เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (อังกฤษ: Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดึ มากัลไยช์ (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (สเปน: Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน | |
---|---|
Fernão de Magalhães | |
เกิด | ฟือร์เนา ดึ มากัลไยช์ ค.ศ. 1480 ซาบรอซา โปรตุเกส |
เสียชีวิต | 27 เมษายน ค.ศ. 1521 (อายุ 40–41 ปี) เกาะมักตัน (ปัจจุบัน ประเทศฟิลิปปินส์) |
สาเหตุเสียชีวิต | เสียชีวิตระหว่างการต่อสู้ |
สัญชาติ | โปรตุเกส, สเปน |
พลเมือง | โปรตุเกส |
อาชีพ | นักเดินเรือ นักสำรวจ |
มีชื่อเสียงจาก | เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกครั้งแรก |
คู่สมรส | เบียทริซ บาร์บอซา (สมรส 1517) |
บิดามารดา |
|
ลายมือชื่อ | |
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบิยาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062–2065 ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองนามว่า ลาปู-ลาปูฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายูมาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065[1][2] นำโดยฆวน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคปเวิร์ด (กาบูเวร์ดี) ระหว่าง พ.ศ. 2068-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรินิดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ
ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,[3] "เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก, "ช่องแคบมาเจลลัน" เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซาส่งไปสำรวจดาวศุกร์ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534
อ้างอิง
แก้- ↑ Swenson, Tait M. (2005), "First Circumnavigation of the Globe by Magellan 1519–1522", The Web Chronology project (ตีพิมพ์ November 2005), สืบค้นเมื่อ 2006-03-14.
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ The First Voyage Round the World, by Magellan, full text, English translation by Lord Stanley of Alderley, London: Hakluyt, [1874], pp.39, 162. – six contemporary accounts of his voyage.
- ↑ Hogan, C. Michael (2008), N. Stromberg (บ.ก.), Magellanic Penguin, GlobalTwitcher.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23, สืบค้นเมื่อ 2010-07-24.
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|separator=
ถูกละเว้น (help)