ต้อหิน (อังกฤษ: Glaucoma) เป็นกลุ่มอาการทางตาที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทออพทิค และนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น[1] ชนิดของต้อหินที่พบทั่วไปคือ ต้อหินมุมเปิด (มุมกว้าง, สามัญเรื้อรัง) (อังกฤษ: open-angle (wide angle, chronic simple) glaucoma) ที่ซึ่งมุมการระบายของของเหลวในตาเปิดอยู่ ส่วนชนิดที่พบได้น้อยกว่า เช่น ต้อหินมุมปิด (มุมแคบ, อุดตันฉับพลัน) (อังกฤษ: closed-angle (narrow angle, acute congestive) glaucoma) และ ต้อหินที่ความตึงคงเดิม (อังกฤษ: normal-tension glaucoma)[1] ต้อหินแบบมุมเปิดจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่มีความเจ็บปวด[1] การมองเห็นรอบนอกอาจค่อย ๆ ลดลง ตามด้วยการมองเห็นตรงกลาง และอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหากไม่ได้รับการรักษา[1] ส่วนต้อหินแบบมุมปิดมักเกิดขึ้นโดยฉับพลัน[2] อาการแสดงฉับพลันเช่นการปวดตารุนแรงโดยฉับพลัน, รูม่านตาขยายปานกลาง, ตาเป็นสีแดง และอาการคลื่นเหียนอาเจียน[1][2] การสูญเสียการมองเห็นจากต้อหินหากเกิดแล้วจะเป็นถาวร รักษาไม่ได้[1] คำวิเศษณ์สำหรับเรียกดวงตาที่เกิดอาการต้อหินในภาษาอังกฤษคือ glaucomatous

ต้อหิน
ต้อหินมุมปิดชนิดฉับพลัน (Acute angle closure glaucoma) ที่ตาขวา (ด้านซ้ายมือของภาพ) สังเกตรูม่านตาขนาดปานกลางเพราะไม่มีการตอบสนองต่อแสง และตาขาวแดงขึ้น
สาขาวิชาจักษุวิทยา, ทัศนมาตรวิทยา
อาการสูญเสียการมองเห็น, ปวดตา, รูม่านตาขยายปานกลาง, ตาแดง, คลื่นไส้[1][2]
การตั้งต้นค่อยเป็นค่อยไป หรือฉับพลัน[2]
ปัจจัยเสี่ยงความดันในตาสูง, ประวัติทางครอบครัว, ความดันเลือดสูง[1]
วิธีวินิจฉัยการตรวจตาแบบขยายม่านตา[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ, แผลในตา, กระจกตาอักเสบ, เยื่อตาอักเสบ[3]
การรักษายา, เลเซอร์, ศัลยกรรม[1]
ความชุก6–67 ล้านคน[2][4]

การรักษาโรค

แก้

ในปัจจุบันนี้เป้าหมายของการรักษาโรคต้อหินคือการหลีกเลี่ยงความเสียหายจากโรคต้อหินและความเสียหายของเส้นประสาทตารวมทั้งรักษาขอบเขตการมองเห็นของผู้ป่วยและคุณภาพชีวิตโดยรวมโดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด[5][6] เพื่อการทําอย่างนี้ต้องมีการใช้วิธีการวินิจฉัยและการตรวจติดตามผลที่เหมาะสม ตลอดจนการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย แม้ว่าความดันลูกตา (ocular pressure; OP) เป็นเพียงสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของโรคต้อหิน แต่การลด ดลต.ลงด้วยยาและ/หรือวิธีการผ่าตัดต่างๆ เป็นวิธีหลักในการรักษาโรคต้อหินในปัจจุบัน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาคทำให้เกิดวามดันลูกตา[7] การตรวจผู้ที่มีโรคต้อหินมุมเปิดและความดันโลหิตสูงในลูกตาพบว่าการรักษาด้วยยาที่ลด OP ลง จะชะลอการลุกลามของการสูญเสียขอบเขตการมองเห็นของผู้ป่วย[8] การไหลของหลอดเลือดและทฤษฎีการเสื่อมของระบบประสาทของต้อหินแก้วนำแสงได้ทำให้มีการวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์การรักษาระบบประสาทต่างๆ รวมถึงองค์ประกอบของอาหารซึ่งบางส่วนอาจถือว่าปลอดภัยสำหรับการใช้โดยแพทย์ในปัจจุบัน ในขณะที่บางส่วนกำลังอยู่ระหว่างการทดสอบ ความเครียดทางจิตใจยังถือเป็นผลสืบเนื่องและสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งหมายความว่าการฝึกการจัดการความเครียด การฝึกสร้างร่างกาย และวิธีการอื่นๆ ในการจัดการความเครียดจะมีประโยชน์[9]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Facts About Glaucoma". National Eye Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 March 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Mantravadi AV, Vadhar N (September 2015). "Glaucoma". Primary Care. 42 (3): 437–49. doi:10.1016/j.pop.2015.05.008. PMID 26319348.
  3. Ferri FF (2010). Ferri's differential diagnosis : a practical guide to the differential diagnosis of symptoms, signs, and clinical disorders (2nd ed.). Philadelphia, PA: Elsevier/Mosby. p. Chapter G. ISBN 978-0323076999.
  4. Vos, Theo; Allen, Christine; Arora, Megha; และคณะ (October 2016). "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  5. "Medical Management of Glaucoma: A Primer". eyerounds.org. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  6. "Practical approach to medical management of glaucoma". ncbi.nlm.nih.gov. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  7. "Methods of glaucoma treatment". amsterdammarijuanaseeds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  8. "Glaucoma and Eye Pressure". brightfocus.org. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  9. "Glaucoma Associated With Therapies for Psychiatric Disorders". glaucomatoday.com. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก