วิชัย ราชานนท์
นาวาอากาศเอก วิชัย ราชานนท์ เดิมใช้ชื่อว่า วิชัย ขัดโพธิ์ เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนหนึ่งที่ได้เหรียญทองแดงจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เคยได้เหรียญทองกีฬาซีเกมส์ด้วย ปัจจุบัน เป็นเจ้าของค่ายมวยราชานนท์[1] และเป็นผู้จัดการให้กับ เอฟ 16 ราชานนท์ ซึ่งเป็นนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงเช่นกัน[2]
วิชัย ราชานนท์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | วิชัย ขัดโพธิ์ 31 มีนาคม พ.ศ. 2511 อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
การศึกษา | โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย โรงเรียนจ่าอากาศ โรงเรียนเตรียมทหาร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายเรืออากาศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (พ.ศ. 2544–2548) ชาติไทย (พ.ศ. 2548–2550) เพื่อแผ่นดิน (พ.ศ. 2550–2565) สร้างอนาคตไทย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
บุตร | 1 คน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพนักมวย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
รับใช้ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนก/ | กองทัพอากาศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชั้นยศ | นาวาอากาศเอก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัยเด็ก
แก้วิชัยเกิดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2511 ที่ ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรของนายเคลื่อน ขัดโพธ์ และนางสมัย ราชานนท์ เนื่องด้วยฐานะทางบ้านยากจน ประกอบกับพ่อเห็นว่าวิชัยมีสายเลือดนักสู้ ชอบกีฬาประเภทหมัด ๆ มวย ๆ จึงฝึกให้หัดมวยไทยเมื่อจบ ป.6 จากโรงเรียนบ้านเม็ง พ่อจึงฝากให้หัดมวยกับครูพเยาว์ หันจันทร์ และตระเวนชกตามเวทีแถวบ้าน จนนายวัฒนา กลัดอ่ำ ดึงตัวมาอยู่ร่วมค่ายในชื่อว่า "ชิงชัย ลูกอาทิตย์" พร้อมกับเรียนหนังสือไปด้วย แต่ฐานะทางบ้านก็ไม่ดีขึ้น ซ้ำพ่อถูกหลอกจากบริษัทค้าแรงงานไปต่างประเทศเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก
เพราะเหตุนี้เองวิชัยที่กำลังเรียนใกล้จบชั้น ม.6 จากโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยแล้วจึงมีความคิดที่จะหาเงินมาช่วยครอบครัว เมื่อจบชั้น ม.6 วิชัยจึงเข้าสมัครสอบที่โรงเรียนจ่าอากาศดอนเมือง ด้วยหวังว่าจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวได้บ้าง และเขาก็สอบเข้าโรงเรียนจ่าอากาศได้ลำดับที่114 และหลังจากที่เรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ เขาก็ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร ระยะเวลา3ปีหลังจากที่จบโรงเรียนเตรียมทหาร เขาก็ได้จบการศึกษาที่โรงเรียนนายเรืออากาศและก็ได้รับพระราชทานยศเป็น เรืออากาศตรี
ชกมวยสากลสมัครเล่น
แก้วิชัยเคยชกมวยสากลสมัครเล่นมาบ้างแล้วที่ขอนแก่น ได้มีโอกาสชกมวยสากลสมัครเล่นอีกเมื่อสโมสรโอสถสภาขาดนักมวยในรุ่นพินเวท ร.ท.ไฉน ผ่องสุภา หัวหน้าค่ายมวยศศิประภายิม ซึ่งทำมวยสากลสมัครเล่นให้กับสโมสรโอสถสภาด้วย ได้ให้วิชัยเข้าชกรายการมวยของกรุงเทพวิชัยแสดงผลงานได้อย่างดี คว้าเหรียญทองได้อย่างเหนือความคาดหมายเมื่อชนะ เมฆินทร์ สุมน แชมป์ประเทศไทยคนก่อนได้ ต่อมาวิชัยย้ายไปอยู่สโมสรทหารอากาศขึ้นชกมวยสากลสมัครเล่นในรายการต่าง ๆ เคยเข้าแข่งขันคัดเลือกเป็นตัวแทนเขต 4 และสามารถเอาชนะคะแนน ไรแมน บุญถม (ซึ่งต่อมาได้เป็นนักมวยเหรียญทองเอเชียนเกมส์ของไทย ในรุ่นเฟเธอร์เวท) ได้สำเร็จ เข้าแข่งขันกีฬาแห่งชาติ แต่ได้เพียงแค่เหรียญทองแแดงเมื่อไปแพ้ต่อ ลูกเขียด เมืองสุรินทร์ ในรอบชิงชนะเลิศ
วิชัยติดทีมชาติเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2530 ขึ้นชกมวยสากลสมัครเล่นคิงส์คัพ แล้วคว้าเหรียญทองมาครองได้สำเร็จ จึงได้ติดทีมชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งผลงานในระดับทีมชาติของวิชัยผ่านศึกมาอย่างโชกโชน เคยชกที่เอเชียนเกมส์สองครั้งที่ปักกิ่ง ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2533 และฮิโรชิมา ที่ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2537 โดยทั้งสองครั้งวิชัยได้เพียงแค่เหรียญทองแดง ในปี พ.ศ. 2534 วิชัยเข้าแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งแรกที่ฟิลิปปินส์ได้เหรียญทอง ซีเกมส์ พ.ศ. 2536 ที่สิงคโปร์ได้เหรียญเงิน และมาได้เหรียญทองอีกครั้งใน ซีเกมส์ พ.ศ. 2538 ที่เชียงใหม่
การชกในระดับกีฬาโอลิมปิกของวิชัยเริ่มต้นไม่ประสบความสำเร็จ โดยครั้งแรกที่มีโอกาสเข้าร่วมคือโอลิมปิกที่โซล ประเทศเกาหลีใต้ ในปี พ.ศ. 2531 ในรุ่นฟลายเวท รอบแรก แพ้ แอนดี อกอสโซ จากเปอร์โตริโก ตกรอบ เมื่อ 18 กันยายน ครั้งต่อมาที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในปี พ.ศ. 2535 ในรุ่นฟลายเวท รอบแรกแพ้ มาริโอ ลอช จากเยอรมนี เมื่อ 27 กรกฎาคม[3] ซึ่งวิชัยโชคร้ายศีรษะแตก ถูกจับแพ้ไปทั้ง ๆ ที่ ทำคะแนนเหนือกว่า
ความผิดหวังในกีฬาโอลิมปิกตามมาด้วยการได้แค่เหรียญเงินในกีฬาซีเกมส์ ทำให้วิชัยเริ่มท้อ คิดจะเลิกชกมวยสมัครเล่น ในช่วงนั้นมีข่าวจะวิชัยจะหันมาชกมวยสากลอาชีพแต่ในที่สุดก็ได้ตัดสินใจชกในแบบมวยสมัครเล่นต่อไป เพราะใจยังรักการเป็นทหาร และในช่วงนี้เองที่วิชัยเปลี่ยนมาใช้นามสกุล "ราชานนท์" ของแม่ แทนนามสกุล "ขัดโพธิ์" ของพ่อ
ในโอลิมปิก ครั้งที่ 26 ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2539 วิชัยได้เลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นแบนตั้มเวท โดยผ่านรอบคัดเลือกได้ในการแข่งขันเลกสามที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เส้นทางการชกในโอลิมปิกของ วิชัยคือ ขึ้นชกในรุ่นแบนตั้มเวท ประเดิมรอบแรก ชนะคะแนนเคบลาเด้ แลมเบิร์ต จากแคนาดา 12-2 , รอบสอง ชนะคะแนน บาเร็ต คาร์ลอส จากเวเนซุเอาลา 14-6, รอบก่อนรองชนะเลิศที่เป็นรอบชิงเหรียญทองแดงชนะคะแนน ไฮแคม นาฟิล จากโมร็อคโก 13-4 แต่ว่าในรอบรองชนะเลิศวิชัยแพ้คะแนน อิสต์วาน โควากซ์ จากฮังการี 7-12 ได้ครองเหรียญทองแดง (ซึ่งต่อมา อิสต์วาน โควากซ์ ได้ครองเหรียญทอง) ซึ่งการชกโอลิมปิกในครั้งนี้ ทางฝ่ายจัดการแข่งขัน ได้ขึ้นชื่อวิชัยว่า Vichairachanon Khadpo (วิชัยราชานนท์ ขัดโพธิ์) การคว้าเหรียญทองแดงครั้งนี้ของวิชัย ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่วงการกีฬาของไทย โดยเป็นครั้งแรกที่นักกีฬาไทยสามารถครองเหรียญโอลิมปิกพร้อมกันถึง 2 คน (อีกคนหนึ่ง คือ สมรักษ์ คำสิงห์ ซึ่งเป็นนักกีฬารายแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิก) และทำให้วิชัยได้ติดยศ เรืออากาศตรี (ร.ต.) ตามที่ใฝ่ฝัน
ชีวิตครอบครัว
แก้ด้านชีวิตครอบครัว วิชัยไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เคยแต่งงานครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีลูกสาว 1 คน แต่ด้วยภาระครอบครัวที่หนัก ต้องหาเลี้ยงพ่อแม่ และต้องเข้าค่ายซ้อมมวยครั้งละนาน ๆ ทำให้มีปัญหากับภรรยาจนต้องหย่าขาดกันไปในที่สุด
หลังแขวนนวมและการเมือง
แก้หลังจากนั้นวิชัยก็ได้แขวนนวมทันที เนื่องจากอายุมากแล้ว และได้แสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 7 เรื่อง นายขนมต้ม โดยได้แสดงร่วมกับเพื่อนนักมวยอย่าง สมรักษ์ และอีกหลาย ๆ คน บทของวิชัยในเรื่องแสดงเป็นคนที่แอบชอบ กระถิน (อุษณีย์ รักกสิกร) อยู่ จากนั้น วิชัยได้เปิดร้านขายหมูกระทะตามเพื่อนนักมวยหลายคน ได้เป็นผู้บรรยายมวยสากลตามสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นโค้ชและผู้ฝึกสอนด้วย
ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 วิชัยลงรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ที่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอหนองเรือ บ้านเกิด สังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไมได้รับการเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 วิชัยยังคงลงรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิมอีก แต่ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทย ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งอีก
และในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 วิชัยมีข่าวว่าอาจจะลงสมัครกับทางพรรคประชาธิปัตย์ แต่ที่สุดก็ได้สังกัดกับพรรคเพื่อแผ่นดิน ลงในพื้นที่เขต 5 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตดอนเมือง, เขตสายไหม และเขตบางเขน แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
กระทั่งวันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 วิชัยได้เปิดตัวเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขต 7 จังหวัดขอนแก่น ในสังกัด พรรคสร้างอนาคตไทย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[5]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[6]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์. กีฬา. เนชั่นสุดสัปดาห์. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1024. วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554. ISSN 15135705. หน้า 88
- ↑ 50 คำตอบมวยดัง. น็อกเอาต์ฉบับมวยสยาม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1980. วันที่ 28 ก.ย.-4 ต.ค. 2554. ISSN 15135438. หน้า 24
- ↑ "Vichai Khadpo". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-01. สืบค้นเมื่อ 2018-05-30.
- ↑ พรรคสร้างอนาคตไทยลุยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.ขอนแก่น
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๔, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๕๘, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๖ กันยายน ๒๕๓๙
- ชีวิตที่สับสนจนเป็นผู้ร่วมสร้างประวัติศาสตร์ของวิชัย (ขัดโพธิ์) ราชานนท์. ใน 44 ปีที่รอคอย เหรียญทองประวัติศาสตร์โอลิมปิก 1996 แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา. คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย. 2539. หน้า 68–72