สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี
สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี (อังกฤษ: Leicester City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ มีสนามเหย้า คือ คิงเพาเวอร์สเตเดียมในเมืองเลสเตอร์[2] ปัจจุบันเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีกโดยเลื่อนชั้นในฐานะทีมที่ชนะเลิศจากอีเอฟแอลแชมเปียนชิปในฤดูกาล 2013–14 ซึ่งเป็นการกลับมาเล่นในลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบทศวรรษ ในฤดูกาล 2015–16 เลสเตอร์ซิตีสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | จิ้งจอก (The Foxes) จิ้งจอกสยาม (ภาษาไทย) | |||
ก่อตั้ง | 1884 (ในชื่อ เลสเตอร์ฟอสส์) | |||
สนาม | คิงเพาเวอร์สเตเดียม (ความจุ: 32,500[1]) | |||
เจ้าของ | คิงเพาเวอร์อินเตอร์เนชันแนลกรุ๊ป | |||
ประธานสโมสร | อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา | |||
ผู้จัดการทีม | เบรนดัน ร็อดเจอส์ | |||
ลีก | พรีเมียร์ลีก | |||
2019–20 | พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 5 จาก 20 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
![]() |
ประวัติแก้ไข
สโมสรก่อตั้งในปี ค.ศ. 1884 โดยใช้ชื่อว่า เลสเตอร์ฟอสส์ (Leicester Fosse)[3] โดยเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่เรียนอยู่ในโรงเรียนโบสถ์ที่เคร่งครัด ลงขันกันเพื่อซื้อลูกฟุตบอลราคา 9 เพนนี มาเตะเล่น โดยการแข่งขันนัดแรกของสโมสร ตามที่บันทึกไว้ในหนังสือพิมพ์เดอะมิร์เรอร์ว่า เลสเตอร์ฟอสซี แข่งนัดแรก และเป็นฝ่ายชนะ ซิสตันฟอสส์ (Syston Fosse) ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน โดยเล่นในสนามละแวกถนนฟอสส์ ชื่อ วิกตอเรียพาร์ก (Victoria Park) ที่แตกต่างไปจากสโมสรอื่น ๆ คือ เลสเตอร์ซิตีมีสนามเหย้าของตัวเองก่อนการประกาศก่อตั้งสโมสรอย่างเป็นทางการ เนื่องจากในปถัดมา คือ ค.ศ. 1886 เมื่อมีสมาชิกของสโมสรครบ 40 คน เลสเตอร์ซิตีจึงประกาศเป็นทางการว่าปี ค.ศ. 1886 เป็นปีก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นเลสเตอร์ซิตีในปี ค.ศ. 1919
ต่อมาในปี ค.ศ. 1887 สโมสรมีเหตุจำเป็นที่ต้องย้ายไปสนามเบลเกรจโรดสปอร์ตส์ (Belgrave Road Sports) ก่อนที่ปีนั้นนั่นเอง สนามใหม่แห่งนี้ได้ตกเป็นของสหพันธ์รักบี้ ดังนั้นสโมสรจึงต้องย้ายตัวเองกลับไปวิกตอเรียพาร์กอีกครั้งหนึ่ง
ในปี ค.ศ. 1891 สโมสรจึงย้ายสนามมาที่ฟิลเบิร์ตสตรีท และใช้สนามนี้เป็นเวลา 111 ปี[4] ก่อนที่จะมาย้ายสนามซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกันเป็นวอล์กเกอส์สเตเดียมในปี ค.ศ. 2002 และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนามมาเป็น เดอะคิงพาวเวอร์สเตเดียม ตามชื่อของกลุ่มบริษัทผู้ซื้อกิจการ ในปี ค.ศ. 2010
นอกจากนี้แล้ว เลสเตอร์ซิตียังเป็นเพียงไม่กี่สโมสรที่สัญลักษณ์ของสโมสรมีปรากฏชัดเจนตั้งแต่ก่อตั้ง คือ รูปของสุนัขจิ้งจอก อันเป็นที่มาของชื่อเล่นและฉายา เนื่องจากเมืองเลสเตอร์นั้นเป็นเมืองที่มีการล่าสุนัขจิ้งจอกเป็นประจำจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมและประเพณีประจำเมือง[5]
คู่แข่งแก้ไข
สโมสรตั้งอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ และถือว่าทีมคู่แข่งร่วมภูมิภาค ได้แก่ ดาร์บีเคาน์ตี และนอตติงแฮมฟอเรสต์ แต่ทีมที่ถือว่าเป็นคู่แข่งสำคัญ ดาร์บีเคาน์ตี ทุกครั้งที่พบกันนั้น จะไม่มีสโมสรใดยอมอ่อนข้อให้เป็นศึกแห่งศักดิ์ศรี ที่มันดุเดือด สนุกถูกใจแฟนบอล (ชิงชัย แข่งกันเป็นเจ้าแห่งมิดแลนด์ตะวันออก) อีกหนึ่งทีม คือโคเวนทรีซิตี ที่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในภาคมิดแลนด์สตะวันตก ซึ่งถือว่าอยู่คนละภูมิภาคกันและอยู่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็อยู่ห่างออกไปเพียง 24 ไมล์ หรือประมาณ 38.6 กิโลเมตร และทั้งสองเมืองเชื่อมต่อกันด้วยทางหลวงสาย M69 [6] สื่อจึงมักขนานนามการแข่งขันระหว่างทั้งสองทีมว่า เอ็ม 69 ดาร์บี้แมตช์
ผู้เล่นแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทำเนียบผู้จัดการทีมแก้ไข
บุคลากรสโมสรแก้ไข
สมาชิกคณะกรรมการ และ กรรมการ | |
---|---|
หน้าที่ | บุคคล |
ประธาน | อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา |
รองประธาน | Apichet Srivaddhanaprabha |
รองประธาน | |
ผู้บริหารระดับสูง | Susan Whelan |
กรรมการบริหาร | Malcolm Stewart-Smith |
Director of Football | Jon Rudkin |
Football Operations Director | Andrew Neville |
Finance Director | Simon Capper |
Operations Director | Kevin Barclay |
การจัดการทีมชุดใหญ่ | |
---|---|
หน้าที่ | บุคคล |
ผู้จัดการทีมชุดใหญ่ | เบรนดัน ร็อดเจอส์ |
ผู้ช่วยผู้จัดการ | เปาโล เบเน |
ผู้ช่วยผู้จัดการ | สตีฟ วอล์ช |
Goalkeeping Coach & First Team Coach | Mike Stowell |
Head Scout | David Mills |
Academy Director | Jon Rudkin |
Head Physiotherapist | Dave Rennie |
สถิติผู้เล่นแก้ไข
กัปตันแก้ไข
วัน | ชื่อ |
---|---|
1987–1992 | Ally Mauchlen |
1992–1993 | สตีฟ วอล์ช |
1993–1994 | Gary Mills |
1995–1996 | Garry Parker |
1996–1999 | สตีฟ วอล์ช |
1999–2005 | Matt Elliott |
2005–2006 | Danny Tiatto |
2006–2007 | Paddy McCarthy |
2007–2008 | Stephen Clemence |
2008–2011 | Matt Oakley |
2011–2012 | Matt Mills |
2012– | เวส มอร์แกน |
ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีแก้ไข
ผู้เล่นฟุตบอลโลกแก้ไข
- John Anderson (1954)
- Willie Cunningham (1958)
- Ken Leek (1958)
- กอร์ดอน แบงส์ (1966) – Won the 1966 World Cup while at Leicester
- John O'Neill (1982, 1986)
- Paul Ramsey (1986)
- Gary McAllister (1990)
- David Kelly (1990)
- Matt Elliott (1998)
- เคซี เคลเลอร์ (1998)
- มุซซี่ อิซเซ็ท (2002)
- ริยาด มาห์เรซ (2014)
ผู้เล่นที่ลงเล่น 300 นัดขึ้นไปให้เลสเตอร์แก้ไข
|
|
|
ผู้เล่นที่ยิงประตู 50 ลูกขึ้นไปให้เลสเตอร์แก้ไข
|
|
|
เกียรติประวัติแก้ไข
ระดับประเทศแก้ไข
- ดิวิชันหนึ่ง/พรีเมียร์ลีก
- ชนะเลิศ (1): 2015–16
- รองชนะเลิศ (1): 1928–29
- ดิวิชันสอง/อีเอฟแอลแชมเปียนชิป
- ชนะเลิศ (7): 1924–25, 1936–37, 1953–54, 1956–57, 1970–71, 1979–80, 2013–14
- ลีกวัน
- ชนะเลิศ (1): 2008–09
- อีเอฟแอลคัพ
- ชนะเลิศ (3): 1964, 1997, 2000
- เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
- ชนะเลิศ (1): 1971
ระดับทวีปยุโรปแก้ไข
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- รอบก่อนรองชนะเลิศ (1): 2016–17
สถิติแก้ไข
- นักเตะที่ทำประตูได้ 11 นัดติดต่อกันใน 1 ฤดูกาล : เจมี วาร์ดี ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015
- แชมป์พรีเมียร์ลีกที่มีมูลค่าทีมน้อยที่สุด
- นักเตะที่เล่นให้เลสเตอร์ซิตีแล้วได้แชมป์ลีก 3 ดิวิชัน : แอนดี คิง
- ผู้จัดการทีมที่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีกเร็วที่สุด : เคลาดีโอ รานิเอรี โดยใช้ระยะเวลา 294 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ถึง 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2016
- สถิติแพ้น้อยที่สุดในประวัติศาศตร์ของสโมสรในหนึ่งฤดูกาลและสถิติแพ้นอกบ้านน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสรต่อการเล่นหนึ่งฤดูกาล
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "2013/14 Championship Guide". Leicester City Football Club. 24 June 2013. สืบค้นเมื่อ 11 February 2008.
- ↑ "Walkers Stadium". The Stadium Guide website. The Stadium Guide. 2004. สืบค้นเมื่อ 31 October 2013.
- ↑ "The History of Leicester City Football Club". Leicester City Official Website. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 21 June 2009. สืบค้นเมื่อ 31 October 2013. Italic or bold markup not allowed in:
|publisher=
(help) - ↑ "A History of Filbert Street". Filbertstreet.net. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.
- ↑ "จากบอลลูกละ 9 เพนนี". มิกซ์แมกกาซีน. 2016-05-09. สืบค้นเมื่อ 2017-07-21.
- ↑ Sinclair, John (17 February 2007). "Leicester v Coventry". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2009-06-17.
- ↑ "First Team Players". Leicester City F.C. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 9 July 2017. สืบค้นเมื่อ 10 August 2018. Unknown parameter
|dead-url=
ignored (help) - ↑ "Leicester City Squad Numbers For 2019/20 Confirmed". Leicester City F.C. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019. Unknown parameter
|dead-url=
ignored (help)
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี |