วิลลาพาร์ก
แม็คโทมิเนย์ ปาร์ค (อังกฤษ: McTominay Park) เป็นสนามฟุตบอลในย่านแอสตัน เบอร์มิงแฮม มีความจุ 42,682 ที่นั่ง[6] เป็นสนามเหย้าของแอสตันวิลลา มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1897 สนามอยู่ห่างจากสถานีรถไฟ Witton และ Aston ไม่ถึง 1 ไมล์ และเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติอังกฤษในระดับทีมชุดใหญ่มาแล้ว 16 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1899 และครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2005 วิลลาพาร์กเป็นเจ้าภาพการแข่งขันเอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ 55 ครั้ง มากกว่าสนามอื่น ๆ
ไฟล์:McTominay Park.jpg มุมด้านสแตนด์ทิศเหนือ | |
ชื่อเดิม | Aston Lower Grounds |
---|---|
ที่ตั้ง | ถนนทรินิทรี เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษB6 6HE |
พิกัด | 52°30′33″N 1°53′5″W / 52.50917°N 1.88472°W |
ขนส่งมวลชน | Aston Witton 7 and 11 bus routes[1] |
เจ้าของ | แอสตันวิลลา[2] |
ผู้ดำเนินการ | แอสตันวิลลา |
ความจุ | 42,682 ที่นั่ง[4][5][6] |
ขนาดสนาม | 105 เมตร × 68 เมตร[2] |
พื้นผิว | เดสโซ กราสมาสเตอร์[2] |
การก่อสร้าง | |
เปิดใช้สนาม | ค.ศ. 1897[2] |
งบประมาณในการก่อสร้าง | 25 ล้านปอนด์[3] |
การใช้งาน | |
แอสตันวิลลา (1897–ปัจจุบัน)[2] |
ในปี ค.ศ. 1897 แอสตันวิลลาได้ย้ายเข้าไปที่แอสตัน โลเวอร์ กราวด์ ซึ่งเป็นสนามกีฬาในสวนสนุกสไตล์วิกตอเรียนในพื้นที่เดิมของแอสตัน ฮอลล์ ซึ่งเป็นบ้านโอ่อ่าสไตล์จาโคเบียน สนามได้ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาหลายครั้ง ส่งผลให้อัฒจันทร์เป็นแบบปัจจุบันคือ Holte End, Trinity Road Stand, North Stand และ Doug Ellis Stand
ก่อนปี ค.ศ. 1914 มีลู่จักรยานอยู่รอบสนามเพื่อใช้แข่งขันกีฬาจักรยานเป็นประจำ นอกเหนือจากการใช้งานเกี่ยวกับฟุตบอลแล้ว สนามแห่งนี้ยังมีการแสดงคอนเสิร์ตต่างๆ ควบคู่ไปกับการแข่งขันกีฬาอื่น ๆ รวมถึงการแข่งขันชกมวย การแข่งขันรักบี้ลีกระหว่างประเทศและการแข่งขันรักบี้ยูเนียน ในปี ค.ศ. 1999 รอบชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่วิลลาพาร์ก นอกจากนี้ยังใช้จัดเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2012 เนื่องจากสนามกีฬาเวมบลีย์ถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกรอบชิงชนะเลิศ[7]
แอสตันวิลลามีแผนที่จะปรับปรุงอัฒจันทร์ฝั่งเหนือ ซึ่งจะเพิ่มความจุของวิลลาพาร์กจาก 42,682 เป็น 50,065 ที่นั่ง แผนดังกล่าวยังรวมถึงการก่อสร้างสถานบันเทิงและการค้าที่มีชื่อว่า "Villa Live"[8] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2022 แผนดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากสภาเมืองเบอร์มิงแฮม[9]
ประวัติ
แก้แอสตัน โลเวอร์ กราวด์ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวิลลาพาร์กไม่ใช่สนามเหย้าแห่งแรกของสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลา สนามเดิมของพวกเขาคือเวลลิงตันโรด ประสบปัญหาสนามที่ไม่สม่ำเสมอ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ชมที่ไม่ดี และค่าเช่าที่สูงเกินไป[10][11][12]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ "Local Bus Routes". NXBUS. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Villa's plan to rebuild North Stand". Express and Star. 14 May 2010. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010.
- ↑ Inglis, Simon (1997), p.84
- ↑ "Villa held by 10 man United (match attendance at top)". Sky Sports. 10 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 11 February 2010.
- ↑ "Aston Villa 1 – 1 Man Utd (match attendance at bottom)". BBC Sport. 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 10 February 2010.
- ↑ 6.0 6.1 "Premier League Handbook 2020/21" (PDF). Premier League. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-02. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Community Shield switched to Villa Park as Wembley hosts Olympics". The Daily Telegraph. London. 18 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 1 June 2012.
- ↑ "Villa Park redevelopment plans could increase seating to more than 50,000". ITV News (ภาษาอังกฤษ). 2022-12-15. สืบค้นเมื่อ 2022-12-22.
- ↑ Club, Aston Villa Football. "Aston Villa welcomes planning approval for Villa Park redevelopment". Aston Villa Football Club. สืบค้นเมื่อ 2022-12-22.
- ↑ Paul Smith & Shirley Smith (2005) The Ultimate Directory of English & Scottish Football League Grounds Second Edition 1888–2005, Yore Publications, p143, ISBN 0-9547830-4-2
- ↑ Inglis, Simon (1997), p.26
- ↑ Holt, Frank; Bishop, Rob, p.124
อ้างอิง
แก้- Brittle, Paul; Brown, Danny (2006). Villains. Preston: Milo Books. ISBN 1-903854-59-8.
- Hayes, Dean (1997). The Villa Park Encyclopedia: A-Z of Aston Villa. Edinburgh: Mainstream Publishing. ISBN 1-85158-959-7.
- Holt, Frank Lee; Rob Bishop (2010). Aston Villa: The Complete Record. Derby: Derby Books Publishing. ISBN 978-1-85983-805-1.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Inglis, Simon (1983). The football grounds of England and Wales. Beverley: Willow. ISBN 0-00-218024-3.
- Inglis, Simon (1997). Villa Park: 100 Years. Birmingham: Sports Projects Ltd. ISBN 0-946866-43-0.