สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด (อังกฤษ: Newcastle United Football Club; ตัวย่อ: NUFC) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษที่ตั้งอยู่ในเมืองนิวคาสเซิล อะพอน ไทน์ และเล่นในพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1892 โดยเกิดจากการควบรวมกิจการของ นิวคาสเซิลอีสต์เอนด์ และ นิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ ทีมเล่นในบ้านที่ เซนต์เจมส์พาร์ก ใจกลางเมืองนิวคาสเซิล ตามข้อกำหนดของ ลอร์ด จัสติส เทย์เลอร์ ในรายงานการสอบสวนเกี่ยวกับภัยพิบัติที่สนามกีฬาฮิลส์โบโรกำหนดให้ทุกสโมสรในพรีเมียร์ลีกมีสนามฟุตบอลแบบมีที่นั่งทั้งหมด ตัวสนามได้รับการปรับปรุงในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และปัจจุบันมีความจุ 52,305 ที่นั่ง
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | เดอะแม็กพาย, เดอะทูน สาลิกาดง (ภาษาไทย) | |||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1892 | |||
สนาม | เซนต์เจมส์พาร์ก[1] | |||
ความจุ | 52,305 คน | |||
เจ้าของ | กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ (80%) อาร์บีสปอตส์ & มีเดีย (10%) พีซีพีแคปิตอลพาร์ตเนอส์ (10%)[2] | |||
ประธาน | ยาซิร อัรรุมัยยาน | |||
ผู้จัดการ | เอ็ดดี ฮาว | |||
ลีก | พรีเมียร์ลีก | |||
2021–22 | อันดับที่ 11 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
นิวคาสเซิลยูไนเต็ดได้เล่นในลีกสูงสุดถึง 90 ฤดูกาล นับตั้งแต่ก่อตั้งลีกในปี 1893[3] เกียรติประวัติคือ ชนะเลิศลีกสูงสุด 4 สมัย, เอฟเอคัพ 6 สมัย และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 1 สมัย และในการแข่งขันระดับทวีป พวกเขาชนะเลิศ อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ และ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ รายการละ 1 สมัย สโมสรประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1900 โดยชนะเลิศฟุตบอลดิวิชันหนึ่ง 3 สมัย และเอฟเอคัพ 1 สมัย[4] นิวคาสเซิลตกชั้นในยุคพรีเมียร์ลีกสองครั้งในฤดูกาล 2009[5] และ 2016[6] แต่สามารถเลื่อนชั้นกลับมาได้ภายในฤดูกาลเดียวทั้งสองครั้งในฐานะผู้ชนะการแข่งขันอีเอฟแอลแชมเปียนชิป พวกเขามีคู่แข่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกัน คือ ซันเดอร์แลนด์ และถือเป็นหนึ่งในการพบกันของสองสโมสรที่ดุเดือดที่สุดในอังกฤษ[7]
ในปี 1999 สโมสรทำรายรับได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ในอังกฤษเป็นรองเพียงแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และทำรายรับได้มากเป็นอันดับ 17 ของโลกในปี 2015 (170 ล้านยูโร) นิวคาสเซิลยังเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในอังกฤษ กลุ่มผู้สนับสนุนของสโมสรมีวัฒนธรรมในการร้องเพลง "Local Hero" และ "Blaydon Races" ในสนามเมื่อลงเล่นเป็นทีมเหย้า และใน ค.ศ. 2005 ภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษเรื่อง โกล์ ได้ออกฉายโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสโมสรนิวคาสเซิลซึ่งได้สะท้อนถึงความคลั่งไคล้ของกลุ่มผู้สนับสนุน[8] ไมค์ แอชลีย์ เข้าซื้อกิจการและควบคุมสโมสรในช่วงปี 2007–2021 ก่อนจะขายสโมสรให้กลุ่มทุนจากซาอุดีอาระเบีย ในราคา 300 ล้านปอนด์[9] โดยมียาซิร อัรรุมัยยาน เป็นประธานสโมสรคนใหม่ ส่งผลให้พวกเขาเป็นสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในพรีเมียร์ลีก[10][11][12]
ประวัติแก้ไข
ก่อตั้งทีม (1891–1900)แก้ไข
ในเดือนพฤศจิกายน 1881 ทีมคริกเก็ตสแตนลีย์ได้ตัดสินใจตั้งทีมฟุตบอลขึ้น เพื่อลงเล่นในช่วงที่ฤดูกาลแข่งขันคริกเก็ตปิดตัวลงในฤดูหนาว พวกเขาชนะเกมแรก 5–0 โดยมีคู่แข่งเป็นทีมเอลสวิกเลเธอร์เวิร์คส์ชุดสำรอง หนึ่งปีต่อมา ทีมก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลอีสต์เอนด์
ขณะเดียวกัน ทีมคริกเก็ตอีกทีมหนึ่งในย่านเดียวกันก็ได้เริ่มสนใจที่จะตั้งทีมฟุตบอล จนกระทั่งมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ขึ้น ในเดือนสิงหาคม 1882 โดยในช่วงแรกนั้น พวกเขาใช้สนามคริกเก็ตเดิมเป็นสนามเหย้า ก่อนที่จะย้ายไปลงเตะในเซนต์เจมส์พาร์ก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งฟุตบอลลีกท้องถิ่นขึ้นในปี 1889 การที่มีลีกอาชีพในบริเวณใกล้เคียงให้ลงเตะ ประกอบกับความสนใจในถ้วยเอฟเอคัพ ทำให้นิวคาสเซิลอีสต์เอนด์เปลี่ยนจากทีมสมัครเล่นมาเป็นทีมอาชีพในปีเดียวกันนั้นเอง แต่ทว่าทางฝั่งนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์กลับล้มเหลวที่จะตามรอยทีมเพื่อนบ้านสู่สถานะทีมฟุตบอลอาชีพ กระทั่งในช่วงต้นปี 1892 ผู้บริหารของนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ได้ตัดสินใจที่จะขอเข้าควบกิจการกับนิวคาสเซิลอีสต์เอนด์ เพื่อมิให้ทีมต้องยุบตัวลง การควบกิจการเป็นไปด้วยดี ในเดือนธันวาคม 1892 ชื่อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ก็ถูกเลือกให้เป็นชื่อใหม่ของทีม[13] และมีผู้จัดการทีมคนแรกคือ แฟรงก์ วัตต์
เริ่มประสบความสำเร็จ และการตกชั้นในยุคแรก (1900–70)แก้ไข
นิวคาสเซิลคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้ถึงสามสมัยในช่วงทศวรรษ 1900 และยังเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพถึง 5 ครั้งใน 7 ฤดูกาล แต่เป็นแชมป์เพียงครั้งเดียวใน 1910 โดยเอาชนะบาร์นสลีย์ในการเตะนัดรีเพลย์ที่กูดิสันพาร์ก หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยโดยเอาชนะแอสตันวิลลาที่สนามเวมบลีย์ และได้แชมป์ลีกอีกหนึ่งสมัยในฤดูกาล 1927 ด้วยผลงานของกองหน้าคนสำคัญและกัปตันทีมอย่าง ฮักกี แกลลาเชอร์ นักฟุตบอลชาวสกอต ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดตลอดกาลของสโมสร แต่หลังจากนั้นผลงานทีมก็ตกลงไป และกลายเป็นทีมกลางตาราง โดยต้องหนีตกชั้นในปี 1930 ก่อนที่แกลลาเกอร์จะลาทีมในปีนั้นเพื่อไปร่วมทีมเชลซี และ แอนดี คันนิงแฮม อดีตผู้เล่นสโมสรเข้ามาคุมทีมต่อในปี 1930–35 และพาทีมได้แชมป์เอฟเอคัพสมัยที่ 3 ในปี 1932 ชนะอาร์เซนอล 2–1 แต่ผลงานในลีกของทีมก็ยังย่ำแย่ต่อเนื่อง และต้องตกชั้นในฤดูกาล 1933–34 หลังจากเล่นในลีกสูงสุดนาน35 ปี คันนิงแฮมลาออก โดยมี ทอม มาเธอร์ เข้ามารับตำแหน่งต่อ[14]
การเข้ามาของมาเธอร์ก็ยังไม่อาจยกระดับทีมได้ นิวคาสเซิลยังเป็นทีมท้ายตารางในดิวิชั่นสอง และเกือบจะต้องตกสู่ดิวิชั่นสามในฤดูกาล 1937–38 แต่เอาตัวรอดได้ด้วยผลประตูได้เสียที่ดีกว่าทีมอื่น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี 1939 ทีมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยนำผู้เล่นใหม่เข้ามาเป็นแกนหลัก เช่น แจคกี มิลเบิร์น, ทอมมี วอล์คเกอร์ และบ็อบบี โคเวลล์พวกเขาเลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งหลังจบฤดูกาล 1947–48 ด้วยผลงานคุมทีมของ จอร์จ มาร์ติน
ในช่วงทศวรรษ 1950 นิวคาสเซิลเป็นแชมป์เอฟเอคัพถึง 3 สมัยในช่วงเวลา 5 ปี โดยชนะแบล็กพูล 2–0 ในปี 1951 ชนะอาร์เซนอล 1–0 ในปี 1952 และชนะแมนเชสเตอร์ซิตี 3–1 ในปี 1955 โดยในยุคนั้น มีผู้เล่นชื่อดังหลายคน เช่น แจคกี มิลเบิร์น, บ็อบบี มิทเชลล์ และ สแตน เซมัวร์ แต่ทีมกลับไปทำผลงานในลีกกระท่อนกระแท่นอีกครั้ง และตกชั้นอีกครั้งหลังจบฤดูกาล 1960–61 ในยุคของผู้จัดการทีม ชาร์ลี มิธเทน ซึ่งได้ลาออก
หลังจากตกชั้นลงไปดิวิชันสองอยู่ชั่วขณะ นิวคาสเซิลที่นำโดยผู้จัดการทีม โจ ฮาร์วีย์ ก็ได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดในปี 1965 ทีมของฮาร์วีย์ทำอันดับผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปครั้งแรกในปี 1968 ก่อนจะคว้าแชมป์ถ้วยอินเตอร์-ซิตีส์ แฟร์ส คัพ (ยูโรปาลีกในปัจจุบัน) ไปครองอย่างเหนือความคาดหมายในปีถัดมา โดยชนะทีมใหญ่ในยุโรปของยุคนั้นไปได้หลายราย ไม่ว่าจะเป็นสปอร์ติงลิสบอนจากโปรตุเกส, ไฟเยอโนร์ดจากเนเธอร์แลนด์ และเรอัลซาราโกซาจากสเปน และปิดท้ายด้วยการคว่ำทีมอุจเพสท์จากฮังการีในรอบชิงชนะเลิศ
นับตั้งแต่ก่อตั้งทีมมา นิวคาสเซิลมักจะมอบเสื้อหมายเลข 9 ให้แก่ผู้เล่นกองหน้าชื่อดังประจำทีม โดยประเพณีนี้ยังคงตกทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับในช่วงเวลานั้น ผู้เล่นที่ได้ใส่เสื้อหมายเลข 9 มีหลายคน เช่น วิน เดวีส์, บ็อบบี มอนเคอร์ หรือแฟรงค์ คลาร์ก
แชมป์ฟุตบอลถ้วย และตกชั้นอีกครั้ง (1970–90)แก้ไข
หลังจากประสบความสำเร็จในฟุตบอลยุโรป ฮาร์วีย์ก็ได้ดึงตัวผู้เล่นเกมรุกชื่อดังมากมายเข้ามาร่วมทีม นับตั้งแต่ จิมมี สมิธ, โทนี กรีน และเทอร์รี ฮิบบิทท์ ไปจนถึงยอดศูนย์หน้าอย่าง มัลคอล์ม แมคโดแนลด์ เจ้าของฉายา 'ซูเปอร์แมค' ผู้เป็นหนึ่งในตำนานของสโมสร แมคโดแนลด์พานิวคาสเซิลเข้าชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพกับลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ซิตีในปี 1974 และ 1976 ตามลำดับ แต่ก็แพ้ไปทั้งสองครั้ง
ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 นิวคาสเซิลอยู่ในช่วงตกต่ำ โดยได้ตกชั้นลงไปเล่นอยู่ในดิวิชัน 2 หลายปี ก่อนที่ผู้จัดการทีมอาร์เธอร์ ค็อกซ์จะสร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยมีเควิน คีแกน อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษเป็นแกนหลัก กระทั่งได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุด หลังจากนั้น นิวคาสเซิลเล่นอยู่ในดิวิชัน 1 จนกระทั่งตกชั้นอีกครั้งในปี 1989
ยุคแรกในพรีเมียร์ลีก (1992–2000)แก้ไข
ในปี 1992 เควิน คีแกน ได้กลับคืนสู่นิวคาสเซิลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อเขาตอบรับสัญญาระยะสั้นเข้ามาคุมทีมแทนออสซี อาร์ดิเลส ในขณะนั้น นิวคาสเซิลกำลังดิ้นรนหนีการตกชั้นอยู่ในดิวิชันสอง แม้ว่าจะเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยเซอร์ จอห์น ฮอลล์ และในฤดูกาลนั้น นิวคาสเซิลรอดพ้นการตกชั้น โดยเอาชนะปอร์ทสมัธและเลสเตอร์ซิตีในสองเกมสุดท้าย
ในฤดูกาลถัดมา ฟอร์มของนิวคาสเซิลเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเขาเล่นฟุตบอลเกมรุกแบบตื่นตาตื่นใจ จนกระทั่งคว้าชัยชนะในเกมลีก 11 นัดแรก ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์ดิวิชัน 1 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกด้วยชัยชนะเหนือกริมสบี ทาวน์ 2–0 พวกเขาจบฤดูกาล 1993–94 ที่อันดับ 3 และได้รับการตั้งฉายาโดยสื่อมวลชนอังกฤษว่าเป็น "The Entertainers" ในปีถัดมา นิวคาสเซิลจบฤดูกาลที่อันดับ 6 หลังจากที่ช็อกแฟนบอลด้วยการขายกองหน้าจอมถล่มประตู แอนดี โคล ให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด บวกกับคีธ กิลเลสพี ปีกดาวรุ่งชาวไอริช
ในปี 1995–96 นิวคาสเซิลเสริมทีมครั้งใหญ่ โดยดึงตัว ดาวิด ชิโนลา และ เลส เฟอร์ดินานด์ มาร่วมทีม พวกเขาเกือบคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ แต่ก็ทำได้เพียงรองแชมป์ ทั้งที่ในช่วงคริสต์มาส พวกเขาทิ้งห่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถึง 12 คะแนน และเกมที่นิวคาสเซิลพ่ายให้กับลิเวอร์พูลไป 3–4 ที่สนามแอนฟิลด์ในฤดูกาลนี้ ได้รับการโหวตให้เป็นเกมยอดเยี่ยมตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก นิวคาสเซิลเข้าป้ายเป็นอันดับ 2 อีกครั้งในปีถัดมา โดยเซ็นสัญญากองหน้าทีมชาติอังกฤษ แอลัน เชียเรอร์ มาร่วมทีมด้วยค่าตัวสถิติโลก 15,000,000 ปอนด์ ปีนี้เป็นที่จดจำของแฟนบอลหลายคน เนื่องจากนิวคาสเซิลได้ถล่มเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 5–0
ในเดือนมกราคม 1997 คีแกนลาออก และถูกแทนที่โดยเคนนี ดัลกลิช ซึ่งได้รับเลือกเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาเกมรับของทีม ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1997-98 ดัลกลิชพานิวคาสเซิลเข้าไปเล่นฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกแต่ก็ตกรอบแบ่งกลุ่ม และพ่ายต่ออาร์เซนอลในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพไป 0–2 หลังจากนั้น แฟนบอลก็เริ่มไม่พอใจกับสไตล์การทำทีมที่เน้นเกมรับของดัลกลิช เมื่อบวกกับผลงานที่ตกต่ำลงของทีม ทำให้ดัลกลิชถูกปลดในช่วงต้นฤดูกาล 1998-99 รืด คึลลิต เข้ามารับตำแหน่งต่อ และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง ก่อนจะพ่ายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และคึลลิตได้ทำการซื้อตัวผู้เล่นราคาแพงหลายคนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในพรีเมียร์ลีก เช่นมาร์เซลิโน และซิลวิโอ มาริช และยังมีปากเสียงกับผู้เล่นหลายคนในทีม ประกอบกับการเริ่มต้นฤดูกาล 1999–2000 ได้อย่างเลวร้าย ทำให้คึลลิตลาออก
เจ้าของใหม่ และตกชั้น (2000–10)แก้ไข
นิวคาสเซิลแต่งตั้งเซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษเข้ามากู้สถานการณ์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ในโซนตกชั้น เกมแรกภายใต้ร็อบสันจบลงด้วยชัยชนะ 8–0 เหนือเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ พร้อมทั้ง 5 ประตูจากกัปตันทีมแอลัน เชียเรอร์ ในช่วงที่ร็อบสันคุมทีม นิวคาสเซิลได้สร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยอาศัยนักเตะดาวรุ่งเป็นแกนหลัก ผู้เล่นอย่างคีรอน ดายเออร์, เคร็ก เบลลามี่ และโลรองต์ โรแบร์ ทำให้นิวคาสเซิลกลับมาเป็นทีมระดับหัวแถวของพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง ฟุตบอลเกมรุกอันน่าตื่นเต้นของพวกเขาทำให้ทีมทำผลยอดเยี่ยมในฤดูกาล 2001–02 จนได้กลับเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ในฤดูกาล 2002–03 นิวคาสเซิลได้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นทีมแรกในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่แพ้ในรอบแบ่งกลุ่ม 3 เกมแรกแต่ผ่านเข้ารอบต่อไปได้ ก่อนจะตกรอบแบ่งกลุ่มรอบสอง หลังจากถูกจับฉลากแบ่งสายไปอยู่ในกลุ่มเดียวกับทีมยักษ์ใหญ่อย่างบาร์เซโลนา และ อินเตอร์ มิลาน แต่พวกเขายังทำผลงานในลีกได้ดีโดยจบอันดับ 3[15]
ต่อมาในฤดูกาล 2003–04 นิวคาสเซิลตกรอบคัดเลือกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังพ่ายจุดโทษให้พาร์ทิซาน เบลเกรด ต้องไปเล่นในถ้วยยูฟ่าคัพแทน และจบฤดูกาลในอันดับ 5 รวมทั้งเข้ารอบรองชนะเลิศยูฟ่าคัพ แต่หลังจากนั้นสโมสรได้ปลด เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน และได้แต่งตั้งแกรม ซูเนส แทน[16]
ในฤดูกาล 2004–05 แกรม ซูเนส ได้เซ็นสัญญาไมเคิล โอเวน มาสู่ทีมโดยมีค่าตัวเป็นสถิติใหม่ของสโมสร อย่างไรก็ตาม เขาก็ถูกปลดหลังจากเริ่มฤดูกาล 2005–06 ได้อย่างย่ำแย่ เกล็น โรเดอร์ เข้ามาคุมทีมชั่วคราว และพาทีมจบอันดับ 7 รวมถึงผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ได้สิทธิ์ไปเล่นยูฟ่าคัพสโมสรจึงแต่งตั้งเขาเป็นผู้จัดการทีม และแอลัน เชียเรอร์ก็ได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลหลังจากจบฤดูกาล แต่ในฤดูกาล 2006–07 นิวคาสเซิลทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยแม้จะคว้าแชมป์ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพได้ แต่พวกเขาจบเพียงอันดับ 13 ในลีกและโรเดอร์ลาออก สโมสรแต่งตั้งแซม อัลลาร์ไดซ์ เป็นผู้จัดการทีม และเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อ เฟรดดี้ เชฟเฟริด ผู้บริหารสโมสรได้ตัดสินใจขายสโมสรให้แก่ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของธุรกิจขายอุปกรณ์กีฬา
ในฤดูกาล 2007–08 อัลลาร์ไดซ์ ได้เซ็นสัญญานักเตะมาสู่ทีมหลายคนเช่น เฌเรมี่, อลัน สมิธ, ดาวิด โรเซนนาล, เคลาดิโอ คาซาปา, โจอี บาร์ตัน เป็นต้น แต่ทีมฟอร์มตกจนไปอยู่ท้ายตาราง รวมถึงในเกมในบ้านที่แพ้ลิเวอร์พูล 0–3 ทำให้มีเสียงโห่จากแฟนบอลในเซนต์เจมส์พาร์ก ก่อนที่อัลลาร์ไดซ์จะโดนปลดและแทนที่ด้วย เควิน คีแกน ที่กลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง ทำให้สร้างขวัญกำลังใจให้กับนักเตะและแฟนบอลจนผลงานดีขึ้นและจบอันดับ 12
ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2008–09 ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างคีแกนกับบอร์ดบริหารเรื่องการแทรกแทรงการซื้อขายนักเตะ และในเดือนกันยายน คีแกน ได้ลาออก สโมสรจึงได้เซ็นสัญญา โจ คินเนียร์ เป็นผู้จัดการทีม แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 คินเนียร์ ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจ ทำให้สโมสรต้องเรียก อลัน เชียเรอร์ อดีตศูนย์หน้าของทีมเข้ามารับหน้าที่แทนเพื่อพาทีมหนีตกชั้นในขณะที่เหลือการแข่งขันอีก 8 นัด แต่ไม่สามารถช่วยทีมได้ โดยในนัดสุดท้ายนิวคาสเซิลบุกไปแพ้แอสตันวิลลา 0–1 ทำให้ทีมตกชั้น
หลังจากตกชั้น เชียเรอร์ก็หมดสัญญาคุมทีม โดยมีคริส ฮิวจ์ตัน ทำหน้าที่รักษาการแทน แต่ทีมต้องเสียนักเตะอย่าง ไมเคิล โอเวน, มาร์ค วิดูก้า, ดาวิด เอ็ดการ์, โอบาเฟมี มาร์ตินส์, เชย์ กิฟเวน, เซบาสเตียน บาสซง, เดเมียน ดัฟฟ์ และ ฮาบิบ เบย์ พร้อมทั้งมีข่าวว่า เควิน คีแกน ได้เรียกร้องเงินชดเชยที่ได้ระบุในสัญญาคุมทีม 3 ปี ก่อนจะลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากโดนแทรกแซงเรื่องการบริหาร ศาลตัดสินให้นิวคาสเซิ่ลจ่ายเงินชดเชยจำนวน 2,000,000 ปอนด์ โดยคีแกนไม่พอใจที่ถูก เดนนิส ไวส์ ผู้อำนวยการแทรกแซงเรื่องการซื้อขายนักเตะในการขายเจมส์ มิลเนอร์ รวมถึงการซื้อชิสโก และอิกนาซิโอ กอนซาเลซ และพยายามปล่อยโจอี บาร์ตัน ซึ่งคีแกนพยายามรั้งตัวไว้ ขณะเดียวกัน ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของสโมสรได้ถูกกดดันจากแฟนบอลจึงประกาศขายทีมทำให้ทีมเริ่มระส่ำระสายมากขึ้น แต่ในช่วงก่อนเปิดฤดูกาล นิวคาสเซิ่ลก็เสริมทัพโดยการซื้อ แดนนี ซิมป์สัน, ยืมตัว มาร์ลอน แฮร์วูด และเซ็นสัญญา ปีเตอร์ โลเวนครานด์ กับ ฟาบริซ ป็องครัต และไมค์ แอชลีย์ ยุติการขายสโมสรเนื่องจากไม่สามารถตกลงราคากับผู้ที่สนใจได้ พร้อมแต่งตั้ง คริส ฮิวจ์ตัน เป็นผู้จัดการทีมอย่างเป็นทางการ และในฟุตบอลแชมเปียนชิป นิวคาสเซิลคว้าแชมป์ได้ และได้เลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีก
2010–16แก้ไข
ในฤดูกาล 2010–11 นิวคาสเซิลเริ่มฤดูกาลได้อย่างยอดเยี่ยม พวกเขาชนะทีมที่มีชื่อทั้ง อาร์เซนอล, แอสตันวิลลา รวมถึง ซันเดอร์แลนด์ แต่ผลงานก็เริ่มตกลง และหลังจากพ่ายเวสต์บรอมวิชอัลเบียนซึ่งเลื่อนชั้นมาพร้อมกัน 1–3 ฮิวจ์ตันถูกปลด โดย แอลัน พาร์ดิว เข้ามารับตำแหน่งต่อ และในเดือนมกราคม สโมสรได้ปล่อย แอนดี้ คาร์โรลล์ เด็กปั้นของสโมสรให้แก่ลิเวอร์พูล และทีมก็จบฤดูกาลด้วยอันดับ 12
ในช่วงก่อนเริ่มฤดูกาล 2011–12 พาร์ดิวได้เปลี่ยนแปลงทีมครั้งใหญ่โดยการขายนักเตะอย่าง เควิน โนลัน, โจอี บาร์ตัน, และ โคเซ เอนรีเก ซานเชซ ออกจากทีม และเซ็นสัญญานักเตะรายใหม่เข้ามา เช่น ยออาน กาบาย, ดาวิเด ซานตอน, และ แดมบา บา ซึ่งทำให้เริ่มฤดูกาลได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการไม่แพ้ใครต่อเนื่องถึง 11 เกม และยังชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในช่วงเดือนมกราคม สโมสรได้เซ็นสัญญานักเตะเพิ่มอีก 2 คน คือ ปาปิส ซิสเซ และ ฮาเทม เบนอาร์กฟา ทำให้ทีมทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมรวมถึงชนะ ลิเวอร์พูล และ เชลซี จบอันดับ 5 ได้สิทธิ์ไปแข่งยูฟ่ายูโรปาลีก และพาร์ดิว ยังได้รับตำแหน่งผู้จัดการทีมยอดเยี่ยม แต่ทีมมีผลงานย่ำแย่ในฤดูกาลถัดมาโดยอันดับหล่นไปท้ายตารางเป็นส่วนมาก และจบด้วยอันดับ 16 ก่อนจะทำผลงานดีขึนในฤดูกาล 2013–14 ด้วยการจบอันดับ 10
ในฤดูกาล 2014–15 นิวคาสเซิลเริ่มต้นด้วยการไม่ชนะใครใน 7 เกมแรก แต่ก็ชนะรวดในอีก 6 เกมต่อมาขึ้นไปอยู่อันดับ 5 แต่หลังจากหยุดสถิติของ เชลซี ที่ไม่แพ้ใครตั้งแต่เปิดฤดูกาลลงได้ พาร์ดิว ได้ขอแยกทางกับทีมเพื่อไปคุมทีม คริสตัล พาเลซ และจอน คาร์เวอร์ ผู้ช่วยของพาร์ดิวขึ้นมารักษาการต่อจนจบฤดูกาล ในช่วงท้ายฤดูกาลพวกเขาต้องหนีตกชั้นอีกครั้ง แต่ชนะเวสแฮมได้ 2–0 ในเกมสุดท้าย ทำให้รอดตกชั้น
ในเดือนมิถุนายน 2015 สโมสรได้ปลด คาร์เวอร์ และแต่งตั้ง สตีฟ แม็คคลาเรน เข้าคุมทีม และได้นักเตะเข้ามาเสริมทีมได้แก่ จอร์จินโญ่ ไวนัลดุม, อเล็กซานดราร์ มิโตรวิช, เซียม เดอจอง แต่ทีมก็ทำผลงานได้ไม่ดีนัก และในเดือนมกราคม ได้ทุ่มเงินเสริมนักเตะเพิ่มคือ อันดรอส ทาวน์เซนด์ , อองรี ไซเวต์, จอนโจ้ เชลวี่ย์ และ เซย์ดู ดุมเบีย แต่ผลงานก็ยังไม่ดีขึ้นโดยชนะแค่ 6 เกมจาก 28 เกมในลีก ทำให้ตกอยู่ในอันดับที่ 19 ส่งผลให้แมคคลาเรนถูกปลด และแทนที่ด้วย ราฟาเอล เบนิเตช มาคุมทีมใน 10 นัดที่เหลือ แต่ไม่อาจช่วยให้สโมสรรอดพ้นการตกชั้นได้ และเป็นการตกชั้นครั้งที่สองในยุคของ ไมค์ แอชลีย์
ยุคใหม่ และมหาเศรษฐีทีมใหม่ของอังกฤษ (2017–ปัจจุบัน)แก้ไข
ในฤดูกาล 2016–17 สโมสรคว้าแชมป์เดอะแชมป์เปี้ยนชิพได้ และกลับสู่พรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ ก่อนที่เบนิเตซจะอำลาทีมในฤดูกาล 2019 เนื่องจากขัดแย้งกับบอร์ดบริหารในนโยบายการซื้อขายผู้เล่น สตีฟ บรูซ เข้ามาคุมทีมต่อ ซึ่งก็ยังทำผลงานได้ไม่ดีนักในสองฤดูกาลแรก โดยจบเพียงอันดับที่ 13 และ 12 ตามลำดับ ต่อมา ในวันที่ 8 ตุลาคม 2021 สโมสรนิวคาสเซิล ถูกขายให้กับกลุ่มทุน พีไอเอฟ ซึ่งนำโดย อแมนดา สเตฟลีย์ และพี่น้องรูเบน ในราคา 305 ล้านปอนด์ ปิดฉากการเป็นเจ้าของทีม 14 ปี ของไมค์ แอชลีย์ และทำให้นิวคาสเซิลเป็นสโมสรที่มีเจ้าของทีมร่ำรวยที่สุดในประเทศ[17][18] ต่อมา ในวันที่ 20 ตุลาคม สตีฟ บรูซ ได้ถูกปลดเนื่องจากทีมเริ่มต้นฤดูกาล 2021–22 ได้อย่างย่ำแย่[19] เอ็ดดี ฮาว เข้ามารับตำแหน่งต่อ[20] และสามารถพาทีมจบในอันดับ 11 จากที่เคยอยู่ในโซนท้ายตารางเมื่อช่วงกลางฤดูกาล
สนามแข่งแก้ไข
ตลอดประวัติศาสตร์ของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สนามเหย้าของพวกเขาคือ St James' Park ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เช่นเดียวกับเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับหกในสหราชอาณาจักร สนามนี้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ 10 นัด ครั้งแรกในปี 1901 และครั้งล่าสุดในปี 2005 ใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และรักบี้เวิลด์คัพ 2015[21] เริ่มมีการใช้สนามในช่วงต้นปี 1880 ซึ่งเป็นสนามที่ Newcastle Rangers ครอบครอง ก่อนที่จะกลายเป็นบ้านของ Newcastle West End F.C. ในปี 1886 เมื่อพวกเขาซื้อสัญญาเช่าดังกล่าว ก่อนที่พวกเขาจะเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20 ความจุของพื้นสนามอยู่ที่ 30,000 คน ก่อนที่จะมีการพัฒนาใหม่ระหว่างปี 1900 และ 1905 โดยเพิ่มความจุเป็น 60,000 และทำให้กลายเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษในช่วงเวลาหนึ่ง เกือบตลอดศตวรรษที่ 20 สนามกีฬามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แม้จะมีแผนการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ มากมายก็ตาม อัฒจันทร์ฝั่งตะวันตกแบบเก่าถูกแทนที่ด้วยมิลเบิร์นสแตนด์ในปี 1987 อัฒจันทร์เซอร์จอห์น ฮอลล์ สแตนด์แทนที่ลีซส์เอนด์ในปี 1993 และส่วนที่เหลือของพื้นสนามได้รับการปรับปรุงใหม่ ทำให้สนามมีความจุ 37,000 สนามกีฬาแบบที่นั่งทั้งหมด ระหว่างปี 1998 ถึง 2000 ได้มีการเพิ่มที่นั่งสองชั้นในมิลเบิร์น และอัฒจันทร์จอห์น ฮอลล์ เพื่อเพิ่มความจุของสถานที่ในปัจจุบันที่ 52,354 คน มีแผนจะสร้างสนามกีฬาใหม่ขนาด 90,000 ที่นั่งในสวนสาธารณะ Leazes ซึ่งอยู่ด้านหลัง St James'
ในเดือนตุลาคม 2009 ไมค์ แอชลีย์ อดีตเข้าของทีมประกาศว่าเขาวางแผนที่จะเปลี่ยนชื่อสนามเพื่อเพิ่มรายได้ และในเดือนพฤศจิกายน 2011 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อสนามกีฬาเป็น Sports Direct Arena[22] ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2015 บริษัทสินเชื่อเงินด่วน Wonga.com ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนหลักทางการค้าของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด และซื้อสิทธิ์การตั้งชื่อสนามกีฬาแต่ได้คืนชื่อสนามกลับมาเป็น เซนต์เจมส์ พาร์ค เนื่องจากกระแสเรียกร้องของแฟนบอล[23]
การสนับสนุนแก้ไข
ผู้สนับสนุนของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด มาจากทั่วทุกมุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและที่อื่น ๆ ในอังกฤษ[24] โดยมีสโมสรผู้สนับสนุนในหลายประเทศทั่วโลก ชื่อเล่นของสโมสรคือ The Magpies ในขณะที่ผู้สนับสนุนสโมสรนั้นรู้จักกันในชื่อ Geordies หรือ Toon Army ชื่อตูนมาจากการออกเสียงเมืองจอร์ดี แฟนของทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด จะมีชื่อเรียกว่า "ทูนอาร์มี" ซึ่งคำว่า "ทูน" นั้นเป็นภาษาแซกซัน คือคำว่า "ทาวน์" ที่แปลว่า "เมือง"[25]จากการสำรวจในปี 2004 โดย Co-operative Financial Services พบว่านิวคาสเซิลยูไนเต็ดอยู่อันดับต้น ๆ ของลีกสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและระยะทางที่แฟน ๆ ต้องใช้ในการเดินทางไปชมการแข่งขันทุกเกมพรีเมียร์ลีก[26] ระยะทางทั้งหมดที่แฟนบอลไปร่วมชมเกมในฐานะทีมเยือนทุกเกม พบว่าเทียบเท่ากับการเดินทางรอบโลกเลยทีเดียว[27] ในฤดูกาล 2009–2010 เมื่อสโมสรกำลังเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป การเข้าชมโดยเฉลี่ยที่สนามเซนต์เจมส์อยู่ที่ 43,388 ซึ่งเป็นอันดับที่สี่ของสโมสรอังกฤษในฤดูกาลนั้น[28] ต่อมา เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลพรีเมียร์ลีก 2011–12 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด มีผู้เข้าชมเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับสามของฤดูกาลที่ 49,935 ตัวเลขนี้แซงหน้าอาร์เซนอลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สองสโมสรที่มีสนามกีฬาขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในประเทศ
การช่วยเหลือสังคมแก้ไข
สโมสรก่อตั้งมูลนิธินิวคาสเซิลยูไนเต็ด ขึ้นในฤดูร้อนปี 2008[29] ซึ่งพยายามส่งเสริมการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพในหมู่เด็กที่ด้อยโอกาส คนหนุ่มสาว และครอบครัวในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ[30] ตลอดจนส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศโดยมี เคท แบรดลีย์ เป็นผู้จัดการมูลนิธิ ในปี 2010 องค์กรการกุศลได้สอนเด็กกว่า 5,000 คนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตด้วยการรักษาสุขภาพ
ในเดือนธันวาคม 2012 สโมสรได้ประกาศว่าพวกเขาเป็นทีมแรกของโลกที่บริหารทีมภายใต้หลักการ carbon-positive โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม[31] ทั้งระบบการจัดการในสนามแข่ง การใช้ชุดแข่งที่ผลิตด้วยวัสดุสิ่งแวดล้อม และการรณรงค์ด้านความสะอาดในสนามและบริเวณใกล้เคียง
สถิติสำคัญแก้ไข
นับถึงฤดูกาล 2019–20 นิวคาสเซิลได้เล่นในลีกสูงสุดถึง 89 ฤดูกาล มากที่สุดสโมสรหนึ่งในอังกฤษ และพวกเขาอยู่ในอันดับ 8 ในการจัดอันดับคะแนนรวมตลอดกาลนับตั้งแต่ก่อตั้งลีกสูงสุด รวมทั้งประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับ 9 ในอังกฤษ[32]
ผู้เล่นที่ลงสนามมากที่สุดให้กับทีมได้แก่ จิมมี ลอว์เรนซ์ (1904–22) จำนวน 496 นัด[33], ผู้ทำประตูมากที่สุดตลอดกาลได้แก่ แอลัน เชียเรอร์ (1996–2006) จำนวน 206 ประตู[34], ผู้ทำประตูมากที่สุดภายในหนึ่งฤดูกาลได้แก่ แอนดี โคล จำนวน 41 ประตู (ฤดูกาล 1993–94)
สถิติชนะมากที่สุดของสโมสร คือนัดชนะ สโมสรนิวพอร์ตเคาน์ตี ในฟุตบอลดิวิชั่นสองฤดูกาล 1946, สถิติแพ้มากที่สุดคือนัดแพ้สโมสรเบอร์ตัน 0–9 ในฟุตบอลดิวิชั่นสองฤดูกาล 1895, สถิติผู้ชมในสนามมากที่สุดได้แก่ นัดพบกับเชลซี (68,386 คน) ในการแข่งขันดิวิชั่นหนึ่งวันที่ 3 กันยายน 1930 และสถิติผู้เข้าชมสูงสุดในพรีเมียร์ลีกคือ 52,389 คน[35] ในนัดกับแมนเชสเตอร์ซิตีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2012 ซึ่งนิวคาสเซิลแพ้ไป 0–2, สถิติการขายผู้เล่นแพงที่สูงสุดคือการขายแอนดี แคร์โรล 35 ล้านปอนด์[36] ให้ลิเวอร์พูลในเดือนมกราคม 2011 และการซื้อผู้เล่นที่แพงที่สุดคือ โจลินตัน 40 ล้านปอนด์[37]จากสโมสร ฮ็อฟเฟินไฮม์ ในเดือนกรกฎาคม 2019
ผู้เล่นแก้ไข
- ณ วันที่ 1 มกราคม 2023[38]
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ปล่อยยืมแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลแก้ไข
ฤดูกาล | ลีก | ดาวซัลโวประจำทีม | ส่งบอลทำประตู | ผู้เล่นแห่งปี | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ | สัญชาติ | ประตู
(ลูกโทษ) |
ชื่อ | สัญชาติ | จำนวน
การส่ง |
ชื่อ | สัญชาติ | ||
1993-1994 | Premier League | Andy Cole | England | 34(0) | Andy Cole | England | 13 | Andy Cole | England |
1994-1995 | Premier League | Peter Beardsley | England | 13(3) | Ruel Fox | Montserrat | 11 | Barry Venison | England |
1995-1996 | Premier League | Les Ferdinand | England | 25(0) | Peter Beardsley | England | 9 | Darren Peacock | England |
1996-1997 | Premier League | Alan Shearer | England | 25(3) | Les Ferdinand | England | 8 | Steve Watson | England |
1997-1998 | Premier League | John Barnes | England | 6(1) | Temur Ketsbaia, Steve Watson | Georgia, England | 3 | David Batty | England |
1998-1999 | Premier League | Alan Shearer | England | 14(6) | Nolberto Solano | Peru | 5 | Alan Shearer | England |
1999-2000 | Premier League | Alan Shearer | England | 23(5) | Nolberto Solano | Peru | 15 | Alan Shearer | England |
2000-2001 | Premier League | Carl Cort | Guyana | 6(0) | Nolberto Solano | Peru | 10 | Shay Given | Ireland |
2001-2002 | Premier League | Alan Shearer | England | 23(5) | Laurent Robert | France | 11 | Nolberto Solano | Peru |
2002-2003 | Premier League | Alan Shearer | England | 17(2) | Laurent Robert | France | 7 | Alan Shearer | England |
2003-2004 | Premier League | Alan Shearer | England | 22(7) | Laurent Robert | France | 6 | Olivier Bernard | France |
2004-2005 | Premier League | Craig Bellamy, Alan Shearer | Wales, England | 7(0), 7(3) | Laurent Robert | France | 5 | Shay Given | Ireland |
2005-2006 | Premier League | Alan Shearer | England | 10(4) | Charles N'Zogbia | France | 8 | Shay Given | Ireland |
2006-2007 | Premier League | Obafemi Martins | Nigeria | 11(1) | James Milner | England | 5 | Nicky Butt | England |
2007-2008 | Premier League | Michael Owen | England | 11(2) | Geremi | Cameroon | 7 | Habib Beye | Senegal |
2008-2009 | Premier League | Obafemi Martins, Michael Owen | Nigeria, | 8(0),8(1) | Jonás Gutiérrez, Danny Guthrie, Geremi | Argentina, England, Cameroon | 3 | Sebastian Bassong | Cameroon |
2009-2010 | Coca-Cola Championship | Andy Carroll, Kevin Nolan | England | 17(0), 17(0) | Danny Guthrie | England | 13 | José Enrique | Spain |
2010-2011 | Premier League | Kevin Nolan | England | 12(1) | Joey Barton | England | 9 | Fabricio Coloccini | Argentina |
2011-2012 | Premier League | Demba Ba | Senegal | 16(2) | Yohan Cabaye | France | 6 | Tim Krul | Netherlands |
2012-2013 | Premier League | Papiss Demba Cissé | Senegal | 8(0) | Sylvain Marveaux | France | 4 | Davide Santon | Italy |
2013-2014 | Premier League | Loïc Rémy | France | 14(0) | Moussa Sissoko | France | 6 | Mike Williamson | England |
2014-2015 | Premier League | Papiss Demba Cissé | Senegal | 11(1) | Jack Colback, Daryl Janmaat | England, Netherlands | 6 | Daryl Janmaat | Netherlands |
2015-2016 | Premier League | Georginio Wijnaldum | Netherlands | 11(1) | Moussa Sissoko | France | 7 | Rob Elliot | Ireland |
2016-2017 | EFL Championship + FA Cup + League Cup | Dwight Gayle | England | 23(0) | Jonjo Shelvey | England | 10 | Ciaran Clark | Ireland |
2017-2018 | Premier League + FA Cup + League Cup | Ayoze Pérez | Spain | 10 | Ayoze Pérez, Matt Ritchie | Spain, Scotland | 5 | Jamaal Lascelles | England |
2018-2019 | Premier League+FA Cup+League Cup | Ayoze Pérez | Spain | 13 | Matt Ritchie | Scotland | 9 | Salomón Rondón | Venezuela |
2019-2020 | Premier League+FA Cup+League Cup | Miguel Almirón | Paraguay | 8 | Allan Saint Maximin, Christian Atsu | France, Ghana | 5 | Martin Dúbravka | Slovakia |
ผู้จัดการทีมในยุคพรีเมียร์ลีกแก้ไข
ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 - ปัจจุบัน
ชื่อ | สัญชาติ | เริ่ม | ถึง |
---|---|---|---|
เควิน คีแกน | 1992 | 1997 | |
เคนนี ดัลกลิช | 1997 | 1998 | |
รุส กุสลิต | 1998 | 1999 | |
เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน | 1999 | 2004 | |
แกรม ซูเนสส์ | 2004 | 2006 | |
เกล็น โรเดอร์ | 2006 | 2007 | |
แซม อัลลาร์ไดซ์ | 2007 | 2008 | |
เควิน คีแกน | 2008 | 2008 | |
โจ คินเนียร์ | 2008 | 2009 | |
อลัน เชียเรอร์ | 2009 | 2009 | |
คริส ฮิลตัน | 2009 | 2010 | |
อลัน พาร์ดิว | 2010 | 2015 | |
จอร์น คาร์เวอร์ (รักษาการ) | 2015 | 2015 | |
สตีฟ แม็คคาเรน | 2015 | 2016 | |
ราฟาเอล เบนิเตช | 2016 | 2019 | |
สตีฟ บรู๊ซ | 2019 | 2021 | |
เอ็ดดี ฮาว | 2021 |
เกียรติประวัติแก้ไข
ระดับประเทศแก้ไข
- ดิวิชันหนึ่ง/พรีเมียร์ลีก[46]
- ชนะเลิศ (4): 1904–05, 1906–07, 1908–09, 1926–27
- รองชนะเลิศ (2): 1995–96, 1996–97
- ดิวิชันสอง/อีเอฟแอลแชมเปียนชิป
- ชนะเลิศ (5): 1964–65, 1983–84, 1992–93, 2009–10, 2016–17
- รองชนะเลิศ (2): 1897–98, 1947–48
- เอฟเอคัพ
- ชนะเลิศ (6): 1909–10, 1923–24, 1931–32, 1950–51, 1951–52, 1954–55
- อีเอฟแอลคัพ
- รองชนะเลิศ (2): 1975–76, 2022–23
- เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
- ชนะเลิศ (1): 1909
ระดับทวีปยุโรปแก้ไข
- อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ
- ชนะเลิศ (1): 1968–69
- ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ
- ชนะเลิศ (1): 2006
- แองโกล-อินาเลียโนคัพ
- ชนะเลิศ (1): 1973
รายการอื่น ๆแก้ไข
- นอร์เทิร์นลีก
- ชนะเลิศ (3): 1902–03, 1903–04, 1904–05
- เอฟเอยูธคัพ
- ชนะเลิศ (2): 1962, 1985
- คีรินคัพ
- ชนะเลิศ (1): 1983
- เท็กเซโกคัพ
- ชนะเลิศ (2): 1974, 1975
- แชร์ออฟลอนดอนแชร์มูนิตีชีลด์
- ชนะเลิศ (1): 1907
- พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี่
- ชนะเลิศ (1): 2003
ในประเทศไทยแก้ไข
สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นักการเมือง[47]), นูรูล ศรียานเก็ม (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ (นักแสดง), ปราโมทย์ ปาทาน (นักร้อง) กิตติศักดิ์ เวชประสาร (ยัดห่า ชัยโสโร ยูทูบเบอร์), ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ (ผู้ประกาศข่าว) เป็นต้น
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "Newcastle rename St James' Park the Sports Direct Arena". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 4 December 2011.
- ↑ "PIF, PCP Capital Partners and RB Sports & Media acquire Newcastle United Football Club". NUFC News. October 7, 2021. สืบค้นเมื่อ October 7, 2021.
- ↑ "Newcastle United - Historical league placements". www.transfermarkt.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Newcastle United FC history and facts". www.footballhistory.org.
- ↑ Waugh, Chris (2019-05-24). "Where the NUFC squad are now, a decade on from the 2008/09 relegation". ChronicleLive (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.bbc.co.uk/sport/football/36266059
- ↑ Staff, Guardian (2005-10-23). "Football: A rivalry with roots in kings and coal". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "The cult film proving an unlikely aid to Newcastle's transfer plans". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-05-25.
- ↑ "Newcastle United takeover: Fans reflect on Mike Ashley years". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-10-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
- ↑ "Newcastle will be the richest club in the world: bought by Saudi sovereign fund". MARCA (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-07.
- ↑ "Newcastle United takeover Q&A: How and why Newcastle have become one of the world's richest football clubs". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Marshment, James (2021-10-07). "Mohammed Bin Salman wealth revealed; Jordan talks Newcastle takeover". TEAMtalk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "History". Newcastle United Football Club (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://web.archive.org/web/20110103000427/http://www.newcastleunited-mad.co.uk/feat/edz2/newcastle_utd__the_history_325295/index.shtml
- ↑ "Newcastle United FC Season History | Premier League". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Newcastle United FC Season History | Premier League". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.marca.com/en/football/newcastle-united/2021/10/07/615f4f6d22601d6a778b458f.html
- ↑ https://www.thesun.co.uk/sport/football/11445709/worlds-richest-football-club-owners-newcastle-psg/
- ↑ "Steve Bruce leaves Newcastle United by mutual consent". Newcastle United Football Club (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.nufc.co.uk/news/latest-news/newcastle-united-appoint-eddie-howe-as-head-coach/
- ↑ "St James' Park | Venues | London 2012". web.archive.org. 2011-07-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
- ↑ "Newcastle reveal new stadium name" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2009-11-04. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
- ↑ https://wayback.archive-it.org/all/20121010035657/http://www.telegraph.co.uk/sport/football/teams/newcastle-united/9596399/Newcastle-United-sponsorship-deal-with-Wonga-will-see-St-James-Park-reinstated-as-stadium-name.html
- ↑ "TyneTalk - Newcastle United Supporters Clubs". web.archive.org. 2011-09-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-02. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "สารคดีท่องโลกกว้าง: ท่องทั่วทวีป". ไทยพีบีเอส. 1 January 2015. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.prnewswire.co.uk/cgi/news/release?id=134995
- ↑ "The Times & The Sunday Times". www.thetimes.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Newcastle's Home Attendance 4th Best In England". web.archive.org. 2011-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Newcastle United | Foundation | FOUNDATION". web.archive.org. 2011-04-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Chronicle, Evening (2011-02-18). "Newcastle United Foundation hails success". ChronicleLive (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Tsubata, I.; Takashina, N. (1972-06). "The thermistor with positive temperature coefficient based on graphite carbon". Carbon. 10 (3): 337. doi:10.1016/0008-6223(72)90400-9. ISSN 0008-6223.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "KryssTal : Football (Running Total of Trophies)". web.archive.org. 2015-09-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Honours and records". Newcastle United Football Club (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "A. Shearer (England) - Stats and trophies". www.fastscore.com.
- ↑ https://www.bbc.co.uk/sport/football/17885333
- ↑ "Premier League football news from the Barclays Premier League | Carroll joins Liverpool". web.archive.org. 2011-02-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Newcastle United sign Hoffenheim forward Joelinton for club-record fee". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-23.
- ↑ "2015/16 Squad Numbers Announced". Newcastle United. 31 July 2015. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
- ↑ "Ciaran Clark signs season-long loan deal with Sheffield United". Newcastle United F.C. 13 July 2022. สืบค้นเมื่อ 15 July 2022.
- ↑ "Jeff Hendrick joins Reading on loan". Newcastle United F.C. 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 15 July 2022.
- ↑ https://www.premierleague.com/stats/top/players/goal_assist
- ↑ https://www.premierleague.com/stats/top/players/att_pen_goal
- ↑ https://www.worldfootball.net/goalgetter/eng-premier-league-2018-2019/
- ↑ https://www.premierleague.com/stats/top/players/goal_assist
- ↑ https://www.nufc.co.uk/news/
- ↑ "Club Honours". nufc.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-28. สืบค้นเมื่อ 2008-08-01.
- ↑ "แฟนสาลิกาตัวจริง!! "อภิสิทธิ์" โพสต์ภาพแซว "เรือใบหายไปไหน"". สปริงนิวส์. 2019-01-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.