พ.ศ. 2559
ปี
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2016)
พุทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น
- ปีวอก อัฐศก จุลศักราช 1378 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2559 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2016 MMXVI |
Ab urbe condita | 2769 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1465 ԹՎ ՌՆԿԵ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6766 |
ปฏิทินบาไฮ | 172–173 |
ปฏิทินเบงกอล | 1423 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2966 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 64 Eliz. 2 – 65 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2560 |
ปฏิทินพม่า | 1378 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7524–7525 |
ปฏิทินจีน | 乙未年 (มะแมธาตุไม้) 4712 หรือ 4652 — ถึง — 丙申年 (วอกธาตุไฟ) 4713 หรือ 4653 |
ปฏิทินคอปติก | 1732–1733 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3182 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2008–2009 |
ปฏิทินฮีบรู | 5776–5777 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2072–2073 |
- ศกสมวัต | 1938–1939 |
- กลียุค | 5117–5118 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12016 |
ปฏิทินอิกโบ | 1016–1017 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1394–1395 |
ปฏิทินอิสลาม | 1437–1438 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 28 (平成28年) |
ปฏิทินจูเช | 105 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4349 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 105 民國105年 |
เวลายูนิกซ์ | 1451606400–1483228799 |
ผู้นำประเทศไทย
แก้- พระมหากษัตริย์:
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566)
เหตุการณ์
แก้มกราคม
แก้- 3 มกราคม – ประเทศซาอุดีอาระเบียตัดความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอิหร่าน สืบเนื่องจากการประหารชีวิตเชคนิมร์ อัล นิมร์[1]
- 8 มกราคม – โคอากิง กุซมัง ผู้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนามนักค้ายาเสพติดทีทรงอำนาจที่สุดในโลก ถูกจับกุมอีกครั้งหลังหลบหนีออกจากเรือนจำที่มีระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูง[2]
- 16 มกราคม – ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศประกาศว่าประเทศอิหร่านรื้อโครงการนิวเคลียร์ของตนเพียงพอแล้ว ทำให้สหประชาชาติยกเลิกวิธีการบังคับทันที[3]
- 17 มกราคม – บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในฟลินต์ รัฐมิชิแกน เนื่องจากเกิดวิกฤตน้ำประปาปนเปื้อนสารตะกั่ว[4]
- 28 มกราคม – องค์การอนามัยโลกประกาศให้ไวรัสซิกาเป็นโรคระบาด[5]
กุมภาพันธ์
แก้- 7 กุมภาพันธ์ – ประเทศเกาหลีเหนือปล่อยจรวดพิสัยไกลสู่อวกาศ ซึ่งละเมิดสนธิสัญญาของสหประชาชาติหลายฉบับและกระตุ้นการประณามจากทั่วโลก[6]
- 11 กุมภาพันธ์ – นักวิทยาศาสตร์ประกาศการตรวจพบครั้งแรกของคลื่นความโน้มถ่วง ซึ่งถูกทำนายไว้โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์[7][8]
- 12 กุมภาพันธ์ – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสและอัครบิดรคีริลล์ร่วมลงนามในประกาศการร่วมมือกันระหว่างคริสตจักรโรมันคาทอลิกกับศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย ในการประชุมระหว่างผู้นำของทั้งสองนิกาย ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สังฆเภทในปี ค.ศ. 1054[9]
มีนาคม
แก้- 14 มีนาคม – องค์การอวกาศยุโรปและองค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียปล่อยยานร่วมเอ็กโซมารส์เทรสแก๊สออร์บิเตอร์ ในภารกิจ ณ ดาวอังคาร[10]
- 22 มีนาคม – เกิดเหตุก่อการร้ายในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม บริเวณท่าอากาศยานซาเวนเทมและพื้นที่อื่น ๆ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 32 คน และบาดเจ็บอย่างน้อย 250 คน
- 24 มีนาคม – ราดอวาน คาราจิช อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐเซิร์ปสกา ถูกตัดสินจำคุก 40 ปี ฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในสงครามบอสเนีย[11]
เมษายน
แก้- 2 เมษายน – เกิดเหตุยิงปะทะกันระหว่างกองกำลังของอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานบริเวณเหนือดินแดนพิพาทนากอร์โน-คาราบัค มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 193 คน[12]
พฤษภาคม
แก้- 19 พฤษภาคม – เครื่องบินสายการบินอียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 804 ตกลงในทะเลเมดิเตอเรเนียนพร้อมผู้โดยสาร ลูกเรือ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 66 คน ระหว่างเดินทางจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ไปยังกรุงไคโร ประเทศอียิปต์[13]
มิถุนายน
แก้- 1 มิถุนายน – อุโมงค์ฐานกอทท์ฮาร์ด อุโมงค์รถไฟที่ยาวและลึกที่สุดในโลก สร้างขึ้นเพื่อลอดผ่านเทือกเขาแอลป์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เปิดใช้งานเป็นวันแรก[14]
- 23 มิถุนายน – สหราชอาณาจักรจัดการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป ผลคือ มีผู้เห็นชอบให้แยกตัวมากกว่าผู้ไม่เห็นชอบ ร้อยละ 51.9 ต่อร้อยละ 48.1[15]
- 28 มิถุนายน – เกิดเหตุก่อการร้ายกราดยิงและระเบิดพลีชีพที่ท่าอากาศยานอตาเติร์ก กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 47 ราย (รวมมือระเบิด) และผู้บาดเจ็บ 239 ราย[16]
กรกฎาคม
แก้- 1 กรกฎาคม – ประเทศลัตเวีย เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 35 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา[17]
- 4 กรกฎาคม – ยานอวกาศจูโนของนาซาเดินทางถึงวงโคจรของดาวพฤหัสบดี[18]
- 12 กรกฎาคม – ประเทศฟิลิปปินส์ชนะคดีอนุญาโตตุลาการซึ่งยื่นฟ้องที่ศาลอนุญาโตตุลาการ ว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมายที่ประเทศจีนเรียกร้อง การอ้างเส้นประเก้าเส้น เหนือทะเลจีนใต้ ภายใต้ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล[19][20]
- 15 กรกฎาคม – กองทัพตุรกีพยายามรัฐประหารประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน แต่ไม่สำเร็จ[21]
- 22 กรกฎาคม – บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าฟุไนของญี่ปุ่นผลิตเครื่องบันทึกวีดิโอเทปเครื่องสุดท้าย[22]
- 26 กรกฎาคม – เครื่องบินโซลาร์อิมพิวส์ 2 เป็นอากาศยานพลังงานแสงอาทิตย์ลำแรกของโลกที่เดินทางรอบโลกสำเร็จ[23]
สิงหาคม
แก้- 5-21 สิงหาคม – โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล[24]
- 7 สิงหาคม – วันออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประเด็นคำถามเพิ่มเติมจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[25]
- 31 สิงหาคม – วุฒิสภาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลลงคะแนนเสียง 61-20 ถอดถอนจิลมา รูเซฟ พ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี[26]
กันยายน
แก้- 9 กันยายน – รัฐบาลเกาหลีเหนือทดสอบอาวุธนิวเคลียร์เป็นครั้งที่ 5 โดยมีรายงานว่าเป็นการทดสอบครั้งที่ใหญ่ที่สุด ผู้นำหลายประเทศประนามการกระทำดังกล่าว[27]
- 28 กันยายน – ฝ่ายสืบสวนนานาชาติกรณีเครื่องบินสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ถูกยิงตกในประเทศยูเครน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 สรุปว่า เครื่องบินลำดังกล่าวถูกยิงโดยขีปนาวุธบุ๊ก ที่ยิงมาจากพื้นที่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มกบฏฝ่ายสนับสนุนรัสเซีย[28]
- 30 กันยายน – เจ้าหน้าที่ตำรวจอิตาลีพบภาพวาดของฟินเซนต์ ฟัน โคค 2 ภาพที่ถูกขโมยไปจากพิพิธภัณฑ์ฟันโคค กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2545[29]
ตุลาคม
แก้- 13 ตุลาคม –
- พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต
- สาธารณรัฐมัลดีฟส์ประกาศออกจากการเป็นสมาชิกเครือจักรภพแห่งประชาชาติ[30]
- 15 ตุลาคม – ประเทศสมาชิก 150 ประเทศจัดทำข้อตกลงร่วมกันงดใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอนส์ ในการประชุมโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ณ ประเทศรวันดา[31]
พฤศจิกายน
แก้- 8 พฤศจิกายน – รัฐบาลอินเดียประกาศยกเลิกธนบัตรมูลค่า 500 และ 1,000 รูปี เพื่อแก้ปัญหาการถือครองเงินนอกระบบ (black money) ทั้งนี้ ทางการได้จัดพิมพ์ธนบัตรใหม่พร้อมเปิดให้ประชาชนนำธนบัตรเก่ามาแลกเป็นธนบัตรใหม่ได้ภายใน 50 วัน [32]
ธันวาคม
แก้- 19 ธันวาคม
- เกิดเหตุลอบสังหารอันเดรย์ คาร์ลอฟ เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำประเทศตุรกี ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี[33]
- ผู้ก่อการร้ายขับรถบรรทุกชนคนในตลาดคริสต์มาส กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 48 ราย
วันเกิด
แก้- 5 กุมภาพันธ์ – เจ้าชายจิกมี นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฎาน พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก และสมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก
- 2 มีนาคม – เจ้าชายออสการ์ ดยุกแห่งสกอเน พระโอรสในเจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดนและเจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์
- 19 เมษายน – เจ้าชายอเล็กซันเดอร์ ดยุกแห่งเซอเดร์มันลันด์พระโอรสใน เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลันด์ และ เจ้าหญิงโซเฟีย ดัชเชสแห่งแวร์มลันด์
วันถึงแก่กรรม
แก้มกราคม
แก้- 1 มกราคม – จอร์จ อเล็กซานดรูว นักแสดงชายชาวโรมาเนีย (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500)
- 2 มกราคม – เชคนิมร์ อัล นิมร์ นักกิจกรรมทางศาสนาชาวซาอุดิอาระเบีย (เกิด พ.ศ. 2502)
- 4 มกราคม – เฟร์นันโด บาร์ราชีนา นักฟุตบอลชาวสเปน (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502)
- 5 มกราคม – บ๊อบ อาร์มสตรอง นักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
- 7 มกราคม –
- เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี นักเขียนชาวอิหร่าน (เกิด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2462)
- กลาส บักเกอร์ นักฟุตบอลชาวดัตช์ (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2469)
- 10 มกราคม –
- เดวิด โบอี นักร้องและนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2490)
- เตโอฟิล โกเดรียนู นักฟุตบอลชาวโรมาเนีย (เกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484)
- 14 มกราคม – แอลัน ริกแมน นักแสดงชาวอังกฤษ (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489)
- 15 มกราคม – มานวยล์ เบลัซเกซ นักฟุตบอลชาวสเปน (เกิด 24 มกราคม พ.ศ. 2486)
- 18 มกราคม – เกล็นน์ เฟรย์ นักดนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 6 พฤศจิกายน 2491)
- 24 มกราคม – มาร์วิน มินสกี นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2470)
- 25 มกราคม – พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) พระวิปัสสนาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471)
กุมภาพันธ์
แก้- 4 กุมภาพันธ์ – เอ็ดการ์ มิตเชล นักบินอวกาศชาวอเมริกัน (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2473)
- 16 กุมภาพันธ์ – บูทรอส บูทรอส-กาลี นักการทูตชาวอียิปต์และเลขาธิการสหประชาชาติ (เกิด 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- 19 กุมภาพันธ์ –
- ฮาร์เปอร์ ลี นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 28 เมษายน พ.ศ. 2469)
- อุมแบร์โต เอโก นักเขียนและนักปรัชญาชาวอิตาลี (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2475)
มีนาคม
แก้- 3 มีนาคม – ถนัด คอมันตร์ นักการทูตและนักการเมืองชาวไทย (เกิด 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2457)
- 6 มีนาคม – แนนซี เรแกน นักแสดงและอดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐ (เกิด 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2464)
- 8 มีนาคม – จอร์จ มาร์ติน โปรดิวเซอร์ นักเรียบเรียง นักประพันธ์เพลง และนักดนตรีชาวอังกฤษ (เกิด 3 มกราคม พ.ศ. 2469)
- 21 มีนาคม – แอนดรูว์ โกรฟ วิศวกรและนักธุรกิจชาวฮังการี-อเมริกัน (เกิด 2 กันยายน พ.ศ. 2479)
- 24 มีนาคม – โยฮัน ไกรฟฟ์ นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวดัตช์ (เกิด 25 เมษายน พ.ศ. 2490)
- 31 มีนาคม
- ซาฮา ฮาดิด สถาปนิกชาวอิรัก-อังกฤษ (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2493)
- อิมเร เคอร์เตสซ์ นักเขียนและผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวฮังการี (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
เมษายน
แก้- 3 เมษายน – เชซาเร มัลดีนี นักฟุตบอลและผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอิตาลี (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475)
- 8 เมษายน - วริศรา สวัสดิกุล ณ อยุธยา นักร้องและนักแสดงชาวไทย (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2530)
- 11 เมษายน – ริชาร์ด แรนซัม นักธุรกิจชาวอเมริกัน (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2462)
- 20 เมษายน – ไชนา (โจน มารี ลอว์เลอร์) นักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2513)
- 21 เมษายน – พรินซ์ โรเจอร์ส เนลสัน นักดนตรีชาวอเมริกัน (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2501)
- 23 เมษายน – บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475)
- 30 เมษายน - แดง จิตกร นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2513)
พฤษภาคม
แก้- 1 พฤษภาคม – แมดเดอเลน เลอโบ นักแสดงหญิงชาวฝรั่งเศส (เกิด 10 มิถุนายน พ.ศ. 2466)
มิถุนายน
แก้- 3 มิถุนายน – มูฮัมหมัด อาลี นักมวยสากลชาวอเมริกัน (เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2485)
- 6 มิถุนายน – คิมโบ สไลซ์ นักต่อสู้แบบผสมชาวอเมริกันเชื้อสายบาฮามาส (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517)
- 10 มิถุนายน – คริสตินา กริมมี นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 12 มีนาคม พ.ศ. 2537)
- 19 มิถุนายน – แอนตัน เยลชิน นักแสดงชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย (เกิด 11 มีนาคม พ.ศ. 2532)
กรกฎาคม
แก้- 2 กรกฎาคม – แพทริก แมนนิง นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 และ 6 แห่งสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (เกิด 17 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
สิงหาคม
แก้- 1 สิงหาคม – สมเด็จพระราชินีอานาแห่งโรมาเนีย สมเด็จพระราชินีแห่งโรมาเนีย (พระราชสมภพ 18 กันยายน พ.ศ. 2466)
- 22 สิงหาคม – เซลลัปปัน รามนาทัน ประธานาธิบดีสิงคโปร์คนที่ 6 (เกิด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2467)
- 24 สิงหาคม – วัลเทอร์ เชล ประธานาธิบดีเยอรมนี 4 (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2462)
กันยายน
แก้- 2 กันยายน – อิสลาม คารีมอฟ ประธานาธิบดีแห่งอุซเบกิสถาน (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2482)
- 25 กันยายน – อาร์โนลด์ พาล์มเมอร์ นักกอล์ฟชาวอเมริกัน (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2472)
- 28 กันยายน – ชิมอน เปเรซ ประธานาธิบดีแห่งอิสราเอล (เกิด 2 สิงหาคม พ.ศ. 2466)
ตุลาคม
แก้- 4 ตุลาคม – หม่อมราชวงศ์ศุภวัฒย์ เกษมศรี นักประวัติศาสตร์ (เกิด 26 ตุลาคม พ.ศ. 2475)
- 13 ตุลาคม
- ดาริโอ โฟ นักเขียนและผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวอิตาลี (เกิด 24 มีนาคม พ.ศ. 2469)
- อันด์แซย์ กอปิตชึญสกี นักแสดงชาวโปแลนด์ (เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2477)
- พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ไทย (พระราชสมภพ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470)
- 16 ตุลาคม – พระเจ้าคิเกลิที่ 5 แห่งรวันดา พระมหากษัตริย์รวันดา (พระราชสมภพ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2479)
- 22 ตุลาคม – เจ้าชายทากาฮิโตะ มิกาซะโนะมิยะ พระปิตุลาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ (ประสูติ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2458)
- 23 ตุลาคม –
- เคาะลีฟะฮ์ บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ (ประสูติ 17 กันยายน พ.ศ. 2475)
- พีต เบินส์ นักร้องชาวอังกฤษ (เกิด 5 สิงหาคม พ.ศ. 2502)
- 29 ตุลาคม – แปน โสวัณ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาคนที่ 32 (เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2479)
พฤศจิกายน
แก้- 25 พฤศจิกายน – ฟีเดล กัสโตร ประธานาธิบดีคิวบาคนที่ 17 (เกิด 13 สิงหาคม พ.ศ. 2469)
ธันวาคม
แก้- 8 ธันวาคม – จอห์น เกล็นน์ นักขับเครื่องบิน นักบินอวกาศ และนักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2464)
- 19 ธันวาคม – อันเดรย์ คาร์ลอฟ นักการทูตชาวรัสเซีย (เกิด 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497)
- 25 ธันวาคม – จอร์จ ไมเคิล นักร้องชาวอังกฤษ (เกิด 25 มิถุนายน พ.ศ. 2506)
- 27 ธันวาคม – แคร์รี ฟิชเชอร์ นักแสดงและนักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 21 ตุลาคม พ.ศ. 2499)
- 28 ธันวาคม – เดบบี เรย์โนลส์ นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2475)
- 31 ธันวาคม – เฮนนิง คริสโตเฟอร์เซน นักการเมืองเดนมาร์ก (เกิด 8 พศจิกายน 2482)
รางวัลโนเบล
แก้- สาขาเคมี – ฌ็อง-ปีแยร์ ซูวาจ, เฟรเซอร์ สท็อดดาร์ท และ เบน เฟริงกา[34]
- สาขาวรรณกรรม – บ็อบ ดิลลัน[35]
- สาขาสันติภาพ – ควน มานูเอล ซานโตส[36]
- สาขาฟิสิกส์ – เดวิด เจ. เธาเลส, ดันแคน ฮัลเดน และ ไมเคิล คอสเตอร์ลิตซ์[37]
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – โอซุมิ โยะชิโนะริ[38]
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – โอลิเวอร์ ฮาร์ต และ เบรงต์ อาร์. โฮล์มสตรอม[39]
วัฒนธรรมสมัยนิยมที่อ้างอิงถึงปีนี้
แก้วีดิโอเกม
แก้- คอลล์ออฟดิวตี: มอเดิร์นวอร์แฟร์ ภาค 2 และภาค 3
- วอตช์ดอกส์ 2 ดำเนินเรื่องในเดือนพฤศจิกายนของปีนี้
ภาพยนตร์
แก้- แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด (พ.ศ. 2555)
- ทรานส์ฟอร์มเมอร์ส มหาวิบัติยุคสูญพันธุ์ (พ.ศ. 2557)
- ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม (พ.ศ. 2559)
- อัสแซสซินส์ ครีด (พ.ศ. 2559)
- โร้ควัน ตำนานสตาร์ วอร์ส (พ.ศ. 2559)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Agence France-Presse on Twitter". Twitter. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2016.
- ↑ "'El Chapo': Sean Penn interviewed Guzman before recapture". BBC. 10 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2016.
- ↑ "Iran nuclear deal: 'New chapter' for Tehran as sanctions end". BBC. 17 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2016.
- ↑ "'โอบามา' ประกาศภาวะฉุกเฉินรับมือวิกฤตน้ำประปาปนเปื้อนสารตะกั่วใน 'มิชิแกน'". MGR Online. 17 มกราคม 2016.
- ↑ "'Zika virus spreading explosively'". CNN. 28 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2016.
- ↑ "North Korea fires long-range rocket despite warnings". BBC. 7 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ B. P. Abbott; และคณะ (11 กุมภาพันธ์ 2016). "Observation of Gravitational Waves from a Binary Black Hole Merger". Physical Review Letters. 116 (6).
- ↑ Overbye, Dennis (12 กุมภาพันธ์ 2016). "Physicists Detect Gravitational Waves, Proving Einstein Right". New York Times. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2016.
- ↑ "Unity call as Pope Francis holds historic talks with Russian Orthodox Patriarch". BBC. 13 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2016.
- ↑ "ESA - Robotic Exploration of Mars: ExoMars Trace Gas Orbiter (TGO)". สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ Radovan Karadzic jailed for Bosnia war Srebrenica genocide. bbc.com. 24 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2016. (ในภาษาอังกฤษ)
- ↑ "Nagorno-Karabakh Conflict Situation Report No. 1 (as of 03 Apr 2016)". ReliefWeb. 3 เมษายน 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2016.
- ↑ EgyptAir flight MS804 from Paris to Cairo crashed - Hollande. bbc.com. 19 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2016. (ในภาษาอังกฤษ)
- ↑ "Gotthard tunnel: World's longest and deepest rail tunnel opens in Switzerland". BBC. 1 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2016.
- ↑ "UK votes to leave the EU". BBC. 24 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2016.
- ↑ David Caplan, Emily Shapiro, and Morgan Winsor, "Death Toll Climbs to 44 in Istanbul Airport Attack". ABC News. 1 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Latvia's accession to the OECD". OECD. 1 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Juno probe enters into orbit around Jupiter". BBC. 5 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2016.
- ↑ Phillips, Tom; Holmes, Oliver; Bowcott, Owen (12 กรกฎาคม 2016). "Beijing rejects tribunal's ruling in South China Sea case". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016.
- ↑ Perlez, Jane (12 กรกฎาคม 2016). "Tribunal Rejects Beijing's Claims in South China Sea". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Turkish coup bid crumbles as crowds answer call to streets, Erdogan returns". 16 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2016 – โดยทาง Reuters.
- ↑ "The VCR is officially dead. Yes, it was still alive". The Washington Post. 22 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2016.
- ↑ "Solar Impulse completes historic round-the-world trip". BBC. 26 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Rio 2016 Olympic Games". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2015. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กำหนดวันออกเสียงประชามติ. เล่ม 133 ตอนที่ 32 ก หน้า 11. 20 เมษายน 2559.
- ↑ "Brazil impeachment: Key questions". BBC. 31 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2016.
- ↑ "North Korea claims successful test of nuclear warhead". CNN. 10 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2016.
- ↑ "MH17: Buk missile finding sets Russia and west at loggerheads," The Guardian. 28 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2559
- ↑ "Van Gogh paintings stolen from Amsterdam found in Italy". BBC. 30 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2016.
- ↑ "The Maldives decides to leave the Commonwealth; commits to continue with its international engagement". Ministry of Foreign Affairs: Republic of Maldives. 13 ตุลาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2016.
- ↑ Matt McGrath. "Climate change: 'Monumental' deal to cut HFCs, fastest growing greenhouse gases". BBC. 15 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2016.
- ↑ "สถานการณ์การยกเลิกธนบัตรอินเดียมูลค่า 500 และ 1,000 รูปี (สถานะ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2559)". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี. 19 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2560.
- ↑ "Russian ambassador to Turkey Andrei Karlov shot dead in Ankara". BBC. 20 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2016.
- ↑ Molecular Machine-Makers Grab the 2016 Nobel Prize in Chemistry. Scientific American.
- ↑ Bob Dylan Wins Nobel Prize in Literature. Wall Street Journal.
- ↑ Colombia's President, Juan Manuel Santos, Is Awarded Nobel Peace Prize. New York Times.
- ↑ Nobel Prize in physics given to scientists who ‘revealed the secrets of exotic matter’. The Independent.
- ↑ Yoshinori Ohsumi wins Nobel prize in medicine for work on autophagy. The Guardian.
- ↑ Harvard's Oliver Hart and MIT's Bengt Holmström just won the 2016 Nobel Prize in economics. Business Insider.
บรรณานุกรม
แก้- หว่า แซ่อึ้ง; เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว (1994) [1966]. ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา. กรุงเทพฯ: ศิลปบรรณาคาร. ISBN 974-255-697-0.