรายหรือตกหล่นหรือแตก ที่อาจเป็นอันตราย แต่ผู้เล่นส่วนใหญ่มักใส่คอนแทกต์เลนส์มากกว่า ในกรณีของเอ็ดการ์ ดาวิดส์ นักฟุตบอลชาวเนเธอร์แลนด์ ที่ไม่สามารถใส่คอนแทกต์เลนส์ได้เนื่องจากเป็นต้อหิน เขาจึงใส่แว่นตากันลม อันทำให้ผู้คนจดจำภาพลักษณ์ดังกล่าวนี้[26] ส่วนอุปกรณ์อื่นที่อาจทำอันตรายต่อผู้เล่นอื่น อย่างเช่น เครื่องประดับ อัญมณี ไม่อนุญาตให้ใส่ลงแข่งขัน[1] อุปกรณ์อื่นที่ผู้เล่นสวม อย่าง เบสเลเยอร์ (ชุดรัดกล้ามเนื้อ) ได้แก่ เทกฟิตของอาดิดาส, ไนกีโปรของไนกี้และรุ่นเบสเลเยอร์ของแคนเทอร์เบอรี[27] ผู้เล่นอาจใส่อุปกรณ์สวมศีรษะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ตราบใดที่ไม่ทำอันตรายต่อผู้สวมและผู้เล่นคนอื่น[28]
คณะตัดสิน
แก้ผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่ 4 สวมชุดในลักษณะคล้ายกับผู้เล่น ถึงแม้ว่าจะไม่มีการระบุชัดเจนในกติกา แต่ตามทฤษฎีของฟุตบอลแล้ว ชุดของคณะตัดสินต้องมีสีแตกต่างจากผู้เล่นทั้ง 2 ทีม[29] ในปี ค.ศ. 1998 ผู้ตัดสินพรีเมียร์ลีก เดวิด เอลเรย์ ถูกบังคับให้เปลี่ยนเสื้อขณะแข่งขันไปได้ครึ่งทางในการแข่งขันระหว่างแอสตันวิลลากับวิมเบิลดัน[30] สีดำถือเป็นสีดั้งเดิมของผู้ตัดสิน ส่วนคำว่าชายในชุดดำ เป็นคำที่ใช้แบบไม่เป็นทางการ ที่หมายถึงผู้ตัดสิน[31] แต่อย่างไรก็ตามเริ่มมีการใช้สีอื่นมากขึ้นในยุคสมัยใหม่[32] ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1994 ฟีฟ่าอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ผู้ตัดสินสามารถสวมชุดสีอื่นนอกจากสีดำได้[33] ในบางครั้งก็มีโลโก้ของผู้สนับสนุนบนเสื้อของผู้ตัดสิน มักปรากฏอยู่บนแขนเสื้อ[34]
ประวัติ
แก้ยุควิกตอเรีย
แก้ชุดเสื้อผ้ากีฬาที่มีหลักฐานการบันทึกครั้งแรก โดยเฉพาะในกีฬาฟุตบอลเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1526 เป็นชุดกีฬาของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ที่มีอ้างอิงว่ามีรองเท้าฟุตบอล[35] ในหลักฐานยุคแรกสุดนั้น บันทึกว่าสีเสื้อเป็นการระบุทีมฟุตบอล มาจากการแข่งขันกีฬาฟุตบอลของโรงเรียนรัฐบาลอังกฤษยุคแรก ตัวอย่างเช่นภาพทีมฟุตบอลวิทยาลัยวินเชสเตอร์ ก่อนปี ค.ศ. 1840 ระบุไว้ว่า "บุคคลทั่วไปต้องสวมชุดกีฬาสีแดงส่วนนักศึกษาวิทยาลัยสวมชุดสีน้ำเงิน" สีดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงอีกครั้งในบทความของนิตยสารกีฬา เบลส์ไลฟ์อินลอนดอน ในปี ค.ศ. 1858[36][37] สีชุดทีมเหย้าได้รับการกล่าวถึงในกติการักบี้ฟุตบอล (กฎข้อ 21) ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1845 "ห้ามผู้เล่นสวมหมวกแก๊ปหรือไม่ใส่ชุด ที่ไม่ใช่ชุดทีมเหย้าของตัวเอง"[38] ในปี ค.ศ. 1848 มีการบันทึกในกีฬารักบี้ว่า "ถือได้ว่ามีการปรับปรุงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ในนัดการแข่งขัน มีการแต่งตัวลักษณะเฉพาะที่ประกอบด้วยหมวกแก๊ปและชุดกีฬาทำจากผ้าฝ้าย"[39]
องค์กรด้านฟุตบอลเกิดขึ้นที่อังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1860 มีหลายทีมในช่วงนั้นสวมชุดกีฬาแข่งขัน ในลักษณะเท่าที่มีให้ใส่ ผู้เล่นทีมเดียวกันแยกแยะโดยการสวมหมวกแก๊ปหรือสายคาดเอว[7] ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา จนในปี ค.ศ. 1867 หนังสือคู่มือการเล่นแนะนำให้แต่ละทีมว่า "จะเป็นการดีหากจัดการเตรียมให้ชุดกีฬาของทีมหนึ่งเป็นชุดสีหนึ่ง สมมติว่าสีแดง และอีกทีมหนึ่งเป็นอีกสี สมมติว่าสีน้ำเงิน" เป็นการแก้ปัญหาการสับสนรวมไปถึงการแย่งชิงลูกบอลจากทีมตรงข้าม[40]
ชุดกีฬามาตรฐานชุดแรกเกิดขึ้นราวคริสต์ทศวรรษ 1870 มีหลายสโมสรเลือกที่จะใส่ชุดสีเดียวกับสีของโรงเรียนหรือองค์กรกีฬาที่จัดตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้น[7] ตัวอย่างเช่นสโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ได้ออกแบบชุดโดยมีที่มาจากผู้เล่นส่วนหนึ่งเคยเป็นนักเรียนของวิทยาลัยมัลเวิร์น เป็นหนึ่งในสถานศึกษาที่พัฒนาสโมสร สีดั้งเดิมคือสีฟ้าอ่อนและขาว เพื่อสะท้อนว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่มีผู้ก่อตั้งของสโมสรหลายคนศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้[41] สีและการออกแบบของเสื้ออาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละนัด สโมสรฟุตบอลโบลตันวันเดอเรอส์มีเสื้อสีชมพูและเสื้อสีขาวจุดแดงในปีเดียวกัน[42] ส่วนกางเกงไม่เหมือนในปัจจุบันที่ใส่กางเกงขาสั้น ในยุคนั้นสวมกางเกงทรงหลวมยาวถึงเข่าหรือใส่กางเกงขายาว มักใส่เข็มขัดหรือที่รัด[43]ลอร์ด คินเนร์ด ดาวดังฟุตบอลยุคแรก กล่าวไว้ว่ามักจะใส่กางเกงขายาวสีขาวสว่าง[44] ไม่มีการติดหมายเลขบนเสื้อเพื่อระบุผู้เล่นแต่ละคน ในนัดการแข่งขันปี ค.ศ. 1875 ระหว่างสโมสรฟุตบอลควีนส์พาร์กกับสโมสรฟุตบอลวันเดอเรอส์ในกลาสโกว์ แยกแยะผู้เล่นจากสีของหมวกแก๊ปหรือถุงเท้า[45] ส่วนการใช้สนับแข้งครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1874 โดยผู้เล่นจากสโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์ที่ชื่อ แซม เวลเลอร์ วิดโดว์สัน เขาได้ตัดสนับแข้งของกีฬาคริกเกตและนำมาสวมนอกถุงเท้า แนวคิดนี้ในช่วงแรกถือเป็นเรื่องน่าขบขัน แต่ต่อมาผู้เล่นคนอื่นก็นำมาใช้ด้วยเช่นกัน[46] ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ สนับแข้งเล็กลงและใส่ด้านในของถุงเท้า[47]
ในขณะที่การแข่งขันได้ค่อย ๆ เปลี่ยนไปจากการเล่นสมัครเล่นในหมู่ผู้มีฐานะไปเป็นผู้เล่นอาชีพชนชั้นแรงงาน ชุดกีฬาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย สโมสรได้เข้ามาดูและรับผิดชอบชุดกีฬาแทนนักกีฬา รวมถึงพิจารณาด้านการตลาด เพื่อให้มีผู้ชมการแข่งขันมากขึ้น และเพื่อแยกแยะผู้เล่นแต่ละคน นำไปสู่สีสันของชุดที่ก่อนหน้านี้จะใช้สีพื้นฐานทั่วไป ในปี ค.ศ. 1890 ฟุตบอลลีกของอังกฤษ ที่เพิ่งก่อตั้งก่อนหน้านี้ 2 ปี ได้กำหนดห้าม 2 ทีมที่แข่งขันจดทะเบียนสีของทีมในสีที่คล้ายกัน แต่กฎนี้ก็ยกเลิกไปเมื่อทุกทีมมีชุดที่ 2 ที่มีสีที่แตกต่างกัน[7] แต่เดิมทีมเหย้าจะต้องเปลี่ยนชุดหากใช้เสื้อสีคล้ายกัน แต่ในปี ค.ศ. 1921 ได้มีการแก้ไขกฎให้ทีมเยือนต้องเปลี่ยนชุดแทน[48]
รองเท้าสำหรับฟุตบอลโดยเฉพาะ เกิดขึ้นในยุคแห่งฟุตบอลอาชีพ ในช่วงแรกผู้เล่นยึดตะปูเข้ากับแผ่นหนังเข้ากับรองเท้าเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1863 สมาคมฟุตบอลได้ออกกฎห้ามใช้ตะปูในรองเท้า ในคริสต์ทศวรรษ 1880 ได้เกิดรองเท้าสตั๊ดอย่างหยาบ ๆ รองเท้าในยุคนี้ทำจากหนังหนา ๆ อุปกรณ์กันนิ้วเท้าหนัก ๆ และสวมเลยไปถึงข้อเท้าของผู้เล่น[49]
ต้นศตวรรษที่ 20
แก้หลังจากที่ฟุตบอลได้รับความนิยมในยุโรปและส่วนอื่นของโลก สโมสรต่าง ๆ ได้นำชุดกีฬาเหมือนอย่างที่ใส่ในสหราชอาณาจักร ในบางกรณีได้รับแรงดลใจ โดยใช้สีเดียวกับสโมสรอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1903 สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสของอิตาลีได้นำลายสลับขาว-ดำ ที่ได้รับแรงดลใจจากสโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตีมาใช้[50] สองปีต่อมาสโมสรกลุบอัตเลตีโกอินเดเปนเดียนเตของอาร์เจนตินา ได้นำเสื้อสีแดงมาใช้หลังจากได้ดูเกมการเล่นของสโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์[51]
ในปี ค.ศ. 1904 สมาคมฟุตบอลอังกฤษออกกฎให้ผู้เล่นสวมนิกเกอร์บอกเกอส์คลุมหัวเข่าด้วย ทีมแข่งขันเริ่มสวมกางเกงที่สั้นลง กางเกงชนิดนี้ช่วงนั้นเรียกว่า "นิกเกอส์" (knickers) ใช้เรียกจนกระทั่งในคริสต์ทศวรรษ 1960 เมื่อเปลี่ยนมาใช้คำว่า "ชอร์ตส" (shorts) แทน[43] ในช่วงแรกนั้น แทบทุกทีมสวมนิกเกอส์ที่มีสีที่แตกต่างจากเสื้อ[7] ในปี ค.ศ. 1909 เพื่อที่ให้ผู้ตัดสินสามารถแยกแยะผู้รักษาประตูออกจากผู้เล่น จึงมีกฎให้ผู้รักษาประตูสวมชุดที่มีสีแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีมคนอื่นด้วย ในช่วงแรกเสื้อของผู้รักษาประตูใช้สีเลือดหมูหรือสีน้ำเงินเข้ม ต่อมาในปี ค.ศ. 1912 เมื่อสีเขียวได้รับเลือกเป็นตัวเลือกของสีที่สาม ปรากฏว่าผู้รักษาประตูแทบทุกคนมักสวมใส่สีเขียว ช่วงนี้ผู้รักษาประตูโดยทั่วไปใส่ชุดขนสัตว์หนา ๆ ทำให้ดูเหมือนเสื้อกันหนาวเมื่อเทียบกับเสื้อของผู้เล่นอื่น[43]
มีการทดลองที่จะใส่หมายเลขบนเสื้อในคริสต์ทศวรรษ 1920 แต่แนวความคิดในช่วงแรกไม่ได้รับความนิยม[52] การแข่งขันใหญ่ครั้งแรกที่มีการสวมหมายเลขเกิดขึ้นในนัดตัดสินเอฟเอคัพ ค.ศ. 1933 ระหว่างสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี แทนที่แต่ละทีมจะมีหมายเลขติดอยู่กับชุดเดิม แต่ผู้จัดได้เตรียมชุดพิเศษ 2 ชุดคือสีขาวและสีแดง และเลือกโดยการทอยเหรียญ เอฟเวอร์ตันสวมชุดหมายเลข 1–11 ขณะที่ซิตีสวมชุดหมายเลข 12–22[53] จนกระทั่งราวช่วงสงครามโลกครั้งที่สองถึงมีการนำหมายเลขเสื้อมาใช้เป็นมาตรฐาน แต่ละทีมสวมหมายเลข 1–11 ถึงแม้ว่าจะไม่มีกฎว่าตำแหน่งใดสวมหมายเลขอะไร แต่ก็มีการเจาะจงตำแหน่งผู้เล่นกับหมายเลข ตัวอย่างเช่น หมายเลข 9 มักสงวนไว้กับกองหน้าตัวเป้า[52] อีกตัวอย่างที่แตกต่าง สโมสรฟุตบอลเซลติก ของสกอตแลนด์ ใส่หมายเลขไว้บนกางเกงแทนบนเสื้อ ใช้จนกระทั่งนัดการแข่งขันระหว่างประเทศปี ค.ศ. 1975 และใช้ในการแข่งขันภายในประเทศจนปี ค.ศ. 1994[54] ในคริสต์ทศวรรษ 1930 เกิดการพัฒนาด้านการผลิตรองเท้า ใช้วัสดุสังเคราะห์ใหม่ที่เบากว่าหนัง ในปี ค.ศ. 1936 ผู้เล่นในยุโรปสวมรองเท้าที่เบากว่ารองเท้าเมื่อทศวรรษก่อนถึง 1 ใน 3 แต่สโมสรอังกฤษยังไม่ได้รับรองเท้ารูปแบบใหม่นี้เข้ามาใช้ นักฟุตบอลอย่าง บิลลี ไรต์ แสดงความเห็นอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับรองเท้าใหม่นี้ว่า เหมาะสำหรับการเล่นบัลเลต์มากกว่าฟุตบอล[55]
ในช่วงหลังสงครามไม่นาน หลายสโมสรถูกบังคับให้สวมชุดที่แปลกออกไปเนื่องจากกฎเรื่องการแต่งกาย[7] สโมสรฟุตบอลโอลดัมแอทเลติกของอังกฤษ ที่มีชุดดั้งเดิมสีน้ำเงินและขาว ได้เปลี่ยนมาใส่เสื้อสีแดงและขาว ที่ยืมมาจากสโมสรรักบี้ท้องถิ่น[56] สโมสรฟุตบอลไคลด์ของสกอตแลนด์ สวมชุดสีกากี[57] ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ผู้เล่นในยุโรปใต้และอเมริกาใต้สวมชุดที่เบาลงมาก สวมเสื้อคอวีแทนคอกลมและใช้ผ้าใยสังเคราะห์แทนผ้าใยธรรมชาติหนัก ๆ[22] รองเท้าคู่แรกที่ตัดลงไปต่ำกว่าข้อเท้า ผลิตขึ้นโดยอาดิดาสในปี ค.ศ. 1954 ถึงแม้ว่าราคาจะแพงกว่ารองเท้าเดิม 2 เท่า แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้อาดิดาสเข้าสู่ตลาดฟุตบอลด้วย ในเวลาเดียวกันอาดิดาสยังพัฒนารองเท้าสตั๊ด ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเงื่อนไขของสนามแข่ง[17] ในส่วนอื่นของโลก รับรูปแบบใหม่นี้ค่อนข้างช้า อย่างสโมสรอังกฤษต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนี้และยังคงสวมชุดดั้งเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากก่อนช่วงสงคราม[22] และทีมในยุโรปตะวันออกยังคงสวมชุดแบบเก่าเหมือนเดิม สโมสรฟุตบอลดีนาโมมอสโกที่ออกทัวร์ในยุโรปตะวันตกใน ค.ศ. 1945 ได้รับความสนใจโดยเฉพาะเรื่องสวมกางเกงยาวคล้ายถุง มากกว่าคุณภาพในการเล่นฟุตบอลเสียอีก[58] ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ เช่นถ้วยฟุตบอลยุโรป ชุดของยุโรปตอนใต้ได้รับความนิยมไปในส่วนอื่นของทวีป โดยปลายทศวรรษ ก่อนช่วงสงคราม ทั้งเสื้อและรองเท้าหนัก ๆ ก็แทบไม่มีการใช้อีก ในคริสต์ทศวรรษ 1960 มีการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบชุดกีฬาเล็กน้อย สโมสรทั่วไปมักเลือกคู่สีพื้นฐาน เพื่อให้ดูดีภายใต้แสงไฟแบบใหม่ในสนาม[7] การออกแบบตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 ได้รับความสนใจอย่างมากจากแฟนฟุตบอล[59]
ยุคใหม่
แก้ในคริสต์ทศวรรษ 1970 สโมสรต่าง ๆ เริ่มมีการสร้างลายชุดเฉพาะของทีมอย่างแข็งขัน และในปี ค.ศ. 1975 สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด ได้เปลี่ยนแบบดั้งเดิมที่เป็นสีน้ำเงินและทอง มาเป็นชุดขาวล้วน เป็นการล้อเลียนชุดของเรอัลมาดริดในคริสต์ทศวรรษ 1960[60] และลีดส์ยูไนเต็ดยังเป็นสโมสรแรกที่ออกแบบชุดเพื่อจำหน่ายให้กับแฟนฟุตบอล เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการตลาด สโมสรอื่น ๆ จึงได้เจริญรอยตาม โดยมีการเพิ่มโลโก้ของผู้ผลิตและสิ่งตกแต่งมากขึ้น[7] ในปี ค.ศ. 1973 สโมสรของเยอรมัน ไอน์ทรัคท์เบราน์ชไวจ์ ได้เซ็นสัญญากับบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท้องถิ่น แยเกอร์ไมส์เทอร์ ให้แสดงโลโก้ของผลิตภัณฑ์บนด้านหน้าของเสื้อ[61] หลังจากนั้นไม่นานแทบทุกสโมสรใหญ่ ๆ ก็ได้เซ็นสัญญาในลักษณะเช่นนี้ และค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนนี้ก็ได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ. 2008 สโมสรเยอรมัน สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิกได้รับเงิน 25 ล้านยูโรจากผู้สนับสนุน ดอยท์เชอเทเลโคม[62] อย่างไรก็ตามสโมสรสเปนอย่าง สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาและอัตเลติกเดบิลบาโอ ปฏิเสธที่จะให้มีโลโก้ผู้สนับสนุนบนเสื้อผ้า[63] จนเมื่อปี ค.ศ. 2006 บาร์เซโลนาได้เซ็นสัญญาจนถึงปี ค.ศ. 2011 โดยตกลงว่ามีโลโก้ขององค์กรการกุศลยูนิเซฟ แต่ไม่รับค่าสนับสนุน ในทางกลับกัน ได้บริจาคเงิน 1.5 ล้านยูโรต่อปี[64] ส่วนนักฟุตบอลเองก็เริ่มเซ็นสัญญากับผู้สนับสนุนกับบริษัทต่าง ๆ เอง ในปี ค.ศ. 1974 โยฮัน ครัฟฟ์ปฏิเสธที่จะสวมเสื้อของฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์เนื่องจากผู้สนับสนุนคืออาดิดาสที่ขัดต่อผู้สนับสนุนของเขาคือ พูมา และได้รับอนุญาตให้สวมเสื้อที่ไม่มีโลโก้อาดิดาสบนเสื้อด้วย[65] พูมายังจ่ายให้เปเล่ 120,000 เหรียญดอลลาร์ ให้เขาสวมรองเท้าและเรียกร้องเป็นการพิเศษให้เขาผูกเชือกรองเท้าในนัดตัดสินฟุตบอลโลก 1970 เพื่อให้มั่นใจว่า จะได้เห็นรองเท้าของเขาในระยะใกล้สู่ผู้ชมทางโทรทัศน์ทั่วโลก[66]
ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้ผลิตอย่างฮัมเมลและอาดิดาสเริ่มออกแบบเสื้อที่มีการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น กับเทคโนโลยีใหม่ด้านองค์ประกอบการออกแบบใหม่ เช่น การพิมพ์เงาและลายเย็บ[7] ในฟุตบอลโลก 1986 ทีมชาติเดนมาร์กสวมชุดของฮัมเมลที่มีลาย แต่ทำให้เกิดความวุ่นวายในวงการสื่อ ฟีฟ่าให้ทีมชาติเดนมาร์กสวมกางเกงเพียงสีเดียว เหตุผลกางเกงลาย ทางฟีฟ่ากลัวว่าจะเกิดลายมัวเร (moiré artefact) บนจอโทรทัศน์[67] ต่อมาเมื่อกางเกงสั้นลงกว่าเดิม ในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980[52] และมักมีหมายเลขบนกางเกงด้านหน้า[68] ในการแข่งขันเอฟเอคัพ นัดตัดสินในปี ค.ศ. 1991 สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์สวมกางเกงยาวและหลวม ซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเรื่องขบขัน แต่หลังจากนั้นไม่นานนักสโมสรต่าง ๆ ทั้งในอังกฤษและที่อื่นก็ได้ใส่กางเกงที่ยาวขึ้น[69] ในคริสต์ทศวรรษ 1990 การออกแบบเสื้อเริ่มซับซ้อนยิ่งขึ้น มีหลายทีมใช้คู่สีที่ฉูดฉาดมาก การตัดสินใจในการออกแบบขึ้นอยู่กับความต้องการให้เสื้อดูดีเมื่อแฟนฟุตบอลสวมใส่ เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบด้านแฟชั่น[7] แต่การออกแบบหลายครั้งในยุคนี้ก็ถือเป็นการออกแบบที่เลวร้ายที่สุดตลอดกาล[70] ในปี ค.ศ. 1996 สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นที่รู้จักในทางที่ไม่ดีนักในด้านการออกแบบชุดลายสีเทา ที่ออกแบบมาเพื่อให้ดูดีเมื่อสวมใส่กับกางเกงยีนส์ แต่ในการแข่งขันครั้งหนึ่ง ผู้จัดการทีม อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้สั่งให้เปลี่ยนชุดระหว่างพักครึ่ง โดยอ้างว่าที่ทีมแพ้ 3–0 เพราะนักฟุตบอลไม่สามารถเห็นผู้เล่นคนอื่นได้ดีในสนาม ยูไนเต็ดเปลี่ยนชุดเป็นอีกสีในครึ่งหลัง โดยยิงได้ 1 ประตูโดยไม่เสียประตูเพิ่ม[71] ในลีกสูง ๆ หมายเลขเสื้อมีความสำคัญ โดยจะจัดสรรให้กับผู้เล่นโดยเฉพาะ[72] ความนิยมอีกเรื่องหนึ่งคือผู้เล่นมักฉลองการยิงประตูโดยการถกเสื้อขึ้นเพื่อแสดงทัศนะด้านการเมือง ศาสนา หรือคำคมส่วนตัว โดยพิมพ์ไว้บนเสื้อใน เป็นเหตุให้คณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศออกกฎในปี ค.ศ. 2002 ห้ามมีการเขียนหรือโลโก้ใดบนเสื้อใน[73] จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2004 ได้เพิ่มกฎห้ามผู้เล่นถอดเสื้อออกด้วย[74]
เมื่อตลาดเสื้อกีฬาเติบโตอย่างมาก สโมสรชั้นนำได้รับรายได้จากการขายและมักมีการเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบโดยพิจารณาอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหราชอาณาจักร ที่ตลาดชุดกีฬามีค่ามากกว่า 200 ล้านปอนด์[75] มีหลายสโมสรถูกฟ้องร้องเรื่องการกำหนดราคาของชุด ในปี ค.ศ. 2003 สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกปรับ 1.65 ล้านปอนด์จากสำนักงานการค้ายุติธรรม (Office of Fair Trading) [76] และเนื่องจากราคาชุดกีฬาที่สูงจึงทำให้แฟนฟุตบอลจำนวนมากซื้อของปลอม ที่นำเข้าจากประเทศอย่าง ประเทศไทยและมาเลเซีย[77] อย่างไรก็ตามแฟนฟุตบอลก็ยังซื้อเสื้อฟุตบอลที่มีหมายเลขและชื่อดาราฟุตบอล ที่ทำให้เกิดรายได้กับสโมสรอย่างมาก ใน 6 เดือนแรกหลังจากที่เดวิด เบคแคมย้ายไปยังสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด สโมสรขายเสื้อที่มีชื่อเขาได้มากกว่า 1 ล้านตัว[78] ตลาดยังพัฒนาไปกว่านั้น เมื่อเสื้อที่นักฟุตบอลสวมในนัดต่าง ๆ ถูกนำมาวางขายในฐานะของสะสม เสื้อที่เปเล่ใส่ในนัดตัดสินของฟุตบอลโลก 1970 ได้รับการประมูลขายออกไปด้วยจำนวนเงินถึง 150,000 ปอนด์ ในปี ค.ศ. 2002[79]
การออกแบบชุดกีฬาที่พัฒนาไปอีกขั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 กับความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ในปี ค.ศ. 2000 ฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูนลงแข่งขันในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ที่ประเทศมาลี โดยเสื้อแขนกุด[80] แต่ต่อมาฟีฟ่าออกกฎห้ามใส่เสื้อแขนกุด[81] บริษัทผู้ผลิตชุดกีฬาพูมาได้เพิ่มแขนเสื้อโปร่งสีดำเพื่อให้ไม่ผิดกฎ แต่ต่อมาทีมก็ได้ใส่ชุดแบบเสื้อกล้ามด้านนอกสุด[71] ฟีฟ่าออกคำสั่งห้ามทีมใส่เสื้อนอกทับแต่ทีมก็ได้เพิกเฉยไป เป็นผลให้ทีมชาติแคเมอรูนถูกตัดคะแนน 6 คะแนน ในรอบคัดเลือกการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006[82] แต่ต่อมาได้กลับคำตัดสินหลังการอุทธรณ์[83] อีกชุดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จคือชุดแนบเนื้อที่ออกแบบให้กับฟุตบอลทีมชาติอิตาลีออกแบบโดยแคปพา ชุดดังกล่าวต่อมาสโมสรอื่นและทีมชาติอื่นนำมาทำตามภายหลัง[71]
อีกแฟชันหนึ่งในระยะเวลาสั้น ๆ คือที่โพกหัวสนูด ที่จบลงเมื่อคณะกรรมการสมาคมฟุตบอลระหว่างประเทศสั่งห้ามใช้ในปี ค.ศ. 2011 ด้วยเหตุที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้[84][85] คณะกรรมการฯ ยังสั่งห้ามใส่ฮิญาบในปี ค.ศ. 2007 แต่ประเด็นนี้ก็ถูกยกขึ้นมาอีกหลังได้รับความกดดันจากเจ้าชายอาลีแห่งจอร์แดน[86] ส่วนในฝรั่งเศส สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสยังคงสั่งห้ามใส่ฮิญาบต่อไป[87]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Law 4 – The Players' Equipment". Laws of the Game 2008/2009 (PDF). FIFA. pp. 18–19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-22. สืบค้นเมื่อ 1 September 2008.
- ↑ "Interpretation of the laws of the game and guidelines for referees: Law 4 – The Players' Equipment". Laws of the Game 2008/2009. FIFA. pp. 63–64.
- ↑ "soccer player". Visual Dictionary Online. Merriam-Webster. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-04. สืบค้นเมื่อ 28 April 2009.
- ↑ 4.0 4.1 Crisfield, Deborah (1999). The complete idiot's guide to soccer. The Complete Idiot's Guide to... Alpha Books. p. 47. ISBN 0-02-862725-3.
- ↑ "Standardised League Rules". Wessex Football League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ Glen Isherwood; และคณะ. "England's Uniforms – Player Kits". England Football Online. สืบค้นเมื่อ 23 January 2008.
England sometimes choose to wear their red at home even though they could wear their white, as against Germany in the last match played at Wembley Stadium. The Football Association wished to invoke the spirit of 1966, when, in their finest moment at Wembley, England beat West Germany in the World Cup final wearing their red shirts.
- ↑ 7.00 7.01 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 7.09 7.10 David Moor. "A Brief History of Football Kit Design in England and Scotland". HistoricalFootballKits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ Giulianotti, Richard; Norman Bonney; Mike Hepworth (1994). Football, Violence and Social Identity. Routledge. p. 75. ISBN 0-415-09838-6.
For a supporter, whether or not he lives in the city of the team, the team colours are the most important symbol of his football faith, dominating any other symbol or cultural meaning such as nation, class or political party.
- ↑ "What's in a name? Part II". FIFA. 5 February 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-24. สืบค้นเมื่อ 1 September 2008.
- ↑ "Football and health". BUPA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
- ↑ "Man Utd sign £56m AIG shirt deal". BBC. 6 April 2006. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ "Back-of-the-shirt Sponsors Draw". Notts County F.C. 30 December 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-29. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ "Regulations Relating to Advertising on the Clothing of Players, Club Officials and match Officials" (PDF). The FA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-10. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ "The F.A. Premier League". Chris Kay International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 22 January 2008.
- ↑ "Q & A 2006". England Football Online. 22 November 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-26. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ Davies, Hunter (2003). "Chapter 3. Equipment: Bring on the Balls". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. Cassell Illustrated. p. 158. ISBN 1-84403-261-2.
- ↑ 17.0 17.1 Reilly, Thomas; A.M. Williams (2003). Science and Soccer. Routledge. p. 125. ISBN 0-415-26232-1.
- ↑ Mike Adamson (13 January 2006). "Adidas Predator Absolute". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ "Ferguson wants bladed boots ban". BBC. 24 September 2005. สืบค้นเมื่อ 18 January 2008.
- ↑ "Warnock is concerned over blades". BBC. 19 August 2005. สืบค้นเมื่อ 18 January 2008.
- ↑ "Dutch women ditch shorts to play soccer in skirts". Reuters. 15 September 2008. สืบค้นเมื่อ 20 April 2009.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Cox, Richard; Dave Russell, Wray Vamplew (2002). Encyclopedia of British Football. Routledge. p. 75. ISBN 0-7146-5249-0.
- ↑ 23.0 23.1 "Fußball und Technik" (ภาษาเยอรมัน). Deutsches Patent- und Markenamt. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Craig Brown (25 June 2004). "Football: Euro 2004: Referee's error denies England victory". The Independent. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ "Goalkeeper Glove Cut Guide". TheGloveBag.com. 28 March 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 14 July 2008.
- ↑ "Goggles are Davids' most glaring feature". Soccertimes.com. 7 March 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-20. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ "Base Layers". Pro Direct Soccer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
- ↑ "Cech's rugby-style headgear passes the FA's safety test". The Independent. UK. 20 January 2007. สืบค้นเมื่อ 16 April 2008.
- ↑ "Advice for Newly Qualified Referees" (PDF). The FA. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008. (PDF document)
- ↑ Jon Culley (13 September 1998). "Football: Merson revels in the Villa high life". The Independent. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 23 January 2008.
- ↑ Phil Shaw (16 August 2001). "Dowd sees the light as the man in black". The Independent. UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Cox, Richard; Dave Russell; Wray Vamplew (2002). Encyclopedia of British Football. Routledge. p. 76. ISBN 0-7146-5249-0.
- ↑ Alex Yannis (1 March 1994). "Soccer: The Name Game". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 April 2009.
- ↑ Paul Kelso (17 August 2006). "Bright sparks hope over Burns reform". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 18 January 2008.
A (relatively) affordable route into the Premiership has opened up for sponsors after the airline Emirates decided that this season will be its last as the official partner of top-flight referees....The successor will get exposure – its logo on the whistlers' shirt sleeves will be seen in 204 countries....
- ↑ Chaudhary, Vivek (18 February 2004). "Who's the fat bloke in the number eight shirt?". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 28 April 2009.
- ↑ Marples, Morris (1954). A History of Football. Secker and Warburgh. pp. 84–85.
- ↑ "Bell's Life in London and Sporting Chronicle". London, England. 14 November 1858.
- ↑ "Football Rules" (PDF). rugbyfootballhistory.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-12-29. สืบค้นเมื่อ 28 April 2009.
- ↑ "An Old Rugbaean" (1848). Recollections of Rugby. Hamilton and Adams. p. 131.
- ↑ Davies, Hunter. "Chapter 3. Equipment: Bring on the Balls". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. p. 48.
- ↑ "1875–1884: The early years". Blackburn Rovers F.C. 2 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-16. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ Davies, Hunter. "Chapter 3. Equipment: Bring on the Balls". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football. pp. 48–49.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 Davies, Hunter. "Chapter 3. Equipment: Bring on the Balls". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. p. 51.
- ↑ Will Bennett (7 January 2005). "Second FA Cup could fetch record £300,000 at auction". The Daily Telegraph. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Soar, Phil; Martin Tyler (1983). "The Game in Scotland". Encyclopedia of British Football. Willow Books. p. 65. ISBN 0-00-218049-9.
- ↑ "Hucknall Cricketers". Ashfield District Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Davies, Hunter. "Chapter 3. Equipment: Bring on the Balls". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. p. 57.
- ↑ Cox, Richard; Dave Russell, Wray Vamplew (2002). Encyclopedia of British Football. Routledge. p. 74. ISBN 0-7146-5249-0.
- ↑ Davies, Hunter. "Chapter 3. Equipment: Bring on the Balls". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. pp. 55–56.
- ↑ "Década del '10". Club Atlético Independiente. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008. "Black & White". Notts County F.C. 21 May 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-07. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ (สเปน)
- ↑ 52.0 52.1 52.2 Davies, Hunter. "Chapter 12. Equipment". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. p. 156.
- ↑ "English FA Cup Finalists 1930–1939". HistoricalFootballKits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ "Celtic". HistoricalFootballKits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
- ↑ Davies, Hunter. "Chapter 12. Equipment". Boots, Balls and Haircuts: An Illustrated History of Football from Then to Now. pp. 154–155.
- ↑ "Oldham Athletic". HistoricalKits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
- ↑ "Clyde". HistoricalKits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
- ↑ Bob Crampsey (16 October 2001). "An historic day in Glasgow". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
It's only a slight exaggeration to say that the Dynamo side looked like they came from Mars – they wore very dark blue tops and extremely baggy shorts with a blue band round the bottom.
- ↑ Nick Szczepanik (26 September 2007). "The top 50 football kits". The Times. UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-12. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
- ↑ Ball, Phil (2003). Morbo: The Story of Spanish Football. WSC Books Ltd. p. 113. ISBN 978-0-9540134-6-2.
Indeed, when Don Revie took over at Leeds in the early 1960s he changed their kit from blue and gold to all white, modelling his new charges on the Spanish giants.
- ↑ Hesse-Lichtenberger, Uli (7 October 2008). "The struggle for shirt sponsorship". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 28 April 2009.
- ↑ "Bundesliga 2008/2009 – Clubs, Vermarkter, Sponsoren" (PDF). Stuttgarter Zeitung. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 10 May 2009.
- ↑ "Barcelona eyes Beijing shirt deal". BBC. 6 May 2005. สืบค้นเมื่อ 24 January 2008.
- ↑ "Futbol Club Barcelona, UNICEF team up for children in global partnership". UNICEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-16. สืบค้นเมื่อ 26 August 2008.
- ↑ Bruce Caldow. "Don't mention the boot war". The Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 24 January 2008.
- ↑ Erik Kirschbaum (8 November 2005). "How Adidas and Puma were born". The Journal. สืบค้นเมื่อ 24 January 2008.
- ↑ "Milestones: 1986". hummel International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-21. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ Isherwood, Glen (6 June 2005). "Admiral Mysteries". England Football Online. สืบค้นเมื่อ 28 January 2008.
- ↑ "English FA Cup Finalists 1990–1999". HistoricalFootballKits.co.uk. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Tom Fordyce (29 April 2003). "The worst football kits of all time". BBC. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ 71.0 71.1 71.2 Dominic Raynor (12 July 2005). "10 of the worst...football kits". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-09. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Rob Smyth and Paolo Bandini (6 September 2006). "What's in a number?". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 16 January 2008.
- ↑ Stuart Roach (11 September 2002). "Henry gets the message". BBC. สืบค้นเมื่อ 24 January 2008.
- ↑ "Fifa limits substitutions". BBC. 28 February 2004. สืบค้นเมื่อ 20 April 2009.
- ↑ "Clubs rapped over kit sales". BBC. 6 August 1999. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
The cost of replica kit – and the number of times new versions come on the market – has long been a bone of contention for football fans.
- ↑ "Man Utd fined for price fixing". BBC. 1 August 2003. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ Darragh MacIntyre (3 March 2006). "The Fake Football Shirt Sting". BBC. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ "Beckham sells 250,000 Galaxy shirts before he gets to LA". Reuters UK. 12 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ "Record price for Pele's shirt". BBC. 22 March 2002. สืบค้นเมื่อ 17 January 2008.
- ↑ "Indomitable fashions". BBC. 22 January 2002. สืบค้นเมื่อ 14 January 2008.
- ↑ "Fifa bans Cameroon shirts". BBC. 9 March 2002. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ "Cameroon docked six World Cup points for controversial kit". ABC News Australia. 17 April 2004. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Osasu Obayiuwana (21 May 2004). "Fifa lifts Cameroon sanction". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 January 2008.
- ↑ Press Association (4 February 2011). "Fears for snoods' future after Fifa raises safety concerns". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.
- ↑ Agencies (5 May 2011). "Snoods banned but Fifa to continue goalline technology testing". The Guardian. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-09-23.
- ↑ Associated Press (5 July 2012). "FIFA OKs Islamic hijab for women - ESPN". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-09. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.
- ↑ Agence France-Presse (6 July 2012). "France soccer federation outlaws hijab, despite FIFA ruling". National Post. สืบค้นเมื่อ 6 July 2012.