กรีนแลนด์
กรีนแลนด์ (กรีนแลนด์: Kalaallit Nunaat; เดนมาร์ก: Grønland เกฺรินลันฺด) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499
เขตปกครองตนเองกรีนแลนด์แห่งประเทศเดนมาร์ก
Greenland The Autonomous Region of Denmark Kalaallit Nunaat (กรีนแลนด์) Grønland (เดนมาร์ก) | |
---|---|
เพลงชาติ: Nunarput utoqqarsuanngoravit "คุณคือผืนดินเก่าแก่ของพวกเรา" Nuna asiilasooq "ดินแดนแห่งความยิ่งใหญ่" | |
![]() ที่ตั้งของกรีนแลนด์ | |
เมืองหลวง และ ใหญ่สุด | นุก |
ภาษาราชการ | ภาษากรีนแลนด์, ภาษาเดนมาร์ก |
การปกครอง | การพัฒนารัฐบาลภายในระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
• พระประมุข | สมเด็จพระราชินีนาถมาเกรเตที่ 2 |
• นายกรัฐมนตรี | คิม คีลเซน |
เอกราชปกครองตนเอง จากเดนมาร์ก | |
• จากเดนมาร์ก | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,166,086 ตารางกิโลเมตร (836,330 ตารางไมล์) |
83.1 † | |
ประชากร | |
• 1 มกราคม 2562 ประมาณ | 55,992 (207) |
0.025 ต่อตารางกิโลเมตร (0.1 ต่อตารางไมล์) (230) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2544 (ประมาณ) |
• รวม | 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (192) |
• ต่อหัว | 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ (52) |
HDI (2013) | 0.803 สูงมาก |
สกุลเงิน | โครนเดนมาร์ก (DKK) |
เขตเวลา | UTC0 to -4 |
รหัสโทรศัพท์ | 299 |
โดเมนบนสุด | .gl |
†ปี พ.ศ. 2543: เนื้อที่ 410,449 ตารางกิโลเมตร (158,433 ตารางไมล์) ไม่มีน้ำแข็งปกคลุม ส่วนเนื้อที่ 1,755,637 ตารางกิโลเมตร (677,676 ตารางไมล์) ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง |
ประวัติศาสตร์แก้ไข
ในสมัยช่วงศตวรรษที่ 10 - 11 ได้มีพวกไวกิงจากแถบสแกนดิเนเวียอพยพถิ่นอาศัย จนกลายเป็นเมืองขึ้นของเดนมาร์ก ต่อมา กรีนแลนด์ได้รับสิทธิปกครองตนเองจากเดนมาร์กเมื่อปี 1979โดยมีอำนาจปกครองตนเองในทุกทุกด้านยกเว้นด้านการต่างประเทศและการทหารเช่นเดียวกับหมู่เกาะแฟโร
การเมืองแก้ไข
ปัจจุบันกรีนแลนด์มีรัฐบาลปกครองตนเอง โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเดนมาร์ก โดยมีพระมหากษัตริย์คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
ภูมิศาสตร์แก้ไข
กรีนแลนด์เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกและตั้งอยู่ทางทิศเหนือบริเวณที่แอตแลนติกพบกับมหาสมุทรอาร์ติค ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นน้ำแข็งไปหมดแล้ว และมีทะเลล้อมรอบเกาะอยู่ ดังนั้นชายฝั่งจะมีอุณหภูมิต่ำอยู่ตลอดเวลา และด้วยสภาพที่ตั้งจึงทำให้ภูมิอากาศของกรีนแลนด์เป็นภูมิอากาศหนาวเย็นแบบอาร์คติก
แผ่นน้ำแข็งมีอาณาเขตกว้างปกคุลุมถึง 1,833,900 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ พื้นที่ทั้งหมด 85 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งหมดของกรีนแลนด์และขยายไปถึง 2,500 กิโลเมตร จากทางเหนือจรดทางใต้ และกว้างกว่า 1,000 กิโลเมตรจากทางตะวันออกไปทางตะวันตก ทางตอนกลางของเกาะ มีแผ่นน้ำแข็งที่มีความหนามากกว่า 3 กิโลเมตรและ ถือได้ว่าเป็น 10 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งหมด
การขนส่งแก้ไข
มีสนามบินหลักสองแห่ง คือนาร์ซาร์สวก (Mittarfik Narsarsuaq) ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศ และคางเกอร์ลูสซวก (Mittarfik Kangerlussuaq) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกกลางของประเทศ
ประชากรแก้ไข
กรีนแลนด์มีประชากรราว 56,370 คน (ปี ค.ศ. 2013)[1] ประกอบด้วยชาวอินูอิต 88% (รวมทั้งผู้เป็นลูกผสม) และชาวยุโรป 12% ซึ่งโดยมากเป็นชาวเดนมาร์ก ภาษาหลักคือ กรีนแลนด์ (kalaallisut หรือ grønlandsk) และเดนมาร์ก (dansk) โดยประชากรส่วนใหญ่พูดได้ทั้งสองภาษา ศาสนาที่ประชากรโดยมากนับถือ คือ ศาสนาคริสต์ นิกายลูเทอแรน ถึงแม้เกาะกรีนแลนด์จะเป็นเกาะใหญ่ แต่ประชากรก็อาศัยได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เนื่องจากเกาะนี้มีน้ำแข็งปกคลุมอยู่มาก
วัฒนธรรมแก้ไข
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศาสนาแก้ไข
การปกครองตนเองแก้ไข
กรีนแลนด์ได้มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ประมาณ 39,000 คน โดยผลการลงประชามติประกาศในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ตอนเช้า ปรากฏว่าร้อยละ 75.54 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 23.57 ไม่เห็นด้วย โดยจะมีผลรับรองในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมีสิทธิและเสรีภาพเต็ม พ้นจากประเทศเดนมาร์ก โดยสามารถขยายอำนาจการปกครองไปยังพื้นที่ใหม่ ๆ และสามารถบริหารแหล่งทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเล ซึ่งคาดว่ามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก รวมถึงดูแลความรับผิดชอบด้านความยุติธรรม หน้าที่ของตำรวจและกิจการต่างประเทศ แต่ไม่มีสิทธิในการทหาร
ทั้งนี้ นายลาร์ส-เอมีล โจฮันเซน นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ซึ่งปกครองเกาะระหว่างปี 2534-2540 และพยายามให้กรีนแลนด์มีบทบาทกึ่งปกครองตนเอง เมื่อปี 2542 ให้สัมภาษณ์ว่า หากประชาชนเห็นชอบก็ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศชาติที่ต่อไปประชาชนก็คือชาวกรีนแลนด์ มีภาษาเป็นของตนเอง มีสิทธิ์ตัดสินใจด้วยตนเอง
ดูเพิ่มแก้ไข
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Greenland in Figures 2013 (PDF). Statistics Greenland. ISBN 978-87-986787-7-9. ISSN 1602-5709. สืบค้นเมื่อ 2 September 2013.