31 มีนาคม
วันที่สร้างสรรค์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 31 มีนาคม เป็นวันที่ 90 ของปี (วันที่ 91 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 275 วันในปีนั้น
เหตุการณ์
แก้คริสต์ศตวรรษที่ 4
แก้- พ.ศ. 850 (ค.ศ. 307) – หลังจากหย่ากับจักรพรรดินีมิเนอร์วินา จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชก็อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเฟาสตา พระราชธิดาของอดีตจักรพรรดิมักซิมิอานุส[1]
คริสต์ศตวรรษที่ 12
แก้- พ.ศ. 1689 (ค.ศ. 1146) – แบร์นาร์แห่งแกลร์โวได้กล่าวเทศนาอันโด่งดังของเขาที่ทุ่งเวเซเลย์ โดยกระตุ้นถึงความจำเป็นของสงครามครูเสดครั้งที่ 2 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสปรากฏพระองค์และเข้าร่วมสงครามครูเสด[2]
คริสต์ศตวรรษที่ 15
แก้- พ.ศ. 2035 (ค.ศ. 1492) – สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา ออกพระราชกฤษฎีกาอาลัมบรา รับสั่งให้ประชากรชาวยิวและมุสลิม 150,000 คนของพระองค์เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ ไม่เช่นนั้นอาจถูกเนรเทศ
คริสต์ศตวรรษที่ 16
แก้- พ.ศ. 2064 (ค.ศ. 1521) – เฟอร์ดินานด์ มาเจลลันและคนของเขาอีก 50 คนขึ้นฝั่งไปยังลีมาซาวาในปัจจุบันเพื่อเข้าร่วมพิธีมิสซาครั้งแรกในฟิลิปปินส์[3]
คริสต์ศตวรรษที่ 17
แก้- พ.ศ. 2200 (ค.ศ. 1657) – รัฐสภายาวเสนอราชบัลลังก์อังกฤษให้โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ซึ่งในที่สุดเขาก็ปฏิเสธ[4]
คริสต์ศตวรรษที่ 19
แก้- พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) – พลเรือจัตวาแมทธิว ซี. เพร์รีลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะกับรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เพื่อเปิดท่าเรือชิโมดะและฮาโกดาเตะเพื่อการค้าของอเมริกา
- พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) – หอไอเฟลเปิดอย่างเป็นทางการ[5]
- พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1899) – มาโลโลส เมืองหลวงของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ถูกกองทัพสหรัฐยึดครอง[6]
คริสต์ศตวรรษที่ 20
แก้- พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) - เดนิชเวสต์อินดิส ในหมู่เกาะแคริบเบียน เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่เกาะเวอร์จิน หลังจากสหรัฐจ่ายเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - สหรัฐเริ่มใช้เวลาออมแสงเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - โรงถ่ายภาพยนตร์ฮอลลีวูด เริ่มใช้ประมวลการผลิตภาพยนตร์
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) - เรสเซิลเมเนียซึ่งเป็นรายการ เพย์-เพอร์-วิว ที่ใหญ่และยาวนานที่สุดของ WWE เริ่มจัดขึ้นที่ เมดิสัน สแควร์ การ์เดน ที่นิวยอร์ก เป็นครั้งแรก
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 2330 (ค.ศ. 1787) - พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สวรรคต 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
- พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) - กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักประพันธ์ (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2517)
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) - ที. อาร์. ชอว์ นักประวัติศาสตร์และนักถ้ำวิทยาชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) - เยฟเกนี ลาซาเรฟ นักแสดงเชื้อสายรัสเซีย-อเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559)
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) - คริสโตเฟอร์ วอลเคน นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) - จันทรา คชหิรัญ นักร้องชาวไทย
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - อัล กอร์ รองประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45
- พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - มานะ มหาสุวีระชัย นักการเมือง
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - วิชัย ราชานนท์ นักมวยสากลสมัครเล่น
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - สิทธิพร สุนทรพจน์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) - ยวน แม็คเกรเกอร์ นักแสดงชายชาวสก็อตแลนด์
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - กมลชนก เวโรจน์ นักร้อง นักแสดง และนางแบบชาวไทย
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) - ไบรอัน ไทรี เฮนรี นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) -
- ญาณิน วิสมิตะนันทน์ นักแสดงผู้เชี่ยวชาญศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
- อุซามะฮ์ เฮาซาวี อดีตนักฟุตบอลชาวซาอุดีอาระเบีย
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) -
- เจสสิก้า ชอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- ไอริกับเมริ นางแบบ และ นักแสดงหนังโป๊ญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - เปาลู มาชาดู นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - นูรดีน อัมราบัต นักฟุตบอล ชาวโมร็อกโก
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) -
- ชุษณะ นัมคณิสร นักฟุตบอลอาชีพชาวไทย
- คณิน สแตนลีย์ นักแสดง นายแบบชาวไทย
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) -
- เรนาตอ เกลิช นักฟุตบอลชาวโครเอเชีย
- อภิวัฒน์ แจ่มเจริญ นักฟุตซอลชาวไทย
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ณัฐรุจา ชุติวรรณโสภณ (แก้ว) อดีตสมาชิกวง BNK48
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - โศภิดา จิระไตรธาร
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) - คู จุน-ฮเว (จูเน่ iKON) สมาชิกวง iKON
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2270 (ค.ศ. 1727) - ไอแซก นิวตัน นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวอังกฤษ (เกิด 4 มกราคม พ.ศ. 2185)
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - หลวงวิจิตรวาทการ นักพูด นักเขียน และนักการเมืองชาวไทย (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2441)
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - เซเลนา นักร้องชาวอเมริกัน (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2514)
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) -
- ซาฮา ฮาดิด สถาปนิกชาวอิรัก-อังกฤษ (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2493)
- อิมเร เคอร์เตสซ์ นักเขียนและผู้ได้รับรางวัลโนเบลชาวฮังการี (เกิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้- วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า (วันมหาเจษฎาบดินทร์)
อ้างอิง
แก้- ↑ Carol Humphrey Vivian Sutherland (1966). The Roman Imperial Coinage: Constantine and Licinius: A.D. 313-337, by P. M. Bruun. Spink. p. 25. ISBN 9780900696855.
- ↑ James J. Spigelman (2004). Becket & Henry: The Becket Lectures. James Spigelman. p. 178. ISBN 978-0-646-43477-3.
- ↑ Valencia, Linda B. "Limasawa: Site of the First Mass". Philippines News Agency. Ops.gov.ph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2007. สืบค้นเมื่อ March 26, 2021.
- ↑ "Oliver Cromwell, Kingship and the Humble Petition and Advice". olivercromwell.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
- ↑ Lucien Herve (2003). The Eiffel Tower. Princeton Architectural Press. p. 91. ISBN 978-1-56898-372-1.
- ↑ Jerry Keenan (2001). Encyclopedia of the Spanish-American & Philippine-American Wars. ABC-CLIO. pp. 223. ISBN 978-1-57607-093-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- BBC: On This Day
- Today in History: March 31 เก็บถาวร 2005-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน