สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน

สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน (อังกฤษ: Everton Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลของอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ปัจจุบันเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ เป็นหนึ่งในสโมสรผู้ร่วมก่อตั้งอิงกลิชฟุตบอลลีก และเป็นสโมสรที่เล่นในลีกสูงสุดของอังกฤษมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 121 ฤดูกาล[2][3] โดยพลาดการเล่นในลีกสูงสุดเพียง 4 ครั้ง และยังเป็นสโมสรที่เล่นในลีกสูงสุดติตต่อกันยาวนานที่สุดเป็นอันดับสอง[4] รวมทั้งเป็นทีมที่เก็บคะแนนรวมจากการเล่นบนลีกสูงสุดมากเป็นอันดับสาม[5] สโมสรชนะเลิศฟุตบอลลีกสูงสุด 9 สมัย, เอฟเอคัพ 5 สมัย, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 9 สมัย และ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1 สมัย

เอฟเวอร์ตัน
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน
ฉายาThe Toffees
The Blues
ทอฟฟีสีน้ำเงิน
ก่อตั้ง1878; 146 ปีที่แล้ว (1878)
(ในชื่อ สโมสรฟุตบอลเซนต์โดมิงโก)
สนามกูดิสันพาร์ก
Ground ความจุ39,572[1]
เจ้าของฟาร์ฮาด โมชีรี
ประธานบิลล์ เคนไรต์
ผู้จัดการชอน ไดช์
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23อันดับที่ 17 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1878[6] และสโมสรชนะเลิศฟุตบอลดิวิชันหนึ่งครั้งแรกในฤดูกาล 1890–91 และภายหลังจากชนะเลิศดิวิชันหนึ่งเพิ่มอีก 4 สมัย และเอฟเอคัพอีก 2 สมัย สโมสรเข้าสู่ช่วงตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนจะกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้งในทศวรรษ 1960 และประสบความเร็จมากที่สุดในช่วงทศวรรษ 1980 โดยชนะเลิศดิวิชันหนึ่งอีก 2 สมัย, เอฟเอคัพ 1 สมัย และชนะเลิศถ้วยยุโรปรายการแรกในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ค.ศ. 1985 ถ้วยรางวัลล่าสุดที่สโมสรชนะเลิศคือเอฟเอคัพ ค.ศ. 1995

ผู้สนับสนุนของสโมสรมีชื่อเรียกว่า "เอฟเวอร์โตเนียน"[7] และ "บลูส์" เอฟเวอร์ตันมีสโมสรคู่อริคือ ลิเวอร์พูล ซึ่งสนามแอนฟีล์ดของลิเวอร์พูลอยู่ห่างจากสนามกูดิสันพาร์กของเอฟเวอร์ตันไม่ถึงหนึ่งไมล์ และการแข่งขันของทั้งสองทีมถูกเรียกว่าเมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บี เอฟเวอร์ตันลงเล่นที่กูดิสันพาร์กมาตั้งแต่ ค.ศ. 1892 โดยย้ายจากแอนฟีลด์เนื่องจากเกิดข้อพิพาทเรื่องค่าเช่าระหว่างสโมสรและเจ้าของที่ดินแอนฟีลด์ สีประจำสโมรสรคือ เสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน กางเกงขาสั้นสีขาว และถุงเท้าสีขาว

ประวัติ แก้

เอฟเวอร์ตันเป็นหนึ่งในสโมสรที่เก่าแก่ของสหราชอาณาจักร[8] ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1878 ในชื่อ สโมสรฟุตบอลเซนต์โดมิงโก[9] ตามชื่อโบสถ์ในเมืองลิเวอร์พูล เพื่อให้สมาชิกของโบสถ์ได้เล่นกีฬาร่วมกัน โดยนอกจากฟุตบอลแล้วยังมีการเล่นคริกเกตในฤดูร้อน สโมสรลงแข่งขันนัดแรกพบสโมสรเอฟเวอร์ตันเชิร์ช โดย เซนต์โดมิงโก ชนะ 1–0 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น เอฟเวอร์ตัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1879 ตามชื่อท้องถิ่นเนื่องจากผู้คนในชุมชนต้องการเข้าร่วมสโมสรเป็นจำนวนมาก[10]

 
ผู้เล่นเอฟเวอร์ตันในชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลลีกครั้งแรกใน ค.ศ. 1891

เอฟเวอร์ตันเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง อิงกลิชฟุตบอลลีก ในฤดูกาล 1888–89 ก่อนจะประสบความสำเร็จครั้งแรกโดยคว้าแชมป์ฟุตบอลลีก ฤดูกาล 1890-91 ต่อมา สโมสรคว้าแชมป์เอฟเอคัพสมัยแรกใน ค.ศ. 1906 ตามด้วยแชมป์ดิวิชันหนึ่งสมัยที่สองในฤดูกาล 1914–15 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน ค.ศ. 1914 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลอังกฤษต้องยุติลงชั่วคราวซึ่งเป็นฤดูกาลที่เอฟเวอร์ตันคว้าแชมป์ได้ และเหตุการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้งหลังการคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่งในฤดูกาล 1938–39 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[11]

 
ผู้เล่นเอฟเวอร์ตันในชุดที่ชนะเลิศเอฟเอคัพ ค.ศ. 1906

เอฟเวอร์ตันกลับมาประสบความสำเร็จหลังจากการมาถึงของดิ๊กซี่ ดีน ซึ่งย้ายมาจากแทรนเมียร์โรเวอส์ใน ค.ศ. 1925 โดยในฤดูกาล 1927–28 ดีนได้สร้างสถิติทำประตูในลีกถึง 60 ประตูจากการลงเล่น 39 นัด ถือเป็นสถิติการทำประตูในลีกสูงสุดในหนึ่งฤดูกาลมากที่สุดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งดีนพาทีมคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่งได้เป็นสมัยที่สามในฤดูกาลนั้น[12] อย่างไรก็ตาม สโมสรต้องตกชั้นลงไปในดิวิชันสองในอีกสองฤดูกาลต่อมาเนื่องจากปัญหาภายในแต่สามารถเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว และทำสถิติเป็นทีมที่ทำประตูมากที่สุดในดิวิชันสอง เอฟเวอร์ตันคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่งสมัยที่สี่ในฤดูกาล 1931–32[13] ตามด้วยแชมป์เอฟเอคัพใน ค.ศ. 1933 เอาชนะแมนเชสเตอร์ซิตีในรอบชิงชนะเลิศ 3–0 และปิดท้ายความสำเร็จในทศวรรษนี้ด้วยแชมป์ดิวิชันหนึ่งสมัยที่ห้าในฤดูกาล 1938–39[14]

สงครามโลกครั้งที่สองทำให้การแข่งขันต้องหยุดชะงักอีกครั้งก่อนจะกลับมาแข่งขันใน ค.ศ. 1946 เอฟเวอร์ตันได้รับผลกระทบโดยเสียผู้เล่นหลายรายและทีมมีผลงานที่ย่ำแย่กว่าในช่วงก่อนสงคราม พวกเขาต้องตกชั้นอีกครั้งในฤดูกาล 1950–51 และเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาในฤดูกาล 1953–54 เมื่อพวกเขาจบอันดันสามในฟุตบอลดิวิชันสอง และสโมสรไม่ตกชั้นจากลีกสูงสุดอีกเลยนับแต่นั้น[15]

ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จของสโมสรกลับมาอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 1960 หลังการมาถึงของผู้จัดการทีมคนใหม่ แฮร์รี แคทเทอริก อดีตผู้เล่นของสโมสรซึ่งพาทีมคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่งได้อีกครั้งในฤดูกาล 1962–63[16] ตามด้วยแชมป์เอฟเอคัพใน ค.ศ. 1966 เอาชนะเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 3–2 และยังเข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในสองปีถัดมาแต่แพ้เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 0–1 แต่กลับไปคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่งได้อีกครั้งในฤดูกาล 1969–70 โดยมีคะแนนเหนือลีดส์ยูไนเต็ด 9 คะแนน[17] ในช่วงเวลานี้ เอฟเวอร์ตันยังถือเป็นสโมสรแรกของอังกฤษที่ได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลยุโรป 5 ฤดูกาลติดต่อกัน (ค.ศ. 1962–67)[18] อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของสโมสรได้ตกลงไป เมื่อพวกเขาจบเพียงอันดับสิบสี่, สิบห้า, สิบเจ็ด และอันดับเจ็ดในอีกสี่ฤดูกาลต่อมา แคทเทอริก ประกาศเกษียณตนเอง และสโมสรไม่สามารถคว้าถ้วยรางวัลใดเพิ่มได้ในช่วงเวลาที่เหลือของทศวรรษ 1970 แม้จะจบอันดับสี่ในฤดูกาล 1974–75 ด้วยการคุมทีมของบิลลี บิงแฮม รวมทั้งอันดับสามและอันดับสี่ในฤดูกาล 1977–78 และ 1978–1979 ด้วยผลงานของกอร์ดอน ลีซึ่งถูกปลดใน ค.ศ. 1981[19]

 
กราฟแสดงอันดับในฟุตบอลลีกทุกฤดูกาลของเอฟเวอร์ตันตั้งแต่ ค.ศ. 1889[20]

ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ เข้ามาคุมทีมและถือเป็นช่วงเวลาที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด เขาพาทีมคว้าแชมป์เอฟเอคัพใน ค.ศ. 1984 ตามด้วยแชมป์ดิวิชันหนึ่งในฤดูกาล 1984–85 และ 1986–87 และชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ค.ศ. 1985 ซึ่งถือเป็นถ้วยยุโรปรายการแรกและรายการเดียวมาถึงปัจจุบัน ความสำเร็จดังกล่าวเริ่มจากการชนะสโมสรยูซี ดับลิน, เอฟเค อินเตอร์ บราติสลาวา และ ฟอร์ตือนาซิตตาร์ด ตามด้วยการเอาชนะสโมสรใหญ่ของบุนเดิสลีกาอย่างไบเอิร์นมิวนิกในรอบรองชนะเลิศ 3–1 แม้จะตามหลังไปก่อนในครึ่งเวลาแรก ซึ่งนัดนั้นได้รับการโหวตจากแฟน ๆ ให้เป็นเกมที่สนุกที่สุดเท่าที่เคยแข่งขันกันในกูดิสันพาร์ก ปิดท้ายด้วยการชนะราพีทวีนในรอบชิงชนะเลิศ 3–1 และในฤดูกาล 1984–85 นั้น เอฟเวอร์ตันเกือบจะคว้าสามถ้วยรางวัลได้ ภายหลังจากได้แชมป์ฟุตบอลลีก และถ้วยยุโรป แต่พวกเขาแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 0–1 และในฤดูกาลต่อมา เอฟเวอร์ตันได้รองแชมป์สองรายการทั้งในฟุตบอลลีก และฟุตบอลเอฟเอคัพ โดยแพ้ลิเวอร์พูลทั้งสองรายการ ก่อนจะกลับมาคว้าแชมป์ลีกได้ในฤดูกาล 1986–87

ภัยพิบัติเฮย์เซลส่งผลให้สโมสรจากอังกฤษถูกห้ามลงแข่งขันฟุตบอลยุโรป เอฟเวอร์ตันพลาดโอกาสในการชนะเลิศถ้วยยุโรปเพิ่ม โดยผู้เล่นตัวหลักในทีมชุดที่ชนะยูฟ่าวินเนอร์สคัพ ค.ศ. 1985 หลายคนได้อำลาทีมรวมถึงผู้จัดการทีมอย่างเคนดัลล์ซึ่งย้ายไปคุมอัตเลติกเดบิลบาโอ ใน ค.ศ. 1987 และเขาถูกแทนที่โดยโคลิน ฮาร์วีย์ ผู้ช่วยของเขาซึ่งพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ค.ศ. 1989 แต่แพ้ลิเวอร์พูลในช่วงต่อเวลา 2–3

เอฟเวอร์ตันเป็นหนึงในสโมสรผู้ร่วมก่อตั้งพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 1992 แต่สโมสรประสบปัญหาในการหาผู้จัดการทีมที่เหมาะสม ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ กลับมารับตำแหน่งใน ค.ศ. 1990 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนอย่างที่เคยทำได้ เขาถูกแทนที่โดยไมค์ วอล์กเกอร์ ใน ค.ศ. 1994 แต่คุมทีมได้ไม่ถึงหนึ่งฤดูกาลก็ถูกปลด และเขาถือเป็นผู้จัดการทีมที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดของสโมสร โจ รอยล์ อดีตผู้เล่นของสโมสรเข้ารับตำแหน่งต่อ และสโมสรเริ่มมีผลงานที่ดีขึ้น รวมถึงการชนะอย่างลิเวอร์พูล 2–0 ในนัดแรกของฤดูกาล และยังคว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นสมัยที่ห้าในฤดูกาลนั้น โดยชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 ได้สิทธิ์แข่งขันยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรปครั้งแรกนับตั้งแต่ภัยพิบัติเฮย์เซล รอยล์พาเอฟเวอร์ตันจบอันดับหกในฤดูกาลต่อมา แต่จบเพียงอันดับสิบห้าในฤดูกาล 1996–97 ส่งผลให้รอยล์ลาออก เดวิด วัตสัน อดีตกองหลังคนสำคัญของทีมเข้ามารักษาการต่อ

 
เดวิด มอยส์ อดีตผู้จัดการทีมที่คุมทีมยาวนานที่สุดคนหนึ่งของสโมสร

ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ เข้ามารับตำแหน่งเป็นครั้งที่สาม แต่ล้มเหลวอีกครั้งโดยพาทีมจบเพียงอันดับ 17 และเอฟเวอร์ตันเกือบจะตกชั้นแต่รอดมาได้ด้วยผลประตูได้-เสียที่ดีกว่าโบลตันวอนเดอเรอส์ วอลเตอร์ สมิธ ผู้จัดการทีมชาวสกอตแลนด์เข้ามารับตำแหน่งแทน แต่ผลงานก็ย่ำแย่โดยจบเพียงกลางตารางสามฤดูกาลติดต่อกัน ก่อนจะถูกปลดใน ค.ศ. 2002 ซึ่งเอฟเวอร์ตันอยู่ในพื้นที่หนีตกชั้นในขณะนั้น และยังตกรอบเอฟเอคัพโดยแพ้มิดเดิลส์เบรอ สมิธถูกแทนที่โดยเดวิด มอยส์ซึ่งพาทีมจบอันดับ 15[21] และจบอันดับ 7 ในฤดูกาล 2002–03 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดในรอบเจ็ดปี เวย์น รูนีย์ ดาวรุ่งคนสำคัญเป็นผู้ทำผลงานโดดเด่นจนก้าวขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ ก่อนจะย้ายร่วมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดใน ค.ศ. 2004 ด้วยค่าตัวสถิติสโมสร 28 ล้านปอนด์[22] การจบอันดับ 4 ในฤดูกาล 2004–05 ทำให้สโมสรได้สิทธิ์แข่งขันรอบคัดเลือกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แต่พวกเขาไม่สามารถผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม และยังตกรอบยูฟ่าคัพ แต่ยังได้กลับมาแข่งขันยูฟ่าคัพอีกสองฤดูกาลติตด่อกันในฤดูกาล 2007–08 และ 2008–09 และยังเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ค.ศ. 2009 ในช่วงเวลานี้ สโมสรได้ลงทุนซื้อผู้เล่นเป็นสถิติสโมสรถึงสี่ครั้งได้แก่: เจมส์ บีตตี้ ราคา 6 ล้านปอนด์ในเดือนมกราคม 2005[23], แอนดรูว์ จอห์นสัน 8.6 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 2006, ยาคูบู ไอเยกเบนี 11.25 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 2007[24] และ มารวน แฟลายนี 15 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 2008[25]

 
มารวน แฟลายนี หนึ่งในนักเตะที่ย้ายมาร่วมทีมด้วยราคาสูงที่สุดของสโมสร

หลังสิ้นสุดฤดูกาล 2012–13 มอยส์อำลาเอฟเวอร์ตันเพื่อไปเป็นผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และได้นำทีมงานผู้ฝึกสอนทุกคนติดตามไปด้วย[26] รวมถึง ฟิล เนวิล และนักเตะอย่าง มารวน แฟลายนี โรเบร์โต มาร์ติเนซ[27] พาทีมจบอันดับ 5 ในพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลแรกที่คุมทีม และยังทำคะแนนได้มากที่สุดในรอบ 27 ปีด้วยคะแนนสูงถึง 72 คะแนน[28] ในฤดูกาลต่อมา มาร์ติเนซพาทีมเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่ายูโรปาลีก แต่แพ้ดือนามอกือยิว[29] และจบอันดับ 11 ในลีก ต่อมาในฤดูกาล 2015–16 แม้เอฟเวอร์ตันเข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลถ้วยสองรายการทั้งเอฟเอคัพ และลีกคัพ แต่ผลงานในลีกย่ำแย่โดยจบเพียงอันดับ 12 มาร์ติเนซจึงถูกปลด[30] ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 สโมสรได้แถลงว่า ฟาฮัด โมชีรี นักธุรกิจชาวอังกฤษเชื้อสายอิหร่านได้เข้าซื้อกิจการสโมสรโดยถือหุ้นจำนวน 49.9% กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

โรนัลด์ กุมัน อำลาเซาแทมป์ตันเพื่อเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมในฤดูกาล 2016–17 ด้วยสัญญาสามปี[31] ในฤดูกาลแรก กุมันพาทีมจบอันดับ 7 ทำให้ได้สิทธิ์แข่งขันรอบคัดเลือกรอบที่สามของยูโรปาลีก โดยพาทีมผ่านเข้ารอบแบ่งกลุ่มในฤดูกาล 2017–18 แต่ก็ยุติเส้นทางเพียงแค่นั้น โดยจบในอันดับสามตามหลังอตาลันตา และออแล็งปิกลียอแน และยังทำผลงานในลีกย่ำแย่ โดยหล่นไปอยู่ในพื้นที่ตกชั้นหลังผ่านเก้านัดแรก กุมันถูกปลดในเดือนตุลาคม 2017 หลังจบเกมที่เอฟเวอร์ตันแพ้คาบ้านต่ออาร์เซนอล 2–5[32] เดวิด อันส์เวิร์ธ เข้ามารักษาการต่อก่อนที่ แซม อัลลาร์ไดซ์ เข้ามารับตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน แต่ลาออกเมื่อจบฤดูกาลเนื่องจากแฟน ๆ ไม่พอใจระบบการเล่นของเขา[33]

มาร์กู ซิลวา ได้รับการแต่งตั้งในเดือนพฤษภาคม 2018[34] และในเดือนพฤศจิกายน สโมสรถูกสั่งห้ามซื้อผู้เล่นเยาวชนเป็นเวลาสองปีจากการทำผิดกฎ[35] ซิลวาพาทีมจบอันดับ 8 ในฤดูกาล 2018–19 ก่อนจะถูกปลดในเดือนธันวาคม 2019 จากการเริ่มต้นฤดูกาล 2019–20 ได้อย่างย่ำแย่โดยอันดับลงไปอยู่ในพื้นที่ตกชั้นและมีเพียง 14 คะแนนในขณะนั้น[36] การคุมทีมนัดสุดท้ายของซิลวาคือการบุกไปแพ้ลิเวอร์พูล 2–5 ที่แอนฟีลด์ ดันแคน เฟอร์กูสัน อดีตผู้เล่นของสโมสรและหนึ่งในผู้ฝึกสอนของทีมเข้ามารักษาการต่อก่อนที่ การ์โล อันเชลอตตีจะเข้ามารับตำแหน่งโดยมีเฟอร์กูสันเป็นผู้ช่วย[37] อันเชลอตตีพาทีมจบอันดับสิบในฤดูกาล 2020–21 ก่อนจะลาทีมเพื่อกลับไปคุมเรอัลมาดริด[38]

อดีตผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล ราฟาเอล เบนิเตซ เข้ามารับตำแหน่งในฤดูกาล 2021–22 โดยถือเป็นคนที่สองที่เคยเป็นทั้งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลและเอฟเวอร์ตัน[39] แต่ก็ถูกปลดในเดือนมกราคม ค.ศ. 2022 จากผลงานอันย่ำแย่ โดยแพ้ไปถึง 9 จาก 13 นัดหลังสุด[40] เขาถูกแทนที่โดย แฟรงก์ แลมพาร์ด อดีตผู้จัดการทีมเชลซี[41] และสโมสรจบอันดับที่ 16 ในลีกซึ่งเป็นอันดับที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 18 ปี ก่อนที่จะถูกปลดในเดือนมกราคม ค.ศ. 2023 และถูกแทนที่โดย ชอน ไดช์ อดีตผู้จัดการทีมเบิร์นลีย์ ซึ่งพาทีมรอดตกชั้นอย่างหวุดหวิดในนัดสุดท้ายหลังจากเปิดบ้านเอาชนะบอร์นมัท โดยจบฤดูกาลในอันดับที่ 17

ในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 สโมสรถูกลงโทษจากพรีเมียร์ลีกด้วยการตัดสิบคะแนนเนื่องจากฝ่าฝืนกฏการเงิน โดยสาเหตุมาจากการที่สโมสรรายงานความสูญเสียทางการเงินจำนวนเกือบ 124.5 ล้านปอนด์ในช่วง 3 ปีซึ่งสูงกว่าที่แนวทางของพรีเมียร์ลีกอนุญาตได้สูงสุดที่ 105 ล้านปอนด์[42] นี่ถือเป็นการตัดคะแนนที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก โดยก่อนหน้านี้พอร์ตสมัทถูกลงโทษตัดเก้าคะแนนจากการประสบปัญหาด้านการเงินใน ค.ศ. 2009[43] สโมสรยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2023 โดยมองว่าบทลงโทษดังกล่าวไม่ยุติธรรม[44] ต่อมา ในวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2024 เอฟเวอร์ตันถูกตั้งข้อกล่าวหาในการละเมิดกฏการเงินเพิ่มเติม จากความผิดที่เกิดขึ้นในรอบการตรวจสอบรายจ่ายประจำฤดูกาล 2022–23 ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกตัดคะแนนเป็นครั้งที่สอง[45] ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 พรีเมียร์ลีกได้พิจารณาการอุทธรณ์ของสโมสร และมีมติลดบทลงโทษจากการตัดสิบคะแนนเป็นตัดหกคะแนน[46]

สี และตราสัญลักษณ์ประจำสโมสร แก้

 
ล็อกอัพเอฟเวอร์ตัน กลายเป็นสัญลักษณ์ของสโมสรนับตั้งแต่ ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา

สีประจำทีมของเอฟเวอร์ตันคือเสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน กางเกงขาสั้นสีขาว และถุงเท้าสีขาว อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษแรกของประวัติศาสตร์เอฟเวอร์ตัน พวกเขามีชุดแข่งขันหลายสี เดิมทีเคยสวมชุดสีขาว ตามด้วยเสื้อสีน้ำเงินและแถบสีขาว ต่อมา สโมสรสวมเสื้อสีดำล้วนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการย้อมสี และเพื่อให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น แต่ไม่เป็นที่ยอมรับจึงมีการเพิ่มลายคาดสีแดงในเวลาต่อมา[47]

เมื่อสโมสรย้ายสู่สนามกูดิสันพาร์กใน ค.ศ. 1892 เริ่มมีการสวมชุดแข่งสีชมพูและสีน้ำเงินเข้ม พร้อมทั้งกางเกงขาสั้นสีน้ำเงินเข้ม ก่อนที่เสื้อสีน้ำเงินและกางเกงสีขาวจะถูกนำมาใช้ครั้งแรกในฤดูกาล 1901–02[48] และมีการเปลี่ยนไปสวมสีฟ้าแบบสกายบลูใน ค.ศ. 1906 แต่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มผู้สนับสนุน สโมสรจึงกลับใช้สีน้ำเงินตามเดิม ชุดเหย้าของสโมสรในปัจจุบันเป็นสีน้ำเงินเข้ม (รอยัลบลู) พร้อมกางเกงขาสั้นสีขาว และถุงเท้าสีขาว และสโมสรอาจสวมชุดแข่งสีน้ำเงินล้วนในบางครั้งเพื่อเลี่ยงการซ้ำกันของสีทีมคู่แข่ง

ชุดแข่งทีมเยือนของสโมสรมักเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาวและกางเกงสีดำ ทว่านับตั้งแต่ ค.ศ. 1968 เสื้อสีเหลืองและกางเกงสีน้ำเงินถูกใช้บ่อยขึ้น และนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา สโมสรมีการใช้สีเสื้อทีมเยือนมากมายเช่น สีเหลือง, สีดำ, สีเทา และ สีขาว

หลังสิ้นสุดฤดูกาล 1937–38 ธีโอ เคลลี เลขาธิการของสโมสร (ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้จัดการทีมคนแรก) ต้องการออกแบบเน็กไทของสโมสร มีการตกลงกันว่าเน็กไทจะเป็นสีน้ำเงิน และเคลลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์บนเน็กไท เขาใช้เวลาออกแบบอยู่สี่เดือนและตัดสินใจจะออกแบบเป็นรูปสัญลักษณ์อาคาร ล็อกอัพเอฟเวอร์ตัน (Everton Lock-Up) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอาคารเก่าแก่ที่ใช้เป็นที่กักขังอาชญากรและคนติดสุราในประเทศอังกฤษและเวลส์ อาคารดังกล่าวเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของย่านนั้นนับตั้งแต่มีการก่อสร้างใน ค.ศ. 1787 และเอฟเวอร์ตันได้ใช้มันเป็นสัญลักษณ์ประจำสโมสรมานับตั้งแต่นั้น พร้อมตั้งคำขวัญว่า "Nil satis nisi optimum" ซึ่งเป็นภาษาละตินแปลว่า “ดีที่สุดเท่านั้นถึงจะพอ”[49]และเน็กไทดังกล่าวถูกสวมครั้งแรกโดยเคลลี่ และนายอี. กรีน ในวันแรกของฤดูกาล 1938–39 สโมสรมักไม่ค่อยใส่คำอธิบายหรือประโยคยาว ๆ ลงบนเสื้อแข่ง โดยจะปรากฏเพียงตัวอักษร "EFC" ซึ่งเป็นตัวย่อของชื่อสโมสรเท่านั้น โดยเริ่มใช้ครั้งแรกบนเสื้อใน ค.ศ. 1978[50]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 สโมสรได้เปิดตัวตราสัญลักษณ์แบบใหม่เพื่อเพิ่มความทันสมัย แต่ได้รับการตอบรับในเชิงลบจากผู้สนับสนุนสโมสร โดยผู้สนับสนุนกว่า 91% ได้ลงความเห็นผ่านเว็บไซต์ของสโมสรว่าไม่พอใจในตราสโมสรแบบใหม่นี้ หัวหน้าฝ่ายการตลาดจึงประกาศว่าจะออกแบบตราใหม่อีกครั้ง และออกแบบตราใหม่มาทั้งสิ้น 3 แบบให้กลุ่มผู้สนับสนุนร่วมกันโหวตเลือก และตราสโมสรที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ เป็นตราที่ได้รับคะแนนโหวตถึง 80%[51]

ฉายาของทีม แก้

สโมสรเอฟเวอร์ตันมีชื่อเล่นว่า "The Toffees" และ "The Toffeemen" ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเอฟเวอร์ตันย้ายไปกูดิสันพาร์ก มีข้อสันนิษฐานสองประการถึงชื่อเรียกดังกล่าว ประการแรก เชื่อว่าน่าจะมาจากร้านขนมหวานซึ่งขายทอฟฟีในตำบลนั้น (everton brow) ซึ่งชื่อร้าน "Mother Noblett's" โดยเป็นร้านที่ได้รับความนิยม มีทอฟฟีที่ขายดีทีสุดคือ Everton Mint และร้านดังกล่าวยังตั้งอยู่ตรงข้ามล็อกอัพซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสโมสร และมีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยนั้นจะมีสตรีคนหนึ่งโยนทอฟฟีเอฟเวอร์ตันมินต์ให้แฟนบอลข้างสนามก่อนเริ่มเกมเป็นประจำ

ข้อสันนิษฐานอีกประการคือมีบ้านหลังหนึ่งซึ่งถูกเรียกว่า Ye Anciente Everton Toffee House ตั้งอยู่ในย่านเอฟเวอร์ตัน เมืองลิเวอร์พูล มีเจ้าของคือ มาร์ บูเชล ซึ่งบ้านหลังนั้นอยู่ใกล้กับโรงแรมควีนส์ซึ่งเป็นที่ประชุมของผู้บริหารสโมสร[52]

เอฟเวอร์ตันมีชื่อเล่นอื่น ๆ มากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการสวมชุดแข่งสีดำทำให้ทีมได้รับฉายาว่า "เดอะแบล็ควอตช์" ตั้งตามชื่อกองทหารที่มีชื่อเสียงของสกอตแลนด์ และนับตั้งแต่สวมชุดแข่งสีน้ำเงินใน ค.ศ. 1901 สโมสรจึงมีชื่อเรียกว่า "เดอะบลู" และด้วยรูปแบบการเล่นที่น่าตื่นเต้น เร้าใจ สตีฟ บลูเมอร์ อดีนนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาติอังกฤษจึงเรียกสโมสรว่า "scientific" ใน ค.ศ. 1928 นำไปสู่ฉายา "The School of Science"[53] ทีมที่ชนะการแข่งขันเอฟเอคัพปี 1995 เป็นที่รู้จักในนาม "The Dogs of War" และเมื่อ เดวิด มอยส์ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีม เขาได้ประกาศให้เอฟเวอร์ตันเป็น "สโมสรประชาชน" (The People's Club) ซึ่งวลีนี้ได้รับการรับรองเป็นชื่อเล่นกึ่งทางการของสโมสร[54]

สนามแข่ง แก้

 
กูดิสันพาร์ก สนามเหย้าของเอฟเวอร์ตัน

เดิมที เอฟเวอร์ตันลงเล่นบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของสแตนลีย์พาร์ค สวนสาธารณะขนาดใหญ่ในเมืองลิเวอร์พูล การแข่งขันนัดแรกอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นในปี 1879 ต่อมาในปี 1884 เอฟเวอร์ตันได้เป็นผู้เช่าสนามแอนฟีลด์ ซึ่งมีเจ้าของคือ จอห์น ออร์เรลล์ เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเพื่อนของสมาชิกสโมสรเอฟเวอร์ตัน จอห์น โฮลดิง ออร์เรลล์ให้เอฟเวอร์ตันเช่าแอนฟีลด์แลกกับค่าเช่าเล็กน้อย ต่อมา โฮลดิงซื้อที่ดินต่อจากออร์เรล์ในปี 1885 และถือกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของสนามแอนฟีลด์ และทำการขึ้นค่าเช่าสนามจาก 100 ปอนด์ เป็น 240 ปอนด์ในปี 1888 และยังคงขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องกระทั่งปี 1892[55] สโมสรเอฟเวอร์ตันยอมรับไม่ได้กับการขึ้นค่าเช่าดังกล่าว ตามมาด้วยข้อพิพาทระหว่างโฮลดิงและคณะกรรมการที่เหลือของสโมสร โฮลดิงต้องการจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารทีม โดยต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งชื่อสโมสร, สี และการกำหนดการแข่งขัน แต่ถูกปฏิเสธโดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ สโมสรเอฟเวอร์ตันจึงยุติการใช้งานแอนฟีลด์ และย้ายไปสู่สนามแห่งใหม่อย่าง กูดิสันพาร์ก ในปี 1892 ในขณะที่ จอห์น โฮลดิง ได้ไปก่อตั้งสโมสรแห่งใหม่ในนาม สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[56] และยังคงใช้สนามแอนฟีลด์มาถึงปัจจุบัน

สนามกูดิสันพาร์กถูกใข้งานในการแข่งขันลีกสูงสุดมากกว่าสนามอื่น ๆ ในสหราชอาณาจักร และเป็นสนามเดียวของสโมสรในอังกฤษที่ถูกใข้งานในรอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลโลก 1966 นอกจากนี้ยังเป็นสนามแห่งแรกของอังกฤษที่ติดตั้งระบบทำความร้อนใต้ดินและเป็นสนามแห่งแรกที่มีอัฒจันทร์สองชั้นทุกด้านของสนาม

สนามใหม่ แก้

ในเดือนสิงหาคมปี 2021 เอฟเวอร์ตันได้รับการอนุญาตจากสภาเมืองลิเวอร์พูลในการก่อสร้างสนามแห่งใหม่มูลค่า 500 ล้านปอนด์[57] สนามใหม่นี้ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่อู่เรือ บรามลีย์-มัวร์ ด้วยความจุ 52,888 ที่นั่ง ซึ่งมากกว่ากูดิสันพาร์กประมาณ 13,000 ที่นั่ง สนามใหม่นี้ยังจะช่วยสร้างงานให้คนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นถึง 15,000 ตำแหน่ง โดยคาดการณ์ว่าการก่อสร้างน่าจะแล้วเสร็จทันฤดูกาล 2024/25 โดยจะมีชื่อว่า "สนามฟุตบอลแบรมลีย์ มัวร์" (Bramley-Moore Dock Stadium) และหากสร้างเสร็จจะกลายเป็นหนึ่งในสนามที่มีทัศนียภาพสวยงามที่สุดในสหราชอาณาจักร และจะมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่สนามอีกด้วย[58]

ผู้สนับสนุน และสโมสรคู่อริ แก้

เอฟเวอร์ตันเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในอังกฤษ[59] พวกเขามียอดผู้ชมสูงสุดเป็นอันดับแปดในฤดูกาล 2008–09 กลุ่มผู้สนับสนุนส่วนใหญ่อยู่ในนอร์ทเวสต์อิงแลนด์ และ แมนเชสเตอร์ รวมทั้งได้รับความนิยมในประเทศไอร์แลนด์ และทางตอนเหนือของเวลส์ เอฟเวอร์ตันยังมีสโมสรผู้สนับสนุนมากมายทั่วโลกในประเทศต่าง ๆ[60] เช่น ทวีปอเมริกาเหนือ[61], สิงคโปร์[62], อินโดนีเซีย, เลบานอน, มาเลเซีย[63], ไทย[64], อินเดีย และออสเตรเลีย พอล แม็กคาร์ตนีย์ เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนสโมสรที่มีชื่อเสียงมากที่สุด กลุ่มผู้สนับสนุนหลุกของสโมสรก่อตั้งกลุ่ม FOREVERTON และมีการออกแฟนซีนได้แก่ When Skies are Grey และ Speke from the Harbour ซึ่งวางจำหน่ายหน้าสนามในวันแข่ง

แฟนบอลของสโมสรมักจะเดินทางไปให้กำลังใจทีมในการแข่งขันต่างประเทศ ในรายการฟุตบอลยุโรป สโมสรใช้รูปแบบคะแนนสะสมที่เสนอโอกาสในการซื้อตั๋วสำหรับผู้ถือตั๋วฤดูกาลที่เข้าร่วมการแข่งขันนัดเยือนมากที่สุด และตั๋วชมเกมเยือนของสโมสรมักจะถูกขายหมดเสมอ ในเดือนตุลาคม 2009 มีกองเชียร์สโมสรกว่า 7,000 คน ไปให้กำลังใจทีมในการแข่งชันกับเบนฟิกา ของโปรตุเกส ซึ่งเป็นสถิติสูสุดของสโมสรยุโรปนับตั้งแต่รอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 1985

เอฟเวอร์ตันเป็นสโมสรคู่อริของลิเวอร์พูล จากกรณีพิพาทในเรื่องการเช่าสนามแข่ง การพบกันของทั้งสองสโมสรเรียกว่า เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บี โดยชื่อนี้ถูกเรียกขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1955 ขณะที่บรรดาผู้สนับสนุนของสองสโมสรเรียกว่า ดาร์บีมิตรภาพ (The friendly derby) เพราะถือว่าในการแข่งขันผู้สนับสนุนไม่มีความขัดแย้งหรือแข่งขันกันดุเดือดเกินไป ทว่านับตั้งแต่ยุคพรีเมียร์ลีกเป็นต้นมา การแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้น และเมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีถือเป็นการแข่งขันดาร์บีที่มีจำนวนใบแดงมากที่สุดในฟุตบอลอังกฤษ[65]

ผู้เล่น แก้

ณ วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2023[66]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   จอร์แดน พิกฟอร์ด
2 DF   เนทัน แพตเทอร์สัน
5 DF   ไมเคิล คีน
6 DF   เจมส์ ทาร์คอฟสกี (รองกัปตันทีม)
7 MF   ดไวท์ แมคนีล
8 MF   อมาโด โอนานา
9 FW   ดอมินิก แคลเวิร์ต-ลูอิน
10 FW   อาร์เนาต์ ดันจูมา
11 MF   แจ็ค แฮร์ริสัน
12 GK   ฌูเวา เวียจิเนีย
13 FW   นีล โมแป
14 FW   เบโต
16 MF   อาบดูลาย ดูกูเร
18 DF   แอชลีย์ ยัง
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 DF   วีตาลีย์ มือกอแลนกอ
20 MF   เดลี แอลลี
21 MF   อังแดร โกมึช
22 DF   เบน กอดฟรีย์
23 DF   เชมัส โคลแมน (กัปตัน)
27 MF   อีดรีซา แกย์
28 FW   ยุสเซฟ แชร์มิตี
31 GK   แอนดี โลเนอร์แกน
32 DF   จาราด แบรนท์เวท
37 MF   เจมส์ การ์เนอร์
43 GK   บิลลี เครลลิน
61 FW   ลูวิส ด็อบบิน
 

ผู้เล่นที่ถูกปล่อยยืมตัว แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF   นีลส์ เอ็นคุนคู (ปล่อยยืมไป สโมสรฟุตบอลคาร์ดิฟฟ์ซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2023)
MF   ฌ็อง-ฟีลิป บาแม็ง (ปล่อยยืมไป ทรับซอนสปอร์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2023)

อดีตผู้เล่นระดับตำนาน แก้

อันดับ ชื่อ ฤดูกาลที่ร่วมทีม จำนวนเกม ประตู
1 ปีเตอร์ รีด 1982 - 1989 234 13
2 แกรม ชาร์ป 1979 - 1991 447 159
3 โจ รอยล์ 1966 - 1974 275 119
4 เควิน แรคคลิฟฟ์ 1980 - 1991 461 2
5 เรย์ วิลสัน 1964 - 1969 116 0
6 อลัน บอล จูเนียร์ 1966 - 1971 208 66
7 ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ 1967 - 1974 229 21
8 เดวิด วัตสัน 1990 - 1999 524 28
9 เนวิลล์ เซาท์ธอลล์ 1980 - 1989 751 0
10 บ็อบ แลตช์ฟอร์ด 1970 - 1979 289 138
11 อเล็กซ์ ยัง 1960 - 1969 273 87
12 เดฟ ฮิคสัน 1950 - 1959 243 111
13 ที. จี. โจนส์ 1940 - 1949 178 5
14 เท็ด ซาการ์ 1930 - 1939 499 0
15 ดิ๊กซี่ ดีน 1920 - 1929 433 383
16 แซม เชดซอย 1910 - 1919 300 36
17 แจ็ค ชาร์ป 1900 - 1909 342 80
18 โคลิน ฮาร์วีย์ 1963 - 1974 384 24

ทีมยอดเยี่ยมตลอดกาล แก้

 
ดิ๊กซี่ ดีน เจ้าของสถิติ 60 ประตูต่อหนึ่งฤดูกาล ถือเป็นสถิติทำประตูในลีกสูงสุดมากที่สุดตลอดกาลมาถึงปัจจุบัน

ชุดแข่งขันและสปอนเซอร์ แก้

ปี ชุดที่ใช้ สปอนเซอร์
1974–79 อัมโบร none
1979–83 Hafnia
1983–85 เลอ คอก สปอร์ติฟ
1985–86 NEC
1986–95 อัมโบร
1995–97 เดนคา
1997–2000 One 2 One
2000–02 พูม่า
2002–04 เคอเจี้ยน
2004–09 อัมโบร เบียร์ช้าง
2009–12 เลอ คอก สปอร์ติฟ
2012–17 ไนกี้[67]
2017– อัมโบร สปอตเปซ่า

ทำเนียบผู้จัดการทีม แก้

 
ชอน ไดช์ ผู้จัดการทีมคนปัจจุบัน
อันดับ ชื่อ ปี จำนวนเกม เปอร์เซ็นต์คุมทีมชนะ
1 ธีโอ เคลลี 1939 – 1948 102 47
2 คลิฟท์ บรีตัน 1948 – 1956 339 50
3 เอียน บุชา 1956 – 1958 99 43
4 จอห์นนี แคร์รี 1958 – 1961 122 51
5 แฮร์รี่ แคทเทอริก 1961 – 1973 594 60
6 บิลลี บิงแฮม 1973 – 1977 172 53
7 สตีฟ เบอร์เทินชอว์ 1977 – 1977 1 50
8 กอร์ดอน ลี 1977 – 1981 234 55
9 ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ 1981 – 1987 338 66
10 โคลิน ฮาร์วีย์ 1987 – 1990 174 57
11 ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ 1990 – 1993 122 51
12 ไมค์ วอล์กเกอร์ 1994 – 1994 34 32
13 โจ รอยล์ 1994 – 1997 119 55
14 ฮาวเวิร์ด เคนดัลล์ 1997 – 1998 42 42
15 วอลเตอร์ สมิธ 1998 – 2002 168 46
16 เดวิด มอยส์ 2002 – 2013 516 42
17 โรเบร์โต มาร์ติเนซ 2013 – 2016 140 43
18 โรนัลด์ กุมัน 2016 – 2017 58 41
19 แซม อัลลาร์ไดซ์ 2017 – 2018 26 39
20 มาร์กู ซิลวา 2018 42 41
21 ดันแคน เฟอร์กูสัน 2019 4 25
22 การ์โล อันเชลอตตี 2019 – 2021 67 46
23 ราฟาเอล เบนิเตซ 2021 – 2022 22 31
24 ดันแคน เฟอร์กูสัน 2022 1 0
25 แฟรงก์ แลมพาร์ด 2022 – 2023 43 28
26 ชอน ไดช์ 2023 – 23 26

เกียรติประวัติ แก้

  ระดับประเทศ แก้

  ระดับทวีปยุโรป แก้

รายการอื่น ๆ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Premier League Handbook Season 2015/16" (PDF). Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-06. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  2. "Everton FC - News, Transfers, Fixtures & Results - Express.co.uk | Express.co.uk". www.express.co.uk.
  3. Cup, Florida. "Everton Football Club - Florida Cup 2021". Florida Cup. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  4. "Seasons in the Top Flight of English Football by Clubs 1888-89 to 2021-22". My Football Facts (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "All-Time English Football Top Flight 1888-89 to 2021-22". My Football Facts (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "History | Everton Football Club". www.evertonfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. "What does evertonian mean?". www.definitions.net.
  8. "Everton FC history, facts and stats". www.footballhistory.org.
  9. "Soccer Teams, Scores, Stats, News, Fixtures, Results, Tables - ESPN". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ).
  10. "St Domingo's - 53.425799°N, 2.964903°W | Everton Football Club". web.archive.org. 2017-01-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "9 Facts About Football In The First World War". Imperial War Museums (ภาษาอังกฤษ).
  12. "EVERTONFC.COM: | History | The Everton Story | 1878 - 1930". web.archive.org. 2007-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  13. "English Energy and Nordic Nonsense". www.rsssf.com.
  14. "Everton 1938-1939 Home - statto.com". web.archive.org. 2013-09-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-22. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  15. "EVERTONFC.COM: | History | The Everton Story | 1931 - 1960". web.archive.org. 2006-11-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. "1962/63 Season | Everton Football Club". web.archive.org. 2015-09-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  17. "1969/70 Season | Everton Football Club". web.archive.org. 2015-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  18. "1969/70 Season / Championship Wins / The Everton Story / History / evertonfc.com - The Official Website of Everton Football Club". web.archive.org. 2013-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "EVERTONFC.COM: | History | The Everton Story | 1961 - 1980". web.archive.org. 2007-02-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  20. "Everton FC Season History | Premier League". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
  21. "Summary - Premier League - England - Results, fixtures, tables and news - Soccerway". uk.soccerway.com.
  22. "Rooney deal explained" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  23. "Everton complete Johnson capture" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2006-05-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  24. "Yakubu joins Everton for £11.25m" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  25. "Everton smash record for Fellaini" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2008-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  26. "Round appointed Man Utd assistant". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  27. "Roberto Martínez says his aim is to take Everton into the Champions League". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2013-06-05.
  28. "Hull City 0-2 Everton". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  29. UEFA.com. "Dynamo Kyiv-Everton 2015 History | UEFA Europa League". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
  30. "Roberto Martínez sacked by Everton after disappointing season". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-12.
  31. "Everton confirm Koeman appointment". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  32. "Koeman sacked as Everton manager". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  33. "Everton aiming to appoint Marco Silva after sacking Sam Allardyce". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-16.
  34. "Everton appoint Marco Silva and expect 'attractive, attacking football'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-31.
  35. "Everton handed 2-year ban from signing academy players". FOX Sports (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  36. "Club Statement". www.evertonfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  37. "'The perfect appointment': Everton name Carlo Ancelotti as manager". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-21.
  38. "'Ancelotti exit a cold shower on Everton ambitions'". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  39. "Benitez Appointed Everton Manager". www.evertonfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  40. "Rafael Benitez: Everton sack manager after just six-and-a-half months in charge following Norwich defeat". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  41. "Frank Lampard: Everton appoint former Chelsea boss as new manager to replace Rafael Benitez". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  42. "Everton receive immediate 10-point deduction". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.
  43. "What other big points deductions have there been?". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.
  44. Hunter, Andy (2023-12-01). "Everton lodge appeal and hint at tension over commission's independence". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-12-16.
  45. "Everton and Forest charged with financial breaches". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-01-29.
  46. Boyland, David Ornstein and Patrick. "Everton's 10-point penalty reduced to six". The Athletic (ภาษาอังกฤษ).
  47. "ToffeeWeb: Everton History - Part II". web.archive.org. 2011-06-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  48. "ToffeeWeb: Everton History - Part II". web.archive.org. 2011-06-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  49. "Everton motto to return after fans condemn badge redesign". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2013-09-19. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.
  50. "Everton History | ToffeeWeb". www.toffeeweb.com.
  51. "Next Crest Revealed / Latest News / News / evertonfc.com - The Official Website of Everton Football Club". web.archive.org. 2014-07-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  52. "ToffeeWeb - The Club - Folklore - Origins". web.archive.org. 2006-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  53. "ToffeeWeb - The Club - Folklore - Origins". web.archive.org. 2006-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  54. "Football". mirror (ภาษาอังกฤษ).
  55. Groom, Andy (2014). The Illustrated Everton Story. Andrews UK Limited.
  56. "Liverpool Football Club is formed - Liverpool FC". web.archive.org. 2012-09-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-07. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  57. "Everton Breaks Ground On New Stadium". www.evertonfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  58. "WATCH: Key Milestone For Everton's New Stadium". www.evertonfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  59. "Everton Football Club". www.evertonfc.com (ภาษาอังกฤษ).
  60. "bluekipper.com - Everton Supporters Clubs". web.archive.org. 2006-08-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  61. Usa, Everton (2013-01-05). "Everton USA: US Everton FC Supporters Clubs". Everton USA.
  62. "Everton Supporters Club (SINGAPORE) | ABOUT SESC". web.archive.org. 2006-08-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  63. "Malaysia Toffees". malaysiantoffees.blogspot.com (ภาษาอังกฤษ).
  64. "thai.evertonfc.com | เว็บไซด์สโมสรเอฟเวอร์ตันภาคภาษาไทยอย่างเป็นทางการ". web.archive.org. 2006-08-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-20. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  65. "Telegraph | Sport | Gerrard off as Reds take derby honours". web.archive.org. 2006-04-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-24. สืบค้นเมื่อ 2021-12-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  66. "First team". Everton F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-05. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  67. O'Keeffe, Greg (8 March 2012). "Everton FC agree three-year kit deal with US sportswear giant Nike". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 8 June 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้