พระเจ้าฟ้ารั่ว
พระเจ้าวาเรรู หรือ พระเจ้าฟ้ารั่ว (มอญ: ဝါရေဝ်ရောဝ်, พม่า: ဝါရီရူး, ออกเสียง: [wàɹíjú]; 20 มีนาคม ค.ศ. 1253 – ประมาณ 14 มกราคม ค.ศ. 1307) เป็นปฐมกษัตริย์ในเมืองเมาะตะมะ[1] ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า ทรงครองราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1287 ถึง 1307 พระองค์มีพระปรีชาสามารถทั้งด้านการต่างประเทศและการทหาร ทรงปกครองอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่างช่วงการล่มสลายของอาณาจักรพุกามประมาณปี ค.ศ. 1280 กระทั่งพระองค์ถูกปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1307 แต่สายราชสกุลที่สืบเชื้อสายจากพระองค์ก็ปกครองราชอาณาจักรหงสาวดีจนกระทั่งล่มสลายในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16
พระเจ้าฟ้ารั่ว ဝါရေဝ်ရောဝ် ဝါရီရူး | |
---|---|
พระเจ้าเมาะตะมะ | |
ครองราชย์ | 30 มกราคม ค.ศ. 1287 – ประมาณ 14 มกราคม ค.ศ. 1307 |
ราชาภิเษก | 5 เมษายน ค.ศ. 1287 |
ก่อนหน้า | ไม่มี |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้ารามประเดิด |
มุขมนตรี | ลักคี (ค.ศ. 1287–ประมาณ ค.ศ. 1296) |
ผู้ปกครองเมืองเมาะตะมะ | |
ครองราชย์ | ประมาณ 11 มกราคม ค.ศ. 1285 – 30 มกราคม ค.ศ. 1287 |
ก่อนหน้า | อลิมามาง (ฐานะผู้ว่าราชการแทน) |
ถัดไป | ยกเลิก |
ประสูติ | 20 มีนาคม ค.ศ. 1253 บ้านเกาะวาน อาณาจักรพุกาม |
สวรรคต | ประมาณ 14 มกราคม ค.ศ. 1307 (53 พรรษา) เมาะตะมะ อาณาจักรหงสาวดี |
คู่อภิเษก | แม่นางเทพสุดาสร้อยดาว ชินสอลา |
พระราชบุตร | เมนินเธียนดยา |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หงสาวดี (ราชวงศ์ฟ้ารั่ว) |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระเจ้าฟ้ารั่วประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1253 โดยมีพระนามเดิมว่า มะกะโท (แมะกะตู) ต่อมาใน ค.ศ. 1272 ขณะพระชนมายุได้ 19 พรรษาก็ติดตามบิดาไปค้าขายที่อาณาจักรสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนบานเมือง กษัตริย์รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์พระร่วง พระองค์ได้เข้ารับราชการในราชสำนักสุโขทัยโดยเริ่มจากตำแหน่งควาญช้างกระทั่งทำความดีความชอบเรื่อยมาจนได้รับปูนบำเหน็จเป็นขุนวังในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์พระร่วง[2] และมีใจผูกพันรักใคร่กับเจ้านางสร้อยดาว พระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและได้พาเจ้านางสร้อยดาวหนีไป[2][3]
ใน ค.ศ. 1285 เมื่อพระองค์ออกจากสุโขทัยกลับมายังเมาะตะมะ ได้มีเรื่องกระทบกระทั่งกับอลิมามาง เจ้าเมืองเมาะตะมะที่ราชสำนักพุกามส่งมาปกครอง ในที่สุดพระองค์สามารถสังหารอลิมามางสำเร็จ[4][5] พร้อมกับสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์ และประกาศอิสรภาพจากอาณาจักรพุกามเมื่อ ค.ศ. 1287 เมื่อสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์เมืองเมาะตะมะแล้ว พระองค์ได้ส่งพระราชสาส์นมาขอขมาพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้พระราชทานอภัยโทษ และได้พระราชทานพระนามกษัตริย์มะกะโท ตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว แต่ชาวมอญเรียกว่า พระเจ้าวาโรตะละไตเจิญภะตาน[6] หรือ สมิงวาโร[7] พระองค์ใช้เวลาเกือบสิบปีจัดการศัตรูทางการเมืองจนหมดสิ้น กระทั่งสามารถรวบรวมแผ่นดินมอญให้เป็นปึกแผ่นได้สำเร็จใน ค.ศ. 1296 พระองค์ยังได้รับการยอมรับจากราชวงศ์หยวนของจีนในปี ค.ศ. 1298[8]
พระเจ้าฟ้ารั่วเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1307 เนื่องจากถูกปลงพระชนม์โดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าตะยาพยาแห่งกรุงหงสาวดี อดีตพันธมิตรของพระเจ้าฟ้ารั่ว เพื่อแก้แค้นให้กับพระบิดาที่ถูกพระเจ้าฟ้ารั่วจับสำเร็จโทษ[9][10] และเนื่องจากพระเจ้าฟ้ารั่วสวรรคตโดยไร้รัชทายาททำให้มะกะตาพระอนุชาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นพระเจ้ารามประเดิด[10]
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- เจ้าพระยาพระคลัง (หน). วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ หมวดบันเทิงคดี เรื่อง ราชาธิราช. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2546. 500 หน้า. หน้า 17-47.
- ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 21-24.
- Gerry Abbott, Khin Thant Han, บ.ก. (2000). The Folk-Tales of Burma: An Introduction (Illustrated ed.). Leiden; Boston; Cologne: Brill. p. 392. ISBN 90-04-11812-8.
- Aung-Thwin, Michael A.; Maitrii Aung-Thwin (2012). A History of Myanmar Since Ancient Times (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-1-86189-901-9.
- Aung-Thwin, Michael A. (2017). Myanmar in the Fifteenth Century. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-6783-6.
- Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- Hall, D.G.E. (1960). Burma (3rd ed.). Hutchinson University Library. ISBN 978-1-4067-3503-1.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Huxley, Andrew (1990). Tadeusz Skorupski (บ.ก.). "How Buddhist Is Theravada Buddhist Law?". The Buddhist Forum. Psychology Press. 1: 121. ISBN 9780728601628.
- Huxley, Andrew (2005). Paul Williams (บ.ก.). "Buddhism and Law: The View from Mandalay". Buddhism: Buddhism in South and Southeast Asia. Taylor & Francis. ISBN 9780415332330.
- Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
- Lingat, R. (1950). "Evolution of the Conception of Law in Burma and Siam" (PDF). Journal of the Siam Society. Siam Society Heritage Trust. 38 (1): 13–24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.
- Myanma Swezon Kyan (ภาษาพม่า). Vol. 12. Yangon: Sarpay Beikman. 1972. pp. 333–334.
- Mon Yazawin (Shwe Naw) (ภาษาพม่า). แปลโดย Shwe Naw (1922 ed.). Yangon: Burma Publishing Workers Association Press. 1785.
- Nyein Maung, บ.ก. (1972–1998). Shay-haung Myanma Kyauksa-mya [Ancient Burmese Stone Inscriptions] (ภาษาพม่า). Vol. 1–5. Yangon: Archaeological Department.
- Phayre, Major-General Sir Arthur P. (1873). "The History of Pegu". Journal of the Asiatic Society of Bengal. Calcutta. 42: 23–57, 120–159.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
- Schmidt, P.W. (1906). "Slapat des Ragawan der Königsgeschichte". Die äthiopischen Handschriften der K.K. Hofbibliothek zu Wien (ภาษาเยอรมัน). Vienna: Alfred Hölder. 151.
- South, Ashley (2003). Mon Nationalism and Civil War in Burma: The Golden Sheldrake. Routledge. ISBN 9780700716098.
- Than Tun (December 1959). "History of Burma: A.D. 1300–1400". Journal of Burma Research Society. XLII (II).
- Than Tun (1964). Studies in Burmese History (ภาษาพม่า). Vol. 1. Yangon: Maha Dagon.