สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส
สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส (อิตาลี: Juventus Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลจากเมืองตูริน เป็นทีมชั้นนำจากประเทศอิตาลี โดยก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) ประสบความสำเร็จมากสุดในอิตาลี อีกทั้งยังเป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์ยุโรปทั้งสามรายการ คือ ยูโรเปียนคัพ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก), ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และยูฟ่าคัพ
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | Juventus Football Club | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | La Vecchia Signora (หญิงชรา) La Fidanzata d'Italia (แฟนสาวแห่งอิตาลี) Bianconeri (ขาว-ดำ) Juve Le Zebre (ม้าลาย) | |||
ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1897 | |||
สนาม | สนามกีฬายูเวนตุส | |||
ความจุ | 42,000 | |||
ประธาน | อันเดรอา อันเจลนี | |||
ผู้จัดการ | มัสซีมีเลียโน อัลเลกรี | |||
ลีก | เซเรียอา | |||
2021–22 | อันดับที่ 4 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
ยูเวนตุส เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดใน เซเรีย อา ได้แชมป์ถึง 36 สมัย แชมป์ โกปปาอีตาเลีย 13 สมัย แชมป์ซูแปร์โกปปาอีตาเลียนา อีก 6 สมัย แชมป์ ยูโรเปียนคัพ 2 สมัย และ แชมป์ ยูฟ่าคัพ 3 สมัย ในช่วงปัจจุบัน (ตั้งแต่ฤดูกาล 2011-2020 เป็นต้นมา) ถือว่าเป็นช่วงที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยได้แชมป์เซเรียอาติดต่อกันถึง 8 สมัย
สำหรับยูเวนตุส เดิมแฟนฟุตบอลชาวไทยจะอ่านออกเสียงว่า "จูเวนตัส" จะเรียกฉายาในภาษาไทยว่า "ม้าลาย" หรือ เรียกสั้นๆว่า "ยูเว่" ส่วนฉายาในภาษาอิตาลี คือ "La Vecchia Signora" ซึ่งแปลได้ว่า "หญิงชรา" (อันเป็นฉายาเดียวกับแฮร์ธาเบอร์ลิน ในบุนเดิสลีกา เยอรมนี) [1]
ประวัติแก้ไข
ช่วงก่อตั้งแก้ไข
ยูเวนตุสก่อตั้งขึ้นปี ค.ศ. 1897 ในชื่อ สปอร์ต คลับ ยูเวนตุส โดยมีนักเรียนที่ชื่อ มัสซิโม เด'อาเซกีโล ที่ศึกษาอยู่ที่เมืองตูรินเป็นผู้ก่อตั้ง และก็ต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น สโมสรฟุตบอลยูเวนตุสในเวลาอีกสองปีถัดมา.[2] สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขัน อิตาเลียนฟุตบอลแชมเปียนส์ชิพ (ปัจจุบันคือเซเรียอา) ในช่วงปี ค.ศ. 1904 ซึ่งใช้ชุดแข่งสีดำและสีชมพูเป็นชุดเหย้าในการแข่งขันและใช้สนามเวโลโดรโมอัมเบรโต Iเป็นสนามเหย้าในการแข่งขัน ยูเวนตุสได้แชมป์ในรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905.แล้วในช่วงเดียวกันนั้นสโมสรได้เปลี่ยนสีประจำทีมจะเป็นสีขาวและสีดำลายทางและกางเกงสีดำ ซึ่งถูกเปรียบเทียบว่าเหมือนสโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษอย่าง สโมสรฟุตบอลนอตส์เคาน์ตี[3]
ในปี ค.ศ. 1906 สโมสรได้มีการแยกทางกับพนักงานของสโมสรและนักเตะบางส่วนออกไปเนื่องจากต้องการออกไปจากเมืองตูริน.[2] เมื่อประธานสโมสรอัลเฟรโดทราบเหตุการณ์ท่านกังกวลใจและไม่มีความสุขเพราะขาดนักเตะหลักในการเล่นกับ สโมสรฟุตบอลโตริโน สโมสรร่วมเมืองเดียวกันในเกมส์ ดาร์บีเดลลาโมเลและหลังจากนั้นได้ไม่นานก็ได้เกิดสงครามโลกขึ้นอีกทำให้นักเตะต่างได้แยกย้ายออกจากทีมเพื่อหลบหนี้ภัยสงครามเป็นจำนวนมาก.[4] ยูเวนตุสใช้เวลานานในการสร้างทีมขึ้นมาใหม่อย่างต่อเนื่องหลังจากจบ สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เจ้าแห่งวงการลูกหนังอิตาลีแก้ไข
หลังจากนั้นเจ้าขององค์กรธุรกิจรถยนต์(เฟียต)ในเมืองตูรินอย่าง เอโดอาร์โด อเกลลี ได้เข้ามาควบคุมกิจการของสโมสรในช่วงปีค.ศ. 1923และได้มีการสร้างสนามเหย้าใหม่ขึ้น (เนื่องจากสนามเดิมได้มีการพังทลายจากเหตุสงครามโลก)[2].พวกเขาได้ช่วยให้สโมสรคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1926 ด้วยการชนะ อัลบา โรมา ไปถึง 12-1, ด้วยการยิงของ อันโตนีโอ โวจาค ซึ่งเป็นนักเตะยอดเยี่ยมของฤดูกาล 1925-26.[3]หลังจากนั้นสโมสรได้เป็นกำลังสำคัญในวงการฟุตบอลอิตาลีตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 เป็นต้นมาและได้กลายเป็นสโมสรมืออาชีพครั้งแรกของประเทศและเป็นสโมสรแรกที่มีแฟนคลับกระจายอยู่หลายประเทศ[5][6].ในขณะนั้นสโมสรอยู่ภายใต้การคุมทีมของ การ์โล การ์ซาโน อดีตผู้จัดการทีมชาตอิตาลี ซึ่งเขาสามารถนำยูเวนตุสได้แชมป์ลีกในระดับประเทศได้ถึง 4 สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1934 และในช่วงนั้นมีนักเตะระดับสตาร์ชื่อดังมากมายของสโมสรอาทิเช่น ไรมุนโด ออร์ซิ, ลูอิกี เบอร์โทลินี, จิโอวานนี เฟอร์รารี, ลุยส์ มอนตี และอื่นๆอีกมากมาย
สโมสรได้ย้ายไปใช้สนามเหย้าใหม่คือ สตาดีโอโอลิมปิกโกดิโทริโน เป็นสนามเหย้า ในช่วงปี ค.ศ. 1933.แต่หลังจากนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 เป็นต้นมาสโมสรไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใหญ่มาได้เลย.หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง, กีอันนี อักเนลลี ได้เขามารับตำแหน่งประธานสโมสร.[2]ต่อมาสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ลีกมาได้อีก 2 สมัยในช่วงฤดูกาล 1949-50 และ 1951-52 โดยในช่วงนั้นสโมสรได้อยู่ภายใต้การคุมทีมของ เจสเซ คาร์เวอร์ ผู้จัดการทีมชาวอังกฤษ.ในฤดูกาล1957-58 สโมสรได้เซ็นสัญญากับสองกองหน้าชื่อดังอย่าง โอมาร์ ซีโบรี นักเตะลูกครึ่งอิตาลี-อาร์เจนตินา และ จอห์น คาร์เลส นักเตะชาวเวลส์ โดยพวกเขาได้เล่นรวมกับ กีอัมปีเอโร โบนีเปอร์ตี นักเตะชื่อดังของสโมสรในเวลานั้น โดยทั้งสามคนเป็นกำลังสำคัญของยูเวนตุสมาโดยตลอด.ต่อมานักเตะใหม่อย่างซีโบรีก็เป็นนักเตะคนแรกของสโมสรที่ได้รับรางวัล นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป ในปี ค.ศ. 1961.ในปีเดียวกันนั้นพวกเขาชนะสโมสรฟุตบอลฟีออเรนตีนา ซึ่งสามารถคว้าแชมป์เซเรียอามาครองได้เป็นสมัยที่ 11 ได้สำเร็จและคว้าแชมป์โกปปาอีตาเลียได้ในฤดูกาลเดียวกันพร้อมสร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์สองอย่างครั้งแรกพร้อมกันเป็นครั้งแรกของสโมสรและโบนีเปอร์ตีดาวยิงสูงสุดของสโมสร ณ เวลานั้นก็ได้ตัดสินใจเลิกเล่นอาชีพฟุตบอลไปพร้อมสร้างสถิติทำประตูสูงสุดอีกทั้งหมด 182 ประตู
ในช่วงทศวรรษต่อมาสโมสรก็ได้แชมป์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล1966-67,[3].ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1970 ยูเวนตุสได้เพิ่มความแข็งแกร็งในแต่ละตำแหน่งให้มากขึ้นด้วยการเซ็นสัญญากับ เซสเมียรฺ์ เวียฟซาปาเลก ผู้จัดการทีมชาวเช็กเข้ามาคุมทีมและนำยูเวนตุสคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล1971-72 และ 1972-73,[3]โดยมีนักเตะชื่อดังหลายคนอาทิเช่น โรแบร์โต เบตเตกา, ฟรานโก กาอูซีโอ และ โชเซ อัลตาฟีนี.ในช่วงที่เหลือของทศวรรษที่ 70 สโมสรได้แชมปฺ์ลีกมากขึ้นซึ่งได้มาถึง 5 สมัย โดยมีกองหลังตัวเก่งอย่าง เกเอตาโน ซีซ์เรีย โดยมีผู้จัดการทีม ณ ขณะนั้นคือจีโอวานนี ตราปัตโตนี เป็นคนที่ช่วยนำสโมสรใหก้าวสู่ความยิ่งใหญ่อย่างต่อเนื่องจนถึงทศวรรษที่ 80[7]
ความยิ่งใหญ่ในเวทียุโรปแก้ไข
ในยุคของตราปาตโตนีเป็นยุคที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งอยู่ในช่วงยุค ค.ศ. 1980;สโมสรเริ่มต้นได้ดีในช่วงทศวรรษใหม่ด้วยการคว้าแชมป์ลีก 3 สมัย โดยในปี ค.ศ. 1984.[3] สโมสรสามารถคว้าแชมป์ลีกได้เป็นสมัยที่ 20 ของสโมสร.และทางสมาพันธ์ฟุตบอลอิตาลีได้รับการอนุญาตจากสโมสรด้วยการให้เพิ่มดาวสีทองดวงที่สองบนเสื้อชุดแข่งของสโมสร.[7]ต่อมานักเตะของสโมสรอย่าง เปาโล รอสซี ได้ถูกเป็นการดึงดูดและควาสนใจในการเสนอชื่อเขาในการแข่งขันชิง นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของทวีปยุโรป เนื่องจากเขาเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการนำฟุตบอลทีมชาติอิตาลีคว้าแชมป์ ฟุตบอลโลก 1982 และเขายังเป็นทั้งดาวซัลโวและนักเตะยอดเยี่ยมประจำรายการนี้อีกด้วย.[8]
นักเตะชาวฝรั่งเศสของสโมสรอีกคนอย่าง มีแชล ปลาตีนี ก็ถูกเสนอชื่อเป็นนักเตะยอดเยี่ยมอีกคน.ซึ่งเขาก็สามารถคว้ารายการนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของยุโรปได้ถึง 3 สมัยติดต่อกันในปี 1983, 1984 และ 1985.[9]โดยยูเวนตุสเป็นสโมสรเดียวที่มีนักเตะจากสโมสรคว้าแชมป์รายการนี้ในรอบ 4 ปีติดต่อกัน.[9] โดยนัดที่สำคัญของปลาตีนีและเป็นนัดที่สำคัญของสโมสรคือนัดที่ปลาตีนีทำประตูชัยในนัด ยูโรเปียนส์คัพ ฤดูกาล 1985 ช่วยให้สโมสรเอาชนะ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากอังกฤษไป 1-0 ซึ่งทำให้ยูเวนตุสสามารถคว้าแชมป์ ยูโรเปียนส์คัพ มาเป็นสมัยแรกของสโมสรได้สำเร็จ.แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังมีโศกนาฏกรรมที่แฟนบอลทุกคน ณ ขณะนั้นยังจำกันไม่ได้ลืม.[10]ในปีนี้เป็นปีที่ยูเวนตุสกลายเป็นสโมสรแรกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลยุโรปที่ได้รับรางวัลทั้งสามที่สำคัญการแข่งขันของยูฟ่า[11][12] และหลังจากที่ประสบความสำเร็จของพวกเขาในระดับทวีปถ้วยสโมสรก็กลายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลและยังคงเป็นสโมสรหนึ่งเดียวของโลกในปัจจุบันที่ได้รับรางวัลจากสมาพันธ์การแข่งขันทั้งหมด.[13]
สโมสรคว้าแชมป์ เซเรียอา ได้ในฤดูกาล1985-86 ซึ่งเป็นแชมป์สมัยที่ 22 ของสโมสรและเป็นแชมป์สุดท้ายในการคุมทีมของตราปาตโตนีพร้อมกับเป็นแชมป์สุดท้ายในช่วงทศวรรษที่ 80 ต่อมาในปี ค.ศ. 1990 ยูเวนตุสได้ย้ายสนามเหย้าไปใช้สนาม สตาดีโอเดลเลอัลปี ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามที่จะใช้แข่งขัน ฟุตบอลโลก 1990
ลิปปีผู้นำความสำเร็จแก้ไข
มาร์เชลโล ลิปปีได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้กับสโมสรโดยเริ่มคุมทีมตั้งแต่ฤดูกาล1994-95.[2].ฤดูกาลของเขากับยูเวนตุสก็สามารถนำทีมคว้าแชมป์เซเรียอาได้สำเร็จซึ่งครั้งล่าสุดที่สโมสรได้คือในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980.[3]โดยมีผู้เล่นชื่อดังหลายคนอาทิเช่น ซีโร เฟอร์รารา, โรแบร์โต บักโจ้, จีอันลูกา วีอัลลี และนักเตะเยาวชนะชื่อดังอย่าง อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร.ลิปปีสามารถนำสโมสรเขาไปเล่นแชมเปียนส์ ในฤดกาล 1995-96ซึ่งเขานำยูเวนตุสไปถึงรอบชิงชนะเลิศกับสโมสรเอเอฟซีอาแจ็กซ์ผลออกมาเสมอกันไป 1-1 โดยยูเวนตุสได้จาก ฟาบรีซีโอ ราเวเนลลี ก่อนที่จะชนะด้วยการดวลลูกโทษไป 2-4 แล้วทำให้สโมสรคว้าแชมป์มาได้เป็นสมัยที่ 2.[14]
มาร์เชลโล ลิปปี หลังจากคว้าแชมป์ยุโรปได้ไม่นานสโมสร[15]สโมสรได้เสริมทัพด้วยการซื้อผู้เล่นชื่อดังที่มีประสิทธิภาพหลายคนอาทิเช่น ฟีลิปโป อินซากี, ซีเนดีน ซีดาน, เอ็ดการ์ ดาวิดส์.ซึ่งผลจากการซื้อผู้เล่นใหม่มาทำให้สโมสรคว้าแชมป์เซเรียอาได้ใน 1996-97 และ 1997-98 และในช่วงเดียวกันนั้นสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ และ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ได้ในปี ค.ศ. 1996.ต่อมาในปี ค.ศ. 1997 และปี ค.ศ. 1998 สโมสรสามารถเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ถึง 2 รอบ แต่ก็ได้แค่รองแชมป์ทั้งสองรอบด้วยการปราชัยให้แก่ โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ และ เรอัลมาดริด ตามลำดับ.[16][17]
หลังจากผ่านไปนาน ลิปปีก็ได้กลับมาคุมทีมอีกครั้งในปี ค.ศ. 2001.แล้วได้ซื้อผู้เล่นใหม่มามากมายอาทิเช่น จันลุยจี บุฟฟอน, ดาวิด เทรเซกูเอต, ปาเวล เนดเวด และ ลีเลียน ทูร์ราม มาช่วยให้สโมสรสามารถคว้าแชมป์เซเรียอาได้ในฤดูกาล 2001-02และ2002-03[3] ในปี ค.ศ. 2003 ยูเวนตุสในฐานะแชมลีกได้เข้าไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจนเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศโดยพบกับ เอซี มิลานสโมสรจากประเทศเดียวกันผลออกมาเสมอ 0-0 แต่ยูเวนตุสก็เป็นฝ่ายแพ้ในการดวลจุดโทษ.จากการแข่งขันนี้ทำให้ลิปปีได้ลาออกจากผู้จัดการทีมแล้วไปคุม ฟุตบอลทีมชาติอิตาลีแล้วทำให้ต้องหยุดสถิติการนำยูเวนตุสคว้าแชมป์รายการทั้งหมดไว้แค่ 13 รายการ แต่เขาก็ยังเป็นหนึ่งในผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จกับยูเวนตุสอยู่ในประวัติศาสตร์ของสโมสร.[7]
เรื่องอื้อฉาวในอิตาลีแก้ไข
ฟาบีโอ กาเปลโล ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมให้สโมสรในปี ค.ศ. 2004.คาเปลโลสามารถนำทีมได้อันดับที่ 3 ของลีก.ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 2006 ยูเวนตุสกลายเป็นหนึ่งในห้าสโมสรที่เชื่อมโยงกับเรื่องอื้อฉาวในการล้มบอลผลจากการลงโทษทำให้ยูเวนตุสได้ถูกลดชั้นลงไปเล่นเซเรียบีครั้งแรกเป็นประวัติศาสตร์ของสโมสร.นอกจากนั้นสโมสรก็ได้ปลดกาเปลโลที่สามารถนำทีมได้แชมป์ลีกในปี ค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2006 (โดนริบแชมป์) ออกจากเป็นผู้จัดการทีม .[18]
ผู้เล่นคนสำคัญหลายคนที่เหลือต่อไปได้ออกจากสโมสรหลังจากสโมสรได้ถูกปรับชั้นให้ลงไปเล่นในเซเรียบีอาทิเช่น ซลาตัน อีบราฮีมอวิช, ฟาบีโอ กันนาวาโรแต่ผู้เล่นคนอื่นคนอื่นก็ยังตัดสินใจอยู่ร่วมช่วยสโมสรเพื่อให้กับไปเล่นในเซเรียอาต่อเช่น อาเลสซันโดร เดล ปีเอโร, เนดเวด ขณะที่ผู้เล่นเยาวชนจากพรีมาเวรา เช่น เซบัสเตียน โจวินโก และ เคลาดีโอ มาร์คีซีโอ ก็ได้เลื่อนขั้นเป็นผู้เล่นตัวจริงของสโมสรมาช่วยในทีมชุดใหญ่.หลังจากนั้นพวกเขาก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาสู่เซเรียอาได้สำเร็จ โดยเป็นสโมสรแรกที่ตกชั้นจากเซเรียเอไปสู่เซเรียบีแล้วใช้เวลาแค่ 1 ฤดูกาลสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ แล้วกัปตันทีมของสโมสรอย่างอาเลสซันโดร เดล ปีเอโรก็ยังเป็นดาวซัลโวสูงสุดของเซเรียบีในฤดูกาล 2006-07 ด้วยการทำไป 21 ประตูอีกด้วย
กลับสู่เซเรียอาแก้ไข
ตั้งแต่กลับสู่ เซเรียอา ได้ในฤดูกาล2007-08 ด้วยการนำทีมของอดีตผู้จัดการทีมของสโมสรฟุตบอลเชลซีอย่าง เคลาดีโอ รานีเอรีซึ่งมาคุมทีมสองฤดูกาล.[19].สโมสรสามารถจบอันดับที่ 3 ได้หลังจากเลื่อนชั้นขึ้นมาในฤดูกาลแรก และในรอบคัดเลือก ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008-09 โดยในรอบเพลย์ออฟถล่มทีมจากสโลวาเกียได้ถึง 5-1 แล้วในรอบแบ่งกลุ่มพวกเขาสามารถเอาชนะเรอัลมาดริดได้ในบ้านและเป็นแชมป์กลุ่มจึงสามารถทะลุเข้ารอบต่อไปได้แต่ก็ต้องปราชัยให้กับ สโมสรฟุตบอลเชลซี ไปด้วยสกอร์ 3-2.ก่อนจบฤดูกาลสองนัดสุดท้ายรานีเอรีก็โดนไล่ออกหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์, และสโมสรได้แต่งตั้ง ซิโร เฟอร์รารา เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวในการคุมทีมสองเกมส์สุดท้ายของฤดูกาล[20] ก่อนที่จะถูกแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมอย่างเป็นทางการในฤดูกาล 2009-10.[21]
อย่างไรก็ตามเฟอร์ราราก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นผู้จัดการทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จกับสโมสร โดยนำยูเวนตุสตกรอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มซึ่งได้แค่อันดับที่ 3 แล้วในโกปปาอีตาเลียก็แพ้ให้กับอินเตอร์มิลานในรอบ 8 ทีมสุดท้าย แล้วยังนำยูเวนตุสได่แค่อันดับที่ 6 ในลีก.แล้วในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010สโมสรได้ปลดเฟอร์ราราออก, แล้วแต่งตั้งอัลแบร์โต ซัคเคโรนีเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวแต่ซัคเคโรนีก็ไม่ได้ช่วยให้ยูเวนตุสมีผลงานที่ดีขึ้นได้ซึ่งสโมสรจบอันดับ 7 ของเซเรียอา ในฤดูกาล 2010-11, อันเดรอา อักเนลลี ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแทน จีน-คลูเด บลันซ์.โดยอักเนลลีได้แต่งตั้งให้อเลสซีโอ เซกโกกับอดีตผู้จัดการทีมของอูนีโอเนกัลโชซัมป์โดเรียอย่าง ลูอีกี เดลเนรีเป็นผู้อำนวยการกีฬาของสโมสรแทนซาดเชโรนี และเขาก็ได้แต่งตั้งให้ กีอูเซปเป มารอตตา เป็นผู้จัดการทีมของสโมสร แต่การคุมทีมของเดลเนรีก็ล้มเหลวเนื่องจากทำผลงานไม่ได้ดีอย่างที่คิดทางสโมสรจึงแต่งตั้งงให้อดีตผู้เล่นของสโมสรและเป็นผู้เล่นที่แฟนบอลทุกคนชื่นชอบและรู้จักกันดีอย่าง อันโตนีโอ คอนเต ซึ่งคอนเตทำผลงานได้ดีในการเป็นผู้จัดการทีมด้วยการนำทีม สโมสรฟุตบอลเซียนา เลื่อนชั้นจากเซเรียบีขึ้นมาสู่เซเรียอาได้สำเร็จ.
ด้วยแท็กติกและความฉลาดของคอนเตในฐานะผู้จัดการทีมทำให้เขาสามารถคุมทีมยูเวนตุสไปทั้งตลอดฤดูกาล 2011-12. ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาลที่สโมสรต้องแข่งขันแย่งแชมป์เซเรียอากับคู่แข่งทางเหนืออย่างสโมสรเอซี มิลาน โดยสถานการที่ถือว่าตัดสินแชมป์ได้อย่างแท้จริงคือในนัดที่ 37 ของลีกซึ่งยูเวนตุสเอาชนะกายารีไป 2-0 และมิลานแพ้ให้กับคู้แข่งร่วมเมืองอย่างอินเตอร์ มิลานไป 4-2.หลังจากนั้นในนัดสุดท้ายยูเวนตุสเอาชนะสโมสรฟุตบอลอลันตานาไปได้ 3-1 ในนัดสุดท้าย.ซึ่งทำให้ยูเวนตุสเป็นทีมแรกของเซเรียอาที่ไม่แพ้ให้กับทีมใดตลอด 38 เกมที่ทำการแข่งขัน.[22]
แบรนด์เสื้อและผู้สนับสนุนแก้ไข
ปีที่ใช้ | แบรนด์เสื้อ | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|
1979–1989 | Kappa | Ariston |
1989–1992 | Upim | |
1992–1995 | Danone | |
1995–1998 | Sony | |
1998–1999 | D+Libertà digitale / Tele+ | |
1999–2000 | CanalSatellite / D+Libertà digitale / Sony | |
2000–2001 | Lotto | Sportal.com / Tele+ |
2001–2002 | Fastweb / Tu Mobile | |
2002–2003 | Fastweb / Tamoil | |
2003–2004 | Nike | |
2004–2005 | Sky Sport / Tamoil | |
2005–2007 | Tamoil | |
2007–2010 | FIAT Group (New Holland) | |
2010–2012 | BetClic / Balocco | |
2012–2015 | FIAT S.p.A (Jeep) | |
2015- | Adidas | FIAT S.p.A (Jeep) |
สนามที่ใช้ในการแข่งขันแก้ไข
สโมสรยูเวนตุสนับตั้งแต่ก็ตั้งสโมสรขึ้นมาในปี ค.ศ. 1897 มาจนถึงปัจจุบันสโมสรได้เปลี่ยนสนามเหย้ามาแล้วทั้งหมด 5 สนาม โดยแยกตามปีได้ดังนี้
- สนามเวโลโดรโมอัมเบรโต I ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1904 ถึง ค.ศ. 1909
- สนามสตาดีโอดีคอร์ซีเซบาสโตโปลี ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1909 ถึง ค.ศ. 1922
- สนามสตาดีโอดีคอร์โซมาร์ซีเกลีย ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1923 ถึง ค.ศ. 1933
- สนามสตาดีโอโอลิมปีโกโตริโน ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1933 ถึง ค.ศ. 1990 / ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2011
- สนามสตาดีโอเดลเลอัลปี ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 2006
- สนามยูเวนตุสสเตเดียม ใช้ในช่วงปี ค.ศ. 2011 ถึง ปัจจุบัน
ผู้เล่นแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
- ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2022[23]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
สตาฟโค้ชของสโมสรแก้ไข
ตำแหน่ง | เจ้าหน้าที่ |
---|---|
ผู้จัดการทีม | มัสซีมีเลียโน อัลเลกรี |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | จิโอวานนี่ มาตูส์เชียลโล่ |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | คลาดิโอ ฟิลลิปปี |
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาร์โก้ เอียนนี่ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟิตเนส | เดเนียล ตอญาคซินี่ |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | อันเดรีย เปอตูซิโอ้ |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | ดาวิด โลซี่ |
หัวหน้าผู้ฝึกสอนเทรนนิงเชค | โรแบร์โต ซาสซี |
อ้างอิง: Juventus.com
สถิติผู้เล่นแก้ไข
สถิติทำประตูสูงสุดแก้ไข
- อเลสซานโดร เดล ปีเอโร - 272
- จามปีเอโร โบนีแปร์ตี - 182
- โรแบร์โต เบตเตก้า - 178
- โอมาร์ ซิวอรี - 167
- เฟลีเซ ปลาซีโด โบเรล II -161
สถิติเล่นให้สโมสรสูงสุดแก้ไข
- อเลสซานโดร เดล ปีเอโร - 629
- เกตาโน ชีเรีย -552
- จูเซปเป ฟูรีโน -528
- จันลุยจี บุฟฟอน -509
- โรเบอร์โต เบตเตกา - 481
ประวัติเกียรติยศของสโมสรแก้ไข
ยูเวนตุสเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของอิตาลีตามประวัติศาสตร์ โดยคว้าแชมป์มาครองได้ถึง 40 รายการ และยังเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีชื่อเสียง และเกียรติประวัติมากที่สุดในโลก เพราะสามารถคว้าแชมป์ระดับนานาชาติได้ถึง 11 รายการ ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จในระดับนี้เป็นอันดับ 3 ในยุโรป และอันดับ 6 ของโลก
ทีมหญิงชราทีมนี้ยังได้มีดาวสีทองสำหรับความยอดเยี่ยมบนเสื้อของทีม 2 ดวง เพื่อแสดงถึงการคว้าแชมป์ลีกนับครั้งไม่ถ้วน โดยการคว้าแชมป์ 10 ครั้ง จะได้สิทธิ์ในการติดดาว 1 ดวง แชมป์ 10 ครั้งแรกนั้นอยู่ในช่วงฤดูกาล 1957-58 และครบ 20 ครั้งในฤดูกาล 1981-82 นอกจากความยิ่งใหญ่ในประเทศ ยูเวนตุสยังเป็นสโมสรเดียวที่ได้แชมป์รายการระดับนานาชาติครบทุกรายการ
เบียงโคเนรีถูกจัดอันดับให้อยู่อันดับ 7 และอันดับสูงสุดของทีมจากอิตาลี ในการจัดอันดับสโมสรของฟีฟ่าในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000)
ขณะเดียวกันยูเวนตุสยังมีชื่อเสียงในด้านลบเกี่ยวกับอิทธิพลมืดในวงการฟุตบอลอิตาเลียน เหตุการณ์ที่โด่งดังที่สุดคือ กัลโช่โปลี ซึ่งยูเวนตุส และอีกหลายๆทีม ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีกำหนดผู้ตัดสินในนัดที่ตัวเองลงแข่ง โดยมีหลักฐานเป็น ซิมการ์ดบันทึกบทสนทนาในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งแม้จะไม่มีหลักฐานชี้ไปถึงการกำหนดผลการแข่งขัน แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ศาลกีฬาตัดสินให้ยูเวนตุสตกชั้น และถูกริบแชมป์ ในขณะที่ทีมมิลาน ฟิออเรนติน่า และลาซิโอถูกตัดแต้ม ซึ่งแม้ภายหลังจะมีการตรวจสอบพบหลักฐานที่ทีมอินเตอร์ มิลานก็มีส่วนพัวพันกับคดีนี้ เพราะมีการตรวจพบหลักฐานว่า อินเตอร์มิลานก็มีการติดต่อขอกำหนดตัวผู้ตัดสินในนัดที่ทีมลงแข่ง อีกทั้ง Moratti ผู้เป็นเจ้าของทีม ยังมีหุ้นส่วนใหญ่ใน บริษัทสื่อสาร TIM แต่เนื่องจากคดีหมดอายุความ ทำให้อินเตอร์ มิลานไม่ได้ถูกสอบสวน หรือริบแชมป์ย้อนหลัง แต่อย่างใด
เกียรติประวัติแก้ไข
ระดับประเทศแก้ไข
- เซเรียอา[24]
- ชนะเลิศ (36): 1905, 1925–26,[25] 1930–31, 1931–32, 1932–33, 1933–34, 1934–35, 1949–50, 1951–52, 1957–58, 1959–60, 1960–61, 1966–67, 1971–72, 1972–73, 1974–75, 1976–77, 1977–78, 1980–81, 1981–82, 1983–84, 1985–86, 1994–95, 1996–97, 1997–98, 2001–02, 2002–03, 2011–12, 2012–13, 2013–14, 2014–15, 2015–16, 2016–17, 2017–18, 2018–19, 2019–20
- เซเรียบี
- ชนะเลิศ (1): 2006–07
ระดับทวีปยุโรปแก้ไข
- ยูโรเปียนคัพ/ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[26]
- ชนะเลิศ (2): 1984–85, 1995–96
- ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ
- ชนะเลิศ (1): 1983–84
- ยูฟ่าคัพ/ยูฟ่ายูโรปาลีก[27]
- ชนะเลิศ (3): 1976–77, 1989–90, 1992–93
- ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ[28]
- ชนะเลิศ (1): 1999
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ[29]
- ชนะเลิศ (2): 1984, 1996
ระดับโลกแก้ไข
- อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ[30]
- ชนะเลิศ (2): 1985, 1996
หุ้นของสโมสรแก้ไข
ก่อตั้ง | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 |
---|---|
รายได้ | €172,066,450 (2010–11) |
รายได้จากการดำเนินงาน | (€92,154,792) (2010–11) |
รายได้สุทธิ | (€95,414,019) (2010–11) |
สินทรัพย์ | €334,040,001 (2010–11) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | (€4,951,466) (2010–11) |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ GolfGear (2012-05-11). "ทำไมถึงเรียกแฮร์ธ่าว่า old lady (หญิงชรา) ครับ". พันทิปดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2016-12-18.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Juventus Football Club: The History". Juventus Football Club S.p.A official website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-29. สืบค้นเมื่อ 9 August 2008.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Modena, Panini Edizioni (2005). Almanacco Illustrato del Calcio – La Storia 1898–2004.
- ↑ "FIFA Classic Rivalries: Torino vs Juventus". Fédération Internationale de Football Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-14. สืบค้นเมื่อ 29 June 2007.
- ↑ Hazzard, Patrick; Gould, David (2001). Fear and loathing in world football. Berg Publishers. ISBN 1-85973-463-4.
- ↑ Papa 1993, p. 271
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Albo d'oro Serie A TIM". Lega Nazionale Professionisti Serie A (ภาษาอิตาลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-18. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
- ↑ Glanville 2005, p. 263
- ↑ 9.0 9.1 "European Footballer of the Year ("Ballon d'Or")". The Record Sport Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 8 June 2007.
- ↑ "Olsson urges anti-racism action". Union des Associations Européennes de Football. 13 May 2005. สืบค้นเมื่อ 22 January 2011.
- ↑ "Giovanni Trapattoni". Union des Associations Européennes de Football. 31 May 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 December 2010.
- ↑ "Un dilema histórico" (ภาษาสเปน). El Mundo Deportivo. 23 September 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 September 2008.
- ↑ ข้อผิดพลาดสคริปต์: ฟังก์ชัน "harvard_core" ไม่มีอยู่
- ↑ "1995/96: Juve hold their nerve". Union des Associations Européennes de Football. 22 May 1996.
- ↑ "1996: Dazzling Juve shine in Paris". Union des Associations Européennes de Football. 1 March 1997.
- ↑ "UEFA Champions League 1996–97: Final". Union des Associations Européennes de Football. 28 May 1997.
- ↑ "UEFA Champions League 1997–98: Final". Union des Associations Européennes de Football. 20 May 1997.
- ↑ "Italian trio relegated to Serie B". BBC. 14 July 2006. สืบค้นเมื่อ 14 July 2006.
- ↑ "Ranieri appointed Juventus coach". BBC News. 4 June 2007. สืบค้นเมื่อ 4 June 2007.
- ↑ "Via Ranieri, ecco Ferrara" (ภาษาอิตาลี). Union des Associations Européennes de Football. สืบค้นเมื่อ 19 May 2009.
- ↑ "Ferrara handed Juventus reins". Union des Associations Européennes de Football. สืบค้นเมื่อ 5 June 2009.
- ↑ "A Scudetto built on defense". juventus.com. 15 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-06. สืบค้นเมื่อ 2013-04-11.
- ↑ "First Team Men". Juventus.com. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
- ↑ The 2004-05 and 2005-06 Italian League championship titles were stripped as consequence of the 2006 Serie A scandal.
- ↑ Up until 1929, the top division of Italian football was the Federal Football Championship, since then, it has been the Lega Calcio Serie A.
- ↑ Up until 1992, the European football's premier club competition was the European Champion Clubs' Cup; since then, it has been the ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก.
- ↑ The European Inter-Cities Fairs Cup (1958–1971) was a football tournament organized by foreign trade fairs in European seven cities (London, Barcelona, Copenhagen, and others) played by professional and –in its first editions- amateur clubs. Along these lines, that's not recognized by the Union of European Football Associations. See: "History of the UEFA Cup". uefa.com. สืบค้นเมื่อ August.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) (help). - ↑ "European team profiles: Juventus F.C." uefa.com. สืบค้นเมื่อ 26 December.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) (help). - ↑ The UEFA Super Cup 1985 final between the Old Lady and Everton, 1984-85 Cup Winners' Cup winners not played due to the Heysel Stadium disaster. See: "History of the UEFA Super Cup". uefa.com. สืบค้นเมื่อ August.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|accessyear=
ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=
) (help). - ↑ Up until 2004, the main FIFA football club competition was the Intercontinental Champions Club' Cup (so called European / South American Cup); since then, it has been the FIFA World Club Championship.