30 มกราคม
วันที่สร้างสรรค์
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
วันที่ 30 มกราคม เป็นวันที่ 30 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 335 วันในปีนั้น (336 วันในปีอธิกสุรทิน)
เหตุการณ์
แก้- พ.ศ. 1830 (ค.ศ. 1287) – พระเจ้าฟ้ารั่ว หรือมะกะโท ก่อตั้งอาณาจักรหงสาวดี และประกาศอิสรภาพจากอาณาจักรพุกาม[1]
- พ.ศ. 2191 (ค.ศ. 1648) – สงครามแปดสิบปี: มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพมึนสเตอร์เพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน[2]
- พ.ศ. 2192 (ค.ศ. 1649) – พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ถูกสำเร็จโทษโดยการตัดพระเศียรที่ไวท์ฮอลล์ กรุงลอนดอน[3]
- พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) – โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ เจ้าผู้อารักขาแห่งเครือจักรภพอังกฤษ ถูกประหารชีวิตย้อนหลังมากกว่า 2 ปีหลังจากการอสัญกรรมของเขา ในวันครบรอบ 12 ปีของการสำเร็จโทษพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ถูกเขาเองปลดจากราชบัลลังก์[4]
- พ.ศ. 2246 (ค.ศ. 1703) – สี่สิบเจ็ดโรนินภายใต้คำสั่งของโออิชิ โยชิโอะ ล้างแค้นให้กับการเสียชีวิตให้เจ้านายของเขาด้วยการสังหารคิระ โยชินากะ[5]
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – กองกำลังเต็ยเซิน ได้รับชัยชนะเหนือกองทัพราชวงศ์ชิงและปลดปล่อยเมืองหลวงคือทังล็อง (หรือฮานอยในปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) – เอ็ดเวิร์ด แบรนส์ฟิลด์ แห่งราชนาวีอังกฤษ ขึ้นฝั่งที่ทวีปแอนตาร์กติกา
- พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) – ในความพยายามลอบสังหารประธานาธิบดีแห่งสหรัฐครั้งแรก ริชาร์ด ลอว์เรนซ์ พยายามยิงประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็กสัน แต่ล้มเหลวและถูกควบคุมตัวโดยฝูงชนรวมถึงสมาชิกรัฐสภาหลายคนและประธานาธิบดีแจ็กสันเอง
- พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) - พันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่น ลงนามใน ลอนดอน
- พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) – บริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น มาสด้า ก่อตั้งขึ้นโดยเริ่มแรกเป็นบริษัทผู้ผลิต จุกไม้ก๊อก[6]
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - โปลิตบูโร ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ในยุคของ โจเซฟ สตาลิน ออกคำสั่งให้ขับไล่ครอบครัวชาวนานับล้านออกจากฟาร์มของพวกเขา
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) - การเถลิงอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์: ฮิตเลอร์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – มหาตมะ คานธี ถูกสังหารด้วยปืน
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) - การแสดงสดครั้งสุดท้ายต่อหน้าสาธารณชนของ เดอะบีทเทิลส์ บนดาดฟ้าของ แอปเปิลเรคคอร์ดส ในลอนดอน
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) -
- ปากีสถาน ออกจาก เครือจักรภพ เพื่อประท้วงการแยกประเทศของบังคลาเทศ
- เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อทหารพลร่มของสหราชอาณาจักร ยิงผู้ชุมนุมเรียกร้องสิทธิพลเมืองชาวไอริช 13 คน เสียชีวิต ในเหตุการณ์ บลัดดีซันเดย์[7]
วันเกิด
แก้- พ.ศ. 680 (ค.ศ. 137) - มาร์คัส ไดดิอัส เซเอวรัส จูลิอานัส จักรพรรดิโรมัน (ถึงแก่กรรม 1 มิถุนายน พ.ศ. 736)
- พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1882) - แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 32 (ถึงแก่กรรม 12 เมษายน พ.ศ. 2488)
- พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) - พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย (สวรรคต 28 สิงหาคม พ.ศ. 2489)
- พ.ศ. 2466 (ค.ศ.1923) แผน วรรณเมธี นักการทูตชาวไทย
- พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) - จีน แฮกแมน นักแสดงชายและนักเขียนนวนิยายชายชาวอเมริกา
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) - ดิก ชีนีย์ รองประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 46
- พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) - ฟิล คอลลินส์ นักร้องชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) - สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) - สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปน
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974)
- คริสเตียน เบล นักแสดงชายชาวอังกฤษ
- โอลิเวีย โคลแมน นักแสดงชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) - เจียงซูผิง นักแสดงและพิธีกรหญิงชาวไต้หวัน
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) - วิลเมอร์ วาลเดอร์รามา นักแสดงชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981)
- ดีมีตาร์ เบร์บาตอฟ นักฟุตบอลชาวบัลแกเรีย
- ปีเตอร์ เคราช์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) - หวัง ลั่วตัน นักร้องและนักแสดงชาวจีน
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) - ลูกัส บิเกลีย นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - อาร์ดา ทูรัน นักฟุตบอลชาวตุรกี
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) - ตฤณ เรืองกิจรัตนกุล นัดจัดรายการวิทยุชาวไทย (เสียชีวิต 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566)
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) - อี กัน-อู นักร้องและนักแสดงชาวเกาหลีใต้
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) - คอเชิส เคลย์ นักร้อง นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) - มาร์โกส โยเรนเต นักฟุตบอลชาวสเปน
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) - ยูจิ นิชิดะ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - เคอร์ติส โจนส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) - ชเว ฮย็อน-อุค นักแสดงชาวเกาหลีใต้
วันถึงแก่กรรม
แก้- พ.ศ. 2192 (ค.ศ. 1649) - พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (พระราชสมภพ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2143)[3]
- พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1937) - กรมหมื่นไกรสรวิชิต พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 (ประสูติ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2341)
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) - มหาตมะ คานธี นักการเมืองชาวอินเดีย (เกิด 2 ตุลาคม พ.ศ. 2412)
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) - ฟร็องซิส ปูแล็งก์ คีตกวีชาวฝรั่งเศส (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2441)
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) - ศรคีรี ศรีประจวบ นักร้องชาวไทย (เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2487)
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) - ลมุล ยมะคุปต์ ครูนาฏศิลป์คนแรกในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย (เกิด 2 มิถุนายน พ.ศ. 2448)
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) - ปีแยร์ บูล วิศวกรและนักเขียนชาวฝรั่งเศส (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455)
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)
- พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) พระชาวไทย (เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2456)
- จอห์น แบร์รี นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ (เกิด 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476)
วันสำคัญและวันหยุดเทศกาล
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay. p. 24.
- ↑ Bardo Fassbender; Anne Peters; Simone Peter; Daniel Högger (November 2012). The Oxford Handbook of the History of International Law. OUP Oxford. p. 80. ISBN 978-0-19-959975-2.
- ↑ 3.0 3.1 "BBC - History - King Charles I". www.bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 18 January 2022.
- ↑ Laura Lunger Knoppers (22 June 2000). Constructing Cromwell: Ceremony, Portrait, and Print 1645-1661. Cambridge University Press. p. 182. ISBN 978-0-521-66261-1.
- ↑ Dudley Andrew; Paul Andrew (1981). Kenji Mizoguchi, a guide to references and resources. G.K. Hall. p. 106. ISBN 978-0-8161-8469-9.
- ↑ "MAZDA: 1920-1979 | History". www.mazda.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-17.
- ↑ "Bloody Sunday victims should get 'substantial sum'". BBC News. 24 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.