สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา

สโมสรฟุตบอลในเบอร์มิงแฮม, อังกฤษ

สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา (อังกฤษ: Aston Villa Football Club) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วิลลา เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพตั้งอยู่ที่ แอสตัน, เบอร์มิงแฮม, อังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ ก่อตั้งใน ค.ศ. 1874 และใช้วิลลาพาร์กเป็นสนามเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1897 แอสตันวิลลาเป็นหนึ่งในสโมสรที่เก่าแก่ที่สุดและประสบความสำเร็จมากที่สุดในอังกฤษ โดยชนะเลิศฟุตบอลลีกเฟิสต์ดิวิชัน 7 สมัย, เอฟเอคัพ 7 สมัย, อีเอฟแอลคัพ 5 สมัย, ยูโรเปียนคัพและยูโรเปียน (ยูฟ่า) ซูเปอร์คัพอย่างละหนึ่งสมัย

แอสตันวิลลา
Aston Villa Football Club
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา
ฉายาเดอะวิลลันส์
เดอะไลออน
สิงห์ผงาด
สิงห์ผยอง
ชื่อย่อวิลลา
ก่อตั้ง1874; 150 ปีที่แล้ว (1874)
สนามวิลลาพาร์ก
Ground ความจุ42,657[1]
เจ้าของนัสเซฟ ซาวิริส
เวส เอเดนส์
ประธานนัสเซฟ ซาวิริส[2]
ผู้จัดการอูไน เอเมรี
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 7 จาก 20
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
ฤดูกาลปัจจุบัน

แอสตันวิลลาเป็นสโมสรชั้นนำของอังกฤษตั้งแต่ทศวรรษ 1880 โดยมีชื่อเสียงจากการผ่านบอลสั้นและรวดเร็วภายใต้การนำของ จอร์จ แรมซีย์ ชาวสกอต เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลอาชีพคนแรกของโลกใน ค.ศ. 1886 สโมสรมีอิทธิพลต่อการก้าวไปสู่ความเป็นมืออาชีพของกีฬาใน ค.ศ. 1885 และ วิลเลียม แม็คเกรเกอร์ ผู้อำนวยการวิลลา เขาเป็นผู้ก่อตั้งฟุตบอลลีกครั้งแรกของโลกใน ค.ศ. 1888[3][4][5][6]

จอร์จ แรมซีย์ คว้าแชมป์ลีกแชมเปียนชิพ 6 สมัย และเอฟเอคัพ 6 สมัย ทำให้แอสตันวิลลาเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอังกฤษตั้งแต่ทศวรรษ 1890 จนถึงทศวรรษ 1960 วิลลาทำประตูได้ 128 ประตูในฤดูกาล 1930–31 ซึ่งยังคงเป็นสถิติสูงสุดตลอดกาล[7] อย่างไรก็ตาม ผลงานของสโมสรเริ่มตกลงเป็นครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษ 1930 ต่อมาในทศวรรษ 1940 และ 50 โดยทั่วไปเป็นช่วงเวลาธรรมดา ตามด้วยผลงานของสโมสรที่ตกลงอย่างมากในทศวรรษ 1960 ซึ่งนำไปสู่การเข้าครอบครองสโมสรโดย ดัก เอลลิส ใน ค.ศ. 1968 และการตกชั้นครั้งแรกและครั้งเดียวของวิลลาไปสู่ระดับที่สามของฟุตบอลอังกฤษในฤดูกาล 1969–70 วิลลากลับสู่ลีกระดับบนอีกครั้งตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 โดยผู้จัดการทีม รอน ซอนเดอส์ ซึ่งนำสโมสรชนะเลิศแชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 7 ในฤดูกาล 1980–81 พวกเขากลายเป็นสโมสรที่สี่ของอังกฤษที่ชนะเลิศยูโรเปียนคัพใน ฤดูกาล 1981–82 ตามมาด้วยยูโรเปียนซูเปอร์คัพใน ค.ศ. 1982

แอสตันวิลลาเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 1992 หนึ่งในสามสโมสรที่เป็นสมาชิกก่อตั้งของทั้งฟุตบอลลีกและพรีเมียร์ลีก สโมสรเข้าไปแข่งขันในรายการฟุตบอลยุโรปเป็นประจำในทศวรรษ 1990 แต่หลังจากนั้นสโมสรต้องดิ้นรนเพื่อแข่งขันกับสโมสรชั้นนำที่มีการใช้จ่ายในระดับสูง ดัก เอลลิส ได้ขายหุ้นของเขาในสโมสรให้กับมหาเศรษฐีชาวอเมริกา แรนดี เลิร์นเนอร์ ซึ่งความเป็นเจ้าของสโมสรสิ้นสุดลงด้วยด้วยการตกชั้นครั้งแรกและครั้งเดียวของวิลลาจากพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2015–16 สโมสรกลับสู่พรีเมียร์ลีกในปี ค.ศ. 2019

แอสตันวิลลาใช้เวลาอยู่บนลีกสูงสุด 109 ฤดูกาล เป็นสถิติสูงสุดอันดับที่สองของสโมสรใด ๆ และให้นักเตะกับทีมชาติอังกฤษ 76 คน เป็นสถิติสูงสุดอันดับที่สองของสโมสรใด ๆ เช่นกัน ปัจจุบันแอสตันวิลลาอยู่ในอันดับที่ 5 ของตารางลีกสูงสุดตลอดกาลของอังกฤษนับตั้งแต่ก่อตั้งใน ค.ศ. 1888[8] วิลลาเป็นสโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับที่ 7 ในฟุตบอลอังกฤษจากการแข่งขันที่ได้รับรางวัล

วิลล่ามีการแข่งขันท้องถิ่นที่ดุเดือดกับ เบอร์มิงแฮมซิตี เรียกว่า เซคันด์ซิตีดาร์บี โดยแข่งขันตั้งแต่ ค.ศ. 1879[9] นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันในท้องถิ่นกับ เวสต์บรอมมิชอัลเบียน เรียกว่า เวสต์มิดแลนส์ดาร์บี สีชุดการแข่งขันดั้งเดิมของแอสตันวิลลาคือ เสื้อสีม่วงแดง, แขนเสื้อสีฟ้า, กางเกงขาสั้นสีขาวและถุงเท้าสีมอคราม ตราสโมสรแบบดั้งเดิมเป็นรูปสิงโตยืนผงาด[10][11] ปัจจุบัน กลุ่มเอ็นเอสดับเบิลยูอีเป็นเจ้าของสโมสร ซึ่งเป็นบริษัทของมหาเศรษฐีชาวอียิปต์ นัสเซฟ ซาวิริส และมหาเศรษฐีชาวอเมริกา เวส เอเดนส์

ประวัติ

สโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาก่อตั้งในปี ค.ศ. 1874 ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 พอล แลมเบิร์ต ถูกปลดออกตำแหน่งผู้จัดการทีมหลังจากมีผลงานที่ย่ำแย่ ชนะเพียง 5 นัด จาก 25 นัด ในลีก[12] และต่อมา ทิม เชอร์วูด ถูกแต่งตั้งขึ้นมา ซึ่งเชอร์วูดสามารถทำให้สโมสรรอดพ้นจากการตกชั้นไปได้ และเข้าชิงเอฟเอคัพ แม้จะเป็นฝ่ายแพ้ไปก็ตาม แต่ต่อมาในปลายเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน จากผลงานที่ย่ำแย่ในลีก 10 นัด ชนะเพียงนัดเดียว ทำให้เชอร์วูดก็ถูกปลดออกไป[13] และเป็นเรมี การ์เด อดีตกองหลังชาวฝรั่งเศสของอาร์เซนอลเข้ามาเป็นผู้จัดการแทน[14] แต่ต่อมาไม่นานก็ถูกปลด และก่อนจะสิ้นฤดูกาลไม่นาน เหลือการแข่งขันอีก 4 นัด แต่ทว่าแอสตันวิลลากลับต้องตกชั้นสู่ลีกแชมเปียนชิป เนื่องจากมีคะแนนห่างจากนอริชซิตี สโมสรที่อยู่อันดับ 17 ซึ่งจะเป็นสโมสรสุดท้ายที่จะไม่ตกชั้นถึง 15 คะแนน ซึ่งไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ไม่รอดพ้นการตกชั้นไปได้ หลังจากแพ้ต่อแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ไป 1-0 ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ด นับการเป็นตกชั้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร หลังจากลีกสูงสุดของอังกฤษเปลี่ยนชื่อจากดิวิชัน 1 มาเป็นพรีเมียร์ลีก[15]

หลังจากตกชั้นไปแล้ว แอสตันวิลลาได้ถูกซื้อกิจการจากกลุ่มทุนจากจีน โดยแรนดี เลอร์เนอร์ ประธานสโมสรได้ขายกิจการให้กับเรคคอนกรุ๊ป ซึ่งมีโทนี เจียงตง เซียะ นักธุรกิจชาวจีนเป็นเจ้าของ คาดว่าราคาน่าจะอยู่ที่ 60-70 ล้านปอนด์ (ราว 3,120-3,640 ล้านบาท)[16]

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2023[17]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK   เอมิเลียโน มาร์ติเนซ (รองกัปตัน)
2 DF   แมตตี แคช
3 DF   ดีเอโก คาร์ลอส (รองกัปตัน)
4 DF   เอซรี คอนซา
5 DF   ไทโรน มิงส์
6 MF   ดักลาส ลุยซ์
7 MF   จอห์น แม็กกินน์ (กัปตันทีม)
8 MF   ยูรี ตีเลอมันส์
9 FW   เบอร์ทรานด์ ตาโอเร
10 MF   เอมิเลียโน บูเอนเดีย
11 FW   ออลลี วอตกินส์
12 DF   ลูว์กา ดีญ
14 DF   เปา ตอร์เรส
15 DF   อเล็กซ์ โมเรโน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 DF   คาลัม แชมเบอร์ส
17 DF   เกลม็อง ล็องแกล (ยืมตัวมาจากบาร์เซโลนา)
19 MF   มุสซา ดิยาบี
22 MF   นิโกเลาะ ซานิโอโล (ยืมตัวมาจากกาลาตาซาราย)
23 MF   ฟีลีปี โกชิญญู
24 FW   จอห์น ดูแรน
25 GK   โรบิน โอลเซน
30 DF   คอร์ตนีย์ เฮาส์
31 FW   ลีออน เบลีย์
38 GK   วิลยามี ซินิซาโล
41 MF   เจคอบ แรมซีย์
44 MF   บูบาการ์ กามารา
47 MF   ทิม อิโรคบูนัม

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF   ฟีลีปี โกชิญญู (ยืมตัวไป อัล-ดูฮาอิล จนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024)

เกียรติประวัติ

  ระดับประเทศ

  ระดับทวีปยุโรป

  ระดับโลก

อ้างอิง

  1. "Premier League Handbook 2022/23" (PDF). Premier League. p. 8. สืบค้นเมื่อ 11 April 2023.
  2. "Aston Villa: Wes Edens & Nassef Sawiris to make 'significant investment' in club". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 May 2019.
  3. Ward, Adam; Griffin, Jeremy; p. 161.
  4. "10 Oldest Clubs in the Football League". SQaF. 20 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2022. สืบค้นเมื่อ 20 July 2022.
  5. "All Time English Trophy Winners". Myfootballfacts.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2022. สืบค้นเมื่อ 20 July 2022.
  6. "William McGregor". Spartacus Educational. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
  7. "Aston Villa". Goal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2010.
  8. "All-Time English Football Top Flight 1888-89 to 2021-22". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2022. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  9. Matthews, Tony (2000). "Aston Villa". The Encyclopedia of Birmingham City Football Club 1875–2000. Cradley Heath: Britespot. p. 17. ISBN 978-0-9539288-0-4.
  10. Woodhall, Dave (2007). The Aston Villa Miscellany. Vision Sports Publishing Ltd. p. 16. ISBN 978-1-905326-17-4.
  11. "Introducing our badge for 2016/17" (Press release). Aston Villa F.C. 6 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
  12. ""สิงห์ผยอง" บู่เกินทน ตะเพิด "แลมเบิร์ต" พ้นเก้าอี้". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.[ลิงก์เสีย]
  13. "รายที่สอง "วิลลา" เด้ง "เชอร์วูด" สังเวยโซนแดง". ผู้จัดการออนไลน์. 26 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
  14. "ขอต้อนรับ Remi Garde กลับสู่ Premier League อย่างเป็นทางการ". Arsenal.in.th อาร์เซนอลไทย. 3 November 2015. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.
  15. "ว่ากันใหม่! 'แอสตันวิลลา' ตกชั้นลีกสูงสุดครั้งแรกรอบ 28 ปี". ไทยรัฐ. 17 April 2016. สืบค้นเมื่อ 17 April 2016.
  16. "กลุ่มทุนจีน ตัดสินใจเทคโอเวอร์"สิงห์ผยอง"แอสตันวิลลา เรียบร้อย". โพสต์ทูเดย์. 19 May 2016. สืบค้นเมื่อ 25 May 2016.
  17. "Mens | AVFC". Aston Villa F.C.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. Kendrick, Mat (7 July 2011). "Aston Villa: The day the claret and blues won the baseball league". Birmingham Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-01. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  19. "Club Honours". Aston Villa F.C. สืบค้นเมื่อ 18 April 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น