ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (อังกฤษ: UEFA Champions League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรประจำปีจัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลจากลีกสูงสุดในยุโรป ตัดสินผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันผ่านรอบแบ่งกลุ่มแบบพบกันหมด ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกแบบพบกันเหย้าเยือนสองนัดและรอบชิงชนะเลิศนัดเดียว ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เป็นหนึ่งในการแข่งขันฟุตบอลที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟุตบอลยุโรป ซึ่งแข่งขันโดยแชมป์ลีกระดับประเทศ (และรองชนะเลิศอย่างน้อยหรือมากกว่าหนึ่งสโมสรสำหรับบางประเทศ) ของสมาคมระดับชาติของพวกเขา
![]() | |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1955 (เปลี่ยนชื่อในปี ค.ศ. 1992) |
---|---|
ภูมิภาค | ยุโรป (ยูฟ่า) |
จำนวนทีม | 32 (รอบแบ่งกลุ่ม) 80 (ทั้งหมด) |
ผ่านเข้าไปเล่นใน | ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ |
การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง | ยูฟ่ายูโรปาลีก (ระดับที่ 2) ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก (ระดับที่ 3) |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | ![]() |
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด | ![]() |
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์ | รายชื่อผู้ถ่ายทอดสด |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
![]() |
การแข่งขันเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1955 ในชื่อ Coupe des Clubs Champions Européens (ภาษาฝรั่งเศสของยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ) และเรียกกันทั่วไปว่า ยูโรเปียนคัพ โดยเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกระหว่างสโมสรที่เป็นแชมป์ลีกในประเทศของยุโรป โดยทีมที่ชนะเลิศถือเป็นแชมป์สโมสรยุโรป การแข่งขันเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เมื่อปี ค.ศ. 1992 เพิ่มการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มแบบพบกันหมดเมื่อปี ค.ศ. 1991 และอนุญาตให้มีหลายสโมสรจากบางประเทศเข้าแข่งขันตั้งแต่ฤดูกาล 1997–1998[1] นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการขยายให้มีหลายสโมสรเข้ามาแข่งขันมากขึ้น และในขณะที่ลีกระดับชาติของยุโรปส่วนใหญ่ยังสามารถเข้าผ่านตำแหน่งแชมป์ได้เท่านั้น แต่ลีกที่แข็งแกร่งที่สุดตอนนี้สามารถเข้าแข่งขันได้ถึงสี่ทีม[2][3] สโมสรที่จบอันดับรองลงมาจากลีกระดับชาติของพวกเขาและไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ยูฟ่ายูโรปาลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับที่สอง และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 สโมสรที่ไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก จะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับที่สาม[4]
การแข่งขันรายการนี้จะเป็นการนำทีมที่มีคะแนนสะสมมากที่สุดของแต่ละลีกสูงสุดของแต่ละประเทศในทวีปยุโรปมาแข่งขันกัน โดยพิจารณาออกมาเป็นโควตาของแต่ละลีก พรีเมียร์ลีกจากอังกฤษ ลาลิกาจากสเปน เซเรียอาจากอิตาลี และ บุนเดิสลีกาจากเยอรมนี มีโควตาสี่ทีม ส่วน ลีกเอิงจากฝรั่งเศส มีโควตาสามทีมเป็นต้น ทั้งนี้ สโมสรที่ชนะเลิศมากที่สุด คือ เรอัลมาดริด (สเปน, 14 ครั้ง) อันดับสอง คือ เอซี มิลาน (อิตาลี, 7 ครั้ง) อันดับสาม คือ ลิเวอร์พูล (อังกฤษ, 6 ครั้ง) ไบเอิร์นมิวนิก (เยอรมนี, 6 ครั้ง) อันดับสี่ คือ บาร์เซโลนา (สเปน, 5 ครั้ง)
โดยสโมสรที่ชนะเลิศ 3 สมัยติดต่อกันหรือชนะเลิศครบ 5 สมัย จะได้รับถ้วยรางวัลไปเป็นกรรมสิทธิ์ของสโมสร เช่นเดียวกับถ้วยรางวัลอื่น ๆ ของยูฟ่า โดยที่ เรอัลมาดริด ได้ไปเมื่อ (ค.ศ. 1958), อายักซ์ (ค.ศ. 1973), ไบเอิร์นมิวนิก (ค.ศ. 1976), เอซี มิลาน (ค.ศ. 1994), ลิเวอร์พูล (ค.ศ. 2005), บาร์เซโลนา (ค.ศ. 2015)
ในฤดูกาลล่าสุด (2021-22) สโมสรที่ชนะเลิศ คือ เรอัลมาดริดและเป็นแชมป์สโมสรยุโรปสมัยที่ 14 ในรายการนี้ โดยเอาชนะ ลิเวอร์พูล ไป 1-0 ในเวลา 90 นาทีของนัดชิงชนะเลิศ
ประวัติแก้ไข
การแข่งขันรายการนี้ ใช้ชื่อว่า ยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ (European Champion Club's Cup) หรือชื่อย่อว่า ยูโรเปียนคัพ (European Cup) [5] เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1955 จากคำแนะนำของกาเบรียล อาโน ผู้สื่อข่าวกีฬาชาวฝรั่งเศส และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เลกิป (ฝรั่งเศส: L'Équipe) โดยการแข่งขันเริ่มต้นขึ้นใน ฤดูกาล 1955-56 โดยจัดการแข่งขันแบบเหย้าและเยือน ซึ่งกำหนดให้ทีมชนะเลิศในลีกสูงสุดของแต่ละประเทศในทวีปยุโรป จึงจะมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้ จนกระทั่งใน ค.ศ. 1992 ยูฟ่าประกาศเปลี่ยนชื่อรายการยูโรเปียนคัพมาเป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (UEFA Champions League) พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงระบบการแข่งขัน ให้ทีมอันดับรองลงไปของแต่ละลีกสามารถเข้าแข่งขันได้ ซึ่งโควตาของแต่ละลีกจะมากน้อยอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์ของประเทศนั้น ๆ ในการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรป [6]
การจัดการแข่งขัน (ฤดูกาล 2018–19 ถึง 2020–21)แก้ไข
ในการจัดการแข่งขัน สโมสรที่ชนะยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจะได้สิทธิ์ลงเล่นในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1 โดยอัตโนมัติ รวมถึง 7 สโมสรที่เป็นแชมป์ของลีกที่อยู่ในอันดับที่ 1-7 ก็จะได้สิทธิ์ลงเล่นในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1 โดยอัตโนมัติด้วยเช่นกัน แต่ถ้าสโมสรที่ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นแชมป์ของลีกที่อยู่ในอันดับที่ 1-7 จะให้สโมสรที่เป็นแชมป์ของลีกที่อยู่ในอันดับที่ 8 มาเล่นในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1 โดยอัตโนมัติแทน
สโมสรที่เข้ารอบนี้ | สโมสรจากรอบก่อนหน้า | ||
---|---|---|---|
รอบคัดเลือกก่อนรอบแรก (4 สโมสร) |
|
||
รอบคัดเลือกรอบแรก (34 สโมสร) |
|
| |
รอบคัดเลือกรอบสอง | ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก (20 สโมสร) |
|
|
ตัวแทนจากลีก (6 สโมสร) |
|
||
รอบคัดเลือกรอบสาม | ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก (12 สโมสร) |
|
|
ตัวแทนจากลีก (8 สโมสร) |
|
| |
รอบเพลย์ออฟ | ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก (8 สโมสร) |
|
|
ตัวแทนจากลีก (4 สโมสร) |
| ||
รอบแบ่งกลุ่ม (32 สโมสร) |
|
| |
รอบแพ้คัดออก (16 สโมสร) |
|
รางวัลแก้ไข
ถ้วยและเหรียญแก้ไข
เงินรางวัลแก้ไข
As of 2019–20, the fixed amount of prize money paid to the clubs is as follows:[7]
- Preliminary qualifying round: €230,000
- First qualifying round: €280,000
- Second qualifying round: €380,000
- Third qualifying round: €480,000 (Only for clubs eliminated from the champions path, since clubs eliminated from the league path qualify directly for the UEFA Europa League group stage and therefore benefit from its distribution system.)
- Base fee for group stage: €15,250,000
- Group match victory: €2,700,000
- Group match draw: €900,000
- Round of 16: €9,500,000
- Quarter-finals: €10,500,000
- Semi-finals: €12,000,000
- Losing finalist: €15,000,000
- Winning the Final: €19,000,000
การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศแก้ไข
ทำเนียบผู้ชนะเลิศแก้ไข
ชนะเลิศ (จำแนกตามสโมสร)แก้ไข
สโมสร | ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ |
---|---|---|
เรอัลมาดริด | 14 (1955-56, 1956-57, 1957-58, 1958-59, 1959-60, 1965-66, 1997-98, 1999-2000, 2001-02, 2013-14, 2015-16, 2016-17, 2017-18, 2021–22) | 3 (1961-62, 1963-64, 1980-81) |
มิลาน | 7 (1962-63, 1968-69, 1988-89, 1989-90, 1993-94, 2002-03, 2006-07) | 4 (1957-58, 1992-93, 1994-95, 2004-05) |
ไบเอิร์นมิวนิก | 6 (1973-74, 1974-75, 1975-76, 2000-01, 2012-13, 2019-20) | 5 (1981-82, 1986-87, 1998-99, 2009-10, 2011-12) |
ลิเวอร์พูล | 6 (1976-77, 1977-78, 1980-81, 1983-84, 2004-05, 2018-19) | 4 (1984-85, 2006-07, 2017-18, 2021–22) |
บาร์เซโลนา | 5 (1991-92, 2005-06, 2008-09, 2010-11, 2014-15) | 3 (1960-61, 1985-86, 1993-94) |
อายักซ์ | 4 (1970-71, 1971-72, 1972-73, 1994-95) | 2 (1968-69, 1995-96) |
อินเตอร์ | 3 (1963-64, 1964-65, 2009-10) | 2 (1966-67, 1971-72) |
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 3 (1967-68, 1998-99, 2007-08) | 2 (2008-09, 2010-11) |
ยูเวนตุส | 2 (1984-85, 1995-96) | 7 (1972-73, 1982-83, 1996-97, 1997-98, 2002-03, 2014-15, 2016-17) |
ไบฟีกา | 2 (1960-61, 1961-62) | 5 (1962-63, 1964-65, 1967-68, 1987-88, 1989-90) |
เชลซี | 2 (2011-12, 2020-21) | 1 (2007-08) |
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ | 2 (1978-79, 1979-80) | 0 |
โปร์ตู | 2 (1986-87, 2003-04) | 0 |
เซลติก | 1 (1966-67) | 1 (1969-70) |
ฮัมบวร์ค | 1 (1982-83) | 1 (1979-80) |
สเตอัวบูคูเรสตี | 1 (1985-86) | 1 (1988-89) |
มาร์แซย์ | 1 (1992-93) | 1 (1990-91) |
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | 1 (1996-97) | 1 (2012-13) |
ไฟเยอโนร์ด | 1 (1969-70) | 0 |
แอสตันวิลลา | 1 (1981-82) | 0 |
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1 (1987-88) | 0 |
เรดสตาร์ เบลเกรด | 1 (1990-91) | 0 |
อัตเลติโกเดมาดริด | 0 | 3 (1973-74, 2013-14, 2015-16) |
แร็งส์ | 0 | 2 (1955-56, 1958-59) |
บาเลนเซีย | 0 | 2 (1999-2000, 2000-01) |
ฟีออเรนตีนา | 0 | 1 (1956-57) |
ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟูร์ท | 0 | 1 (1959-60) |
เอฟเค ปาร์ตีซาน | 0 | 1 (1965-66) |
ปานาซีไนโกส | 0 | 1 (1970-71) |
ลีดส์ยูไนเต็ด | 0 | 1 (1974-75) |
แซ็งเตเตียน | 0 | 1 (1975-76) |
โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค | 0 | 1 (1976-77) |
กลึบบรึคเคอ | 0 | 1 (1977-78) |
มัลเมอ | 0 | 1 (1978-79) |
โรมา | 0 | 1 (1983-84) |
ซัมป์โดเรีย | 0 | 1 (1991-92) |
ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน | 0 | 1 (2001-02) |
มอนาโก | 0 | 1 (2003-04) |
อาร์เซนอล | 0 | 1 (2005-06) |
ทอตนัมฮอตสเปอร์ | 0 | 1 (2018-19) |
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | 0 | 1 (2019-20) |
แมนเชสเตอร์ซิตี | 0 | 1 (2020-21) |
ชนะเลิศ (จำแนกตามชาติ)แก้ไข
ทำประตูสูงสุดแก้ไข
- ณ วันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2020
ผู้เล่น | ประเทศ | ประตู | ลงเล่น | อัตราส่วน | ปี | สโมสร | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | คริสเตียโน โรนัลโด | โปรตุเกส | 136 | 177 | 0.76 | 2003– | Manchester United, Real Madrid, Juventus |
2 | ลิโอเนล เมสซิ | อาร์เจนตินา | 115 | 143 | 0.8 | 2005– | Barcelona, Paris Saint-Germain |
3 | ราอุล กอนซาเลซ | สเปน | 71 | 142 | 0.5 | 1995–2011 | Real Madrid, Schalke 04 |
4 | รอแบร์ต แลวันดอฟสกี | โปแลนด์ | 68 | 90 | 0.76 | 2011– | Borussia Dortmund, Bayern Munich |
5 | การีม แบนเซมา | ฝรั่งเศส | 65 | 120 | 0.54 | 2006– | Lyon, Real Madrid |
6 | รืด ฟัน นิสเติลโรย | เนเธอร์แลนด์ | 56 | 73 | 0.77 | 1998–2009 | PSV, Manchester United, Real Madrid |
7 | ตีแยรี อ็องรี | ฝรั่งเศส | 50 | 112 | 0.45 | 1997–2010 | Monaco, Arsenal, Barcelona |
8 | อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน | อาร์เจนตินา | 49 | 58 | 0.84 | 1955–64 | Real Madrid |
9 | อันดรีย์ เชฟเชนโค | ยูเครน | 48 | 100 | 0.48 | 1994–2012 | Dynamo Kyiv, Milan, Chelsea |
ซลาตัน อีบราฮีมอวิช | สวีเดน | 48 | 120 | 0.4 | 2001– | Ajax, Juventus, Internazionale, Barcelona, Milan, Paris Saint-Germain, Manchester United |
ตัวหนา หมายถึง นักเตะที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ลงเล่นสูงสุดแก้ไข
- ณ วันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 2020
ผู้เล่น | ประเทศ | ลงเล่น | ปี | สโมสร | |
---|---|---|---|---|---|
1 | คริสเตียโน โรนัลโด | โปรตุเกส | 178 | 2003– | Manchester United, Real Madrid, Juventus |
2 | อีเกร์ กาซียัส | สเปน | 177 | 1999–2019 | Real Madrid, Porto |
3 | ชาบี อาร์นันดัส | สเปน | 151 | 1998–2015 | Barcelona |
4 | ลิโอเนล เมสซิ | อาร์เจนตินา | 143 | 2005– | Barcelona,Paris Saint-Germain |
5 | ราอุล กอนซาเลซ | สเปน | 142 | 1995–2011 | Real Madrid, Schalke 04 |
6 | ไรอัน กิกส์ | เวลส์ | 141 | 1993–2014 | Manchester United |
7 | อันเดรส อินิเอสตา | สเปน | 130 | 2002–2018 | Barcelona |
8 | คลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ | เนเธอร์แลนด์ | 125 | 1994–2012 | Ajax, Real Madrid, Internazionale, Milan |
9 | พอล สโกลส์ | อังกฤษ | 124 | 1994–2013 | Manchester United |
เซร์ฆิโอ ราโมส | สเปน | 2005– | Real Madrid,Paris Saint-Germain |
ตัวหนา หมายถึง นักเตะที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Football's premier club competition". UEFA. 31 January 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
- ↑ "Clubs". UEFA. 12 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ "UEFA Europa League further strengthened for 2015–18 cycle" (Press release). UEFA. 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
- ↑ "UEFA Executive Committee approves new club competition" (Press release). UEFA. 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
- ↑ García, Javier; Kutschera, Ambrosius; Schöggl, Hans; Stokkermans, Karel (2009). "Austria/Habsburg Monarchy – Challenge Cup 1897–1911". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
- ↑ Ceulemans, Bart; Michiel, Zandbelt (2009). "Coupe des Nations 1930". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
- ↑ UEFA.com. "2019/20 UEFA club competitions revenue distribution system". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 July 2019.
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก |