หมาจิ้งจอก
หมาจิ้งจอก | |
---|---|
หมาจิ้งจอกแดง (Vulpes vulpes) เป็นชนิดที่พบได้ในเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ |
วงศ์: | Canidae |
เผ่า: | Vulpini |
สกุล | |
หมาจิ้งจอก หรือ สุนัขจิ้งจอก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า จิ้งจอก (อังกฤษ: fox, jackal; อีสาน: หมาจอก) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วงศ์ Canidae ในเผ่า Vulpini ลักษณะทั่วไปของหมาจิ้งจอกจะมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่าสุนัขบ้านทั่วไป และคล้ายกับสุนัขไทยพื้นเมือง จมูกแหลมยาว หูใหญ่ชี้ตั้ง ฟันกรามแข็งแรงและแหลมคม หางยาวเป็นพวง ขนสีน้ำตาลแกมเหลือง หมาจิ้งจอกมีทั้งหมด 27 ชนิด ใน 5 สกุล พบได้ทั่วโลก แม้กระทั่งขั้วโลกเหนือ สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสภาพแวดล้อมได้ สำหรับในประเทศไทย หมาจิ้งจอกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช.2535[1]
พฤติกรรม
แก้ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันมักจะนอนในโพรงดิน หากมีหลายตัวอาจจะไล่จับกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น กวาง หรือสัตว์ขนาดเล็กเช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน แย้ หรือซากสัตว์และผลไม้ โดยมากหากินตัวเดียวหรือเป็นคู่ คือประมาณ 2-4 ตัว ไม่ค่อยอยู่เป็นฝูง จะดุเมื่อจวนตัว[1]
ส่วนการผสมพันธุ์ หมาจิ้งจอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 4-5 ตัว หมาจิ้งจอกมีอายุประมาณ 12 ปี สำหรับในประเทศไทยจะพบหมาจิ้งจอกได้เพียงชนิดเดียว คือ หมาจิ้งจอกทอง หรือ หมาจิ้งจอกเอเชีย[2]ซึ่งเชื่อว่า เป็นบรรพบุรุษต้นสายพันธุ์ของ สุนัขพันธุ์ไทยบางแก้ว ด้วย[3]
ชนิดของหมาจิ้งจอก
แก้- หมาจิ้งจอกแดง
- หมาจิ้งจอกทอง (ในทางอนุกรมวิธานไม่จัดว่าเป็นหมาจิ้งจอกแท้ ๆ เพราะมิได้อยู่ในเผ่า Vulpini แต่ถูกเรียกว่า หมาจิ้งจอก เพราะชื่อสามัญเป็นเช่นนั้น ซึ่งหมาจิ้งจอกทอง จะเป็นหมาจำพวกที่เรียกว่า "แจ็กคัล")[4]
- หมาจิ้งจอกหูค้างคาว
- หมาจิ้งจอกอาร์กติก
ความสัมพันธ์กับมนุษย์
แก้เชิงวัฒนธรรม
แก้หมาจิ้งจอก มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความเจ้าเล่ห์ ในความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออก เชื่อกันว่าจิ้งจอกที่มีอายุมาก ๆ จะเป็นปีศาจสามารถแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของหมาจิ้งจอกนั้นไม่ทำร้ายคนอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ และในนิทานหลายเรื่อง เช่น นิทานอีสปก็จะมีอ้างอิงถึงหมาจิ้งจอกอยู่มากด้วยเช่นกัน เช่น องุ่นเปรี้ยว, หมาหางด้วน หรือ สิงโตกับหมาจิ้งจอก เป็นต้น[5] ขณะที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าหมาจิ้งจอกเป็นตัวแทนของอินาริ (ญี่ปุ่น: 稲荷) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง และพืชพรรณธัญญาหาร[6]
การเลี้ยงหมาจิ้งจอก
แก้ในอดีตมีการค้นพบว่าหมาจิ้งจอกแดงสามารถนำมาเลี้ยงให้เชื่องได้ แต่ไม่สามารถเลี้ยงไว้ได้นาน ปัจจุบันมีหมาจิ้งจอกเงินในประเทศรัสเซีย[7]ที่มนุษย์สามารถนำไปเลี้ยงเป็นแบบหมาบ้านได้ เพราะหมาจิ้งจอกเงินดังกล่าวได้ผ่านการผสมพันธุ์เพื่อที่จะให้เป็นสัตว์เชื่องโดยเฉพาะมาเป็นเวลา 50 ปี พฤติกรรมของหมาจิ้งจอกเงินเหล่านี้คล้ายกับหมาบ้านมาก มนุษย์สามารถลูบหัวหรืออุ้มกอดได้ มักร้องเรียกคนและเลียคนโดยไม่มีความหวาดกลัว[8] ที่ญี่ปุ่น มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดมิยะงิ เป็นสถานที่เลี้ยงหมาจิ้งจอกเอาไว้มากกว่า 6 สายพันธุ์ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 สารานุกรมสัตว์ "สุนัขจิ้งจอก" จากองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์, สืบค้นวันที่ 19 มีนาคม 2553
- ↑ "หมาจิ้งจอก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.
- ↑ ประวัติสายพันธุ์สุนัขบางแก้ว
- ↑ HYBRID CANINES
- ↑ หมาจิ้งจอกทำไมจึงเจ้าเล่ห์[ลิงก์เสีย]
- ↑ 6.0 6.1 "นี่อาจเป็นสถานที่ที่น่ารักที่สุดในโลก หมู่บ้านจิ้งจอก "ซาโอะ"". addictblue.com. 9 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-06. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ "The most affectionate foxes are bred in Novosibirsk". Redhotrussia.com. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
- ↑ Kenneth Mason, Jonathan Losos, Susan Singer, Peter Raven, George Johnson(2011)Biology Ninth Edition, p. 423. McGraw-Hill, New York.ISBN 978-0-07-353222-6.