เอฟเอคัพ

การแข่งขันฟุตบอลประจำปีในอังกฤษ

เดอะฟุตบอลอะโซชีเอเชินแชลลินจ์คัพ (อังกฤษ: The Football Association Challenge Cup) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เอฟเอคัพ (อังกฤษ: FA Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลประเภทแพ้คัดออกประจำปีของฟุตบอลชายในประเทศอังกฤษ เริ่มแข่งขันครั้งแรกเมื่อ ฤดูกาล 1871–72 โดยเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[1] การแข่งขันตั้งชื่อตามและจัดโดยสมาคมฟุตบอล (ดิเอฟเอ) การแข่งขันมีชื่อว่า เอมิเรตส์เอฟเอคัพ ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 เพราะได้รับการสนับสนุนจาก เอมิเรตส์ การแข่งขันจัดพร้อมกันกับเอฟเอคัพหญิงตั้งแต่ ค.ศ. 1970

เอฟเอคัพ
ผู้จัดสมาคมฟุตบอล
ก่อตั้งค.ศ. 1871; 153 ปีที่แล้ว (1871)
ภูมิภาค
  • อังกฤษ
  • เวลส์
จำนวนทีม729 (2023–24)
ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
ถ้วยในประเทศเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
ทีมชนะเลิศปัจจุบันแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (13 สมัย)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดอาร์เซนอล (14 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์
เว็บไซต์thefa.com
เอฟเอคัพ ฤดูกาล 2023–24

การแข่งขันเปิดให้ทุกสโมสรที่มีสิทธิ์ลงไปจนถึงระดับ 9 ของระบบลีกฟุตบอลอังกฤษ โดยมีสโมสรระดับ 10 ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในกรณีที่สโมสรจากระดับบนไม่ได้ส่งเข้าแข่งขัน[2] ฤดูกาล 2011–12 มีสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุดเป็นสถิติถึง 763 สโมสร การแข่งขันประกอบด้วยการสุ่มจับฉลาก 12 รอบ ตามมาด้วยรอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้เป็นทีมวาง แม้ว่าระบบการบายตามระดับลีกจะทำให้ทีมที่มีอันดับสูงกว่าเข้าสู่รอบต่อ ๆ ไป แต่จำนวนเกมขั้นต่ำที่ต้องชนะ ขึ้นอยู่กับรอบที่ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน มีตั้งแต่ 6 ถึง 14 เกม

หกรอบแรกเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และแข่งขันกันโดยสโมสรในระบบลีกแห่งชาติ ระดับ 5 ถึง 10 ของระบบฟุตบอลอังกฤษ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ฟุตบอลนอกลีก 32 ทีมจากรอบนี้ผ่านเข้าสู่รอบแรกของการแข่งขันที่แท้จริง โดยพบกับทีมอาชีพทีมแรก 48 ทีมจาก ลีกวันและทู ผู้เข้าแข่งขันชุดสุดท้ายคือ 20 ทีมจากพรีเมียร์ลีกและ 24 ทีมจากแชมเปียนชิป โดยมาเข้ามาจับสลากในรอบสาม[2] ในยุคปัจจุบัน มีทีมนอกลีกเพียงทีมเดียวเท่านั้นที่ผ่านเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศ และทีมที่ต่ำกว่าระดับ 2 ไม่เคยผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ[note 1] เป็นผลให้มีการมุ่งเน้นไปที่ทีมเล็ก ๆ ที่ผ่านเข้ารอบได้ไกลที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขาได้รับชัยชนะแบบ "สังหารยักษ์" ที่ไม่น่าเป็นไปได้

ผู้ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลเอฟเอคัพ ซึ่งมีสองแบบและถ้วยจริงห้าใบ ถ้วยแบบล่าสุดคือแบบจำลองของถ้วยแบบที่สองใน ค.ศ. 2014 ซึ่งเปิดตัวเมื่อ ค.ศ. 1911 ผู้ชนะเลิศยังได้เข้าแข่งขันในรายการ ยูฟ่ายูโรปาลีกและเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ อาร์เซนอล คือสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดด้วยการชนะเลิศ 14 สมัย โดยครั้งล่าสุดคือเมื่อ ค.ศ. 2020 และ อาร์แซน แวงแกร์ อดีตผู้จัดการทีมของอาร์เซนอล เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการแข่งขันรายการนี้ โดยชนะเลิศ 7 ครั้งกับอาร์เซนอล แมนเชสเตอร์ซิตี ทีมแชมป์ปัจจุบันคือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด หลังเอาชนะแมนเชสเตอร์ซิตีในดาร์บีแมนเชสเตอร์ในสกอร์2-1สโมสร ใน ค.ศ. 2024

ประวัติศาสตร์

แก้
 
แฮร์รี แฮมป์ตัน ทำประตูหนึ่งในสองของเขาในเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1905 เมื่อแอสตันวิลลา เอาชนะ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด

เมื่อ ค.ศ. 1863 สมาคมฟุตบอล (ดิเอฟเอ) ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่เผยแพร่กติกาฟุตบอลของสมาคมฟุตบอล โดยรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านั้นเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1871 ภายในออฟฟิศของ หนังสือพิมพ์ เดอะสปอร์ตส์แมน ซี. ดับเบิลยู. อัลค็อก เลขานุการเอฟเอ เสนอต่อคณะกรรมการเอฟเอว่า "เป็นที่พึงประสงค์ว่าควรมีการจัดตั้งแชลลินจ์คัพขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับสมาคม โดยสโมสรทั้งหมดที่เป็นของสมาคมควรได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน" การแข่งขันเอฟเอคัพครั้งแรก เริ่มต้นในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1871 วันเดอเรอส์ เป็นผู้ชนะในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1872 หลังแข่งขันไปสิบสามนัด วันเดอเรอส์ยังคงรักษาแชมป์ในปีถัดมา รูปแบบการแข่งขันในสมัยปัจจุบันเริ่มต้นเมื่อฤดูกาล 1888–89 ด้วยการเปิดตัวรอบคัดเลือก[3]

หลังการแข่งขันในฤดูกาล 1914–15 การแข่งขันก็ถูกระงับเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลับมาแข่งขันต่อในฤดูกาล 1919–20 ในรอบชิงชนะเลิศ 1923 ที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ไวต์ฮอร์สไฟนอล" เป็นรอบชิงชนะเลิศแรกที่แข่งขันใน สนามกีฬาเวมบลีย์ (รู้จักกันในชื่อเอ็มไพร์สเตเดียมในเวลานั้น) ที่เพิ่งเปิดใหม่ เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1927 มีการร้องเพลง "อะไบด์วิทมี" เป็นครั้งแรกในรอบชิงชนะเลิศซึ่งกลายเป็นประเพณีก่อนการแข่งขัน[4] ไม่มีการแข่งขันระหว่าง ฤดูกาล 1938–39 ถึง 1945–46 เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง การแข่งขันจึงไม่ได้ฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีจนกระทั่ง ฤดูกาล 1980–81

หลังความสับสนเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการแข่งขันครั้งแรก เอฟเอตัดสินใจว่านัดที่เสมอกันจะนำไปสู่การแข่งใหม่ โดยทีมต่าง ๆ จะแข่งใหม่เพิ่มเติมจนกว่าจะได้ผู้ชนะในที่สุด[5] อัลเวเชิร์ชและออกซฟอร์ดซิตี มีการแข่งใหม่มากที่สุดถึง 6 ครั้ง ในรอบคัดเลือก ฤดูกาล 1971–72[5] การแข่งใหม่หลายครั้งถูกยกเลิกในรอบการแข่งขันในฤดูกาล 1991–92 และรอบคัดเลือกในฤดูกาล 1997–98[5] การแข่งใหม่ถูกยกเลิกในรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศใน ค.ศ. 2000, รอบก่อนรองชนะเลิศในฤดูกาล 2016–17 และรอบห้าในฤดูกาล 2019–20[5]

การสร้างสนามเวมบลีย์ใหม่ ทำให้มีการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศนอกประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 20012006 โดยแข่งขันที่มิลเลนเนียมสเตเดียมในคาร์ดิฟฟ์ รอบชิงชนะเลิศกลับมาแข่งขันที่เวมบลีย์อีกครั้งใน ค.ศ. 2007 ตามมาด้วยรอบรองชนะเลิศใน 2008

รูปแบบการแข่งขัน

แก้

ภาพรวม

แก้

กำหนดการ

แก้
รอบ[2] เดือน ลีกที่เข้ามาในรอบนี้[2] ผู้เข้ามาใหม่ในรอบนี้ ผู้ชนะจากรอบก่อนหน้านี้ จำนวนนัด
การแข่งขันรอบคัดเลือก[2]
รอบเบื้องต้นพิเศษ สิงหาคม สโมสรระดับ 10 หากมีที่ว่าง
สโมสรระดับ 9
สโมสรระดับ 8 (96 ทีมอันดับต่ำสุด)
416 208
รอบเบื้องต้น สโมสรระดับ 8 (64 ทีมอันดับสูงสุด) 64 208 136
รอบแรก กันยายน สโมสรระดับ 7 88 136 112
รอบสอง สโมสรระดับ 6 48 112 80
รอบสาม ตุลาคม ไม่มี 0 80 40
รอบสี่ สโมสรระดับ 5 24 40 32
การแข่งขันที่แท้จริง[2]
รอบแรก พฤศจิกายน สโมสรระดับ 3 และ 4 48 32 40
รอบสอง ธันวาคม ไม่มี 0 40 20
รอบสาม มกราคม สโมสรระดับ 1 และ 2 44 20 32
รอบสี่ ไม่มี 0 32 16
รอบห้า กุมภาพันธ์ 0 16 8
รอบก่อนรองชนะเลิศ มีนาคม 0 8 4
รอบรองชนะเลิศ เมษายน 0 4 2
รอบชิงชนะเลิศ พฤษภาคม 0 2 1

เหรียญรางวัล

แก้

แต่ละสโมสรในรอบชิงชนะเลิศจะได้รับเหรียญรางวัลผู้ชนะเลิศหรือรองชนะเลิศจำนวน 40 เหรียญเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ เหรียญกษาปณ์เนื้อทองคำรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นเหรียญสำหรับผู้ชนะเลิศ ยังเป็นรูปแบบดั้งเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ทศวรรษ 1890 เหรียญรองชนะเลิศได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 1946 ถูกแทนที่ด้วยเหรียญรางวัลรูปแบบใหม่ใน ค.ศ. 2021 โดยเป็นเหรียญทองสำหรับผู้ชนะเลิศและเหรียญเงินสำหรับทีมรองชนะเลิศห้อยด้วยริบบิ้น[6]

ผู้สนับสนุน

แก้
ช่วงปี ผู้สนับสนุน ชื่อ ถ้วยรางวัล
1871–1994 ดิเอฟเอคัพ ดั้งเดิม
1994–1998 ลิตเทิลวูดส์ ดิเอฟเอคัพสปอนเซอร์ดบายลิตเทิลวูดส์[7]
1998–2002 แอกซ่า ดิแอกซ่าสปอนเซอร์ดเอฟเอคัพ[8] (1998–1999)
ดิเอฟเอคัพสปอนเซอร์ดบายแอกซ่า (1999–2002)
2002–2006 ดิเอฟเอคัพ
2006–2011 เอ.ออน ดิเอฟเอคัพสปอนเซอร์ดบายเอ.ออน[9][10]
2011–2014 บัดไวเซอร์ ดิเอฟเอคัพวิทบัดไวเซอร์[11]
2014–2015 ดิเอฟเอคัพ
2015–2024 เอมิเรตส์ ดิเอมิเรตส์เอฟเอคัพ (2015–2020)[12]
เอมิเรตส์เอฟเอคัพ (2020–2024)
2024 เป็นต้นไป ไม่ทราบ ดิเอฟเอคัพ

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ

แก้
หมายเหตุ
* การแข่งขันชนะในช่วงหลังต่อเวลาพิเศษ
การแข่งขันชนะในช่วงการดวลลูกโทษ
ฤดูกาล ชนะเลิศ[13] ผลคะแนน[13] รองชนะเลิศ[13] สนาม[14] จำนวนคนดู[14]
1871–72 วันเดอเรอส์ 1–0 โรยอร์ เอ็นจิเนีย เคนนิงตัน โอเวล 2,000
1872–73 วันเดอเรอส์ 2–0 ออกซฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ ไลย์ลีย์ บริดจ์ 3,000
1873–74 ออกซฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ 2–0 โรยอร์ เอ็นจิเนีย เคนนิงตัน โอเวล 2,000
1874–75 โรยอร์ เอ็นจิเนีย  †1–1 * โอลด์ อีโตเนียน เคนนิงตัน โอเวล 2,000
1874–75  (R) โรยอร์ เอ็นจิเนีย 2–0 โอลด์ อีโตเนียน เคนนิงตัน โอเวล 3,000
1875–76 วันเดอเรอส์  †1–1 * โอลด์ อีโตเนียน เคนนิงตัน โอเวล 3,500
1875–76  (R) วันเดอเรอส์ 3–0 โอลด์ อีโตเนียน เคนนิงตัน โอเวล 1,500
1876–77 วันเดอเรอส์  †2–1 * ออกซฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ เคนนิงตัน โอเวล 3,000
1877–78 วันเดอเรอส์ 3–1 โรยอร์ เอ็นจิเนีย เคนนิงตัน โอเวล 4,500
1878–79 โอลด์ อีโตเนียน 1–0 แชปแฮม โรเวอส์ เคนนิงตัน โอเวล 5,000
1879–80 แชปแฮม โรเวอส์ 1–0 ออกซฟอร์ด ยูนิเวอร์ซิตี้ เคนนิงตัน โอเวล 6,000
1880–81 โอลด์ คาร์โตเซียน 3–0 โอลด์ อีโตเนียน เคนนิงตัน โอเวล 4,000
1881–82 โอลด์ อีโตเนียน 1–0 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ เคนนิงตัน โอเวล 6,500
1882–83 แบล็กเบิร์น โอลิมปิก  †2–1 * โอลด์ อีโตเนียน เคนนิงตัน โอเวล 8,000
1883–84 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 2–1 ควีนส์พาร์ก เคนนิงตัน โอเวล 4,000
1884–85 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 2–0 ควีนส์พาร์ก เคนนิงตัน โอเวล 12,500
1885–86 แบล็กเบิร์นโรเวอส์  †0–0 * เวสต์บรอมมิชอัลเบียน เคนนิงตัน โอเวล 15,000
1885–86  (R) แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 2–0 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน ลาซีควอซ์ เกาว์ 12,000
1886–87 แอสตันวิลลา 2–0 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน เคนนิงตัน โอเวล 15,500
1887–88 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 2–1 เพลสตัน น็อท์ เอ็น เคนนิงตัน โอเวล 19,000
1888–89 เพลสตัน น็อท์ เอ็น 3–0 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ เคนนิงตัน โอเวล 22,000
1889–90 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 6–1 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ เคนนิงตัน โอเวล 20,000
1890–91 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 3–1 นอตส์เคาน์ตี เคนนิงตัน โอเวล 23,000
1891–92 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 3–0 แอสตันวิลลา เคนนิงตัน โอเวล 32,810
1892–93 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 1–0 เอฟเวอร์ตัน ฟอลโล่ฟิวส์ สเตเดี้ยม 45,000
1893–94 นอตส์เคาน์ตี 4–1 โบลตันวอนเดอเรอส์ กูลดิสัน พาร์ค 37,000
1894–95 แอสตันวิลลา 1–0 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน คริสตัลพาเลซ 42,560
1895–96 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 2–1 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ คริสตัลพาเลซ 48,836
1896–97 แอสตันวิลลา 3–2 เอฟเวอร์ตัน คริสตัลพาเลซ 65,891
1897–98 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 3–1 ดาร์บีเคาน์ตี คริสตัลพาเลซ 62,017
1898–99 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด 4–1 ดาร์บีเคาน์ตี คริสตัลพาเลซ 73,833
1899–1900 บิวรี 4–0 เซาแทมป์ตัน คริสตัลพาเลซ 68,945
1900–01 ทอตนัมฮอตสเปอร์  †2–2 * เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด คริสตัลพาเลซ 110,820
1900–01  (R) ทอตนัมฮอตสเปอร์ 3–1 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด เบอเด็น พาร์ค 20,470
1901–02 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด  †1–1* เซาแทมป์ตัน คริสตัลพาเลซ 76,914
1901–02  (R) เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด 2–1 เซาแทมป์ตัน คริสตัลพาเลซ 33,068
1902–03 บิวรี 6–0 ดาร์บีเคาน์ตี คริสตัลพาเลซ 63,102
1903–04 แมนเชสเตอร์ซิตี 1–0 โบลตันวอนเดอเรอส์ คริสตัลพาเลซ 61,374
1904–05 แอสตันวิลลา 2–0 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด คริสตัลพาเลซ 101,117
1905–06 เอฟเวอร์ตัน 1–0 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด คริสตัลพาเลซ 75,609
1906–07 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 2–1 เอฟเวอร์ตัน คริสตัลพาเลซ 84,594
1907–08 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 3–1 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด คริสตัลพาเลซ 74,697
1908–09 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 บริสตอลซิตี คริสตัลพาเลซ 71,401
1909–10 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด  †1–1 * บาร์นสลีย์ คริสตัลพาเลซ 77,747
1909–10  (R) นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2–0 บาร์นสลีย์ กูลดิสัน พาร์ค 69,000
1910–11 แบรดเฟิร์ด ซิตี้  †0–0 * นิวคาสเซิลยูไนเต็ด คริสตัลพาเลซ 69,068
1910–11  (R) แบรดเฟิร์ด ซิตี้ 1–0 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด โอลด์แทรฟฟอร์ด 58,000
1911–12 บาร์นสลีย์  †0–0 * เวสต์บรอมมิชอัลเบียน คริสตัลพาเลซ 54,556
1911–12  (R) บาร์นสลีย์ 1–0 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน เบอมอลล์ เลน 38,555
1912–13 แอสตันวิลลา 1–0 ซันเดอร์แลนด์ คริสตัลพาเลซ 120,081
1913–14 เบิร์นลีย์ 1–0 ลิเวอร์พูล คริสตัลพาเลซ 72,778
1914–15 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด 3–0 เชลซี โอลด์แทรฟฟอร์ด 49,557
1919–20 แอสตันวิลลา  †1–0 * ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ สนามกีฬาสแตมฟอร์ดบริดจ์ 50,018
1920–21 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1–0 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ สนามกีฬาสแตมฟอร์ดบริดจ์ 72,805
1921–22 ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ 1–0 เพลสตัน น็อท์ เอ็น สนามกีฬาสแตมฟอร์ดบริดจ์ 53,000
1922–23 โบลตันวอนเดอเรอส์ 2–0 เวสต์แฮมยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 126,047[A]
1923–24 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2–0 แอสตันวิลลา สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 91,695
1924–25 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด 1–0 คาร์ดิฟฟ์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 91,763
1925–26 โบลตันวอนเดอเรอส์ 1–0 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 91,447
1926–27 คาร์ดิฟฟ์ซิตี 1–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 91,206
1927–28 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 3–1 ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,041
1928–29 โบลตันวอนเดอเรอส์ 2–0 พอร์ตสมัท สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,576
1929–30 อาร์เซนอล 2–0 ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,488
1930–31 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 3–1 เบอร์มิงแฮมซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,406
1931–32 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด 2–1 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,298
1932–33 เอฟเวอร์ตัน 3–0 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,950
1933–34 แมนเชสเตอร์ซิตี 2–1 พอร์ตสมัท สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 93,258
1934–35 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 4–2 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 93,204
1935–36 อาร์เซนอล 1–0 เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 93,384
1936–37 ซันเดอร์แลนด์ 3–1 เพลสตัน น็อท์ เอ็น สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 93,495
1937–38 เพลสตัน น็อท์ เอ็น  †1–0 * ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 93,497
1938–39 พอร์ตสมัท 4–1 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 99,370
1945–46 ดาร์บีเคาน์ตี  †4–1 * ชาร์ลตันแอธเลติก สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 98,000
1946–47 ชาร์ลตันแอธเลติก  †1–0 * เบิร์นลีย์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 99,000
1947–48 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4–2 แบล็กพูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 99,000
1948–49 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 3–1 เลสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 99,500
1949–50 อาร์เซนอล 2–0 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1950–51 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2–0 แบล็กพูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1951–52 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 1–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1952–53 แบล็กพูล 4–3 โบลตันวอนเดอเรอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1953–54 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 3–2 เพลสตัน น็อท์ เอ็น สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1954–55 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด 3–1 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1955–56 แมนเชสเตอร์ซิตี 3–1 เบอร์มิงแฮม ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1956–57 แอสตันวิลลา 2–1 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1957–58 โบลตันวอนเดอเรอส์ 2–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1958–59 นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 2–1 ลูตัน ทาว์น สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1959–60 วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 3–0 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1960–61 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–0 เลสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1961–62 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 3–1 เบิร์นลีย์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1962–63 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3–1 เลสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1963–64 เวสต์แฮมยูไนเต็ด 3–2 เพลสตัน น็อท์ เอ็น สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1964–65 ลิเวอร์พูล  †2–1 * ลีดส์ ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1965–66 เอฟเวอร์ตัน 3–2 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1966–67 ทอตนัมฮอตสเปอร์ 2–1 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1967–68 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน  †1–0 * เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1968–69 แมนเชสเตอร์ซิตี 1–0 เลสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1969–70 เชลซี  †2–2 * ลีดส์ ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1969–70  (R) เชลซี  †2–1* ลีดส์ ยูไนเต็ด โอลด์แทรฟฟอร์ด 62,078
1970–71 อาร์เซนอล  †2–1 * ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1971–72 ลีดส์ ยูไนเต็ด 1–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1972–73 ซันเดอร์แลนด์ 1–0 ลีดส์ ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1973–74 ลิเวอร์พูล 3–0 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1974–75 เวสต์แฮม ยูไนเต็ด 2–0 ฟูลัม สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1975–76 เซาแทมป์ตัน 1–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1976–77 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–1 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1977–78 อิปสวิชทาวน์ 1–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1978–79 อาร์เซนอล 3–2 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1979–80 เวสต์แฮม ยูไนเต็ด 1–0 อาร์เซนอล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1980–81 ทอตนัมฮอตสเปอร์  †1–1 * แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1980–81  (R) ทอตนัมฮอตสเปอร์ 3–2 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 92,000
1981–82 ทอตนัมฮอตสเปอร์  †1–1 * ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1981–82  (R) ทอตนัมฮอตสเปอร์ 1–0 ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 90,000
1982–83 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด  †2–2 * ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1982–83  (R) แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4–0 ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1983–84 เอฟเวอร์ตัน 2–0 วอตฟอร์ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1984–85 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด  †1–0 * เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 100,000
1985–86 ลิเวอร์พูล 3–1 เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 98,000
1986–87 คอเวนทรีซิตี  †3–2 * ทอตนัมฮอตสเปอร์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 98,000
1987–88 วิมเบิลดัน 1–0 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 98,203
1988–89 ลิเวอร์พูล  †3–2 * เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 82,500
1989–90 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด  †3–3 * คริสตัลพาเลซ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 80,000
1989–90  (R) แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 คริสตัลพาเลซ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 80,000
1990–91 ทอตนัมฮอตสเปอร์  †2–1 * นอตทิงแฮมฟอเรสต์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 80,000
1991–92 ลิเวอร์พูล 2–0 ซันเดอร์แลนด์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 80,000
1992–93 อาร์เซนอล  †1–1 * เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,347
1992–93  (R) อาร์เซนอล 2–1 เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 62,267
1993–94 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4–0 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,634
1994–95 เอฟเวอร์ตัน 1–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,592
1995–96 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,007
1996–97 เชลซี 2–0 มิดเดิลส์เบรอ สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,160
1997–98 อาร์เซนอล 2–0 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,183
1998–99 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–0 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 79,101
1999–2000 เชลซี 1–0 แอสตันวิลลา สนามกีฬาเวมบลีย์ (เก่า) 78,217
2000–01 ลิเวอร์พูล 2–1 อาร์เซนอล มิลเลนเนียมสเตเดียม 72,500
2001–02 อาร์เซนอล 2–0 เชลซี มิลเลนเนียมสเตเดียม 73,963
2002–03 อาร์เซนอล 1–0 เซาแทมป์ตัน มิลเลนเนียมสเตเดียม 73,726
2003–04 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3–0 มิลล์วอลล์ มิลเลนเนียมสเตเดียม 71,350
2004–05 อาร์เซนอล  †0–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด มิลเลนเนียมสเตเดียม 71,876
2005–06 ลิเวอร์พูล  †3–3 เวสต์แฮม ยูไนเต็ด มิลเลนเนียมสเตเดียม 71,140
2006–07 เชลซี  †1–0 * แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,826
2007–08 พอร์ตสมัท 1–0 คาร์ดิฟฟ์ ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,874
2008–09 เชลซี 2–1 เอฟเวอร์ตัน สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,874
2009–10 เชลซี 1–0 พอร์ตสมัท สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 88,335
2010–11 แมนเชสเตอร์ซิตี 1–0 สโตก ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 88,643
2011–12 เชลซี 2–1 ลิเวอร์พูล สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,041
2012–13 วีแกน 1–0 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 86,254
2013–14 อาร์เซนอล  †3–2 * ฮัลล์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,345[15]
2014–15 อาร์เซนอล 4–0 แอสตันวิลลา สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,345[16]
2015–16 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด  †2–1 * คริสตัลพาเลซ สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 88,619[17]
2016–17 อาร์เซนอล 2–1 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 89,472[18]
2017–18 เชลซี 1–0 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 87,647[19]
2018–19 แมนเชสเตอร์ซิตี 6–0 วอตฟอร์ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 85,854[20]
2019–20 อาร์เซนอล 2–1 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 0
2020–21 เลสเตอร์ซิตี 1–0 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 20,000
2021–22 ลิเวอร์พูล 0–0 เชลซี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 84,897
2022–23 แมนเชสเตอร์ซิตี 2–1 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 83,179[21]
2023–24 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–1 แมนเชสเตอร์ซิตี สนามกีฬาเวมบลีย์ (ใหม่) 84,814[22]

A. ^ ปี 1923 ผู้ชมอย่างเป็นทางการคือ 126,047 แต่เชื่อได้ว่ามีผู้ชมจริงอยู่ในราว 150,000 – 300,000 คน[23][24]

ทำเนียบผู้ชนะเลิศจำแนกตามสโมสร

แก้
จำนวนทีมทั้งหมด
สโมสร ชนะเลิศ ชนะเลิศครั้งแรก ชนะเลิศครั้งล่าสุด รองชนะเลิศ รองชนะเลิศครั้งล่าสุด เข้าชิงชนะเลิศทั้งหมด
อาร์เซนอล 14 1930 2020 7 2001 21
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 13 1909 2024 9 2023 22
เชลซี 8 1970 2018 8 2022 16
ลิเวอร์พูล 8 1965 2022 7 2012 15
ทอตนัมฮอตสเปอร์ 8 1901 1991 1 1987 9
แมนเชสเตอร์ซิตี 7 1904 2023 6 2024 13
แอสตันวิลลา 7 1887 1957 4 2015 11
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 6 1910 1955 7 1999 13
แบล็กเบิร์นโรเวอส์ 6 1884 1928 2 1960 8
เอฟเวอร์ตัน 5 1906 1995 8 2009 13
เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 5 1888 1968 5 1935 10
วันเดอเรอส์ 5 1872 1878 0 5
วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 4 1893 1960 4 1939 8
โบลตันวอนเดอเรอส์ 4 1923 1958 3 1953 7
เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด 4 1899 1925 2 1936 6
เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ 3 1896 1935 3 1993 6
เวสต์แฮมยูไนเต็ด 3 1964 1980 2 2006 5
เพรสตันนอร์ทเอนด์ 2 1889 1938 5 1964 7
โอลด์อีโตเนียน 2 1879 1882 4 1883 6
พอร์ตสมัท 2 1939 2008 3 2010 5
ซันเดอร์แลนด์ 2 1937 1973 2 1992 4
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 2 1898 1959 1 1991 3
เบรี 2 1900 1903 0 2
ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ 1 1922 1922 4 1938 5
เลสเตอร์ซิตี 1 2021 2021 4 1969 5
ออกซฟอร์ดยูนิเวอร์ซิตี 1 1874 1874 3 1880 4
โรยอร์เอ็นจิเนีย 1 1875 1875 3 1878 4
ดาร์บีเคาน์ตี 1 1946 1946 3 1903 4
ลีดส์ยูไนเต็ด 1 1972 1972 3 1973 4
เซาแทมป์ตัน 1 1976 1976 3 2003 4
เบิร์นลีย์ 1 1914 1914 2 1962 3
คาร์ดิฟฟ์ซิตี 1 1927 1927 2 2008 3
แบล็กพูล 1 1953 1953 2 1951 3
แชปแฮมโรเวอส์ 1 1880 1880 1 1879 2
นอตส์เคาน์ตี 1 1894 1894 1 1891 2
บาร์นสลีย์ 1 1912 1912 1 1910 2
ชาร์ลตันแอธเลติก 1 1947 1947 1 1946 2
โอลด์คาร์โตเซียน 1 1881 1881 0 1
แบล็กเบิร์นโอลิมปิก 1 1883 1883 0 1
แบรดเฟิร์ดซิตี 1 1911 1911 0 1
อิปสวิชทาวน์ 1 1978 1978 0 1
คอเวนทรีซิตี 1 1987 1987 0 1
วิมเบิลดัน 1 1988 1988 0 1
วีแกนแอทเลติก 1 2013 2013 0 1
ควีนส์พาร์ก 0 2 1885 2
เบอร์มิงแฮมซิตี 0 2 1956 2
คริสตัลพาเลซ 0 2 2016 2
วอตฟอร์ด 0 2 2019 2
บริสทอลซิตี 0 1 1909 1
ลูตันทาว์น 0 1 1959 1
ฟูลัม 0 1 1975 1
ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 0 1 1982 1
ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน 0 1 1983 1
มิดเดิลส์เบรอ 0 1 1997 1
มิลล์วอลล์ 0 1 2004 1
สโตกซิตี 0 1 2011 1
ฮัลล์ซิตี 0 1 2014 1

หมายเหตุ

แก้
  1. นับตั้งแต่ก่อตั้งฟุตบอลลีกในปี ค.ศ. 1888 สโมสรนอกลีกเพียงสโมสรเดียวที่ชนะเลิศเอฟเอคัพคือทอตนัมฮอตสเปอร์ในปี ค.ศ. 1901 นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1914 เมื่อควีนส์พาร์กเรนเจอส์เข้าถึงรอบสี่ (รอบ 8 ทีมสุดท้าย/รอบก่อนรองชนะเลิศ) สโมสรเดียวที่ไม่ใช่ลีกเดียวที่ไปถึงรอบนั้นได้คือลินคอล์นซิตีใน ค.ศ. 2017 ทั้งทอตนัมและคิวพีอาร์ประสบความสำเร็จในขณะที่เป็นสมาชิกของเซาเทิร์นฟุตบอลลีกซึ่งแข่งขันคู่ขนานกับฟุตบอลลีกจนถึง ค.ศ. 1920 เมื่อฟุตบอลลีกขยายตัวและดูดซับดิวิชันสูงสุดของเซาเทิร์นลีก ตั้งแต่นั้นมาเซาเทิร์นลีกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของปิรามิดลีกอังกฤษ ซึ่งอยู่ต่ำกว่าฟุตบอลลีก

อ้างอิง

แก้
  1. "Oldest football cup 'not for sale'". BBC News. 14 October 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2017. สืบค้นเมื่อ 4 November 2017.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Faulkner, Bryan (13 July 2022). "Rules of the FA Challenge Cup 2022–23". The Football Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2022. สืบค้นเมื่อ 18 August 2022.
  3. Collett, Mike (2003). The Complete Record of The FA Cup. p. 878. ISBN 1-899807-19-5.
  4. "Cup final competition for fans". Reading FC. 26 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2015. สืบค้นเมื่อ 6 April 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "A Brief History of FA Cup Replays". FA Cup Factfile. 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 July 2023.
  6. "Rules of the FA Challenge Cup Competition". The Football Association. p. 25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2018. สืบค้นเมื่อ 16 May 2018.
  7. "F.A. Cup Soccer Gets A Sponsor". The New York Times. 2 September 1994. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2020. สืบค้นเมื่อ 10 October 2011.
  8. "Axa wins FA Cup". BBC News. 23 July 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2003. สืบค้นเมื่อ 10 October 2011.
  9. "FA announces new Cup sponsorship". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2006. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  10. "NotFound". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2010. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  11. "FA Cup to be sponsored by Budweiser beer". BBC News. 16 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  12. "FA Cup get first title sponsor following deal with Emirates Airline". BBC Sport. 30 May 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2015. สืบค้นเมื่อ 30 May 2015.
  13. 13.0 13.1 13.2 "F A Cup Summary – Contents". The Football Club History Database. สืบค้นเมื่อ 4 November 2008.
  14. 14.0 14.1 Barnes, Stuart (2008). Nationwide Football Annual 2008–2009. SportsBooks Ltd. pp. 132, 134–143. ISBN 1–899807–72–1.
  15. "Arsenal v Hull". BBC Sport.
  16. "Arsenal v Aston Villa". BBC Sport.
  17. "Crystal Palace v Manchester United". BBC Sport.
  18. "Arsenal v Chelsea". BBC Sport.
  19. "ManU v Chelsea". BBC Sport.
  20. "ManCity v Watford". BBC Sport.
  21. "Manchester City 2–1 Manchester United". BBC Sport. 3 June 2023. สืบค้นเมื่อ 3 June 2023.
  22. "Man United win FA Cup with superb display against Man City". ESPN. 26 May 2024. สืบค้นเมื่อ 26 May 2024.
  23. Bateson, Bill; Albert Sewell (1992). News of the World Football Annual 1992–93. Harper Collins. p. 219. ISBN 0–85543–188–1.
  24. "The F.A. Cup – Bolton's Victory – Record Crowds". The Times. News International. 30 May 1923. สืบค้นเมื่อ 13 October 2008.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้