ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ

(เปลี่ยนทางจาก ดีลอยต์ทูชโทมัตสุ)

ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ (อังกฤษ: Deloitte Touche Tohmatsu) เป็นหนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีสี่แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกควบคู่กับ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์, เคพีเอ็มจี และ เอินส์ท แอนด์ ยัง[6][7] บริการทั้งด้านการบัญชีและที่ปรึกษา การสอบบัญชี การทำบัญชี การวางแผนยุทธศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการการเงิน และการควบคุมประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังให้บริการด้านการจัดหางานและที่ปรึกษาภาษีอากร รวมถึงการให้บริการธุรกิจแก่รัฐบาลและสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ดำเนินการในตลาดเกิดใหม่ มีฐานประกอบการอยู่ในรัฐนิวยอร์กมีพนักงาน 415,000 คน[5] และสำนักงานราว 750 แห่งใน 150 ประเทศทั่วโลก

ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ
Deloitte Touche Tohmatsu
ชื่อทางการค้า
Deloitte
ประเภทprivate company limited by guarantee สหราชอาณาจักร[1]
อุตสาหกรรมที่ปรึกษาธุรกิจ
ก่อตั้ง1845; 179 ปีที่แล้ว (1845) ในลอนดอน, อังกฤษ
ผู้ก่อตั้งวิลเลียม เวลส์ ดีลอยท์
สำนักงานใหญ่ลอนดอน อังกฤษ, นิวยอร์ก สหรัฐ
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น US$59.3 พันล้าน (2022)[4]
พนักงาน
415,000 คน (2022)[5]
เว็บไซต์Deloitte.com/global
สาขาออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
สาขาชิคาโก สหรัฐอเมริกา
สาขาลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

ประวัติบริษัท แก้

ค.ศ. 1845 วิลเลียม เวลส์ ดีลอยท์ เปิดสำนักงานตรวจสอบบัญชีในกรุงลอนดอนภายใต้ชื่อบริษัท ดีลอยท์[8] เมื่อธุรกิจประสบความสำเร็จวิลเลียมจึงเปิดสำนักงานตรวจสอบบัญชีอีกแห่งในเมืองนิวยอร์กในปี 1890 ต่อมา ค.ศ. 1972 บริษัทดีลอยท์ ได้ร่วมทุนกับบริษัท แฮสคิน แอนด์ เซล ส่งผลให้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล[9] ใน ค.ศ. 1984 เมื่อธุรกิจตรวจสอบบัญชีเริ่มมีการแข่งขันสูงขึ้น ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล มีความพยายามจะรวมกิจการกับบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากผู้ถือหุ้นฝ่ายอังกฤษของบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ คัดค้าน

การรวมบริษัทในยุคปัจจุบัน แก้

  • ค.ศ. 1989 ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล เข้ารวมกิจการกับบริษัท ทู้ช รอส และเปลี่ยนชื่อเป็น ดีลอยท์ แอนด์ ทู้ช[10] ส่วน โธมัตสุ ได้มาจากชื่อของสำนักงานตรวจบัญชีที่ญี่ปุ่นในเครือของ ทู้ช รอส การรวมกิจการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมความแข็งแกร่งของ ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล ที่มีอยู่ในตลาดสหรัฐฯ และยุโรป เข้ากับความแข็งแกร่งในตลาดเอเชียของทู้ช รอส
  • ค.ศ. 1995 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เลือก ไมเคิล ซูททอน ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการสอบบัญชีของดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้านักบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในปีเดียวกันดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุก่อตั้งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา (ปัจจุบันคือ ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง)[11] เพื่อรวมกิจการที่ปรึกษาในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษให้เข้มแข็งขึ้น และต่อมาได้เพิ่มธุรกิจที่ปรึกษาในเอเชียรวมเข้าไปด้วย
  • ค.ศ. 1999 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ขายบริษัท รีซอส คอนเนคชั่น ธุรกิจจัดหาบุคลากรด้านบัญชีของตนให้แก่กลุ่มผู้จัดการของตน และบริษัท เอเวอร์คอร์ พาร์ตเนอร์ โดยให้เหตุผลที่ต้องขายว่า รีซอส คอนเนคชั่น เป็นธุรกิจที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและขัดแย้งกับธุรกิจสอบบัญชีอันเป็นธุรกิจหลักของดีลอยท์
  • ค.ศ. 2002 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุเข้ารับช่วงธุรกิจใหม่และพนักงานที่ลาออกมาจากบริษัทอาเธอร์แอนเดอร์เซนอดีตสำนักงานบัญชีระดับโลกที่ล่มสลาย หลังจากมีข่าวฉาวทางด้านทุจริตพร้อมกับบริษัทเอนรอนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสหรัฐ ที่ใช้บริการสอบบัญชีของอาเธอร์แอนเดอร์เซน[12][13]

บทวิจารณ์ แก้

ในช่วง ค.ศ. 1990 ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีหลายคดีจากการที่ไปเกี่ยวข้องกับ ไมเคิล มิลเคน ราชาแห่งหุ้นกู้ขยะ การล่มสลายของสถาบันการเงินประเภทเงินฝากออมทรัพย์และเงินให้กู้ยืมหลายแห่ง และการล้มละลายของบริษัทที่เป็นลูกค้าของตน

ผู้อุปถัมภ์ แก้

  • ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ สาขาอังกฤษเป็นผู้อุปถัมภ์กีฬาโอลิมปิกปี 2012 ที่กรุงลอนดอน[14]
  • ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ สาขาอเมริกาเป็นผู้อุปถัมภ์คณะกรรมการกีฬาโอลิมปิกสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2009[15]
  • ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ สาขาแคนาดาเป็นผู้อุปถัมภ์กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2010 ที่เมืองแวนคูเวอร์[16]

บุคคลสำคัญที่เคยผ่านงานกับดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Deloitte Touche Tohmatsu Limited". Companies House. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2020.
  2. "Deloitte Global announces new Board Chair". Deloitte. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2019.
  3. "Joseph B. Ucuzoglu". Deloitte. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2023.
  4. O'Dwyer, Michael; Foley, Stephen (8 กันยายน 2022). "Deloitte revenues hit record on back of tech consulting boom". The Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2022.
  5. 5.0 5.1 "Global Revenue Announcement". Deloitte. 8 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2022.
  6. "Deloitte overtakes PwC as world's biggest accountant". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2017.
  7. "Deloitte Touche Tohmatsu Limited". Companies House. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2018.
  8. "About Deloitte". Deloitte. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2014.
  9. "A Simplified Family Tree for the Firm of Deloitte Haskins & Sells". Icaew.com. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2017.
  10. "Deloitte Touche merger done". The New York Times. 5 ธันวาคม 1989.
  11. "Deloitte Consulting, Page 6" (PDF). Wellesley.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2017.
  12. Suzanne Kapner (11 เมษายน 2002). "ENRON'S MANY STRANDS: THE ACCOUNTANTS; British Unit of Andersen Is Defecting to Deloitte". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010.
  13. "Canadian Unit to Join Deloitte". The New York Times. 13 เมษายน 2002. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2010.
  14. "Deloitte becomes first London 2012 tier two sponsor". Brand Republic. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2017.
  15. "Deloitte renews sponsorship of U.S. Olympic and Paralympic Teams". United States Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2015.
  16. "Vancouver 2010 Winter Olympics – results & video highlights". Vancouver2010.com. 13 ตุลาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2009. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้