สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง
สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (ฝรั่งเศส: Paris Saint-Germain F.C.) หรือเรียกอย่างย่อว่า เปแอ็สเฌ (PSG) เป็นสโมสรฟุตบอลซึ่งตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันเล่นอยู่ในลีกเอิง ลีกสูงสุดของฟุตบอลฝรั่งเศส พวกเขาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของฝรั่งเศส[1][2] โดยชนะเลิศการแข่งขันในประเทศมากกว่า 40 รายการ ซึ่งรวมถึงการชนะเลิศฟุตบอลลีกเอิง 10 สมัย และยังครองสถิติในการเล่นในลีกสูงสุดยาวนานที่สุดโดยไม่ตกชั้น และเป็นสโมสรเดียวของฝรั่งเศสที่ชนะเลิศถ้วยรางวัลในประเทศ 3 รายการ และ 4 รายการในฤดูกาลเดียวกัน สโมสรมีสนามเหย้าคือปาร์กเดแพร็งส์[3] และมีสัญลักษณ์คือรูปหอไอเฟล และดอกลิลลี
![]() | |||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | ||
---|---|---|---|
ฉายา | PSG, Paris SG, Les Rouge-et-Bleu, Les Parisiensยักษ์ใหญ่แดนน้ำหอม"(ฉายาในภาษาไทย) | ||
ก่อตั้ง | 12 สิงหาคม ค.ศ. 1970 | ||
สนาม | ปาร์กเดแพร็งส์ | ||
ความจุ | 48,713 ที่นั่ง | ||
เจ้าของ | กลุ่มทุนกาตาร์ | ||
ประธาน | นาศิร อัลเคาะลัยฟี | ||
ผู้จัดการ | เมาริซิโอ โปเชติโน | ||
ลีก | ลีกเอิง | ||
2021–22 | อันดับที่ 1 | ||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | ||
| |||
ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1970 จากการควบรวมสโมสรระหว่างปารี แอ็ฟเซ และ สตาดแซ็ง-แฌร์แม็ง[4] ถ้วยรางวัลแรกของสโมสรคือรายการกุปเดอฟร็องส์ใน ค.ศ. 1982 ก่อนจะคว้าแชมป์ลีกเอิงสมัยแรกได้ใน ค.ศ. 1986 ถัดมาในช่วงทศวรรษ 1990 สโมสรเข้าสู่ยุคทองแห่งความสำเร็จ โดยชนะเลิศลีกเอิงสมัยที่ 2, ชนะเลิศกุปเดอฟร็องส์เพิ่ม 3 สมัย และกุปเดอลาลีกอีก 2 สมัย และชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพใน ค.ศ. 1996 ส่งผลให้พวกเขาเป็นหนึ่งในสองสโมสรของฝรั่งเศสที่ชนะเลิศการแข่งขันในถ้วยยุโรป[5]
ใน ค.ศ. 2011 กลุ่มนายทุนมหาเศรษฐีจากกาตาร์ นำโดยตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี ได้เข้ามาซื้อกิจการสโมสร ส่งผลให้พวกเขากลายเป็นสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในฝรั่งเศส รวมทั้งเป็นหนึ่งในสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[6][7][8] และด้วยการลงทุนซื้อตัวผู้เล่นมากกว่า 1 พันล้านยูโร ส่งผลให้สโมสรครองความยิ่งใหญ่ในประเทศมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้น โดยชนะเลิศฟุตบอลลีกเอิงเพิ่ม 7 สมัย รวมทั้งชนะเลิศฟุตบอลถ้วยในประเทศอีก 20 รายการ และยังเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 2020[9][10]
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งเป็นสโมสรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฝรั่งเศส รวมทั้งเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้ติตดามมากที่สุดในโลก[11][12][13] สโมสรมีคู่ปรับคือออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ โดยการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมเรียกว่า เลอกลาซิก[14] ในฤดูกาล 2020–21 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสารฟอบส์ให้เป็นสโมสรที่มีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 9 ของโลก (2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และอยู่ในอันดับ 6 ตามการจัดอันดับของดีลอยต์ทูชโทมัตสุ
ประวัติแก้ไข
ยุคแรกของการก่อตั้งและการแยกทีม (1970–79)แก้ไข
สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1970[15] โดยกี เครซ็อง และปีแยร์-เอเตียน กีโย[16] นักธุรกิจชื่อดังซึ่งมีแนวคิดต้องการสร้างทีมฟุตบอลที่เป็นตัวแทนของกรุงปารีสในการแข่งขันระดับโลก[17] และต้องการนำชื่อเสียงมาสู่กรุงปารีสและวงการฟุตบอลฝรั่งเศส โดยแต่เดิมนั้นสโมสรได้เกิดจากการรวมทีมกันระหว่างสโมสร ปารี แอ็ฟเซ (ก่อตั้งในปี 1969) กับ สตาดแซ็ง-แฌร์แม็ง (ก่อตั้งในปี 1904) ภายหลังจากที่สตาดแซ็ง-แฌร์แม็งซึ่งเล่นอยู่ในลีก 3 ในขณะนั้นเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกเดอ (ลีก 2) ซึ่งภายหลังจากการรวมทีมกันสโมสรได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง[18] และลงเล่นในลีกเดอในปีนั้น
ในช่วงเวลาดังกล่าวสโมสรยังเปิดโอกาสให้แฟนบอลได้ร่วมเป็นเจ้าของทีมและมีสมาชิกร่วมลงนามกว่า 20,000 คน และสโมสรเรอัลมาดริดได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสโมสร[19] โดยซานเตียโก เบร์นาเบว ประธานสโมสรเรอัลมาดริดในขณะนั้น ได้อนุมัติเงินทุนสนับสนุนพวกเขาจากการที่กลุ่มผู้บริหารประสบปัญหาการเงิน[20]
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดอย่างลีกเอิงได้ในปี 1971 โดยในฤดูกาลแรกพวกเขาสามารถจบในอันดับที่ 16 และในฤดูกาลต่อมาพวกเขาจบอันดับที่ 12 ซึ่งในช่วงนั้นมีนักเตะชื่อดังอย่างฟร็องซัว อึมเปอเล นักเตะชาวคองโกซึ่งยิงประตูในลีกไปถึง 21 ประตู ต่อมาในปี 1972 สโมสรได้ประกาศแยกทีมอีกครั้ง โดยสโมสรปารี แอ็ฟเซ กลับไปมีสถานะเดิมอีกครั้งและยังคงเล่นในลีกสูงสุดต่อไปในฤดูกาล 1973 ในขณะที่ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (สตาดแซ็ง-แฌร์แม็งเดิม) ต้องตกชั้นอีกครั้ง แต่สามารถเลื่อนชั้นกลับมาได้อย่างรวดเร็วในฤดูกาล 1974 และลงเล่นที่สนามปาร์กเดแพร็งส์เป็นฤดูกาลแรกและพวกเขาไม่เคยตกชั้นอีกเลยนับตั้งแต่นั้น
แชมป์รายการแรกและเริ่มพัฒนาทีม (1980–89)แก้ไข
สโมสรคว้าแชมป์รายการแรกคือกุปเดอฟร็องส์ในฤดูกาล 1981–82 ด้วยการชนะอาแอ็ส แซ็งเตเตียน ในการดวลลูกโทษ หลังจากเสมอกัน 2–2 ในฤดูกาลถัดมา พวกเขาก็ป้องกันแชมป์ได้อีกครั้งด้วยการชนะน็องต์ 3–2 ต่อมา ในฤดูกาล 1985–86 สโมสรคว้าแชมป์ลีกเอิงได้เป็นสมัยแรก ทำให้ได้สิทธิ์ไปเล่นรายการยูโรเปียนคัพในฤดูกาลถัดมา ซึ่งนัดแรกในรายการระดับยุโรปของพวกเขาคือพบกับสโมสรวีตกอวิตเซ จากเช็กเกีย ซึ่งนัดแรกพวกเขาเปิดบ้านเสมอไปได้ 2–2 แต่ในนัดที่สองบุกไปแพ้ 0–1 และในฤดูกาล 1988–89 สโมสรได้รองแชมป์ลีกเอิงโดยเป็นรองต่อออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ เพียงแค่ 3 คะแนน
ยุคทอง (1990–99)แก้ไข
ในปี 1991 กานาลปลุส (Canal+) สถานีโทรทัศน์ชื่อดังของฝรั่งเศสได้เข้ามาซื้อกิจการของสโมสร และทำให้สโมสรเริ่มกลับมาประสบความสำเร็จมากขึ้น และถือเป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของพวกเขาอย่างแท้จริง[21] โดยในฤดูกาล 1992–93 สโมสรได้รองแชมป์ลีกเอิง และสามารถคว้าแชมป์กุปเดอฟร็องส์ด้วยการชนะน็องต์ 3–0 ต่อมาในปี 1995 สโมสรคว้าแชมป์กุปเดอฟร็องส์ ได้หลังเอาชนะอาแอ็สสทราซบูร์ 1–0 และคว้าแชมป์ทรอเฟเดช็องปียงในปีเดียวกัน รวมทั้งผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ จอร์จ เวอาห์ กองหน้าคนสำคัญของทีมซึ่งทำผลงานโดดเด่นในฤดูกาลนั้นยังคว้ารางวังบาลงดอร์ได้และยังได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมประจำปีของฟีฟ่า แม้เจ้าตัวจะย้ายไปร่วมทีมเอซีมิลาน ต่อมาในปี 1996 สโมสรคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพสมัยแรกได้ และเป็นการคว้าแชมป์รายการระดับทวีปครั้งแรก[22] โดยเอาชนะสโมสรราพิทวีน จากออสเตรีย 1–0 จากประตูชัยของบรูว์โน อึนกอตี[23] และยังได้รองแชมป์ลีกเอิงในปีเดียวกัน ต่อมา ในฤดูกาล 1997–98 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งคว้าแชมป์ในประเทศได้สองรายการคือ ทรอเฟเดช็องปียงและกุปเดอลาลีกเอิง ก่อนที่จะได้รองแชมป์ลีกเอิงอีกครั้งในฤดูกาล 1999–2000[24]
ประสบปัญหา (2000–09)แก้ไข
นับจากปี 1998 เป็นต้นมาการเปลี่ยนแปลงของสโมสรได้เกิดขึ้นมากมาย เริ่มต้นจากการมีปัญหาภายในด้านการเงินของสโมสรจากนั้นฐานะทางการเงินของสโมสรก็ดีขึ้นตามลำดับ ในช่วงเวลาดังกล่าวสโมสรสามารถคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโต้คัพได้ในปี 2001 ซึ่งทีมชุดนั้นนำโดยผู้เล่นระดับตำนานเช่น มาร์โก ซีโมเน, รอนัลดีนโย และเปาเลตา ต่อมา กลุ่มกานาลได้ขายสโมสรให้กับ Colony Capital ในปี 2006 หลังจากนั้นมาสโมสรก็ได้ยกระดับตนเองขึ้นมาและเริ่มมีฐานแฟนบอลเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ในช่วงเวลาดังกล่าวพวกเขาคว้าแชมป์เพิ่มได้ 5 รายการ
อย่าไรก็ตาม ในช่วงฤดูกาล 2006–07 และ 2007–08 สโมสรต้องประสบกับปัญหาภายในหลายอย่างและมีผลงานย่ำแย่ในลีกเอิงจนถึงขั้นต้องหนีตกชั้นในฤดูกาล 2008 โดยในการแข่งขันนัดสุดท้ายพวกเขาต้องพบกับโซโชซ์ในการลุ้นหนีตกชั้น และอมารา ไดแอน กองหน้าชาวโกตดิวัวร์ เป็นผู้ทำประตูชัยช่วยให้ทีมชนะไปได้ 2–1 รอดตกชั้นไปอย่างหวุดหวิด
มหาเศรษฐีทีมใหม่ (2011–ปัจจุบัน)แก้ไข
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งเข้าสู่ยุคแห่งการฟื้นฟูครั้งใหญ่ใน ค.ศ. 2011 เมื่อสโมสรถูกกลุ่มนายทุนจากประเทศกาตาร์ในนาม Qatar Sports Investments เข้าซื้อ โดยมีนาศิร อัลเคาะลัยฟี ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรจนถึงปัจจุบันพร้อมด้วยเงินจำนวนมหาศาล ผู้บริหารสโมสรได้ลงทุนสร้างทีมจนกลายเป็นทีมยักษ์ใหญ่ทีมใหม่ของวงการฟุตบอลยุโรปด้วยผู้เล่นระดับโลก และมีเป้าหมายคือการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[25]
ตำนานของสโมสร เลโอนาร์ดู อาราอูฌู ถูกนำตัวกลับมาในฐานะผู้อำนวยการด้านกีฬา และดูแลตลาดซื้อขายนักเตะในช่วงฤดูร้อนปี 2011 ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ลีกเอิง รวมถึงการเซ็นสัญญากับนักเตะหลายราย เช่น แบลซ มาตุยดี, ซัลวาโตเร ซีรีกู , มักซ์เวล, เควิน กาเมโร และ ฆาบิเอร์ ปัสโตเร[26] แม้จะจบการแข่งขันลีกเอิงฤดูกาล 2011–12 ด้วยรองแชมป์ แต่พวกเขากลับมาทวงความยิ่งใหญ่ในประเทศได้ในปีต่อมา โดยการนำทีมของผู้เล่นชื่อดัง ซลาตัน อิบราฮีโมวิช และกัปตันทีม ชียากู ซิลวา ภายใต้การคุมทีมของ การ์โล อันเชลอตตี ผู้จัดการทีมชื่อดัง[27] รวมทั้งเซ็นสัญญาระยะสั้นกับเดวิด เบคแคม[28] จำนวน 30 ประตูของอิบราฮีมอวิชทำให้ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งคว้าแชมป์ลีกเอิงเป็นครั้งแรกในรอบ 19 ปี และเป็นสมัยที่สามในประวัติศาสตร์ พวกเขายังกลายเป็นทีมที่เข้าสู่รอบแพ้คัดออกของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอย่างต่อเนื่อง โดยในฤดูกาลนั้นพวกเขาตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายโดยแพ้บาร์เซโลนาด้วยกฎประตูทีมเยือน
การลงทุนในตลาดซื้อขายยังคงดำเนินต่อไป ด้วยการมาถึงของเอดินซอน กาบานิ ในปี 2013 ด้วยค่าตัวสถิติสโมสร 64 ล้านยูโร[29] และดาวิด ลูอีซ ในปี 2014 ในราคา 50 ล้านปอนด์ ซึ่งถือเป็นสถิติโลกในขณะนั้นของการซื้อขายผู้เล่นกองหลัง แม้การ์โล อันเชลอตตีจะอำลาทีมเพื่อไปคุมเรอัลมาดริด แต่สโมสรยังประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องด้วยการคุมทีมของ โลร็องต์ บล็องก์ ซึ่งพาทีมคว้าแชมป์สามรายการหลักในประเทศ (ฟุตบอลลีกเอิง, กุปเดอลาลีก และ ทรอเฟเดช็องปียง) ในฤดูกาล 2013–14 ตามด้วยการคว้า 4 แชมป์ในประเทศ (ฟุตบอลลีกเอิง, กุปเดอฟร็องส์, กุปเดอลาลีก และ ทรอเฟเดช็องปียง) ได้สองฤดูกาลติตด่อกันตั้งแต่ปี 2014–16 โดยเฉพาะในปี 2016 ซึ่งสโมสรได้แชมป์ลีกโดยทำไปถึง 96 คะแนน เป็นสถิติสูงสุดตลอดกาลของฟุตบอลฝรั่งเศส
ในฤดูกาล 2016–17 อูไน เอเมรี เข้ามาคุมทีมหลังจากประสบความสำเร็จในการพาเซบิยาคว้าแชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีก 3 สมัยติดต่อกัน แต่ผลงานโดยรวมของทีมตกลงไปจากการย้ายทีมของ ซลาตัน อิบราฮีโมวิช[30] พวกเขาเสียแชมป์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีให้แก่อาแอ็ส มอนาโก และยังล้มเหลวในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกโดยแพ้บาร์เซโลนาในรอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยผลประตูรวม 5–6 ทั้งที่เอาชนะไปได้ก่อนในนัดแรกที่ปาร์กเดแพร็งส์ 4–0 แต่กลับพ่ายแพ้ในการไปเยือนที่สนามกัมนอว์อย่างยับเยิน 1–6 ความสำเร็จในการกลับมาของบาร์เซโลนาในครั้งนั้นได้รับการยกย่องเป็น "La Remontada" ("The Comeback")[31] จากความล้มเหลวดังกล่าว ส่งผลให้ทีมลงทุนครั้งใหญ่อีกครั้งในฤดูกาลต่อมาด้วยการซื้อตัวเนย์มาร์ ผู้เล่นชื่อดังชาวบราซิลด้วยค่าตัวสถิติโลก 222 ล้านยูโร รวมถึงการยืมตัวกีลียาน อึมบาเป ดาวรุ่งชาวฝรั่งเศสที่เป็นที่จับตามองมากที่สุดในยุโรปมาจากมอนาโกก่อนจะซื้อขาดในราคา 180 ล้านยูโร ทำให้ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งมีสองนักเตะที่ค่าตัวสูงที่สุดในโลกอยู่ในทีม ก่อนจะคว้า 4 ถ้วยรางวัลในประเทศได้เป็นครั้งที่สามในรอบสี่ฤดูกาล แต่ยังคงไม่ประสบความสำเร็จในรายการยุโรป โดยแพ้เรอัลมาดริดในยูฟ่าแชมป์เปียนส์ลีก ส่งผลให้เอเมรียุติสัญญา[32]
โทมัส ทุคเคิล เข้ามาคุมทีมต่อ[33] แต่พาทีมตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยแพ้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยกฎประตูทีมเยือน (ผลประตูรวม 3–3) แม้พวกเขาจะบุกไปชนะได้ก่อนที่โอลด์แทรฟฟอร์ด 2–0 แต่แพ้ในนัดที่สองที่ปาร์กเดแพร็งส์ 1–3 รวมถึงแพ้สตาดแรแนในรอบชิงชนะเลิศกุปเดอฟร็องส์ และแพ้แก็งก็องในกุปเดอลาลีก 1–2 แต่พวกเขายังคว้าแชมป์ลีกเอิงได้เป็นสมัยที่ 8 ต่อมา ในฤดูกาล 2019–20 สโมสรคว้าแชมป์ลีกเป็นสมัยที่ 9 จากการที่รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศตัดจบฤดูกาลจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา[34] และยังคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยได้สองรายการคือ กุปเดอฟร็องส์ และ กุปเดอลาลีก เอาชนะ อาแอ็ส แซ็งเตเตียน และ ออแล็งปิกลียอแน ตามลำดับ และยังเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรกแต่แพ้ไบเอิร์นมิวนิก 0–1[35]
แม้จะประสบความสำเร็จกับสโมสร แต่ทุคเคิลได้ลาทีมในฤดูกาลต่อมาจากการมีปัญหากับผู้บริหารสโมสร[36] เมาริซิโอ โปเชติโน อดีตผู้เล่นของสโมสรได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมในเดือนมกราคม 2021[37] และพาทีมได้แชมป์ฟุตบอลถ้วยสองรายการคือทรอเฟเดช็องปียง และกุปเดอฟร็องส์ แต่พวกเขาตกรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยแพ้แมนเชสเตอร์ซิตี และยังเสียแชมป์ลีกเอิงให้แก่ล็อสก์ลีล[38]
ในฤดูกาลต่อมา สโมสรทำการลงทุนครั้งใหญ่ด้วยการเซ็นสัญญากับผู้เล่นระดับโลก[39][40][41] ได้แก่ ลิโอเนล เมสซิ,[42] เซร์ฆิโอ ราโมส, อัชร็อฟ ฮะกีมี, จอร์จีนีโย ไวนัลดึม และ จันลุยจี ดอนนารุมมา รวมถึงการยืมตัว นูนู เม็งดึช[43] แต่ก็ล้มเหลวในฟุตบอลถ้วยทุกรายการ โดยแพ้ล็อสก์ลีลในทรอเฟเดช็องปียง 0–1 และตกรอบ 16 ทีมสุดท้ายกุปเดอฟร็องส์จากการแพ้จุดโทษโอเฌเซ นิส และแพ้ เรอัล มาดริด ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[44] ก่อนจะคว้าแชมป์ลีกเอิงเป็นสมัยที่ 10 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดร่วมกับ อาแอ็ส แซ็งเตเตียน
เอกลักษณ์แก้ไข
สโมสรถือเป็นตัวแทนของประเทศฝรั่งเศส โดยมีสีประจำทีมคือสีแดง สีน้ำเงิน และสีขาว โดยสีแดงและน้ำเงินถือเป็นสีของชาวปารีส และสีขาวสื่อถึงการเป็นตัวแทนของจักรพรรดิฝรั่งเศสในอดีต[45] นอกจากนี้ โลโก้ของสโมสรยังปรากฏภาพของหอไอเฟล ซึ่งต้องการสื่อถึงการเป็นตัวแทนของสโมสรที่ดีที่สุดในกรุงปารีสและยังสะท้อนถึงการเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในวงการฟุตบอลฝรั่งเศส[46]
สัตว์นำโชคอย่างเป็นทางการของสโมสรคือ "Germain the Lynx" ซึ่งสวมชุดที่เป็นสีประจำสโมสร โดยเปิดตัวใน ค.ศ. 2010[47] ที่กรุงปารีส เพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีของสโมสรและมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่เด็ก ๆ โดย "The Lynx" จะออกมาสร้างสีสันทุกครั้งก่อนเริ่มการแข่งขันโดยมักออกมาแจกของขวัญรวมทั้งขนมให้กับแฟนบอลในสนาม
คำขวัญแก้ไข
คำขวัญแรกอย่างเป็นทางการของสโมสรคือ "Allez Paris!"[48] ซึ่งเริ่มใช้โดย แอนนี่ คอร์ดี้ นักแสดงหญิงชื่อดังชาวเบลเยียมใน ค.ศ. 1970 ซึ่งเธอถือเป็นแฟนของสโมสรมาอย่างยาวนานและยังเป็นหนึ่งในบุคคลผู้มีชื่อเสียงที่ให้การสนับสนุนเงินทุนสโมสรในระยะแรกของการก่อตั้งทีมในคริสต์ทศวรรษ 1970 อีกด้วย[49] ต่อมาใน ค.ศ. 1977 แฟนบอลในกรุงปารีสได้ร่วมกันก่อตั้งคำขวัญ "Allez Paris-Saint-Germain!" และเริ่มมีการนำมาร้องเชียร์ให้กำลังใจนักฟุตบอลในสนาม โดยยังคงให้เกียรติแอนนี่ คอร์ดี้ด้วยการใช้คำว่า Allez Paris นำหน้าเสมอ และสโมสรได้นำคำขวัญ Allez Paris-Saint-Germain! มาเป็นคำขวัญสโมสรมาจนถึงปัจจุบัน[50][51]
สนามกีฬาแก้ไข
สนามเหย้าของสโมสรคือสนามปาร์กเดแพร็งส์ มีความจุ 48,713 ที่นั่ง ตั้งอยู่ในกรุงปารีส โดยมีจุดเด่นคือสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามโดยรอบกรุงปารีสได้อย่างชัดเจน และจะมีการเปิดไฟเป็นสีธงชาติฝรั่งเศสเป็นประจำทุกค่ำคืน[52] สนามแห่งนี้เปิดใช้อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1974 ในการแข่งขันลีกเอิงระหว่างปารีแซ็ง-แฌร์แม็งกับสโมสรโซโช
ศึกแห่งศักดิ์ศรีแก้ไข
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็งถือเป็นคู่ปรับสำคัญของสโมสรออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ การพบกันระหว่างทั้งสองทีมถือเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีที่เรียกว่าเลอกลาซิก ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีที่ดุเดือดที่สุดของวงการฟุตบอลฝรั่งเศส[53][54] และได้รับการขนานนามจากแฟนฟุตบอลว่าเป็นศึกเอลกลาซิโกของฝรั่งเศส[55]
ทั้งสองสโมสรถือเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดสองอันดับแรกของประเทศ และต่างก็เป็นหนึ่งในสองสโมสรของประเทศฝรั่งเศสที่ชนะเลิศถ้วยรางวัลระดับทวีป ทั้งสองฝ่ายต่างแย่งชิงความสำเร็จกันมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา นอกจากนี้ทั้งสองทีมยังถือเป็นสองสโมสรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในฝรั่งเศส[56][57] ทั้งคู่มีสถิติการพบกันจำนวน 101 นัด โดยปารีแซ็ง-แฌร์แม็งสามารถเอาชนะไปได้ 45 นัด เป็นชัยชนะของออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ 33 นัด และเสมอกันไป 23 นัด
บุคลากรปัจจุบันแก้ไข
ข้อมูล ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2021
คณะกรรมการแก้ไข
- เจ้าของสโมสร: ตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี
- ประธานสโมสร: นาศิร อัลเคาะลัยฟี
- ผู้จัดการทั่วไป: ฌ็อง-โกลด บล็อง
- ผู้อำนวยการ: เลโอนาร์ดู อาราอูฌู
- เลขานุการ: วิคตอเรียโน มาเรโฮ
ทีมงานผู้ฝึกสอนแก้ไข
- ผู้จัดการทีม: เมาริซิโอ โปเชติโน
- ผู้ช่วยผู้จัดการทีม: เชซุส เปเรซ
- ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู: โทนี จิมิเนส
- นักกายภาพบำบัด: เซบาสเตียน โปเชติโน
ผู้เล่นแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
เกียรติประวัติแก้ไข
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ครองสถิติชนะเลิศการแข่งขันในประเทศหลายรายการ[58] พวกเขาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในฝรั่งเศสในแง่ของจำนวนถ้วยรางวัล[59] โดยชนะเลิศการแข่งขันในประเทศได้ 43 รายการรวมทั้งชนะเลิศลีกเอิง 10 สมัย (สถิติสูงสุดร่วมกับแซ็งเตเตียน) และเป็นเจ้าของสถิติชนะเลิศสูงสุดในรายการ กุปเดอฟร็องส์, กุปเดอลาลีก และทรอเฟเดช็องปียง ในการแข่งขันระดับทวีป พวกเขาชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ รายการละ 1 สมัย[60][61][62]
ภายหลังจากการชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพในฤดูกาล 1995–96 ส่งผลให้พวกเขาเป็นสโมสรเดียวของฝรั่งเศสที่คว้าแชมป์รายการดังกล่าวได้ และเป็นหนึ่งในสองสโมสรของฝรั่งเศส (ร่วมกับ ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์) ที่ชนะเลิศการแข่งขันระดับทวีป รวมทั้งเป็นสโมสรจากยุโรปที่มีอายุการก่อตั้งน้อยที่สุดที่คว้าแชมป์ได้[63] ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง เป็นสโมสรฝรั่งเศสที่ลงเล่นในลีกสูงสุดติดต่อกันยาวนานที่สุด (47 ปีนับตั้งแต่ฤดูกาล 1974–75)[64] นอกจากนี้ยังเป็นสโมสรเดียวในฝรั่งเศสที่ชนะเลิศรายการ กุปเดอฟร็องส์ ได้โดยไม่เสียประตูเลยตลอดทั้งรายการ โดยทำสถิติดังกล่าวได้ 2 ครั้ง (ฤดูกาล 1992-93 และ 2016–17)[65] และยังเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศรายการ: กุปเดอฟร็องส์ 4 สมัยติดต่อกัน (2015–18), กุปเดอลาลีก 5 สมัยติดต่อกัน (2014–18) และ ทรอเฟเดช็องปียง 8 สมัยติดต่อกัน (2013–20)[66]
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ยังทำสถิติชนะเลิศการแข่งขันภายในประเทศทั้ง 4 รายการ (Domestic quadruple) ได้ถึง 4 ครั้ง และเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยของฝรั่งเศสได้มากกว่า 1 รายการภายในฤดูกาลเดียวกัน (ซึ่งพวกเขาเคยทำได้ทั้ง 2 รายการ, 3 รายการ และ 4 รายการในฤดูกาลเดียวกัน)[67]
ระดับประเทศแก้ไข
- ลีกเอิง (สถิติร่วม)
- ชนะเลิศ (10): 1985–86, 1993–94, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2017–18, 2018–19, 2019–20, 2021–22
- ลีกเดอ
- ชนะเลิศ (1): 1970–71
- กุปเดอฟร็องส์ (สถิติสูงสุด)
- ชนะเลิศ (14): 1981–82, 1982–83, 1992–93, 1994–95, 1997–98, 2003–04, 2005–06, 2009–10, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2019–20, 2020–21
- กุปเดอลาลีก (สถิติสูงสุด)
- ชนะเลิศ (9): 1994–95, 1997–98, 2007–08, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2019–20
- ทรอเฟเดช็องปียง (สถิติสูงสุด)
- ชนะเลิศ (10): 1995, 1998, 2013, 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020
ระดับทวีปยุโรปแก้ไข
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- รองชนะเลิศ (1): 2019–20
- ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
- ชนะเลิศ (1): 1995–96
- รองชนะเลิศ (1): 1996–97
- ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ
- ชนะเลิศ (1): 2001
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ
- รองชนะเลิศ (1): 1996
- อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ
- ชนะเลิศ (2): 2015, 2016
สถิติสำคัญแก้ไข
ผู้เล่นที่ลงสนามมากที่สุดแก้ไข
- สถิติ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2022 รายชื่อตัวหนาคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้กับสโมสรถึงปัจจุบัน
อันดับ | ผู้เล่น | จำนวนนัด |
---|---|---|
1 | ฌ็อง-มาร์ก ปียาร์เฌ | 435 |
2 | ซิลเวน อาร์ม็อง | 380 |
3 | มาร์โก แวร์รัตตี | 371 |
4 | มาร์กิญญุส | 355 |
5 | ซาเฟต ซูซิช | 344 |
โปล เลอ เก็น | ||
7 | แบร์นาร์ ลามา | 318 |
8 | ชียากู ซิลวา | 315 |
9 | มุสตาฟา ดาเลบ | 310 |
10 | เอดินซอน กาบานิ | 301 |
ผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุดแก้ไข
สถิติ ณ วันที่ 20 มีนาคม 2022 รายชื่อตัวหนาคือผู้เล่นที่ยังคงเล่นให้กับสโมสรถึงปัจจุบัน
อันดับ | ผู้เล่น | จำนวนประตู |
---|---|---|
1 | เอดินซอน กาบานิ | 200[68] |
2 | กีลียาน อึมบาเป | 158 |
3 | ซลาตัน อิบราฮีมอวิช | 156 |
4 | เปาเลต้า | 109 |
5 | ดอมีนิก โรเชโต | 100 |
6 | มุสตาฟา ดาเลบ | 98 |
7 | François M'Pelé | 95 |
8 | เนย์มาร์ | 92 |
9 | อังเฆล ดิ มาริอา | 90 |
10 | ซาเฟต ซูซิช | 85 |
สถิติอื่น ๆแก้ไข
- ผู้เล่นที่อายุมากที่สุดที่ลงเล่นให้กับสโมสร: จันลุยจี บุฟฟอน (41 ปี 5 เดือน)[69]
- ผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ลงเล่นให้กับสโมสร: กีงส์แล กอมาน (16 ปี 249 วัน)[70]
- ผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: ซลาตัน อิบราฮีมอวิช (50 ประตู/ 2015-16)
- ผู้เล่นที่ผ่านบอลให้เพื่อนร่วมทีมมากที่สุด: อังเฆล ดิ มาริอา (110 ครั้ง)[71]
- ผู้เล่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด: มาร์โก แวร์รัตติ (27 ถ้วยรางวัล)
- การซื้อผู้เล่นที่แพงที่สุด: เนย์มาร์ (222 ล้ายยูโร ค.ศ. 2017)[72]
- การขายผู้เล่นที่แพงที่สุด: กงซาลู แกดึช (40 ล้านยูโร ค.ศ. 2018)[73]
- ผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด: โลร็องต์ บล็องก์ (11 ถ้วยรางวัล)[74]
- ผู้จัดการทีมที่พาทีมคว้าชัยชนะมากที่สุด: โลร็องต์ บล็องก์ (121 นัด)[75]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ UEFA.com. "Paris | History | UEFA Champions League". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ligue 1 - Club market value". www.transfermarkt.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Le Parc des Princes". Le Parc des Princes. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 October 2010.
- ↑ redaction (2018-11-12). "La création du PSG de 1970 à 1973". Paris United (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Palmares". PSG.fr. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
- ↑ "PSG top on football's rich list, man city, others drop". The Guardian Nigeria News - Nigeria and World News (ภาษาอังกฤษ). 2020-02-15.
- ↑ "The Top 20 richest teams in world football". MARCA (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-26.
- ↑ "Manchester United drop to fourth as Barcelona top Forbes rich list for first time despite huge debt". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Le Classique: Five reasons to watch OM-PSG". Ligue1 (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Johnson, Jonathan. "Paris Saint-Germain vs. Marseille: Why Le Classique Is France's Biggest Game". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Luck, Emma (2020-03-04). "The extreme fans of French football". The New European (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2021-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ "Paris Saint-Germain boasts more than 100 million fans on social media". EN.PSG.FR (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Fan clubs". EN.PSG.FR (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "PSG : Paris jouera avec son maillot bleu "hechter" pour le classique face à l'OM". France Bleu (ภาษาฝรั่งเศส). 2021-02-05.
- ↑ "Political and Organizational Factors of PSG". Sports and Leisure in France.
- ↑ https://www.agencebrigit.com. "Association". Association Paris Saint-Germain (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "A brief history of PSG". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2012-08-17.
- ↑ "Paris Saint-Germain FC (PSG) history". www.footballhistory.org.
- ↑ thefootballcult (2018-01-16). "A brief history: Paris FC". Medium (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "6 interesting facts you should know about Paris Saint Germain". Discover Walks Blog (ภาษาอังกฤษ). 2018-08-20.
- ↑ "L'histoire du PSG 1991-1998 : Le PSG devient un grand d'Europe - Paris United". Paris United (ภาษาฝรั่งเศส). 2018-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ UEFA.com (1997-03-01). "1996 Super Cup: Dazzling Juve shine in Paris | UEFA Super Cup". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "uefa.com - UEFA Cup Winners' Cup". web.archive.org. 2010-05-03.
- ↑ "Ligue 1 1999/2000 Table, Results, Stats and Fixtures". FootballCritic (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Reed, Adam (2018-09-18). "Paris Saint-Germain's Qatari owners have spent $1.17 billion on players, but the Champions League is still out of reach". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.espn.com/soccer/story/1135960/a-brief-history-of-psg?src=com
- ↑ "PSG appoint Ancelotti as coach". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2011-12-30.
- ↑ "David Beckham joins Paris St-Germain and will play for free". BBC. 31 January 2013. Retrieved 1 February 2013.
- ↑ "PSG signs Uruguay striker Edinson Cavani". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2013-07-16.
- ↑ "Zlatan Ibrahimovic to leave PSG: 'I came like a king, left like a legend'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-13.
- ↑ "Remembering la remontada: Barcelona 6-1 PSG". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-16.
- ↑ Agencies (2018-04-27). "Unai Emery says he will leave PSG manager's job at end of season". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Paris Saint-Germain appoint Thomas Tuchel as their new coach". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.skysports.com/football/news/11820/11981197/paris-saint-germain-crowned-ligue-1-champions-after-french-season-called-off#:~:text=Paris%20Saint%2DGermain%20have%20been,season%20was%20suspended%20in%20March.
- ↑ https://www.bbc.com/sport/football/53867676
- ↑ "Paris Saint-Germain confirm sacking of manager Tuchel following his dismissal after Strasbourg win | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ "PSG appoint Pochettino to replace Tuchel as boss". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-02.
- ↑ https://www.independent.co.uk/sport/football/lille-ligue-1-psg-results-b1852559.html
- ↑ https://www.theguardian.com/football/2021/jun/16/gianluigi-donnarumma-joins-psg-as-gianluigi-buffon-goes-back-to-parma
- ↑ https://en.psg.fr/teams/first-team/content/sergio-ramos-signs-with-paris-saint-germain-until-2023
- ↑ https://www.theguardian.com/football/2021/jun/07/georginio-wijnaldum-signs-contract-to-join-psg-rather-than-barcelona
- ↑ https://www.bbc.co.uk/sport/football/58163106
- ↑ https://en.psg.fr/teams/first-team/content/nuno-mendes-joins-paris-saint-germain-until-2022-mercato
- ↑ "Benzema hat-trick as Real send PSG out". BBC Sport (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-23.
- ↑ McQueen, Paul. "Things You Should Know About Paris Saint-Germain FC". Culture Trip.
- ↑ FootballDatabase.com. "Paris Saint-Germain, Ranking and Statistics - FootballDatabase". footballdatabase.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ à 07h00, Par Le 21 juillet 2010 (2010-07-21). "Le lynx Germain, nouvelle mascotte du PSG". leparisien.fr (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Allez Paris ! par Annie Cordy". www.bide-et-musique.com.
- ↑ "L'hommage du PSG à Annie Cordy, qui avait chanté le premier hymne du club". RMC SPORT (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "PSG: Ecoutez l'hymne des Parisiens chanté par les joueurs !". Sportune (ภาษาฝรั่งเศส). 2012-03-22.
- ↑ "Le PSG prend un nouveau virage - Tous PSG - PSG.fr". web.archive.org. 2017-08-19.
- ↑ "Stadium Tour". EN-EXP (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Almeras, Christopher. "Joey Barton Puts the "Punch" Back into the Marseille-PSG Rivalry". Bleacher Report (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ April 2021, Greg Lea 20 (2021-04-20). "Ranked! The 50 biggest derbies in world football". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Mewis, Joe (2018-04-13). "The top 50 derbies in the world 20-11: The 'Mother of all Battles' and more". mirror (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ withafunfilter (2020-04-16). "The Top 15 Biggest and Most Supported Football Teams in the World". With a Fun Filter (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "France : Le PSG est le nouveau club préféré des Français". Onze Mondial (ภาษาฝรั่งเศส). 2018-03-22.
- ↑ "Statistiques". Histoire du #PSG (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ perdues, RemiSudiste à l'esprit contradictoire amoureux de Paris et du PSG depuis mon enfance Nostalgique à mes heures; Gr, J'aime Me Souvenir De Nos Belles Heures Et Savoure Ces; Rémi, es années Avec "Histoire du PSG" je me régale chaque jour autour des rouge et bleu Voir la bio de (2018-05-09). "Le Palmarès du PSG". Histoire du #PSG (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Listes des saisons". Histoire du #PSG (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "victoire à l'ICC : PSG, 22 ans après". Paris.canal-historique. 2015-07-30.
- ↑ "Trophée national du meilleur public sportif - Football Division II - Collection privée Valjustrotinou - Pour la mémoire". valjustrotinou.canalblog.com (ภาษาฝรั่งเศส). 2018-12-24.
- ↑ "Le Paris Saint-Germain et les finales européennes, acte 3 !". PSG.FR (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Ligue 1 Uber Eats : la longévité des clubs à la loupe". Ligue1 (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ perdues, RemiSudiste à l'esprit contradictoire amoureux de Paris et du PSG depuis mon enfance Nostalgique à mes heures; Gr, J'aime Me Souvenir De Nos Belles Heures Et Savoure Ces; Rémi, es années Avec "Histoire du PSG" je me régale chaque jour autour des rouge et bleu Voir la bio de (2019-04-04). "Défense parfaite en Coupe de France : Et de 3 pour le PSG !". Histoire du #PSG (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ "Pochettino wins first trophy with PSG". BBC Sport (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
- ↑ Brunt, Gordon. "PSG win Coupe de la Ligue to complete domestic quadruple". theScore.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Cavani becomes first PSG player to score 200 goals for the club | Goal.com". www.goal.com.
- ↑ "Buffon sets new record! PSG's oldest player in the history of Ligue 1". Daily Active (ภาษาอังกฤษ). 2018-08-13.
- ↑ ans, GrichkaSupporter du PSG depuis presque 20; Abonné, Ancien; fond, et actuel salarié du club Je vis football à; Grichka, et donc pour le PSG Voir la bio de (2017-06-01). "Les records individuels". Histoire du #PSG (ภาษาฝรั่งเศส).
- ↑ Zavala, Steve (2021-05-20). "The Numbers Behind Di Maria's Record 104 Assists With PSG". PSG Talk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Neymar". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Official: Valencia sign Guedes from PSG for €40mn". AS.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-08-27.
- ↑ June 2016, FourFourTwo Staff 27 (2016-06-27). "Eleven trophies and records galore: The best stats from Blanc's PSG reign". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ June 2016, FourFourTwo Staff 27 (2016-06-27). "Eleven trophies and records galore: The best stats from Blanc's PSG reign". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
- PSG.fr (ฝรั่งเศส) (อังกฤษ)
- Paris Saint-Germain at Ligue 1 (ฝรั่งเศส) (อังกฤษ)
- Paris Saint-Germain at UEFA (ฝรั่งเศส) (อังกฤษ)
- สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ที่เฟซบุ๊ก
- สโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง ที่เฟซบุ๊ก