ฮอลลีวูด

ย่านในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ

ฮอลลีวูด (อังกฤษ: Hollywood) เป็นชื่อเขตในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เหมือนกับเป็นถนนหรือเขตหนึ่งเท่านั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกถึงตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางนครลอสแอนเจลิส [2] เนื่องจากว่าฮอลลิวูดนั้นมีชื่อเสียงและมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นศูนย์กลางแห่งประวัติศาสตร์ของโรงถ่ายทำภาพยนตร์ และดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ดังนั้น ชื่อของฮอลลีวูดจึงมักจะถูกเรียกเป็นชื่อแทนของโรงภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ทุกวันนี้มีอุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากที่ได้แพร่กระจายไปรอบ ๆ พื้นที่ของแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของนครลอสแอนเจลิส แต่อุตสาหรรมภาพยนตร์หลัก ๆ ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อ การใส่เทคนิคพิเศษ ผู้สนับสนุน การผลิตขั้นสุดท้าย และบริษัททางด้านแสงประกอบ ยังคงอยู่ในฮอลลีวูด

ฮอลลีวูด
ย่านฮอลลีวูดโดยมองที่ป้ายฮอลลีวูด
ย่านฮอลลีวูดโดยมองที่ป้ายฮอลลีวูด
แผนที่ย่านฮอลลีวูดของลอสแอนเจอลิส
แผนที่ย่านฮอลลีวูดของลอสแอนเจอลิส
ฮอลลีวูดตั้งอยู่ในลอสแอนเจลิส
ฮอลลีวูด
ฮอลลีวูด
ที่ตั้งในเมืองลอสแอนเจอลิส
พิกัด: 34°06′06″N 118°19′36″W / 34.10167°N 118.32667°W / 34.10167; -118.32667
ประเทศ สหรัฐ
รัฐ รัฐแคลิฟอร์เนีย
ความสูง[1]108 เมตร (354 ฟุต)
Area code323
ป้ายฮอลลีวูด

โรงละครสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดหลายแห่งถูกใช้เป็นสถานที่ชุมนุมและเวทีคอนเสิร์ตในงานเปิดตัวสำคัญ ๆ ระดับยักษ์ใหญ่ของโลกและยังเป็นเจ้าภาพในการประกาศรางวัลออสการ์หรือที่เรียกกันติดปากว่ารางวัลออสการ์นั่นเอง ฮอลลีวูดเป็นสถานที่ที่คนทั่วโลกต้องการมาเยือนทั้งนักผจญราตรีและนักท่องเที่ยวทั้งหลาย และยังเป็นที่ตั้งของถนน ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม (Hollywood Walk of Fame) ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย

ประวัติ

แก้
 
ฮอลลีวูด ค.ศ. 1885
 
โรงแรมฮอลลีวูด ค.ศ. 1905

ใน ค.ศ. 1853 กระท่อมอิฐหลังเล็ก ๆ หลังหนึ่งได้กลายมาเป็นฮอลลีวูดในทุกวันนี้ ในราวปี ค.ศ. 1870 ชุมชนเกษตรกรรมได้เจริญขึ้นมาในพื้นที่แห่งนี้พร้อม ๆ กับผลผลิตที่เจริญงอกงามมากในช่วงนั้น ที่มาของชื่อฮอลลีวูด ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดนั้นน่าจะมาจากชื่อของต้น Tyon ท้องถิ่นหรือเรียกกันว่า "แคลิฟอร์เนียฮอลลี่" ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ปกคลุมเนินเขาในสมัยนั้นและยังออกผลเบอร์รี่สีแดงกระจายอยู่ทั่วไปในช่วงหน้าหนาวของทุกปีอีกด้วย จากนั้นความเชื่อนี้และความเชื่อในเรื่องของที่มาของคำว่าฮอลลี่นี้ก็มีคนเชื่อถือมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด บ้างก็ว่าชื่อของฮอลลีวูดนี้เป็นชื่อที่ตั้งโดย เอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ บิดาแห่งฮอลลีวูด ซึ่งทั้งเขาและกีกี้ ภรรยาของเขาได้ตั้งชื่อนี้ขึ้นขณะที่มาฮันนีมูนกัน ตามบันทึกของมากาเร็ต เวอร์จิเนีย ไวท์ลี่ย์ บ้างก็ว่ามาจาก ฮาร์วี่ย์ วิลคอกซ์ ที่ได้มาซื้อที่ดินในบริเวณนี้และก็พัฒนาเป็นชุมชุนขึ้นมา โดยดาเออิดา ภรรยาของเขาได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งบนรถไฟที่บอกว่าเธอได้ตั้งชื่อบ้านพักฤดูร้อนที่รัฐโอไฮโอว่า ฮอลลีวูด ดาเออิดาชอบชื่อนี้และก็เอามาตั้งเป็นชื่อของชุมชนที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ คำว่าฮอลลีวูดนี้ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกในแผนที่ของวิลคอกซ์สำหรับการแบ่งสรรพื้นที่และปรากฏในเอกสารของบันทึกเขตปกครองของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887

ตามคำพูดของจอร์แดน แมกซ์เวลล์นั้น ชื่อของฮอลลีวูดนั้นอ้างอิงมาจากไม้กายสิทธิ์ Druidic ซึ่งทั้งไม้กายสิทธิ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการกับคน

ราวปี ค.ศ. 1900 คณะบุคคลที่เรียกตัวเองว่า Cahuenga ได้จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ หนังสือพิมพ์ โรงแรม และตลาดสองแห่งด้วยจำนวนประชากรเพียง 500 คน ซึ่งในขณะนั้น ลอสแอนเจลิสมีประชากรประมาณ 100,000 คนและมีเมืองที่ทอดผ่านสวนผลไม้รถส้มเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์ มีชื่อเส้นทางเดินรถเพียงชื่อเดียวจากใจกลางของ Prospent Avenue ที่พาดผ่านแต่มีการให้บริการไม่บ่อยนักและต้องใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง แต่บ้านสำหรับการบรรจุหีบห่อผลไม้รสส้มในสมัยก่อนนั้นอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญที่นำความเจริญและการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้นมาสู่ผู้อยู่อาศัยในย่านฮอลลีวูด

โรงแรมฮอลลีวูดอันเป็นโรงแรมใหญ่โรงแรมแรกของฮอลลีวูดที่มีชื่อเสียงนั้น เปิดบริการในปี ค.ศ. 1902 โดยเอช.เจ.ไวท์ลี่ย์ เพื่อขายเป็นที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากท่ามกลางฟาร์มปศุสัตว์ ตั้งอยู่หน้า Prospect Avenue และด้านข้างฝั่งตะวันตกของ Highland Avenue

ปี ค.ศ. 1903 ฮอลลีวูดรวมเป็นเทศบาลแห่งหนึ่ง และในปี ค.ศ. 1904 รถบรรทุกวิ่งจากลอสแอนเจลิสมายังฮอลลีวูดคันใหม่ก็เปิดให้ใช้บริการ ระบบนี้เรียกว่า Hollywood Boulevard ซึ่งช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางไป-กลับลอสแอนเจลิสได้อย่างมาก

ปี ค.ศ. 1910 มีการพยายามจะรักษาระดับการขายน้ำอย่างพอเพียง ชาวเมืองจึงโหวตให้ฮอลลีวูดผนวกเป็นส่วนหนึ่งของนครลอสแอนเจลิส จึงทำให้ระบบชลประทานเพื่อการพัฒนาเมืองนั้นถูกเปิดเป็น Los Angeles Aqueduct และต่อน้ำทางท่อจากแม่น้ำโอเว่นในหุบเขาโอเว่น นอกจากนั้น การโหวตครั้งนี้ก็ยังมีเหตุผลมาจากกาารต้องการให้ฮอลลิวูดกลายเป็นทางระบายน้ำเสียของนครลอสแอนเจลิสอีกด้วย

หลังจากรวมกับนครลอสแอนเจลิสแล้ว ชื่อ Prospect Avenue ก็เปลี่ยนมาเป็น Hollywood Boulevard รวมทั้งหมายเลขถนนในพื้นที่แห่งนี้ เช่น จาก 100 Prospect Avenue ที่ Vermont Avenue กลายเป็น 6400 Hollywood Boulevard และ 100 Cahuenga Boulevard ที่ Hollywood Bouvelard เป็น 1700 Cahuenga Boulevard เป็นต้น

ฮอลลีวูดกับอุตสาหกรรมภาพเคลื่อนไหว

แก้
 
Nestor Studios โรงถ่ายทำภาพยนตร์แห่งแรกของฮอลลีวูด ค.ศ. 1913

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1910 บริษัทชีวประวัติของอเมริกาส่ง ผู้กำกับ D.W. Griffith เดินทางมายังชายฝั่งตะวันออก พร้อมด้วยนักแสดงในสังกัด เช่น Blanche Sweet, Lillian Gish, Mary Pickford, Lionel Barrymore ฯลฯ และเริ่มถ่ายทำครั้งแรกในโรงถ่ายที่ว่างอยู่ ณ ใจกลางเมืองของลอสแอนเจลิส ต่อมาตัดสินใจสำรวจหาดินแดนใหม่โดยออกเดินทางไปทางตอนเหนือเป็นระยะ 5 ไมล์จนถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งฮอลลีวูด ซึ่งเป็นมิตรและสนุกสนานกับทีมงานสร้างหนังอย่างมาก จากนั้น Griffith ได้เริ่มถ่ายทำเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูดชื่อ In Old California แนวประโลมโลกชีวประวัติที่เกี่ยวกับแคลิฟอร์เนียยุคลาตินเม็กซิกัน ในราวปี 1800 ใช้เวลาทำงานร่วมเดือน สามารถสร้างภาพยนตร์ออกมาสองสามเรื่องก่อนเดินทางกลับนิวยอร์ก

ในปี ค.ศ. 1913 หลายบริษัทตัดสินใจมุ่งหน้าไปทางตะวันตก และเกิดมีภาพยนตร์เรื่องยาว (Feature Film) เรื่องแรกที่สร้างในฮอลลิวูดชื่อ "The Squaw Man" กำกับโดย Cecil B. Demille (ก่อนหน้านี้ทุกเรื่องที่ถ่ายทำในปี ค.ศ. 1908 ถึง ค.ศ. 1913 ล้วนเป็นภาพยนตร์สั้นทั้งหมด) นับเป็น'จุดกำเนิด' ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งฮอลลีวูดอย่างแท้จริง

หลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ฮอลลีวูดกลายเป็นศูนย์กลางภาพยนตร์ของโลก บริษัทเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่ในฮอลลีวูดทุกวันนี้ก็คือ William Horsley of Gower Gulch-based Nestor และ Centaur films ผู้สร้างห้องปฏิบัติการภาพยนตร์ของฮอลลีวูด ปัจจุบันมีชื่อว่า ห้องปฏิบัติการดิจิทัลแห่งฮอลลีวูด (the Hollywood Digital Laboratory)

ฮอลลีวูดสมัยใหม่

แก้
 
สตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ในฮอลลีวูด ค.ศ. 1922

วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1947 สถานีโทรทัศน์พาณิชย์แห่งแรกทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี คือสถานีโทรทัศน์ KTLA เริ่มเปิดทำการครั้งแรกที่ฮอลลีวูด และเดือนธันวาคมของปีนั้น การถ่ายทำภาพยนตร์ฮอลลีวูดเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์มีขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า The Public Prosecutor ต่อมาราวปี ค.ศ. 1950 บรรดาสตูอิโอบันทึกเสียงเพลงและสำนักงานต่างๆ ได้เริ่มย้ายมาอยู่ที่ฮอลลิวูด

อย่างไรก็ตาม ทางด้านธุรกิจอื่นๆนั้นได้ย้ายไปยังพื้นที่อื่นของลอสแอนเจลิส โดยเริ่มต้นที่ Burbank แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์จำนวนมากยังอยู่ที่ฮอลลิวูด แม้ว่าบริเวณด้านนอกของเขตนี้ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ไปจากเดิมแล้ว

ในปี ค.ศ. 1952 CBS ได้สร้างเมืองโทรทัศน์ CBSในมุมหนึ่งของถนน Fairfax และ Beverly Boulevard บนพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของ Gilmore Stadium การขยายพื้นที่ของ CBS ไปยังพื้นที่ถนน Fairfax นี้ได้ผลักดันให้เกิดการขยายเขตแดนของฮอลลิวูดอย่างไม่เป็นทางการไปทางด้านใต้ สโลแกนของ CBS สำหรับโชว์ต่างๆจะถูกบันทึกลงไปในเทปรายการเสมอว่า "จากเมืองโทรทัศน์แห่งฮอลลีวูด..."

ช่วงต้นทศวรรษที่ 50 Hollywood Freeway อันมีชื่อเสียง ได้สร้างขึ้นจากแยก The Stack ในใจกลางเมืองลอสแอนเจลิสที่เคยเป็น Hollywood Bowl ผ่านไปยัง Cahuenga Pass เข้าสู่หุบเขาซาน เฟอร์นานโด

อาคาร Capitol Record อันโด่งดังที่ถนน Vine ทางตอนเหนือของ Hollywood Boulevard ในปี ค.ศ. 1956 เป็นสตูดิโอบันทึกเสียงที่ไม่ได้เปิดบริการสำหรับสาธารณชน แต่รูปทรงของตึกรูปวงกลมเป็นเอกลักษณ์คล้ายแผ่นเสียงไวนิลขนาด 7 นิ้ว

Hollywood Walk of Fame สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1958 และชื่อของดาราคนแรกก็ถูกจารึกขึ้นใน ค.ศ. 1960 เพื่อเป็นเกียรติยศสำหรับศิลปินที่ทำงานในวงการบันเทิง ผู้ได้รับเกียรตินี้จะได้รับดาวดวงหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพและการประสบความสำเร็จในชีวิตของเขาทั้งด้านสาขาภาพยนตร์เคลื่อนไหว, โรงละครสด, วิทยุ, โทรทัศน์ หรือเพลง ตลอดจนการกุศลและการบริจาคเพื่อสาธารณะของพวกเขา

ในปี ค.ศ. 1985 เขตการบันเทิงและพาณิชย์แห่ง Hollywood Boulevard ได้มีชื่อในรายการสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติอย่างเป็นทางการ เพื่อการป้องกันอาคารสำคัญและเพิ่มความมั่นใจว่าสัญลักษณ์แห่งอดีตของฮอลลีวูดจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตเสมอ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1999 นั้น การขยายทางรถไฟใต้ดินสายสีแดงของลอสแอนเจลิสในพื้นที่ฮอลลีวูดที่รอคอยมานานนั้นก็ได้เปิดให้บริการ โดยรถไฟจะวิ่งจากใจกลางนครลอสแอนเจลิสไปยังหุบเขา และจอดที่ Hollywood Boulevard ถนนตะวันตก ถนน Vine และถนน Highland

โรงละครโกดัก ที่เปิดในปี ค.ศ. 2001 นั้น ตั้งอยู่บน Hollywood Boulevard ที่ถนน Highland ซึ่ง โรงแรมฮอลลีวูดอันโด่งดังทางประวัติศาสตร์เคยตั้งอยู่ และได้กลายมาเป็นบ้านใหม่ของรางวัลออสการ์

ขณะที่การผลิตภาพยนตร์เคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นภายในเขตฮอลลีวูด แต่สตูดิโอใหญ่ๆส่วนใหญ่มักอยู่นอกพื้นที่ของลอสแอนเจลิส Paramount Studios เป็นสตูดิโอใหญ่เพียงแห่งเดียวที่ยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่ของฮอลลีวูด ส่วนสตูดิโออื่นในพื้นที่นี้นอกจากที่กล่าวไปแล้วก็ได้แก่ Jim Henson Studios (เดิมคือ Chaplin Studios) , Sunset Gower Studios และ Raleigh Studios

จุดสังเกต

แก้
 
คืนวันเปิด Hollywood Bowl ในปี 2005
 
Crossroads of the World
  • Amoeba Music
  • Barnsdall Park
  • Blondie Park
  • Blessed Sacrament Church
  • Bob Hope Square (Hollywood and Vine)
  • Capitol Records
  • CBS Columbia Square
  • CeFiore
  • Charlie Chaplin Studios
  • Cinerama Dome
  • Crossroads of the World
  • El Capitan Theatre
  • Frederick's of Hollywood
  • Frolic Room
  • Gower Gulch
  • Grauman's Chinese Theatre
  • Grauman's Egyptian Theatre
  • Griffith Observatory
  • Griffith Park
  • Hollywood Athletic Club
  • Hollywood Bowl
  • Hollywood Forever Cemetery
  • Hollywood and Highland
  • Hollywood Heritage Museum
  • Hollywood High School
  • Hollywood Palace Theatre
  • Hollywood Palladium
  • Hollywood Roosevelt Hotel
  • Hollywood Sign
  • ฮอลลีวูดวอล์กออฟเฟม
  • Hollywood Wax Museum
  • Janes House
  • The Jester Comedy Club
  • KCBS-TV
  • KCET
  • Knickerbocker Hotel
  • Kodak Theatre
  • KTLA-TV
  • Lake Hollywood
  • Lasky-DeMille Barn
  • The Laugh Factory
  • Madame Tussauds Hollywood
  • The Magic Castle
  • Masonic Temple
  • Max Factor Building
  • Musso & Frank Grill
  • Pantages Theatre
  • Paramount Studios
  • Pig 'N Whistle
  • Pink's Hot Dogs
  • The Prospect Studios (ABC Television Center)
  • Ripley's Believe It Or Not! Odditorium
  • Rock 'n' Roll Ralphs
  • Rock Walk
  • Runyon Canyon Park
  • Shrine Auditorium
  • Sunset and Vine apartment complex
  • Sunset Gower Studios
  • The Taylor Hughes Shrine

อ้างอิง

แก้
  1. "Hollywood". Geographic Names Information System, U.S. Geological Survey. สืบค้นเมื่อ January 7, 2018.
  2. http://www.laalmanac.com/LA/lamap2.htm