สตาร์บัคส์

บริษัทกาแฟข้ามชาติ สัญชาติอเมริกัน

สตาร์บัคส์ (อังกฤษ: Starbucks) เป็นร้านกาแฟจากอเมริกาในเมืองซีแอตเทิลในรัฐวอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1971 โดย กอร์ดอน โบว์เกอร์, เจอร์รี บัลด์วิน และเซฟ ซีเกิล โดยช่วงแรกใช้โลโก้เป็นรูปไซเรน 2 หาง ก่อตั้งในฐานะร้านขายเมล็ดกาแฟคั่ว ต่อมาปี 1982 สตาร์บัคส์มีสาขา 5 สาขา และโฮเวิร์ด ชูลทส์ได้เข้ามาร่วมงานด้วย โดยดูแลด้านการตลาดและค้าปลีก ซึ่งเขาเป็นผู้แนะนำให้สตาร์บัคส์เปิดเป็นบาร์กาแฟ แต่หลายคนก็ไม่เชื่อในวิสัยทัศน์ของเขา ต่อมาชูลทส์ได้ลาออกจากบริษัท ไปเปิดบาร์กาแฟของตนเองชื่อ อิล จิออร์เนล และจำหน่ายกาแฟของสตาร์บัคส์ ในปี 1987 สตาร์บัคส์ประสบปัญหายุ่งยากจากการไม่สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้ ปี ค.ศ. 1988 อิล จิออร์เนลจึงซื้อกิจการด้านค้าปลีกไว้พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สตาร์บัคส์ คอร์ปอเรชัน และจ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาดูแล ปี 1992 สตาร์บัคส์ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ และในปี 1996 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาแรกนอกอเมริกาเหนือที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันมากกว่า 1 ใน 3 ของร้านสตาร์บัคส์ทั้งหมดอยู่ในต่างประเทศ[4] โดยเฉลี่ยแล้วสตาร์บัคส์เปิดสาขาใหม่เพิ่มวันละ 2 สาขาระหว่างปี 1987 และ 2007[5] บริษัทได้เริ่ม Caffe Starbucks เป็นระบบบริการออนไลน์โดยอาศัยเครือข่ายของ เอโอแอล[ต้องการอ้างอิง]

สตาร์บัคส์ คอร์เปอเรชัน
ประเภทบริษัท
ISINUS8552441094 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมร้านกาแฟ
ก่อตั้ง31 มีนาคม 1971; 53 ปีก่อน (1971-03-31)
ตลาดไพก์เพลซ, เอลลิออตเบย์, ซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา
ผู้ก่อตั้ง
  • เจอร์รี บัลด์วิน
  • เซฟ ซีเกิล
  • กอร์ดอน โบว์เกอร์
สำนักงานใหญ่2401 อูทาห์อเวนิวเซาธ์,
ซีแอทเทิล, รัฐวอชิงตัน
,
สหรัฐอเมริกา
จำนวนที่ตั้ง27,984 สาขา[1] (พ.ศ. 2561)
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • โฮเวิร์ด ชูลซ์
    (ประธานบริษัทและผู้บริหาร)
  • เควิน จอห์นสัน
    (ประธานบริษัทและประธานฝ่ายปฏิบัติการ)
ผลิตภัณฑ์
  • กาแฟ
  • น้ำปั่น
  • ชา
  • เบเกอรี
  • แซนด์วิช
รายได้เพิ่มขึ้น 22.387 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ [2] (ค.ศ. 2017)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 4.135 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (ค.ศ. 201)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น2.885 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2017)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 14.366 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (ค.ศ. 2017)
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 5.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[2] (ค.ศ. 2017)
พนักงาน
238,000 คน[3] (ค.ศ. 2016)
บริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.starbucks.com

สัญลักษณ์ของสตาร์บัคส์ครั้งแรกนั้นเป็นรูปนางเงือก ซึ่งเป็น นางเงือกไซเรนสองหาง (Norse Siren) ในเทพนิยายปรัมปรา เพื่อให้นึกถึงการผจญภัยในทะเล และปรับเปลี่ยนหลายครั้งและล่าสุดคือ ค.ศ. 2011 ในวาระการเฉลิมฉลองครบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจ[6]

ปัจจุบันสตาร์บัคส์ มีสาขากว่า 27,984 สาขาทั้งในสหรัฐฯและในอีก 73 ประเทศ ในปีค.ศ. 2018 ประเทศไทยมีจำนวนสาขาทั้งหมด 336 สาขา[1] อดีตประธานบริหาร โฮเวิร์ด ชูลทส์ (Howard Schultz)ประกาศลาออกเมื่อเดือนเมษายน 2017 ผู้ดำรงตำแหน่งประธานบริหารปัจจุบันคือ เควิน จอห์นสัน (Kevin Johnson)[7]

ประวัติ

แก้

ก่อตั้ง

แก้

สตาร์บัคส์สาขาแรกก่อตั้งขึ้นในซีแอทเทิล รัฐวอชิงตัน ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1971[8] โดย 3 ผู้ก่อตั้งที่ได้รู้จักกันในสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก[9] คือ เจอร์รี บัลด์วิน ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ, เซฟ ซีเกิล อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ และ กอร์ดอน โบว์เกอร์ นักเขียน โดยพวกเขามีแรงบันดาลในที่จะขายเมล็ดกาแฟคุณภาพสูง และอุปกรณ์คั่วกาแฟโดย อัลเฟรด พีท หลังจากที่ได้สอนพวกเขาเกี่ยวกับการคั่วเมล็ดกาแฟ[10] บริษัทได้นำชื่อจากหนังสือโมบิดิก คือ สตาร์บัค (Starbuck) หลังจากคิดค้นมาหลายชื่อเช่น "คาร์โกเฮาส์" (Cargo House) และ "พีควด" (Pequod)[11] โบว์เกอร์ได้ปรึกษากับเทอร์รี เฮกเลอร์ ซึ่งเขากล่าวว่าตัวอักษร "st" นั้นดูแข็งแรง ผู้ก่อตั้งจึงรวมหัวกันคิดชื่อที่ขึ้นต้นด้วย "st" ซึ่งได้มีคนหนึ่งนำแผนที่เหมืองเก่าของเทือกเขาแคสเคด และเห็นชื่อเมืองในเหมืองที่ชื่อว่า "สตาร์โบ" (Starbo) และโบว์เกอร์ก็ได้ยกตัวละคร "สตาร์บัค" (Starbuck) และกล่าวว่า โมบิดิก ไม่ได้มีบทเด่นสำหรับสตาร์บัคส์ และชื่อนี้ฟังดูตรงกับความต้องการของเรา[12]

 
สตาร์บัคส์สโตร์ที่ 1912 ไพก์เพลซ เป็นสาขาที่ 2 ของออริจินัลสตาร์บัคส์ ซึ่งเคยอยู่ที่ 2000 เวสต์เทิร์นอเวนิว ตั้งแต่ ค.ศ. 1971 ถึง ค.ศ. 1976

สตาร์บัคส์สโตร์สาขาแรกตั้งขึ้นในซีแอทเทิล ที่ 2000 เวสต์เทิร์นอเวนิล ตั้งแต่ ค.ศ. 1971–1976 และสาขานี้ได้ย้ายไปยัง 1912 ไพก์เพลซ และไม่ได้มีการย้ายอีก[13] ในช่วงนั้น ทางบริษัทได้จำหน่ายเพียงเมล็ดกาแฟคั่วเท่านั้น ยังไม่ได้จำหน่ายกาแฟสำเร็จรูป[14] ซึ่งกาแฟสำเร็จรูปที่อยู่ในร้านเป็นเพียงแก้วทดลองซึ่งแจกฟรีให้กับลูกค้า โดยปีแรกพวกเขาได้ซื้อเมล็ดกาแฟจากพีท หลังจากนั้นจึงเริ่มซื้อจากชาวสวนโดยตรง

ขยายตัว

แก้

ในปี ค.ศ. 1984 เจ้าของบริษัทสตาร์บัคส์ นำโดยเจอร์รี บัลด์วิน ได้ทำการซื้อ พีทส์[15] ซึ่งในช่วงยุค 80 ยอดขายของกาแฟในสหรัฐอเมริกาค่อนข้างซบเซา แต่ยอดขายของกาแฟชนิดพิเศษกลับเพิ่มขึ้น 10% ของตลาดในปี ค.ศ. 1989 เทียบกับปี ค.ศ. 1983 ที่ 3%[16] ในปี ค.ศ. 1986 บริษัทได้เปิดร้านแล้วถึง 6 สาขาในซีแอทเทิล[16]โดยมีสาขาหนึ่งเริ่มทดลองขายกาแฟเอสเปรสโซ[17]

ต่อมาในปี ค.ศ. 1987 ผู้บริหารได้ตัดสินใจขายสาขาของสตาร์บัคส์ให้กับผู้จัดการสาขา[18] โฮเวิร์ด ชูลซ์ ได้ปรับปรุงร้านกาแฟ อิลจีออร์นาเลคอฟฟี ของเขาเป็นสตาร์บัคส์ และเริ่มต้นที่จะขยายสาขาออกไป ต่อมาในปีเดียวกัน สตาร์บัคส์ได้ขยายสาขาไปยังนอกซีแอทเทิลสาขาแรก ที่สถานีวอเตอร์ฟรอนต์ ที่แวนคูเวอร์ ใน รัฐบริติชโคลัมเบีย และ ชิคาโก ในรัฐอิลลินอย[19] ในปี ค.ศ. 1989 ได้มีร้านถึง 46 สาขาทั้งในเขตนอร์ธเวสต์และมิดเวสต์ อีกทั้งสตาร์บัคส์ยังได้ขายกาแฟไปถึง 2,000,000 ปอนด์ (907,185 กิโลกรัม)[16]

และถึงเวลาที่จะทำการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน บนตลาดหุ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1992 ซึ่งในขณะนั้นมีร้านถึง 140 สาขา และรายได้ 73.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1987 โดยบริษัทมีมูลค่าทางการตลาด 271 ล้านดอลลาร์สหรัฐในตอนนั้น โดยหุ้น 12% ของบริษัทได้ถูกขายและเพิ่มขึ้นประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มตามร้านค้าที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าในสองปีถัดมา[20] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1992 สตาร์บัคส์ได้มีมูลค่ามากขึ้น 70% และมีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เท่าจากปีก่อน[14]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 มากกว่า 10% ของการซื้อสินค้าในร้านมาจากอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือผ่านแอปพลิเคชันสตาร์บัคส์[21] โดยบริษัทได้ทำโปรโมชัน "ทวีตอะคอฟฟี" (Tweet-a-Coffee) เพื่อส่งเสริมการซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือในเดือนตุลาม ค.ศ. 2013 ในโอกาสนี้ โปรโมชันที่ใช้ทวิตเตอร์ ซึ่งลูกค้ามีโอกาสได้รับบัตรของขวัญมูลค่า 5 ดอลลาร์ สำหรับเพื่อนที่เมนชัน "@tweetacoffee" และเพื่อนที่แท็กในทวีต โดยคีย์โฮลได้ตรวจสอบเกี่ยวกับแคมเปญนี้ โดยวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2013 ได้รายงานว่า มี 27,000 คนเข้าร่วมแคมเปญนี้ และมียอดซื้อถึง 180,000 ดอลลาร์สหรัฐในวันเดียวกัน[22][23]

ตลาดใหม่

แก้

สาขาแรกของสตาร์บัคส์ที่ตั้งอยู่นอกอเมริกาเหนือตั้งอยู่ที่ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1996[24] ต่อมาได้เข้าทำตลาดในสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1998 ด้วยมูลค่า 83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[25] ด้วยร้าน 56 สาขา และปรับปรุงร้านภายใต้ชื่อ สตาร์บัคส์ ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาแรกในลาตินอเมริกา ที่เม็กซิโกซิตี ซึ่งในขณะนี้มีมากกว่า 500 สาขาในประเทศเม็กซิโก อีกทั้งยังมีแผนที่จะขยายเป็น 850 สาขาใน ค.ศ. 2018[26]

ในปี ค.ศ. 1999 สตาร์บัคส์ได้ทดลองตลาดใหม่ด้วยการเปิดร้านอาหารในซานฟรานซิสโกเบย์ ซึ่งร้านมีชื่อว่า "เซอร์คาเดีย" (Circadia)[27] ซึ่งอนาคตจะมีการเปลี่ยนเป็นสตาร์บัคส์ คาเฟ่

ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2002 สตาร์บัคส์ได้ก่อตั้งบริษัทค้าขายกาแฟในโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อซื้อเมล็ดกาแฟเขียว ซึ่งธุรกิจอื่น เช่น ร้านกาแฟ ยังคงจัดการจากซีแอทเทิลโดยตรง[28]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2003 สตาร์บัคส์ได้ซื้อ ซีแอทเทิลส์เบสต์คอฟฟี และ ทอร์เรฟาซีโอเน อีตาเลีย จาก เอเอฟซีเอนเตอร์ไพรซ์ ด้วยมูลค่า 72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้มีร้านสตาร์บัคส์เพิ่ม 150 สาขา แต่ตามรายงานของซีแอทเทิลโพสต์-อินเทลิเจนเซอร์ กล่าวว่าทำให้ธุรกิจค้าส่งมีสัญญาณที่ดีขึ้น[29] ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ดายดริชคอฟฟี ได้ยืนยันที่จะขายบริษัทและร้านค้าทั้งหมดให้กับสตาร์บัคส์ รวมถึงสาขาของร้านคอฟฟีพีเพิล ในรัฐออริกอนด้วย ทำให้ต่อมาได้เปลี่ยนร้านทั้งหมดเป็นสตาร์บัคส์ ยกเว้นร้านคอฟฟีพีเพิลในสนามบินนานาชาติพอร์ตแลนด์[30]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2003 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาแรกในอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ในลิมา ประเทศเปรู[31]

ในปี ค.ศ. 2007 บริษัทได้ทำการเปิดสาขาแรกในประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็น 10 ปีหลังจากได้จดทะเบียนการค้าที่นี่[32]

ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 พวกเขาได้ซื้อบริษัทผู้ผลิตเครื่องคั่วกาแฟ และได้ทดสอบการทำกาแฟสดที่ร้านสตาร์บัคส์ในซีแอทเทิล, แคลิฟอร์เนีย, นิวยอร์ก และบอสตัน[33]

 
กราฟแสดงการเติบโตของสตาร์บัคส์ตั้งแต่ ค.ศ. 1971 จนถึง ค.ศ. 2011[19]

ต้นปี ค.ศ. 2008 สตาร์บัคส์ได้เปิดเว็บไซต์คอมมูนิตี "มายสตาร์บัคส์ไอเดีย" เพื่อเก็บข้อสงสัยและความคิดเห็นจากลูกค้า ซึ่งผู้ใช้สามารถให้ความคิดเห็นและโหวตได้ ซึ่งให้บริการโดย เซลส์ฟอร์ซดอตคอม[34]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 ได้มีการเปิดตัวบัตรสตาร์บัคส์ (เปลี่ยนจากบัตรของขวัญ) ซึ่งนำเสนอการใช้วายฟายฟรีภายในร้าน, การไม่คิดค่านมถั่วเหลืองและไซรัป รวมไปถึงกาแฟ, กาแฟเย็น และชา สามารถเติมฟรีได้[35] ต่อมาในปี ค.ศ. 2009 สตาร์บัคส์ได้เริ่มทดสอบแอปพลิเคชันบนมือถือของบัตรสตาร์บัคส์ ซึ่งจะเก็บมูลค่าของบัตรเพื่อนำมาซื้อสินค้าภายในร้าน[36] สตาร์บัคส์ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011

ในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้ทำการยื่นซื้อ ทีวานา ในราคา 620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[37] และข้อเสนอได้เสร็จสิ้นในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012[38]

ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาแรกในโฮจิมินห์ซิตี ประเทศเวียดนาม[39][40][41] และประกาศว่าจะเปิดสาขาในประเทศโคลอมเบีย ในปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 ในการประชุมที่โบโกตา ซึ่งประธานบริษัทได้กล่าวว่า "สตาร์บัคส์เคารพและชื่นชอบประเพณีของกาแฟในโคลอมเบีย"[42]

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาแรกในวิลเลียมส์เบิร์ก ในบรูกลิน ซึ่งสาขานี้เป็นหนึ่งใน 30 สาขาของสตาร์บัคส์ที่วางขายเบียร์และไวน์.[43]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ได้มีการเปิดเผยว่าสตาร์บัคส์จะได้หุ้นอีก 60.5% ในร้านสตาร์บัคส์ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยังไม่ได้เป็นเจ้าของ ที่ราคา 913.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[44]

เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์ได้ยืนยันที่จะเปิดสาขาใน ประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นสาขาในประเทศที่ 16 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยร้านแรกจะตั้งที่พนมเปญ ในปลายปี ค.ศ. 2015[45]

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 สตาร์บัคส์ได้ยืนยันที่จะทำตลาดในประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่ 24 ในทวีปยุโรป โดยจะเปิดสาขาแรกในมิลาน ภายในปี ค.ศ. 2017[46] ในเดือนสิงหาคม ฟลักซ์พอร์ต บริษัทสตาร์ตอัป ได้เปิดตัว "ชี" (Qi) ซึ่งเป็นแท่นชาร์จแบตเตอรี โดยเลือกที่จะใช้ในร้านที่ประเทศเยอรมนี[47]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 สตาร์บัคส์ได้เปิดตัวซีรีส์ "อัปสแตนเดอร์" (Upstanders) ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากชาวอเมริกันเกี่ยวกับความเมตตา, ความเป็นพลเมือง และความสุภาพ ซีรีส์จะมีทั้งแบบพอดแคสต์, คำพูด และวิดีโอ โดยจะออกอากาศทางแอปพลิเคชันสตาร์บัคส์, ออนไลน์ และดิจิทัลเน็ตเวิร์กของร้าน[48]

การบริหารกิจการ

แก้
 
โฮเวิร์ด ชูลซ์ ประธานกรรมการของสตาร์บัคส์

โฮเวิร์ด ชูลซ์ ประธานบริษัทได้กล่าวถึงการเติบโตที่ต่อเนื่องของกิจการตามวัฒนธรรมองค์กร[49]

ชูลซ์ ได้ขึ้นมารับตำแหน่งประธานกรรมการจนถึงปี ค.ศ. 2000[50] โอริน ซี. สมิธ ได้เป็นประธานต่อจากชูลซ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 จนถึง ค.ศ. 2005

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 ชูลซ์ ได้กลับมารับตำแหน่งอีกครั้งหลังจาก 8 ปีผ่านไป โดยรับตำแหน่งแทน จิม ดอนัลด์ ประธานคนก่อนหน้า ซึ่งรับตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 และลาออกในปี ค.ศ. 2007 เนื่องจากยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง ชูลซ์ มีเป้าหมายที่จะกู้คืนสตาร์บัคส์ด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยนักวิเคราะห์การตลาดเชื่อว่า ชูลซ์ จะต้องกำหนดวิธีการที่จะรับมือต้นทุนที่สูงขึ้นและราคาของสินค้าที่ลดลง ซึ่งต้องแข่งขันกับร้านอาหารจานด่วนที่มีราคาถูกอย่างแมคโดนัลด์ และ ดังกิ้นโดนัท ทำให้สตาร์บัคส์ตัดสินใจที่จะยกเลิกแซนด์วิชอุ่นร้อน ซึ่งเป็นเมนูอาหารเช้าที่เคยมีแผนจะเปิดตัวทั่วประเทศในปี ค.ศ. 2008 โดยตั้งเป้าที่จะมีจุดมุ่งหมายทางด้านการขายกาแฟเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขาก็นำมาขายอีกครั้งเนื่องจากมีข้อร้องเรียนจำนวนมากและยังคงอยู่ในสายการผลิต[51]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 ทรอย อัลสเตด ผู้บริหารเชิงปฏิบัติการของสตาร์บัคส์ ได้ตัดสินใจที่จะลาออกเนื่องจากปัญหาสุขภาพ[50] ต่อมา เควิน จอห์นสัน จึงก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารเชิงปฏิบัติการแทนอัลสเตด[52]

ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์ได้ทำการจ้างผู้บริหารทางด้านเทคโนโลยีคนแรก โดย แกร์รี มาร์ติน-ฟลิกกินเกอร์ เข้ามารับตำแหน่งเพื่อที่จะพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี[53]

การดำเนินการหลักในการควบคุมคุณภาพของสตาร์บัคส์คือการติดต่อกับชาวสวนที่จะรักษาเมล็ดกาแฟ, การคั่วเมล็ดกาแฟ และการจัดการกระจายสินค้าไปยังสาขาของสตาร์บัคส์ นอกจากนี้สตาร์บัคส์และชาวสวนจะต้องตกลงราคาในการขายเมล็ดกาแฟร่วมกัน[54][55]

สินค้า

แก้
 
สาขาในปีเตอร์โบโร สหราชอาณาจักร ซึ่งมีพื้นที่เปิดให้เห็นการวางขายอาหารและการเตรียมเครื่องดื่ม

ในปี ค.ศ. 1994 สตาร์บัคส์ได้ซื้อ เดอะคอฟฟีคอนเนคชัน เพื่อที่จะได้สิทธิในการใช้, ผลิต, ทำการตลาด และ ขายเครื่องดื่มแฟรปปูชิโน[56] โดยเครื่องดื่มได้ถูกเปิดตัวภายใต้ชื่อของสตาร์บัคส์ในปี ค.ศ. 1995 โดยในปี ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้ประกาศว่ายอดขายแฟรปปูชิโนขายไปแล้วมากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[56]

บริษัทได้เริ่มผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพใน ค.ศ. 2008 ซึ่งรวมไปถึงเครื่องดื่มในรูปแบบโลว์แคลลอรีและไม่มีน้ำตาล โดยจะใช้นมพร่องมันเนยแทนนมปกติ และสามารถเพิ่มความหวานได้ด้วยสิ่งที่ให้ความหวานจากธรรมชาติ (เช่น น้ำตาลทราย, น้ำเชื่อม หรือน้ำผึ้ง), สารให้ความหวาน (เช่น สวีตแอนด์โลว์, สเปลนดา, อีควอล).[57][58] สตาร์บัคส์ได้เลิกขายผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่ถูกเลี้ยงด้วย rBGH ในปี ค.ศ. 2007[59]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 บริษัทได้ยืนยันที่จะปรับปรุงเมนูใหม่ อีกทั้งยังขายสลัดและเบเกอรีโดยไม่ใช้ไซรัปที่มีฟรักโทสสูงหรือการใช้ส่วนผสมเทียม[60] การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คาดว่าจะดึงดูดลูกค้าที่รักสุขภาพ โดยไม่เพิ่มต้นทุนและราคา[60]

สตาร์บัคส์ได้เปิดตัวกาแฟสำเร็จรูป มีชื่อว่า "VIA Ready Brew" ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โดยเปิดตัวครั้งแรกในนิวยอร์ก อีกทั้งยังทดลองขายในซีแอทเทิล, ชิคาโก และลอนดอน โดย เวีย 2 รสชาติแรกคือ อิตาเลียนโรสต์ และ โคลอมเบีย ซึ่งทั้ง 2 รสชาติเลิกวางขายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009 โดยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาจะมีการทำโปรโมชัน บลายด์เทสต์ (Blind taste) เพื่อที่จะให้ลูกค้าทดลองชิมกาแฟเพียงลิ้มรสอย่างเดียว[61]

สตาร์บัคส์เริ่มขายเบียร์ และ ไวน์ ในบางสาขาที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 2010 ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 2012 มีการขายเบียร์และไวน์ใน 7 สาขา[62]

ในปี ค.ศ. 2011 สตาร์บัคส์เปิดตัวขนาดแก้วใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด เรียกว่า "เทรนตา" (Trenta) โดยมีขนาด 31 ออนซ์[63] ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้เปิดตัว "เวริสโม" (Verismo) เครื่องทำกาแฟขนาดเล็ก ซึ่งมีที่ใส่นมสำหรับการทำลาตเทด้วย[64]

ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 สตาร์บัคส์ได้ทำการประกาศว่าได้ซื้ออีโวลูชันเฟรช บริษัทน้ำผลไม้ ด้วยมูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแผนที่จะทำการขายน้ำผลไม้ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2012 เพื่อตีตลาดแข่งกับ จัมบา โดยสาขาแรกที่วางขายน้ำผลไม้คือสาขาในซานเบอร์นาร์ดิโน รัฐแคลิฟอร์เนีย และวางแผนที่จะวางขายในซานฟรานซิสโกซึ่งได้วางขายในช่วงต้นปี ค.ศ. 2013[65]

ในปี ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้เริ่มขายเครื่องดื่มสำเร็จรูปแบบเย็นที่มีสารสกัดจากเมล็ดกาแฟอาราบิกา ซึ่งเครื่องดื่มจะมีรสชาติของผลไม้และจะมีคาเฟอีน ผสมอยู่ด้วย แต่โฆษณาว่าผสมกาแฟ ซึ่งกระบวนการสกัดมาจากการนำเมล็ดกาแฟลงไปแช่ในน้ำ[66]

ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2013 สตาร์บัคส์ได้เริ่มที่จะเผยแพร่จำนวนแคลลอรีของเครื่องดื่มและอาหารที่สตาร์บัคส์ทุกสาขาในสหรัฐอเมริกา[67]

ใน ค.ศ. 2014 สตาร์บัคส์เริ่มผลิตโซดา โดยมีชื่อว่า "ฟิซซิโอ" (Fizzio)[68]

ในปี ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์ได้เริ่มวางขายกะทิ ซึ่งเป็นทางเลือกในการปรุงเครื่องดื่มจากนมและถั่วเหลือง[69]

ชื่อ ขนาด หมายเหตุ
เดมิ (Demi) 3 ออนซ์ (89 มิลลิลิตร) ขนาดเล็กที่สุด ขนาดเท่าช็อคของเอสเปรสโซ
ช็อต (Short) 8 ออนซ์ (240 มิลลิลิตร) ขนาดเล็กกว่า 2 ขนาดมาตรฐาน
มินิ (Mini)[70] 10 ออนซ์ (300 มิลลิลิตร) ขนาดเล็กกว่า 3 ขนาดแฟรปปูชิโนปกติ ซึ่งจะเป็นขนาดของเครื่องดื่มแคลลอรีต่ำ
ทอล (Tall) 12 ออนซ์ (350 มิลลิลิตร) ใหญ่กว่า 2 ขนาดมาตรฐาน
แกรนเด (Grande) 16 ออนซ์ (470 มิลลิลิตร) มีความหมายว่า "ใหญ่" ในภาษาอิตาลี
เวนติ (Venti) 20 ออนซ์ (590 มิลลิลิตร)
24 ออนซ์ (710 มิลลิลิตร)
มีความหมายว่า "ยี่สิบ" ในภาษาอิตาลี
เทรนตา (Trenta) 31 ออนซ์ (920 มิลลิลิตร) มีความหมายว่า "สามสิบ" ในภาษาอิตาลี

สตาร์บัคส์ได้เริ่มทำการตลาดชาในปี ค.ศ. 1999 หลังจากซื้อ "ทาโซ" (Tazo) ด้วยมูลค่าทางการตลาด 8.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[71][72] ปลายปี ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้ซื้อ ทีวานา ด้วยราคา 620 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[38][73] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ไม่มีความตั้งใจในการที่จะขยายตลาดของร้านค้าทีวานา แม้ว่าจะเคยวางแผนที่จะวางตลาดในสาขาในห้างสรรพสินค้า[72] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์ได้เริ่มที่จะวางขายทีวานาในสาขาของสตาร์บัคส์ ทั้งเครื่องดื่มสำเร็จรูปและในแบบขายปลีก[74]

คุณภาพของกาแฟ

แก้

เควิน น็อก ซึ่งดูแลและควบคุมคุณภาพของโดนัท ในร้านสตาร์บัคส์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987 จนถึง 1993 ได้เขียนบนบล็อกของเขาในปี ค.ศ. 2010 ว่า จอร์จ โฮเวลล์นักตรวจสอบคุณภาพกาแฟ ผู้ก่อตั้งคัพออฟเอกเซเลนซ์ ซึ่งได้วิตกเมื่อสตาร์บัคส์ได้ขายกาแฟคั่วสีดำ ในปี ค.ศ. 1990[33][75] โดยได้เปิดเผยกับนิวยอร์กไทมส์ ในปี ค.ศ. 2008 โฮเวลล์ได้ระบุว่าการคั่วเมล็ดกาแฟเข้มสีดำของสตาร์บัคส์ ไม่ได้ทำให้กาแฟมีรสเข้มขึ้น แต่ทำลายความแตกต่างของรสชาติจากกาแฟปกติ[33] คอนซูเมอร์รีพอตส์ ฉบับเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 ได้จัดอันดับกาแฟของสตาร์บัคส์ไว้ต่ำกว่ากาแฟพรีเมียมของแมคโดนัลด์ โดยให้ความเห็นว่า "รสเข้มแต่มีความขมพอที่จะทำให้น้ำตาไหลได้"[76] ตามรายงานของไทม์ ในปี ค.ศ. 2010 มีการวิจารณ์จำนวนมากว่ากาแฟของสตาร์บัคส์คั่วนานเกินไป[77]

แม้ว่าการชงกาแฟสดจะมีในทุกสาขาของสตาร์บัคส์ แต่บริษัทไม่ได้มีการโฆษณามากนัก เพราะมีวิธีการที่ยุ่งยากและมีผลกำไรที่ต่ำกว่าเอสเปรสโซปกติ[78]

สินค้าอื่น

แก้

ในปี ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้เปิดตัว สตาร์บัคส์ เวริสโม ซึ่งเป็นเครื่องทำกาแฟขนาดเล็กที่สามารถทำเอสเปรสโซและช็อกโกแลตจากเครื่องได้ โดยตัวเครื่องใช้ระบบ K-Fee และมีถ้วยชนกาแฟที่มีถ้วยเดียว[79] ในการวิจารณ์ของคอนซูเมอร์รีพอตส์ต่อรุ่น 580 นั้นได้ทดสอบและระบุไว้ว่า "การล้างถ้วยทุกครั้งไม่ใช่ความสะดวกสบายของการทำกาแฟในเวลาที่ต้องการหลาย ๆ ถ้วย ส่วนรุ่นอื่น ๆ ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติมที่จะสามารถปรับระดับความเข้มได้ แต่เวริสโมมีเพียงปุ่มทำกาแฟ, เอสเปรสโซ และ ลาทเต ไม่มีปุ่มที่จะปรับระดับความเข้ม เหมือนสตาร์บัคส์ต้องการที่จะจำกัดในการใช้แบรนด์ของพวกเขา ซึ่งมีเพียง 8 รูปแบบในการใช้นมสำหรับการทำลาทเต"[80]

สาขา

แก้

บริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซีแอทเทิล รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยมีพนักงาน 3,501 คน (ข้อมูลในเดือนมกราคม ค.ศ. 2015)[81]

สาขาปัจจุบัน

แก้

ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2022 สตาร์บัคส์เปิดสาขาใน 70 ประเทศและดินแดนปกครองตนเอง[1][82]

ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปโอเชียเนีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป
 

ร้านค้าอิสระ

แก้

อย่างไรก็ตาม สตาร์บัคส์ ยังมีร้านค้าที่ตั้งอยู่อย่างอิสระกับร้านค้าอื่น คือ อาโฮลด์เดลไฮซ์, บานส์แอนด์โนเบิล, ทาร์เก็ต, ทอมทัมบ์ ในปี ค.ศ. 2015 มีสาขาอิสระถึง 4,962 สาขา[88]

จำนวนสาขา

แก้

[1][89]

ทวีปแอฟริกา
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปโอเชียเนีย
ทวีปอเมริกาใต้
ทวีปเอเชีย
ทวีปยุโรป

ในปี ค.ศ. 2008 สตาร์บัคส์ได้ขยายสาขาเพิ่มในอาร์เจนตินา, เบลเยียม, บราซิล, บัลแกเรีย, สาธารณรัฐเช็ก และ โปรตุเกส[19]

อีกทั้งยังขยายสาขาไปยังสแกนดิเนเวียที่ประเทศโปแลนด์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009 อีกทั้งขยายสาขาในยูเทรกต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ ท่าอากาศยานสต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดา ที่ประเทศสวีเดน ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน[90]

ในปี ค.ศ. 2010 ได้ขยายสาขาไปยังตลาดใหม่ ซึ่งในเดือนพฤษภาคม โรงแรมเซาเทิร์นซัน ในประเทศแอฟริกาใต้ได้ประกาศว่าพวกเขาได้เซ็นสัญญากับสตาร์บัคส์ในการเปิดร้านขายกาแฟในโรงแรมเซาเทิร์นซันและโรงแรมซองกาซัน ซึ่งมีทำให้สตาร์บัคส์สามารถเปิดร้านได้ทันในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้[91] ต่อมาในเดือนมิถุนายน สตาร์บัคส์ได้เปิดร้านแรกในบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี และในเดือนพฤศจิกายน ได้เปิดสาขาในอเมริกากลาง ตั้งอยู่ในซานซัลวาดอร์ เมืองหลวงของประเทศเอลซัลวาดอร์[92]

ต่อมาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 สตาร์บัคส์ได้เปิดตัวสาขาแรกที่ตั้งอยู่บนทะเล โดยความร่วมมือกับรอยัลแคริบเบียนอินเตอร์เนชันแนล ซึ่งได้เปิดร้านบนเรือเอ็มเอส อัลลัวร์ออฟเดอะซีส์ ซึ่งเป็นเรือลำใหญ่อันดับสองของบริษัท และเรือใหญ่ลำดับสองของโลก[93]

 
สตาร์บัคส์ สาขาโซโห ถนนบำรุงเมือง บริเวณแยกอนามัย ใกล้กับโรงพยาบาลหัวเฉียว เคยเป็นสาขาที่ได้รับการยอมรับว่าออกแบบได้สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันได้ย้ายเข้ามาอยู่ในอาคาร ร.พ.ธนบุรี บำรุงเมือง ที่อยู่ติดกัน

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2011 สตาร์บัคส์ และ ทาทาคอฟฟี ผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดของเอเชีย ได้วางแผนเป็พันธมิตรเชิงกุลยุทธ์ร่วมกันเพื่อที่จะเปิดสาขาในประเทศอินเดีย โดยใช้แหล่งวัตถุดิบของเมล็ดกาแฟจากทาทาคอฟฟีในเมืองโคดากู[94] แม้จะเคยล้มเหลวในปี ค.ศ. 2007[95] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้เปิดเผยถึงหุ้นส่วนกับทาทาคอฟฟี ซึ่งถือหุ้นร่วมกัน 50:50 โดยใช้ชื่อว่า ทาทาสตาร์บัคส์ ซึ่งจะใช้ชื่อนี้สำหรับการทำการค้าในประเทศอินเดียเท่านั้น[96] โดยสาขาแรกเปิดที่เมืองมุมไบ ในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 2012.[97][98][99]

 
สตาร์บัคส์ที่ พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง ประเทศจีน

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 สตาร์บัคส์ได้เริ่มทำการขายกาแฟในประเทศนอร์เวย์โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น โดยสาขาแรกเปิดในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ที่ ท่าอากาศยานออสโล การ์เดอร์มอน ต่อมาในเดือนตุลาคม สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาในปักกิ่ง ประเทศจีน ที่ท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ภายในเทอร์มินัลที่ 3 (ผู้โดยสารขาออกต่างประเทศ) ทำให้สาขานี้เป็นสาขาที่ 500 ในประเทศจีน, เป็นสาขาที่ 7 ในสนามบิน โดยมีแผนที่จะขยายสาขาในประเทศจีนเป็น 1,500 สาขา ภายในปี ค.ศ. 2015[100] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาใหม่ในประเทศฟินแลนด์ ที่ท่าอากาศยานเฮลซิงกิ ในเมืองวันดา[101]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 สตาร์บัคส์ได้วางแผนที่จะขยายเป็น 1,000 สาขาในสหรัฐอเมริกาภายในระยะเวลา 5 ปี[102] ในเดือนเดียวกันนั้นได้มีการเปิดสาขาของสตาร์บัคส์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ภายในมหาวิทยาลัยอาลาบามาส์ เฟอร์กูสัน[103]

ในปี ค.ศ. 2013 สตาร์บัคส์ได้จับมือกับซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติเดนมาร์ก ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยเปิดสาขาแรกในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 ในเมืองออลบอร์ และ ออร์ฮูส[104]

สตาร์บัคส์ได้ประกาศว่าจะเปิดสาขาในประเทศโบลิเวียในปี ค.ศ. 2014 ตั้งอยู่ในเมืองซันตาครุซเดลาเซียรา และสาขาแรกในประเทศปานามาในปี ค.ศ. 2015[105]

ในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาใน ดิสนีส์แอนิมอลคิงดอม ที่ดิสคัฟเวอรีไอส์แลนด์ โดยสวนสนุกนี้ไม่อนุญาตให้ใช้หลอดพลาสติกเนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อสัตว์ ทำให้สาขานี้จึงใช้หลอดพิเศษสำหรับเครื่องดื่มเย็น[106] ทำให้สาขานี้เป็นสาขาที่ 6 ของสตาร์บัคส์ที่เปิดภายในวอลต์ดิสนีย์เวิลด์รีสอร์ต[107]

บิล สลีธ รองประธานด้านดีไซน์ของสตาร์บัคส์ ได้เห็นถึงความต้องการที่จะสร้างความแปลกใหม่ของร้าน โดยเขากล่าวว่า "ลูกค้าไม่ต้องการที่จะเดินเข้ามาในร้านที่ดาวน์ทาวน์ของซีแอทเทิล, เดินเข้าไปในร้านชานเมืองของซีแอทเทิล และมาที่ซานโฮเซ แล้วเห็นร้านเหมือน ๆ กัน" และได้กล่าวต่อว่า "ลูกค้าได้พูดว่า ‘ทุกที่ที่ฉันไปมีเหมือนกันหมด’ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดี เราต้องการที่จะทำร้านให้แตกต่างกัน" ในการจัดการตกแต่งร้านของสตาร์บัคส์ จะพยายามทำให้แบรนด์มีเอกพจน์ แต่การตกแต่งจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้น[108]

สตาร์บัคส์เปิดร้านแรกบนเกาะ ในต้นปี ค.ศ. 2015 ที่ย่านธุรกิจของท่าเรือเซนต์ปีเตอร์ ในเกิร์นซีย์[109]

ต่อมาในวันที่ 10 กันยายน สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาแรกในประเทศอาเซอร์ไบจาน ที่ห้างสรรพสินค้าพอร์ตบากู

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2013 โฮเวิร์ด ชูลซ์ ประธานกรรมการบริษัท ได้ยืนยันอย่างเป็นส่วนตัวว่าจะเปิดสาขาในประเทศโคลอมเบีย โดยสาขาแรกจะเปิดในปี ค.ศ. 2014 ที่โบโกตา และขยายอีก 50 ร้านในเมืองใหญ่ของประเทศภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศโคลอมเบียกับองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา สำหรับการเสริมสร้างวัฒนธรรมการปลูกกาแฟในท้องถิ่นและแบ่งปันมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้กับคนทั่วโลก โดยสตาร์บัคส์ได้ร่วมหุ้นกับอัลซี และ กรูโปนูเตรซา สำหรับวัตถุดิบในประเทศ หลังจากสร้างศูนย์ส่งเสริมเกษตรกรในเมืองมานีซาเลส[110]

ในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2015 สตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาในอัลมาเตอ ประเทศคาซัคสถาน โดยวันต่อมาก็ได้เปิดเพิ่มอีก 1 สาขา[111]

สตาร์บัคส์สาขาแรกในประเทศสโลวาเกียเปิดในอูพาร์ก ตั้งอยู่ในบราติสลาวา ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[112][113] อีกทั้งยังยืนยันที่จะเพิ่มอีก 2 สาขาในบราติสลาวาภายในช่วงปลายปี ค.ศ. 2016

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ชูลซ์ ได้ประกาศว่าจะเปิดสาขาในประเทศอิตาลี โดยจะเปิดสาขาแรกในมิลาน ภายในปี ค.ศ. 2017[114]

สาขาในอดีต

แก้

ในปี ค.ศ. 2003 หลังจากที่ต่อสู้ในการแข่งขันกับร้านกาแฟท้องถิ่นอย่างยาวนาน สตาร์บัคส์ได้ปิด 6 สาขาใน ประเทศอิสราเอล โดยระบุว่า "มีความท้าทายในการดำเนินงานมากเกินไป" และ "มีความยากลำบากทางสภาพแวดล้อมของธุรกิจ"[115][116]

สตาร์บัคส์ในพระราชวังต้องห้าม ในปักกิ่ง ได้ปิดตัวลงเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 ซ฿่งเป็นที่ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องในความเหมาะสมตั้งแต่เปิดร้านใน ค.ศ. 2000 ซึ่งผู้ประท้วงได้อ้างว่าการที่มีร้านค้าอเมริกันมาตั้งในพระราชวังต้องห้ามเป็นการ "เหยียบย่ำวัฒนธรรมจีน"[117][118]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 บริษัทได้ยืนยันที่จะปิด 600 สาขาที่มีประสิทธิภาพต่ำ และลดการขยายสาขาในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตไม่แน่นอน[119][120] ในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 สตาร์บัคส์ได้ตัดแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในร้านค้าอีก 600 ตำแหน่ง เพื่อสร้างแบรนด์ให้มีกำไรมากขึ้น ซึ่งการตัดแรงงานทำให้พนักงาน 550 คนยังว่างงานหลังจากถูกปลดออกจากงาน[121] ซึ่งการกระทำครั้งนี้ทำให้ระยะของการขยายตัวและเติบโตของบริษัทได้สิ้นสุดลง นับตั้งแต่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางยุค 90

อีกทั้งสตาร์บัคส์ยังประกาศออกมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 ในเรื่องของการปิด 61 จาก 84 สาขาในประเทศออสเตรเลีย ในเดือนถัดไป[122] โดย นิก ไวลส์ นักวิเคราะห์สถิติการจัดการของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ได้กล่าวว่า "สตาร์บัคส์ไม่เข้าถึงวัฒนธรรมร้านกาแฟในออสเตรเลีย"[123] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 สตาร์บัคส์ได้ยืนยันว่าบริษัทได้ขาดทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศออสเตรเลีย และขายร้านค้าที่ยังคงเหลือให้กับวีเธอส์กรุป[124]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 สตาร์บัคส์ได้ประกาศปิดร้านค้า 300 ร้าน และปลดพนักงานอีก 7,000 ตำแหน่ง ซึ่ง ชูลซ์ ได้กล่าวว่าเขาได้รับการพิจารณาจากบอร์ดให้ลดเงินเดือนของเขาด้วย[125] ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 จนถึง เดือนมกราคม ค.ศ. 2009 สตาร์บัคส์ได้ปลดพนักงานในสหรัฐอเมริกาถึง 18,400 ตำแหน่ง และปิดร้านค้าทั่วโลก 977 ร้าน[126]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 อาโฮลด์ได้ประกาศปิดและปรับปรุงร้านสตาร์บัคส์ 43 แห่งในซูเปอร์มาร์เก็ตที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ก็ยังไม่มีการปิดร้านทั้งหมด ซึ่งพวกเขายังมีแผนที่จะเปิดเพิ่มอีก 5 ร้านภายในปี ค.ศ. 2009[127][128]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 บริษัทได้ประกาศที่จะปิดร้านค้าในทวีปยุโรปที่ขาดทุนทันที[129]

สตาร์บัคส์ในประเทศไทย

แก้
 
สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ในโครงการไอคอนสยาม ซึ่งเป็นสาขาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
 
สตาร์บัคส์ สาขาเซ็นทรัล ลาดพร้าว

สตาร์บัคส์เปิดสาขาแรกในไทยที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม เมื่อปี พ.ศ. 2541[130] สาขาไดรฟ์-ทรูแห่งแรกที่ศูนย์การค้าพอร์โต ชิโน จังหวัดสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2555[131] สาขารีเสิร์ฟ เอ็กซ์พีเรียนซ์ แห่งแรกที่ศูนย์การค้าเกษร ในปี พ.ศ. 2558[132] ซึ่งต่อมาได้ขยายไปยังศูนย์การค้าอื่น ๆ เช่น สยามสแควร์วัน[133], เซ็นทรัลเวิลด์[134]

ในปี พ.ศ. 2562 สตาร์บัคส์ได้ขายสิทธิ์การบริหารให้แก่บริษัท คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ รีเทล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างแม็กซิม แคนเทอเรอร์ จากฮ่องกง กับเอฟแอนด์เอ็น รีเทล คอนเนคชัน ในเครือไทยเบฟเวอเรจ[135] และอีกสองปีต่อมาสตาร์บัคส์ได้เปิดสาขาเรือธงที่ไอคอนสยาม ซึ่งเป็นสาขาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ภายในสาขาดังกล่าวเป็นแห่งแรกในไทย[136] ซึ่งต่อมาได้ขยายไปยังสาขาเอ็มสเฟียร์ รีเสิร์ฟ[137], รีเสิร์ฟ ถนนนิมมานเหมินท์ นครเชียงใหม่[138] และเดอะ สตอรีส์ แอท วัน แบงค็อก[139] ตามลำดับ

จากข้อมูลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 สตาร์บัคส์ในประเทศไทยมีทั้งหมด 517 สาขา โดยสาขาเดอะ สตอรีส์ แอท วัน แบงค็อก เป็นสาขาแรกในไทยที่มีจุดเทเครื่องดื่มเหลือทิ้งเพื่อให้ง่ายต่อการรีไซเคิล[140] สตาร์บัคส์ประเทศไทยตั้งเป้าจะเปิดให้ครบ 800 สาขา ภายในปี พ.ศ. 2573[141]

การโฆษณา

แก้

โลโก้

แก้
1971–87
1992–2011
2011–ปัจจุบัน

ในปี 2006 วาเลอรี่ โอเนล โฆษกหญิงของสตาร์บัคส์กล่าวว่าโลก้ของบริษัทนั้นเป็นภาพนางเงือกสองหางหรือ ไซเลน (siren) ที่เป็นที่รู้จักในตำนานกรีก[142] โลโก้ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยมา ในเวอร์ชันแรกนั้น[143] ไซเลนมีลักษณะเปลือยอกและเห็นหางทั้งสองได้อย่างชัดเจน[144] ภาพนั้นมีลักษณะหยาบและคล้ายกับเมลูซีน (melusine)[145] บริษัทกล่าวว่าภาพนี้นำมาจากภาพพิมพ์แกะไม้ของชาวนอร์ส แม้ว่านักวิชาการจะแย้งว่านำมาจาก แม่พิมพ์ไม้ของ J.E. Cirlot ในหนังสือ Dictionary of Symbols ในศตวรรษที่ 15[146][147]

ในเวอร์ชันที่สองที่ใช้ในช่วงปี 1987-1992 หน้าอกของเธอถูกปิดด้วยผมแต่สะดือยังสามารถมองเห็นได้[148] หางปลาบางส่วนได้ถูกตัดออกและสีหลักถูกเปลี่ยนจากสีน้ำตาลมาเป็นสีเขียว เหมือนสีมหาวิทยาลัยของผู้ก่อตั้งทั้งสาม มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโก[149][150] ในเวอร์ชันที่สามที่ใช้ระหว่างปี 1992 ถึง 2011 ทั้งสะดือและหน้าอกของเธอไม่สามารถมองเห็นเลย มีเพียงร่องรอยของหางปลาเท่านั้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Loxcel Starbucks Map". Starbucks. April 17, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ April 17, 2018. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "loxcel" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Starbucks financial report 2017". NASDAQ.
  3. "Starbucks". forbes.com. May 2013. สืบค้นเมื่อ February 21, 2014.
  4. "Company Profile" (PDF). Starbucks Coffee Company. February 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 15, 2009. สืบค้นเมื่อ May 13, 2009.
  5. "5 Things You Didn't Know: Starbucks | The Best Article Every Day". Bspcn.com. December 10, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 27, 2009. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  6. "ตำนานนางเงือกไซเรนบนโลโก้สตาร์บัคส์ โดย : วลัญช์ สุภากร (กรุงเทพธุรกิจ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2012-06-29.
  7. "How Starbucks Can Guarantee Its CEO Transition Succeeds". Fast Company. April 3, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-04-11.
  8. Starbucks "1st and Pike" เก็บถาวร 2021-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, "Starbucks", 2016
  9. Time Out (2011). Time Out Guide San Francisco. Time Out Guides. ISBN 978-1-84670-220-4. สืบค้นเมื่อ April 9, 2013.
  10. Pendergrast, pp. 252–53
  11. "How Starbucks got its name - Seattle's Big Blog". Seattle Post-Intelligencer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ October 21, 2015.
  12. Melissa Allison (March 9, 2008). "Starbucks co-founder talks about early days, launching Redhook and Seattle Weekly, too". Business and Technology.
  13. Stephen Brewer; Constance Brissenden; Anita Carmin (September 26, 2012). DK Eyewitness Travel Guide: Pacific Northwest. Dorling Kindersley. pp. 135–. ISBN 978-1-4053-7081-3. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
  14. 14.0 14.1 Linda Dono Reeves (September 8, 1992). "Coffee firm's plans to go national are percolating". USA Today.
  15. "Starbucks Corporation." Student Resources. N.p., n.d. Web. March 13, 2013.
  16. 16.0 16.1 16.2 Mark Robichaux (November 6, 1989). "Boom in Fancy Coffee Pits Big Marketers, Little Firms". The Wall Street Journal.
  17. Florence Fabricant (September 2, 1992). "Americans Wake Up and Smell the Coffee". The New York Times.
  18. "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  19. 19.0 19.1 19.2 "Forty years young: A history of Starbucks". London: The Daily Telegraph. May 11, 2011. สืบค้นเมื่อ November 13, 2012.
  20. "Interest brews for Starbucks Coffee retailer makes stock offering amid latest java craze". The Globe and Mail. June 17, 1992.
  21. "Mobile Payment At U.S. Starbucks Locations Crosses 10% As More Stores Get Wireless Charging".
  22. Saif Ajani (December 5, 2013). "Starbucks' @Tweetacoffee Campaign Generated $180,000 in Sales, HUGE Long-term Benefits". Keyhole. Keyhole. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2013. สืบค้นเมื่อ December 24, 2013.
  23. Todd Wasserman (December 6, 2013). "Starbucks 'Tweet-a-Coffee' Campaign Prompted $180,000 in Purchases". Mashable. Mashable. สืบค้นเมื่อ December 7, 2013.
  24. Szabo, Liz (July 29, 1996). "Launching Starbucks In Japan -- First Of 15 Stores To Open". The Seattle Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-12. สืบค้นเมื่อ October 19, 2012.
  25. "McDonalds Corp Betting That Coffee Is Britains Cup of Tea". The New York Times. March 1999. สืบค้นเมื่อ August 6, 2009.
  26. Miguel Ángel Pallares Gómez (March 29, 2016). "Starbucks sigue como prioridad para Alsea". El Universal. El Universal. สืบค้นเมื่อ September 22, 2016.
  27. Tice, Carol (October 15, 1999). "Starbucks still seeking a rhythm for Circadia". Puget Sound Business Journal. สืบค้นเมื่อ May 13, 2009.
  28. "Starbucks establishes coffee trading company in Switzerland". October 17, 2002. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
  29. Christine Frey (April 16, 2003). "A grande deal for Starbucks". Seattle Post-Intelligencer. สืบค้นเมื่อ December 1, 2012.
  30. Hirsch, Jerry (September 15, 2006). "Diedrich to Sell Cafes to Rival". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ May 13, 2009.
  31. "Starbucks enters South America through Peru". Puget Sound Business Journal. August 19, 2003.
  32. Kramer, Andrew (September 7, 2007). "After long dispute, a Russian Starbucks". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 18, 2009.
  33. 33.0 33.1 33.2 Schwaner-Albright, Oliver (March 26, 2008). "Tasting the Future of Starbucks Coffee From a New Machine". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 1, 2010.
  34. Schofield, Jack (March 24, 2008). "Starbucks lets customers have their say". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ March 18, 2009.
  35. "Card Rewards". Starbucks.com. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  36. Roark, Marc (2014). "Payment Systems, Consumer Tragedy, and Ineffective Remedies". St. Johns Law Review. 86: Forthcoming. สืบค้นเมื่อ March 4, 2014.
  37. Lisa Baertlein; Martinne Geller (November 14, 2012). "Starbucks to buy Teavana in another step beyond coffee". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-07. สืบค้นเมื่อ November 14, 2012.
  38. 38.0 38.1 Melissa Allison (December 31, 2012). "Starbucks closes Teavana deal". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ March 1, 2013.
  39. "STARBUCKS TO OPEN 1ST VIETNAM CAFE". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ January 3, 2013.
  40. "Starbucks, McDonald's go Vietnam". Investvine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-03. สืบค้นเมื่อ January 14, 2013.
  41. "Starbucks opens first store in coffee-loving Vietnam". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2014.
  42. AAP (August 28, 2013). "Starbucks to open first cafe in Colombia". The Australian. สืบค้นเมื่อ August 28, 2013.
  43. Thirsty NYC (August 19, 2014). "New Starbucks in Williamsburg to Serve Alcohol". Thirsty NYC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-22. สืบค้นเมื่อ August 21, 2014.
  44. "Starbucks buying full control of Japan unit for $914 million" (Press release). Reuters. September 23, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  45. "Starbucks Announces Plans to Bring its Unique Coffeehouse Experience to the Vibrant Cambodian Market". Starbucks Newsroom. 26 August 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  46. "Starbucks to Open Stores in Italy". Starbucks Newsroom. 28 February 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-25. สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  47. Brown, Peter (26 August 2016). "Wireless Charging Pads Come to Starbucks". Electronics 360. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  48. Sarah Perez (7 September 2016). "Starbucks debuts its own original content series, "Upstanders," featuring video and podcasts". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  49. Kiviat, Barbara (December 10, 2006). "The Big Gulp at Starbucks". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-13. สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  50. 50.0 50.1 Lerman, Rachel (January 9, 2015). "Schultz: Starbucks COO not leaving for health concerns, rumors are 'irresponsible'". Puget Sound Business Journal.
  51. Howard, Hannah (July 31, 2008). "Starbucks Breakfast Sandwiches: Now Less Smelly". Serious Eats. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-19. สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  52. "Starbucks Names Kevin Johnson President and Chief Operating Officer" (Press release). Starbucks Corporation. January 22, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-29. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.
  53. Julie Jargon (October 6, 2015). "Starbucks Hires First Chief Technology Officer". WSJ.
  54. Youngme, M. & Quelch J. Starbucks: Delivering Customer Service. Boston, MA: Harvard Business School Pub., 2003. Online.
  55. Stanley, A. (2002). Starbucks Coffee Company. (case study). Tuck School of Business at Dartmouth.
  56. 56.0 56.1 Nanos, Janelle (December 7, 2012). "The Story of the Frappuccino: How a chilly coffee drink became a billion dollar behemoth". Boston Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ October 30, 2013.
  57. T., Katie (April 16, 2010). "A Cup of Low-Cal Goodness". Starbucks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2013. สืบค้นเมื่อ February 5, 2013.
  58. Food Ingredients Online (January 9, 2008). "Starbucks Latte And Mocha Offerings Get A Skinny Makeover To Help Coffee Lovers Feel Great In 2008". VertMarkets, Inc. สืบค้นเมื่อ February 5, 2013.
  59. "Starbucks Agrees to Hold the Hormones For Good" (Press release). Food & Water Watch. August 24, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2007. สืบค้นเมื่อ August 27, 2007.
  60. 60.0 60.1 Baertlein, Lisa (June 3, 2009). "Starbucks revamps bakery food ingredients". Reuters.
  61. Jargon, Julie (September 30, 2009). "Starbucks Takes New Road With Instant Coffee". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ November 12, 2012.
  62. Miller, Michael (April 5, 2012). "Wine, beer at Starbucks?". Huntington Beach Independent. p. A4. สืบค้นเมื่อ April 7, 2012.
  63. Corbett, Alexandra. "Thirsty? Starbucks Supersizes to the Trenta". The Norwalk Daily Voice. สืบค้นเมื่อ July 19, 2012.
  64. Strom, Stephanie (September 20, 2012). "Starbucks to Introduce Single-Serve Coffee Maker". The New York Times.
  65. "Starbucks to open U.S. juice bars in 2012". Reuters. November 11, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2017-02-22.
  66. Green Coffee Extract เก็บถาวร มกราคม 16, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Starbucks.com. Excerpt from Brian Smith, Director of Global Beverage Innovation: "100% green arabica coffee beans ... We start with high-quality, green coffee beans. We soak the beans in water and pull out the caffeine and other good stuff. Then we dry the whole concoction down to create the concentrated essence and goodness of green coffee. That's Green Coffee Extract." Retrieved July 20, 2012.
  67. "Starbucks to post calorie counts nationwide". WABC TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-24. สืบค้นเมื่อ June 23, 2013.
  68. "starbucks.com". Starbucks Newsroom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-29. สืบค้นเมื่อ November 23, 2014.
  69. Horovitz, Bruce (February 4, 2015). "Starbucks to roll out coconut milk option". USA Today. สืบค้นเมื่อ December 11, 2015.
  70. "Responding to Customers, Starbucks Launches the Mini Frappuccino". No. May 11, 2015. Starbucks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ May 30, 2015.
  71. "Starbucks will buy Tazo tea company". Puget Sound Business Journal. January 13, 1999. bizjournals.com. สืบค้นเมื่อ November 13, 2012.
  72. 72.0 72.1 Julie Jargon. "Starbucks To Acquire Tea Chain Teavana". The Wall Street Journal (print). p. B9.
  73. Candice Choi; Sarah Skidmore (November 14, 2012). "Starbucks Buys Teavana". The Huffington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 8, 2016.
  74. "Starbucks Launches Teavana Hot Brewed Tea in Starbucks Stores in the U.S. and Canada". January 2, 2015. starbucks.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ June 3, 2015.
  75. Melissa Allison (March 10, 2010). "Coffee wrap: Starbucks spent $740K on lobbying last year, Le Whif, and an old hand takes a swipe at 'third wave' coffee".
  76. "A triple-venti-Americano-decaf surprise? Consumer Reports finds McDonald's coffee better than Starbucks". MSNBC. February 4, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-28. สืบค้นเมื่อ September 9, 2010.
  77. Ozersky, Josh (2010-03-09). "Is Stumptown the New Starbucks — or Better?". Time. สืบค้นเมื่อ 2015-10-31.
  78. Sacks, Danielle (September 2014). "The Multimillion Dollar Quest To Brew The Perfect Cup Of Coffee". Fast Company. สืบค้นเมื่อ 2015-10-31.
  79. "Verismo.com". Starbucks. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
  80. ijnPerratore, Ed. "Does the Verismo coffeemaker deliver true Starbucks flavor?". Consumer Reports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-30. สืบค้นเมื่อ May 8, 2013.
  81. Lerman, Rachel (January 15, 2014). "Starbucks confirms layoffs at Seattle headquarters". Puget Sound Business Journal.
  82. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Profile2014-10
  83. González, Ángel (February 13, 2014). "Starbucks enters its 64th company, oil-rich Brunei". The Seattle Times.
  84. Starbucks Coffee Company. Starbucks.com.hk. Retrieved on July 18, 2013.
  85. "Starbucks Philippines". Starbucks Corporation. สืบค้นเมื่อ 22 November 2016.
  86. Calderon, Jason (June 17, 2013). "Thailand gets Asia's first community-driven Starbucks". Inside Investor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-06. สืบค้นเมื่อ June 18, 2013.
  87. "Starbucks Laos". สืบค้นเมื่อ 26 October 2022.
  88. "Number of Starbucks stores in the United States from 2005 to 2015*". Statista. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
  89. [1] เก็บถาวร มิถุนายน 18, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  90. "Starbucks Coffee Company – press release (in Swedish)". Cision Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ October 21, 2009.
  91. "Cuppa Starbucks for the Cup". Times Live. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-04. สืบค้นเมื่อ May 31, 2010.
  92. "Starbucks Newsroom: Starbucks Celebrates First Store Opening in El Salvador". News.starbucks.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2010. สืบค้นเมื่อ July 7, 2011.
  93. Puget Sound Business Journal by Eric Engleman (October 27, 2010). "First 'Starbucks at Sea' to debut - Puget Sound Business Journal". Bizjournals.com. สืบค้นเมื่อ November 17, 2012.
  94. "Tata Coffee brings Starbucks to India". Business-standard.com. January 14, 2011. สืบค้นเมื่อ July 7, 2011.
  95. Chatterjee, Saikat (July 20, 2007). "Starbucks Delays India Entry, Withdraws Application (Update2)". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ April 15, 2009.
  96. "Tata Global Beverages and Starbucks Form Joint Venture to Open Starbucks Cafés across India". Starbucks Press Release. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2012. สืบค้นเมื่อ January 31, 2012.
  97. Farisa Khalid (October 24, 2012). "Veni, Vidi, Venti: Starbucks Expands Its Global Reach to Mumbai". Asia Society. asiasociety.org. สืบค้นเมื่อ October 25, 2012.
  98. Farisa Khalid (October 24, 2012). "Tata Coffee to close ranks with Starbucks". Business Standard. asiasociety.org. สืบค้นเมื่อ October 25, 2012.
  99. Raghuvir Badrinath (October 25, 2012). "Starbucks creates a stir in India". The National. business-standard.com. สืบค้นเมื่อ October 25, 2012.
  100. "Starbucks Celebrates Its 500th Store Opening in Mainland China". Business Wire. October 25, 2011. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  101. "Starbucks Opens First Store in Finland at Helsinki Airport". Starbucks Newsroom. Starbucks Corporation. May 14, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2013. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  102. Patton, Leslie (October 4, 2012). "Starbucks CEO Sees Adding 1,000 U.S. Stores in Five Years". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ October 4, 2012.
  103. Burch, Adrienne (August 28, 2012). "Largest Starbucks in U.S. coming to the Ferg". The Crimson White. สืบค้นเมื่อ October 8, 2012.
  104. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2015. สืบค้นเมื่อ July 25, 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  105. González, Ángel (May 14, 2014). "Starbucks to open stores in Bolivia and Panama". The Seattle Times.
  106. "New Starbucks location opens in Disney's Animal Kingdom". attractionsmagazine.com. Orlando Attractions Magazine. สืบค้นเมื่อ September 29, 2015.
  107. Smith, Thomas. "Starbucks to Open at Disney's Hollywood Studios in Early 2015". disneyparks.com. Disney Parks-Walt Disney World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-10. สืบค้นเมื่อ October 14, 2014.
  108. Stinson, Liz (January 8, 2014). "With Stunning New Stores, Starbucks Has a New Design Strategy: Act Local". Wired.
  109. News, ITV (November 28, 2014). "Starbucks comes to Guernsey". ITV. {{cite news}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  110. "Starbucks Honors Colombian Coffee Heritage with Entry into Colombia Retail Market and Expanded Support for Farmers". Starbucks Newsroom. Starbucks Corporation. August 26, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ December 30, 2013.
  111. "Starbucks opens in Almaty".
  112. "Starbucks to Open in Slovakia".
  113. "Starbucks opens in Slovakia".
  114. "Starbucks arriva in Italia: "Nel 2017 il primo negozio a Milano"". La Stampa. February 29, 2016. สืบค้นเมื่อ February 29, 2016.
  115. "Facts about Starbucks in the Middle East". News.starbucks.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-09. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  116. "Starbucks closes outlets in Israel". Snopes.com. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  117. "Starbucks closes coffeehouse in Beijing's Forbidden City". The New York Times. July 15, 2007. สืบค้นเมื่อ October 15, 2012.
  118. "Forbidden City Starbucks closes". BBC News. July 14, 2007. สืบค้นเมื่อ November 13, 2011.
  119. "Coffee Crisis? Starbucks Closing 600 Stores". ABC News. July 1, 2008. สืบค้นเมื่อ July 18, 2008.
  120. Adamy, Janet (July 2, 2008). "Starbucks to Shut 500 More Stores, Cut Jobs". The Wall Street Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2018-12-13.
  121. Lauren Shepherd (July 29, 2008). "Starbucks cuts 1,000 non-store jobs". USA Today. Associated Press. สืบค้นเมื่อ December 1, 2012.
  122. Allison, Melissa (July 29, 2008). "The Seattle Times: Starbucks closing 73% of Australian stores". Seattletimes.nwsource.com. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  123. "Starbucks: What went wrong?". Australian Food News. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  124. "New owners for Starbucks Australia". news.com.au. News Limited. May 28, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-04. สืบค้นเมื่อ 2017-03-05.
  125. Adamy, Janet (January 28, 2009). "Starbucks to Close More Stores". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ January 28, 2009.
  126. Allison, Melissa (March 3, 2009), "No more layoffs at Starbucks, Schultz says", The Seattle Times Blog. Archived from the original on September 21, 2010.
  127. "Hartfordbusiness.com". Hartfordbusiness.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-12. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  128. Chesto, Jon (August 28, 2009). "Patriotledger.com". Patriotledger.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2011. สืบค้นเมื่อ October 24, 2010.
  129. Patton, Leslie (July 27, 2012). "Starbucks Falls After Cutting Forecast Below Estimate". Business Week. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 5, 2012. สืบค้นเมื่อ October 12, 2012.
  130. "Starbucks และการกำเนิด "เพลงร้านกาแฟ"". เสพย์สากล. 2022-02-20.
  131. "7 ปี "สตาร์บัคส์ ไดร์ฟทรู" ในประเทศไทย จากต้นแบบที่ "พอร์โต้ ชิโน่" ขยายสู่ 31 สาขา". รายงานพิเศษ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-07. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01.
  132. "ชวนไป Starbucks Reserve ดื่มด่ำบรรยากาศและประสบการณ์ของคนรักกาแฟ | Brand Inside" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-07-14.
  133. "Starbucks Siam Square One Flagship สาขาใหม่..ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใจกลางสยาม". Ryoii (ภาษาอังกฤษ).
  134. "มีอะไรใหม่ ๆ บ้างใน Starbucks Reserve สาขาใหญ่สุดในไทย ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ?". soimilk.com (ภาษาอังกฤษ).
  135. "Starbucks licenses Thai operations to Charoen-backed venture". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-07-01.
  136. "'สตาร์บัคส์' เสิร์ฟแอลกอฮอล์ จิ๊กซอว์ใหม่...เพิ่มฐานลูกค้าไทยเบฟฯ". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-02-13.
  137. ชาวสุขุมวิทร้องเฮ ไม่ต้องข้ามไปฝั่งธนฯ แล้ว! Starbucks Reserve The Emsphere มี Mixologist Bar ขายแอลฯ แบบฉ่ำ
  138. สตาร์บัคส์สู้ศึกเมืองหลวงกาแฟ “เชียงใหม่” เปิด Starbucks Reserve รับ Specialty Coffee มาแรง
  139. "'สตาร์บัคส์' มองร้านกาแฟยังโต ลุยเปิด 30 สาขาต่อปี ย้ำไม่เลิก 'โปรฯ 1 แถม 1'". bangkokbiznews. 2024-11-03.
  140. "ไทยยังมีศักยภาพอีกมาก! 'สตาร์บัคส์' เดินหน้าขยายสาขาต่อ เปิดตัวสาขาที่ 517 กรีนเนอร์สโตร์ใหญ่สุดในไทย - Forbes Thailand". forbesthailand.com.
  141. "ไทยเบฟเคลื่อน 'สตาร์บัคส์' โต ยึดทำเลท่องเที่ยวผุดสาขาเท่าตัว". bangkokbiznews. 2023-07-07.
  142. "The Insider: Principal roasts Starbucks over steamy retro logo". Seattle Post-Intelligencer. September 11, 2006. สืบค้นเมื่อ May 23, 2007.
  143. Schultz, Howard; Dori Jones Yang (1997). Pour Your Heart Into It: How Starbucks Built a Company One Cup at a Time. New York: Hyperion. ISBN 0-7868-6315-3.
  144. Pendergrast, p. 253
  145. Rippin, Ann (2007). "Space, place and the colonies: re-reading the Starbucks' story". Critical perspectives on international business. Emerald Group Publishing. 3 (2): 136–149. doi:10.1108/17422040710744944. ISSN 1742-2043. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-11. สืบค้นเมื่อ 2018-04-17.
  146. Carl Pyrdum, "The Other Starbucks Mermaid Cover-Up", Got Medieval, August 31, 2010 (accessed March 1, 2015)
  147. Christopher Shea, "Medieval Scholar Hot on Trail of Starbucks Logo Cover-Up", Wall Street Journal Ideas Market January 31, 2011 (accessed March 1, 2015)
  148. Robert Klara, How a Topless Mermaid Made the Starbucks Cup an Icon, Ad Week, September 29, 2014, (accessed March 1, 2015)
  149. Allison, Melissa. "Starbucks co-founder talks about early days, launching Redhook and Seattle Weekly". Seattletimes.nwsource.com. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.
  150. Larimore, Rachael (October 24, 2013). "Starbucks business strategy: How CEO Howard Schultz conquered the world". Slate.com. สืบค้นเมื่อ May 9, 2014.


แหล่งข้อมูลอื่น

แก้