ขั้วโลกเหนือ (อังกฤษ: North Pole) หรือ ขั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ (อังกฤษ: Geographical North Pole) เป็นจุดบนผิวโลกในซีกโลกเหนือที่ตั้งฉากกับแกนหมุดของโลก บางครั้งเรียกว่าขั้วโลกเหนือจริง (True North) เพื่อแยกกับขั้วโลกเหนือแม่เหล็ก

ขั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์

ขั้วโลกเหนือเป็นจุดเหนือสุดของโลกและอยู่ตรงข้ามกับขั้วโลกใต้ตามแนวทะแยง มีการกำหนดให้ขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกับละติจูด 90 องศาเหนือ ที่ขั้วโลกเหนือทุกทิศทางจะเป็นทิศใต้ การที่เส้นลองจิจูดทุกเส้นต้องผ่านขั้วโลกเหนือเราจึงสามารถกำหนดให้เป็นค่าลองจิจูดองศาใดก็ได้ ภายในวงกลมละติจูด 90° แคบ ๆ นั้นทวนเข็มนาฬิกาคือทิศตะวันออกส่วนตามเข็มนาฬิกาคือทิศตะวันตก ขั้วโลกเหนือเป็นจุดศูนย์กลางของซีกโลกเหนือ แผ่นดินที่ใกล้กับขั้วโลกเหนือที่สุดคือเกาะคาเฟอคลูเปิน อันเป็นเกาะที่อยู่นอกชายฝั่งทางเหนือของเกาะกรีนแลนด์ เกาะครัฟเฟเคเบนนั้นห่างจากขั้วโลกเหนือราว 700 กม. ที่อยู่อาศัยถาวรที่อยู่ใกล้ที่สุดคืออะเลิร์ท นูนาวุต ประเทศแคนาดาซึ่งห่างจากขั้วโลกเหนือราว 817 กม.

ขั้วโลกใต้นั้นอยู่ในแผ่นดิน แต่ว่าขั้วโลกเหนือนั้นอยู่กลางมหาสมุทรอาร์กติกที่เป็นน่านน้ำปกคลุมด้วยน้ำแข็งทะเลเกือบถาวร ใน ค.ศ. 2007 มีร์เรือดำน้ำสัญชาติรัสเซียวัดความลึกของทะเลที่ขั้วโลกเหนือได้ที่ 4,261 ม.[1] และวัดได้ 4,087 ม. จากเรือยูเอสเอส นอติลุสใน ค.ศ. 1958[2][3] การที่มีลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ไม่สามารถสร้างสถานีถาวรที่ขั้วโลกเหนือได้ อย่างไร้ก็ตามสหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในเวลาต่อมา ได้สร้างสถานีลอยน้ำแข็งเป็นประจำเกือบทุกปีตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ซึ่งบางแห่งได้ลอยผ่านและใกล้กับขั้วโลกมาก ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 เป็นต้นมารัสเซียได้สร้างแคมป์บาเนียวใกล้กับขั้วโลกเป็นประจำทุกปี

การพยายามพิชิตขั้วโลกเหนือเริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 โดยมีสถิติที่ถูกบันทึกไว้หลายครั้ง การเดินทางถึงขั้วโลกเหนือโดยไม่ประสบปัญหาเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1926 การสำรวจครั้งนี้เดินทางโดยการใช้เรือเหาะนอร์ส บินสำรวจ คณะเดินทางชุดนี้มีทั้งหมด 16 คนโดยนับรวมรูอาล อามึนเซินผู้เป็นหัวหน้าคณะสำรวจด้วย

ข้อมูลภูมิอากาศของขั้วโลกเหนือ

แก้
ข้อมูลภูมิอากาศของสถานีอากาศกรีนแลนด์ที่ 83°38′N 033°22′W / 83.633°N 33.367°W / 83.633; -33.367 (Greenlandic weather station) อยู่ห่างจากขั้วโลกเหนือ 709 กม. (441 ไมล์)
(การสังเกตการณ์โดยเฉลี่ย 11 ปี)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -13
(9)
-14
(7)
-11
(12)
-6
(21)
3
(37)
10
(50)
13
(55)
12
(54)
7
(45)
9
(48)
0.6
(33.1)
0.7
(33.3)
13
(55)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) -29
(-20)
-31
(-24)
-30
(-22)
-22
(-8)
-9
(16)
0
(32)
2
(36)
1
(34)
0
(32)
-8
(18)
-25
(-13)
-26
(-15)
−14.8
(5.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) -31
(-24)
-32
(-26)
-31
(-24)
-23
(-9)
-11
(12)
-1
(30)
1
(34)
0
(32)
-1
(30)
-10
(14)
-27
(-17)
-28
(-18)
−16.2
(2.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -33
(-27)
-35
(-31)
-34
(-29)
-26
(-15)
-12
(10)
-2
(28)
0
(32)
-1
(30)
-2
(28)
-11
(12)
-30
(-22)
-31
(-24)
−18.1
(−0.5)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -47
(-53)
-50
(-58)
-50
(-58)
-41
(-42)
-24
(-11)
-12
(10)
-2
(28)
-12
(10)
-31
(-24)
-21
(-6)
-41
(-42)
-47
(-53)
−50
(−58)
ความชื้นร้อยละ 83.5 83.0 83.0 85.0 87.5 90.0 90.0 89.5 88.0 84.5 83.0 83.0 85.83
แหล่งที่มา: Weatherbase[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Russian sub plants flag at North Pole, Reuters, 2 August 2007
  2. Андерсон, Уильям Роберт (1965). ""Наутилус" у Северного полюса". Воениздат. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  3. Mouton, M.W. (1968). The International Regime of the Polar Regions. Acadimie de Droit International de La Ha. pp. 202 (34). ISBN 978-9028614420. สืบค้นเมื่อ 12 January 2012.
  4. "CLOSEST DATA FOR NORTH POLE - 440 MI/709 KM, GREENLAND". Weatherbase. สืบค้นเมื่อ 19 September 2015.

ดูเพิ่ม

แก้