ยูจิ นิชิดะ
ยูจิ นิชิดะ (ญี่ปุ่น: 西田 有志; โรมาจิ: Nishida Yūji, เกิด 30 มกราคม ค.ศ. 2000) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่น เล่นวอลเลย์บอลอาชีพในลีกประเทศอิตาลี ให้แก่สโมสรเจทีอีเคทีสติงส์ ในวี.ลีก ประเทศญี่ปุ่น
ยูจิ นิชิดะ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||
ชื่อเต็ม | ยูจิ นิชิดะ | ||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ![]() | ||||||||||||||||||||
เกิด | มิเอะ, ประเทศญี่ปุ่น | มกราคม 30, 2000||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 186 cm (6 ft 1 in) | ||||||||||||||||||||
น้ำหนัก | 87 กก. (191 lb) | ||||||||||||||||||||
กระโดดตบ | 350 ซม. | ||||||||||||||||||||
บล็อก | 335 ซม. | ||||||||||||||||||||
ข้อมูล | |||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | ตัวตบตรงข้าม (Opposite spiker) | ||||||||||||||||||||
สโมสรปัจจุบัน | ![]() | ||||||||||||||||||||
หมายเลข | 1 (ทีมชาติ) 11 (สโมสร) | ||||||||||||||||||||
ทีมชาติ | |||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
เหรียญรางวัล
|
ยูจิได้ทำการลงเล่นครั้งแรกกับสโมสรเจทีอีเคทีสติงส์ ในลีกสูงสุดของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2018 ในนัดที่พบกับ โอซากะเบลเซอส์ซาไก โดยในอายุเพียง 17 ปี เขาได้สร้างความประทับใจเป็นอย่างมากจนได้รับตำแหน่งเป็นผู้เล่นตัวจริง 6 คนแรกของสโมสร[1] และทีมชาติญี่ปุ่นชุดใหญ่ นอกจากนี้เขายังนำทีมจบอันดับที่ 7 ในรอบ 29 ปีของการแข่งขันวอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
นอกจากนี้ยูจิยังเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดของรายชื่อผู้เล่นทีมชาติญี่ปุ่นปี 2018 และรายการวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2018[2] โดยเขาได้ลงเล่นนัดแรกในนามทีมชาติชุดใหญ่ในรายการวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2018 หลังจากนั้น ในเดือนมิถุนายน 2019 ยูจิทำลายสถิติการเสิร์ฟเอซของรายการเนชันส์ลีกด้วยสถิติ 7 เอซ ภายในแมตช์เดียว[3]
ยูจิได้ย้ายไปเล่นในต่างประเทศครั้งแรกให้กับสโมสร ตนโนกัลลีโปวีโบวาเลนเตีย ซึ่งเป็นสโมสรของลีกประเทศอิตาลีในฤดูกาล 2021–22[4][5][6] ซึ่งเขาได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าทั้งหมด 3 แมตช์ ถึงแม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บและใช้เวลาการพักฟื้นนานถึง 2 เดือน นอกจากนี้ยังได้ช่วยทีมจนทำให้เป็นผู้ทำคะแนนสูงในหลายแมตช์ โดยคะแนนที่ทำได้สูงสุดในหนึ่งแมตช์คือ 29 คะแนน และยังเป็นผู้เล่นที่เสิร์ฟเอซมากที่สุดในลีกรอบแรกด้วยจำนวน 8 เอซภายในแมตช์เดียว[7][8]
สโมสร
แก้- โรงเรียนมัธยมปลายไคเซย์
- เจทีอีเคทีสติงส์ (2018–2021)
- ตนโนกัลลีโปวีโบวาเลนเตีย (2021–2022)
- เจทีอีเคทีสติงส์ (2022–2023)
- โอซากะบูลทีออน (2023- )
อาชีพ
แก้ประถมศึกษา
แก้ยูจิ นิชิดะเริ่มเล่นวอลเลย์บอลตามพี่ชายและพี่สาวตั้งแต่วัยประถมฯ โดยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ยูจิชนะในรายการ "All Japan Volleyball Tournament" ครั้งที่ 29 ในจังหวัดมิเอะ และในปีสุดท้ายของวัยประถมฯ เขาได้เป็นกัปตันทีมและนำทีมชนะการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสมาคมวอลเลย์บอลประจำจังหวัดมิเอะ และได้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น
มัธยมศึกษาตอนต้น
แก้ยูจิได้รับโอกาสให้เข้าร่วมในการฝึกซ้อมของชมรมวอลเลย์บอลโรงเรียนไคเซย์ในจังหวัดมิเอะ โดยเขาได้เป็นนักกีฬาหลักของทีมตั้งแต่ปีแรก ทักษะการเล่นของยูจิเข้าตาของหัวหน้าและผู้จัดการทีมในขณะนั้น หัวหน้าทีมเลยแนะนำให้ยูจิไดเข้าร่วมทีมวอลเลย์บอลของโรงเรียนมัธยมต้น ชื่อทีมว่า 'NFO Ocean Star' ในปีเดียวกัน
ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2013 ยูจิได้รับเลือกเป็นหนึ่งในทีมวอลเลย์บอลอายุไม่เกิน 14 ปีของโฮคุเซย์ ซึ่งเป็นอำเภอในจังหวัดมิเอะ และในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันเขาได้รับเลือกเป็นตัวแทนจังหวัดมิเอะเข้าแข่งขันทั่วประเทศในรายการวอลเลย์บอลถ้วยโอลิมปิกเยาวชน ที่จัดขึ้นในเดือนธันวาคม
มัธยมศึกษาตอนปลาย
แก้ยูจิเลือกที่จะลงเล่นให้กับทีมของโรงเรียนไคเซย์ ซึ่งไม่เคยแข่งขันในระดับชาติ โดยทีมโรงเรียนไคเซย์ก็สามารถทำผลงานได้ดีในการแข่งขัน แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาจบการแข่งขันในฐานะรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทั้งการแข่งขันทีมวอลเลย์บอลของโรงเรียนมัธยมปลายหน้าใหม่ในจังหวัดมิเอะ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2016 ทั้งการแข่งขันในฤดูใบไม้ผลิในเดือนเมษายน และการแข่งขันระหว่างโรงเรียนมัธยมปลายในรอบคัดเลือก ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม
ต่อมายูจิตัดสินใจเข้าร่วมทีมวอลเลย์บอลอายุไม่เกิน 19 ปีที่เพิ่งถูกก่อตั้งขึ้นใหม่ในท้องถิ่น และมีการฝึกซ้อมประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทนริ โดยในเดือนมิถุนายน ยูจิชนะการแข่งขันสำหรับรายการวอลเลย์บอล แชมเปียนชิพรุ่นเยาวชนของจังหวัดมิเอะ และชนะในระดับชาติในเดือนกันยายน โดยเขาได้รับรางวัล "Japan Young Club Volleyball Federation Award" ในฐานะผู้เล่นที่โดดเด่นในรายการ
ทีมวอลเลย์บอลโรงเรียนไคเซย์ได้เข้าร่วมการแข่งขันระหว่างโรงเรียนมัธยมปลายในจังหวัดยามากาตะ และจบการแข่งขันในลำดับที่ 16
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ยูจิมีชื่อในทีมชาติญี่ปุ่นชุดอายุไม่เกิน 19 ปี เพื่อไปแข่งขันในรายการ วอลเลย์บอลยุวชนชายชิงแชมป์เอเชีย 2017 โดยยูจิมักจะได้เป็นผู้เล่นสำรองเป็นหลัก แต่สุดท้ายแล้ว ทีมชาติญี่ปุ่นก็ชนะการแข่งขันในรายการนี้[9]
การเล่นอาชีพและทีมชาติญี่ปุ่น
แก้ซีซัน 2018/19
แก้เดือนสิงหาคม ยูจิได้รับประสบการณ์การแข่งขันในระดับนานาชาติ และในตุลาคมปีเดียวกัน เขาได้รับข้อเสนอจากสโมสรเจทีอีเคทีสติงส์ ในวีลีก หลังจากนั้น ในปีถัดมา ในรายการ "Asian Youth Championships" ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคม ทีมของยูจิได้รับรางวัลชนะเลิศเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของทีม
ยูจิได้ทำการแข่งขันในวีลีกครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2018 ในแมตช์ที่พบกับโอซากะเบลเซอส์ซาไก[10] โดยที่เขาได้ลงสนามครั้งแรกระหว่างการแข่งขันในเซตแรก ในเกมถัดมาเขาเป็นผู้เล่นที่ทำแต้มสูงสุดของทีม ในนัดที่เจอกับเจที ธันเดอส์ เมื่อจบซีซัน เจทีอีเคทีสติงส์จบการแข่งขันในอันดับที่ 6 และยูจิได้รับรางวัล "Wakawashi Award" ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับผู้เล่นหน้าใหม่ประจำปี[11]
ปี 2018 หลังจากพิธีสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย ในเดือนเมษายน ยูจิมีชื่อรายชื่อเป็นผู้เล่นของวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่นชุดใหญ่ เขาลงสนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2018 ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2018 ที่ประเทศฝรั่งเศส ยูจิมีชื่อเป็นผู้เล่น 6 คนแรกในเกมที่ทีมชาติญี่ปุ่นพบกับทีมชาติออสเตรเลีย ในหลายนัดถัดมา ทีมชาติญี่ปุ่นมีตารางพบกับทีมชาติอิตาลี ยูจินำทีมชนะอิตาลีได้ใน 5 เซต ซึ่งเป็นการชนะแบบครบเซตต่อทีมชาติยักษ์ใหญ่ (ที่ชนะการแข่งขันวอลเลย์บอลโลกติดต่อกัน 3 ปี) ครั้งแรกในรอบ 11 ปีของทีมชาติญี่ปุ่น และยูจิเป็นผู้เล่นที่ทำแต้มสูงสุดในเกม โดยทำคะแนนไปทั้งหมด 24 แต้ม เมื่อจบทัวร์นาเมนต์ ทีมชาติญี่ปุ่นจบในอันดับที่ 12
ในเดือนกันยายน 2018 ทีมชาติญี่ปุ่นเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก 2018 ที่ประเทศอิตาลีและบัลแกเรียร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยจบในอันดับที่ 17 ส่วนการแข่งขันวีลีกในซีซันนี้ สโมสรเจทีอีเคทีสติงส์จบอันดับที่ 7 ยูจิทำแต้มทั้งหมด 570 แต้ม อยู่ในอันดับที่ 3 ของผู้ทำแต้มสูงสุดตลอดทั้งซีซัน นอกจากนี้ยูจิและอิตเซย์ โอตะเกะ ชนะรางวัลผู้เล่นหน้าใหม่แห่งปี ซึ่งมอบให้แก่ผู้เล่นที่มีพลังในการเล่นอย่างล้นหลาม และลงเล่นในวีลีกอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 3 ปี
ซีซัน 2019/20
แก้ในปี 2019 ยูจิได้รับโอกาสรับใช้ทีมชาติอีกครั้ง หลักจากการเข้าค่ายฝึกซ้อม ทีมชาติญี่ปุ่นมีตารางเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2019 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการแข่งขันครั้งนี้ยูจิลงเล่นครบเซต 12 เกมจากทั้งหมด 15 เกม ทีมชาติญี่ปุ่นจบในอันดับที่ 10 ด้วยสถิติการแพ้ 8 เกม และชนะ 7 เกมและไม่สามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้ ต่อมาในเดือนกันยายน รายการวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย 2019 ทีมชาติญี่ปุ่นแพ้ให้กับทีมชาติออสเตรเลียในรอบรองชนะเลิศ และชนะทีมชาติเกาหลีใต้ ในรอบรองชนะเลิศอันดับ 2 ทำให้ทีมชาติญี่ปุ่นจบในอันดับที่ 3 ของการแข่งขัน
ถัดมาในเดือนตุลาคม ในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายเวิลด์คัพ 2019 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ นัดแรกทีมชาติญี่ปุ่นเจอกับทีมชาติอิตาลี โดยญี่ปุ่นเอาชนะไป 3-0 เซต จบรอบแรกด้วยสถิติชนะ 3 และ แพ้ 2 เกม หลังจากนั้นทีมชาติญี่ปุ่นทำสถิติการชนะติดต่อกัน 5 นัดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันเวิลด์คัพ โดยในนัดสุดท้าย ทีมชาติญี่ปุ่นต้องพบกับทีมชาติแคนาดา ซึ่งช่วงท้ายของการแข่งขันเซตที่ 5 ยูจิทำการเสิร์ฟโดยที่ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามไม่สามารถเปิดบอลแรกได้ (เสิร์ฟเอซ) ทำแต้มกับทีมได้ทั้งหมด 5 แต้ม[12][13] จนทำให้ทีมชาติญี่ปุ่นเอาชนะทีมชาติแคนาดาทันที สุดท้ายทีมชาติญี่ปุ่นอยู่ที่อันดับ 4 เมื่อจบการแข่งขัน ซึ่งเป็นการจบในอันดับนี้[14] ในรอบ 28 ปีของทีมชาติญี่ปุ่น โดยยูจิอยู่ในอันดับที่ 3 ของผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุด อยู่ที่ 174 คะแนน เป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนจากการเสิร์ฟได้มากที่สุดของการแข่งขัน[15] รวมถึงได้รับรางวัล ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม (Best Opposite Spiker) อีกด้วย[16]
ในการแข่งขันวีลีกซีซันนี้ สโมสรเจทีอีเคทีสติงส์สามารถเอาชนะสโมสรพานาโซนิคแพนเธอร์สได้ในนัดสุดท้าย ส่งผลให้เจทีอีเคทีสติงส์เป็นผู้ชนะเลิศวีลีกในซีซันนี้ ซึ่งเป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยยูจิได้รับรางวัลผู้เล่นทำคะแนนสูงสุด มีอัตราการเสิร์ฟที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม และผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) ประจำซีซัน[17]
เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ทำให้การแข่งขันในนามทีมชาติไม่ถูกจัดขึ้น แต่ก็ได้มีการประกาศรายชื่อผู้เล่นที่ติดทีมชาติญี่ปุ่นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2020 ผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น[18] และมีการจัดการแข่งขันนัดพิเศษภายในทีมกันเองเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันวอลเลย์บอลชายในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกเลื่อนไปจัดในปี 2021 ส่วนการแข่งขันวีลีกยังคงจัดขึ้น แต่ห้ามไม่ให้มีผู้ชมเข้าชมการแข่งขัน
ในเดือนธันวาคม 2020 สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (FIVB) ทำการจัด 100 อันดับ สุดยอดนักวอลเลย์บอลและทีมวอลเลย์บอลของโลก (Roster 100 The World’s Best 2010-2020) มีนักวอลเลย์บอลชายทีมชาติญี่ปุ่นเพียง 2 คนที่ติดอันดับ คือ ยูกิ อิชิกาวะ และ ยูจิ นิชิดะ[19][20][21]
ซีซัน 2020/21
แก้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ยูจิมีรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมชาติชุดใหญ่ประจำปี 2020[22] โดยผู้เล่นชุดนี้จะเข้าร่วมการซ้อมก่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2021 และการฝึกซ้อมต่างๆ ภายในทีม[23] แต่ภายหลัง การฝึกซ้อมก่อนการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ณ สนามกีฬาอาริอาเกะ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21-26 เมษายน ถูกยกเลิกเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[24] จึงทำให้เหลือเพียงการฝึกซ้อมต่างๆ ภายในทีมเท่านั้น
การแข่งขันใน วี.ลีก 1 เจเท็กโตะ สติงส์ จบการแข่งขันในฤดูกาล 2020/21 ในอันดับที่ 4 ของตาราง โดยแข่งไปทั้งหมด 34 นัด ชนะ 23 นัด และแพ้ 11 นัด ซึ่งยูจิทำแต้มสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของลีก และเป็นอันดับ 1 ของนักกีฬาชาวญี่ปุ่นในฤดูกาลนี้ ด้วยแต้มทั้งหมด 899 แต้ม และมีประสิทธิภาพการบล็อกต่อเซตเพิ่มขึ้นจากซีซันก่อนที่ 0.49 เป็น 0.61 ในซีซันนี้[25][26] นอกจากนี้ยังเป็นผู้เล่นที่ทำแต้มสูงสุดจากการเสิร์ฟอีกด้วย
ซีซัน 2021/22
แก้ในวันที่ 5 เมษายน 2021 สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่นประกาศรายชื่อผู้เล่นที่ติดทีมชาติผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคม[27] เพื่อเก็บตัวฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขันที่จะจัดขึ้นในปี 2021 โดยยูจิเป็นผู้เล่นที่ติดทีมชาติติดต่อกัน 3 ซีซัน
วันที่ 1-2 พฤษภาคม สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันโอลิมปิก 2021 โดยในการแข่งขันครั้งนี้ ยูจิได้ลงเล่นเป็นผู้เล่นหลักในทั้งสองวัน[28] ซึ่งทีมชาติญี่ปุ่นเอาชนะทีมชาติจีนไป 3-2 เซต และ 3-1 เซต ตามลำดับ[29][30]
วันที่ 8-9 ในเดือนเดียวกัน มีการจัดการแข่งขันทีมชาติขาวแดง เป็นการแข่งขันกันเองภายในทีมชาติญี่ปุ่น โดยในวันที่ 8 พฤษภาคม ยูจิมีชื่อเป็นผู้เล่นหลักในทีมแดง[31][32] แต่เมื่อต้นการแข่งในเซตแรก ยูจิเกิดอาการพลิกที่ข้อเท้าขวา หลังลงจากการกระโดดบล็อก โดยยูจิไม่สามารถเดินเองได้จึงต้องเปลี่ยนตัวและพาตัวออกจากสนามและหลังจากนั้นจึงถูกส่งไปตรวจอาการที่โรงพยาบาล หัวหน้าผู้ฝึกสอนกล่าวว่า ในเบื้องต้นพบว่าไม่มีการหักของกระดูก แต่มีอาการข้อเท้าขวาแพลงและต้องรอผลตรวจในรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป[33][34][35] ดังนั้น ยูจิจึงไม่สามารถแข่งขันต่อได้ในวันที่ 9
ในวันที่ 20 พฤษภาคม ยูจิมีชื่อเป็นหนึ่งในผู้เล่นของการแข่งขันวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2021 ที่เมืองรีมีนี ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 27 มิถุนายน ถึงแม้ว่าเขายังไม่หายดีจากอาการบาดเจ็บ[36][37] หลังจากนั้นเขาสามารถกลับมาลงสนามได้ในสัปดาห์ที่ 3 ของการแข่งขัน โดยลงเป็นผู้เล่นตัวสำรองในเกมที่พบกับ ทีมชาติโปแลนด์ และกลับมาอย่างเป็นทางการในฐานะผู้เล่นตัวจริงในนัดที่พบกับทีมชาติบัลแกเรีย ซึ่งทีมชาติญี่ปุ่นเอาชนะไป 3-0 เซต นอกจากนั้นยูจิยังเป็นผู้เล่นที่ทำแต้มสูงสุดของเกมอีกด้วย[38]
ในวันที่ 21 มิถุนายน ทางสมาคมวอลเลย์บอลประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศรายชื่อผู้เล่น 12 คน ที่จะทำการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ ซึ่งยูจิมีรายชื่อเป็นหนึ่งในผู้เล่นตำแหน่งตัวบุกแดนหลัง (บีหลัง)[39] โดยเขาได้ลงเล่นในฐานะผู้เล่นตัวจริง 6 คนแรกในทุกเกมของโอลิมปิก ยูจิเป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนสูงสุด โดยทำไป 23 คะแนนในเกมที่ญี่ปุ่นเอาชนะแคนาดาไป 3–1 เซต[40] และทำไป 30 คะแนนในเกมที่พบกับอิหร่าน ซึ่งเป็นนัดสุดท้ายที่ตัดสินว่าทีมไหนจะได้เข้ารอบ 8 ทีมสุดท้าย โดยเกมนี้ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะไป 3–2 เซต ส่งผลให้ทีมญี่ปุ่นเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายในรอบ 29 ปี[41][42] นอกจานั้นเขายังเป็นผู้เล่นจากทีมชาติคนแรกที่สามารถทำได้ 30 คะแนนในโอลิมปิก 2020 และเป็นผู้เล่นที่ 10 (คนแรกจากญี่ปุ่น) ที่ทำได้ตั้งแต่มีการนับคะแนนในระบบแรลลี่[43][44][45]
ในวันที่ 9 สิงหาคม ยูจิได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะย้ายไปเล่นในลีกอิตาลี ให้แก่ทีม ตนโนกัลลีโปวีโบวาเลนเตีย ในซีซัน 2021–22[46][47]
เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน สโมสรของยูจิมีตารางพบกับสโมสร พาวเวอร์ วอลเลย์ มิลาโน ซึ่งเป็นสโมสรเพื่อนร่วมทีมชาติญี่ปุ่นอย่าง ยูกิ อิชิกาวะ โดยเป็นครั้งแรกที่นักกีฬาจากประเทศญี่ปุ่นได้ทำการแข่งขันกันในลีกประเทศอิตาลี[48] ถัดมาเมื่อวันที่ 14 เดือนเดียวกัน ในนัดที่พบกับ คอนซาร์ อาร์ซีเอ็ม ราเวนนา ยูจิได้นำทีมวอลเลย์ คาลลิปโปชนะไปด้วยคะแนน 3–0 เซต ซึ่งทำให้เขาเป็นผู้ทำคะแนนสูงสุดและได้รางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยม (MVP) ประจำการแข่งขันนัดนั้น[49]
วันที่ 22 พฤศจิกายน ในการแข่งขันที่พบกับสโมสร วอลเลย์ ลูเบ ยูจิได้รับบาดเจ็บที่น่องขาข้างซ้ายในเซตที่ 2 ทำให้เขาต้องออกจากการแข่งขันไป[50][51][52] ส่งผลให้เขาไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันเกมในถัดไป กับสโมสรบลูวอลเลย์ วีโรนา ได้[53][54]
ยูจิใช้เวลาในการพักฟื้นอาการบาดเจ็บประมาณ 2 เดือน ทำให้เขาไม่ได้ลงเล่นในหลายเกม หลังจากนั้นเขาได้กลับมาที่สนามในกลางเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2022 ในการแข่งขันพบกับสโมสรมิลาโนครั้งที่ 2 ซึ่งทีมของเขาแพ้ไป 0–3 เซต โดยที่ยูจิไม่ได้ลงเล่น โดยเกมแรกของเขาหลังจากการพักฟื้นที่ยาวนานนั้น คือเกมที่พบกับสโมสร วอลเลย์ เปียเซนซา แต่ทีมของเขาแพ้ไป 0–3 เซตเช่นกัน ถัดมาในวันที่ 30 มกราคม ยูจิทำคะแนนไป 28 แต้ม ซึ่งประกอบไปด้วยการเสิร์ฟ 2 เอซ และทำให้ทีมของเขาชนะสโมสรคอนซาร์ อาร์ซีเอ็ม ราเวนนา ในการเล่น 4 เซต เป็นการฉลองครบรอบวันคล้ายวันเกิดอายุ 22 ปีของเขาด้วยรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน ต่อมาในเกมที่พบกับวีโรนา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ยูจิได้รางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมเป็นครั้งที่ 3 เมื่อสามารถนำทีมเอาชนะคู่แข่งด้วยการทำคะแนนไปทั้งหมด 29 คะแนน ประกอบไปด้วยการเสิร์ฟเอซถึง 8 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนเอซใน 1 เกมที่สูงที่สุด ของลีกวอลเลย์บอลในรอบแรก[55]
ในเดือนมีนาคม มีการรายงานว่าหลังจากจบฤดูกาล 2021–22 แล้ว ยูจิจะกลับไปเล่นในลีกบ้านเกิดของตัวเอง[56]
ซีซัน 2022/23
แก้ในวันที่ 4 เมษายน 2022 สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Volleyball Association; JVA) ได้ประกาศรายชื่อผู้เล่นทีมชาติประจำปี ค.ศ. 2022 ที่จะเข้าทำการแข่งขันในรายการ เนชันส์ลีก, เอเชียนเกมส์ และรายการชิงแชมป์โลก ซึ่งจะจัดขึ้นในปีนี้ โดยเป็นหนึ่งในผู้เล่นจำนวน 35 คนที่มีชื่อติดทีมชาติ หลังจากที่ยูจิไม่ได้เขาร่วมทีมชาติในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย 2021 เมื่อปีก่อน เนื่องจากต้องเตรียมตัวไปลีกประเทศอิตาลี และอาการบาดเจ็บเรื้อรังตั้งแต่เนชันส์ลีกปี 2021 นอกจากนี้เขายังได้เปลี่ยนหมายเลขประจำเสื้อทีมชาติจากหมายเลข 11 เป็นหมายเลข 1 อีกด้วย[57]
ถัดมาวันที่ 1 มิถุนายน สโมสรเจเท็กโตะ สติงส์ ต้นสังกัดเดิมของยูจิก่อนไปประเทศอิตาลี ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ายูจิจะเข้าร่วมกับทีมในซีซัน 2022–23 นี้[58][59]
รางวัล
แก้ส่วนบุคคล
แก้- วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2018 - 1 ใน 4 ผู้เล่นทำคะแนนสูงสุดในรอบคัดเลือก[60]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2018-19 - ผู้เล่นหน้าใหม่ประจำปี [61]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2018-19 - ผู้เล่นเสิร์ฟยอดเยี่ยม [62]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2018-19 - ผู้เล่นทำคะแนนสูงสุดอันดับที่ 3[63]
- วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2019 - 1 ใน 2 ผู้เล่นทำคะแนนสูงสุดในรอบคัดเลือก [64]
- วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2019 - 1 ใน 2 ผู้เล่นทำคะแนนจากการเสิร์ฟสูงสุดในรอบคัดเลือก [65]
- วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย 2019 - ผู้เล่นเสิร์ฟยอดเยี่ยม
- วอลเลย์บอลชายเวิลด์คัพ 2019 - ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม[66]
- วอลเลย์บอลชายเวิลด์คัพ 2019 - ผู้เล่นเสิร์ฟยอดเยี่ยม[67]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2019-20 - รางวัลชนะเลิศ, กับสโมสร JTEKT Stings[68]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2019-20 - ผู้เล่นทรงคุณค่า[69]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2019-20 - ผู้เล่นทำคะแนนสูงสุด[70]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2019-20 - ผู้เล่นเสิร์ฟยอดเยี่ยม[71]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2019-20 - ตัวตบตรงข้ามยอดเยี่ยม
- วี.ลีก ฤดูกาล 2020-21 - ผู้เล่นญี่ปุ่นที่ทำคะแนนสูงสุด [72]
- วี.ลีก ฤดูกาล 2020-21 - ผู้เล่นเสิร์ฟยอดเยี่ยม[73]
ทีมชาติชุดเยาวชน
แก้- 2017: เหรียญทอง ในรายการวอลเลย์บอลยุวชนชายชิงแชมป์เอเชีย 2017 ที่ประเทศเมียนมาร์
ทีมชาติชุดใหญ่
แก้- 2019: เหรียญทองแดง ในรายการวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์เอเชีย 2019 ที่ประเทศอิหร่าน
อ้างอิง
แก้- ↑ "バレー界に現れたスーパーな18歳。西田有志「大学は遠回りというか」". Number Web (ภาษาญี่ปุ่น). Bunshun. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
- ↑ "Senior Men's National Team" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Volleyball Association. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
- ↑ "Silvano Prando: There's No Way to Win When You Make Seven Serve Errors in the Tiebreak". Volleyball Nations League (ภาษาอังกฤษ). FIVB. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
- ↑ "バレーボール西田有志、来季イタリア1部移籍を明言「冒険をしたい」" (ภาษาญี่ปุ่น). news.yahoo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "バレー代表西田有志がイタリア1部VIBOバレンティア移籍を発表「石川祐希選手と日本人対決して勝ちたい」" (ภาษาญี่ปุ่น). news.yahoo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "【バレー】代表エース西田有志がイタリア1部VIBOバレンティア移籍を発表「石川祐希選手と日本人対決して勝ちたい」" (ภาษาญี่ปุ่น). sportsbull.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "Will Nishida's furious comeback save Vibo Valentia?" (ภาษาอังกฤษ). volleyballworld. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "西田有志が今季3度目のMVP!現地解説は「恐るべき才能」と大絶賛、初挑戦での活躍は「非常に稀だ」" (ภาษาญี่ปุ่น). thedigestweb. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "Player Of The Week: Yuji Nishida". FIVB. 30 March 2020. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-26. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2021-04-11.
- ↑ https://www.volleyball.world/en/volleyball/worldcup/2019/men/schedule/10475-japan-canada/post
- ↑ https://volleyball.ca/en/news/canada-and-japan-finish-the-world-cup-with-five-set-thriller[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.volleyball.world/en/volleyball/worldcup/2019/men/resultsandranking/round1
- ↑ https://www.volleyball.world/en/volleyball/worldcup/2019/men/menstatistics
- ↑ https://www.volleyball.world/en/beachvolleyball/worldtour/2019/news/alan-souza-named-mvp-in-2019-men%E2%80%99s?id=89174
- ↑ https://volleybox.net/men-japanese-vleague-division-1-2019-20-o9615/best_players
- ↑ "รายชื่อผู้เล่นทีมชาติปี 2020". สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ https://www.siamsport.co.th/volleyball/other/view/230474
- ↑ https://www.nationthailand.com/sport/30403990
- ↑ https://www.volleyball.world/en/roster100/nishida-leaps-to-stardom?id=91838
- ↑ "รายชื่อผู้เล่นทีมชาติปี 2020". JVA. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "ตารางการแข่งขันในปี 2020". JVA. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "ยกเลิกการซ้อมก่อนโอลิมปิกที่อาริอาเกะ อารีนา". JVA. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "บทสัมภาษณ์ของนิชิดะก่อนเกมกระชับมิตรกับจีน". news24.jp. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
- ↑ "บทสัมภาษณ์นิชิดะเกี่ยวกับซีซัน 2020/21". sportiva.shueisha.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 13 May 2021.
- ↑ "ผู้เล่นทีมชาติปี 2021" (ภาษาญี่ปุ่น). สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "รายชื่อผู้เล่น Tokyo challenge 2021" (ภาษาญี่ปุ่น). สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "ญี่ปุ่นเอาชนะทีมชาติจีน ในนัดกระชับมิตรทั้ง 2 วัน" (ภาษาญี่ปุ่น). JVA. May 3, 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "Tokyo challenge 2021 ญี่ปุ่นพบกับจีน" (ภาษาญี่ปุ่น). JVA. May 2, 2021.
- ↑ "ผู้เล่นในแต่ละทีมของการแข่งขันทีมชาติขาวแดง วันที่ 8 พ.ค." (ภาษาญี่ปุ่น). JVA. May 6, 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "ญี่ปุ่นจัดการแข่งขันทีมชาติขาวแดง" (ภาษาจีน). sina news (China). May 7, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-11.
- ↑ "ยูจิ นิชิดะประสบอุบัติเหตุ ไม่สามารถเดินเองได้และต้องออกจากการสนามแข่งขัน" (ภาษาญี่ปุ่น). sanspo.com. May 8, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-30. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "ยูจิ นิชิดะมีอาการข้อเท้าขวาแพลง" (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo Japan. May 9, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "ยูจิ นิชิดะ ข้อท้าวขวาแพลง เฮดโค้ชกล่าวว่าจะทำทุกอย่างเพื่อให้เขากลับมาโดยเร็วที่สุด" (ภาษาญี่ปุ่น). Nikkansports.com. May 9, 2021. สืบค้นเมื่อ 11 May 2021.
- ↑ "FIVBバレーボールネーションズリーグ2021" (ภาษาญี่ปุ่น). JVA. 20 May 2021. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
- ↑ "2021VNL -Japan men's players". volleyballworld.com (ภาษาอังกฤษ). FIVB. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
- ↑ "Nishida provides Japan with momentum" (ภาษาอังกฤษ). volleyballworld.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
- ↑ "第32回オリンピック競技大会(2020/東京) バレーボール男子日本代表チーム・龍神NIPPON 出場内定選手コメント" (ภาษาญี่ปุ่น). jva.or.jp. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021.
- ↑ "Tokyo 2020 Match Results - Japan vs Canada" (PDF). olympics.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-02. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
- ↑ "「五輪だから体を酷使しても戦い切る」バレー西田有志が見せた覚悟" (ภาษาญี่ปุ่น). new.yahoo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-03. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
- ↑ "バレー男子 日本が29年ぶり決勝T進出 イラン降し3勝2敗" (ภาษาญี่ปุ่น). mainichi.jp. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
- ↑ "Yuji Nishida soars to 30 points as he takes Japan to last eight" (ภาษาอังกฤษ). volleyballworld.com. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
- ↑ "復調した西田有志が30得点の活躍 バレー男子29年ぶり決勝T進出" (ภาษาญี่ปุ่น). nikkansports.com. สืบค้นเมื่อ 3 August 2021.
- ↑ {{cite news |title=中垣内監督も絶賛「10代のプレーと思えない」29年ぶり快挙の立役者は高橋藍【東京五輪・バレーボール】 |url=https://news.yahoo.co.jp/articles/9c3754fa66492382e57f3d0d1eb330c9b313e73b?tokyo2020 เก็บถาวร 2021-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |access-date=3 August 2021 |publisher=news.yahoo.co.jp |language =ja}
- ↑ "バレーボール西田有志、来季イタリア1部移籍を明言「冒険をしたい」" (ภาษาญี่ปุ่น). news.yahoo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-09. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "バレー代表西田有志がイタリア1部VIBOバレンティア移籍を発表「石川祐希選手と日本人対決して勝ちたい」" (ภาษาญี่ปุ่น). news.yahoo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-05. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "Il Giappone è qui: Nishida contro Ishikawa, stasera si fa la storia". gazzetta.it (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta dello Sport. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
- ↑ "La Tonno Callipo ottiene il primo successo interno superando Ravenna per 3-0" (ภาษาอิตาลี). Volley Callipo. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ "Per la Tonno Callipo tanta buona volontà si infrange sul muro della big Civitanova" (ภาษาอิตาลี). volleytonnocallipo. สืบค้นเมื่อ 25 November 2021.
- ↑ "Pallavolo SuperLega – Yuji Nishida ko durante la gara con Civitanova" (ภาษาอิตาลี). ivolleymagazine. สืบค้นเมื่อ 25 November 2021.
- ↑ "Superlega: Nishida Infortunato al popaccio sinistro. Infortunio grave?" (ภาษาอิตาลี). volleyball.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-25. สืบค้นเมื่อ 2022-06-02.
- ↑ "Domani la Tonno Callipo nella 'classica' con Verona in cerca di punti" (ภาษาอิตาลี). volleytonnocallipo. สืบค้นเมื่อ 25 November 2021.
- ↑ "La Tonno Callipo a mani vuote da Verona ma avrebbe meritato di più" (ภาษาอิตาลี). volleytonnocallipo. สืบค้นเมื่อ 25 November 2021.
- ↑ "西田有志と高橋藍の初対戦がついに実現!熾烈な残留争いの決着は最終戦へ" (ภาษาญี่ปุ่น). thedigestweb. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "JPN M: After Vibo's relegation from SuperLega, Nishida returns to Stings for next season" (ภาษาอังกฤษ). worldofvolley. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "【バレー】フィリップ・ブラン監督「課題はブロックとトランジションアタック、ハイボールアタック。石川祐希以外にも石川を支え、チームを引っ張るリーダーが必要」 男子日本代表発表記者会見" (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo! Japan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ 5 April 2022.
- ↑ "【バレー】日本代表エース西田有志と司令塔関田誠大、ティネ・ウルナウトがジェイテクトに入団 V1男子" (ภาษาญี่ปุ่น). news.yahoo.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-02. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
- ↑ "Vリーグ男子1部ジェイテクト、西田有志が2季ぶり復帰 東京五輪後イタリア1部のクラブに移籍" (ภาษาญี่ปุ่น). nikkansports.com. สืบค้นเมื่อ 2 June 2022.
- ↑ "Statistics - preliminary round". Volleyball Nations League. FIVB. สืบค้นเมื่อ 14 October 2018.
- ↑ "一般社団法人日本バレーボールリーグ機構". 一般社団法人日本バレーボールリーグ機構 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-05-28.
- ↑ "一般社団法人日本バレーボールリーグ機構". 一般社団法人日本バレーボールリーグ機構 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-05-28.
- ↑ "一般社団法人日本バレーボールリーグ機構". 一般社団法人日本バレーボールリーグ機構 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2019-05-28.
- ↑ "Statistics - preliminary round". Volleyball Nations League. FIVB. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
- ↑ "Statistics - preliminary round". Volleyball Nations League. FIVB. สืบค้นเมื่อ 14 July 2019.
- ↑ "ALAN SOUZA NAMED MVP IN 2019 MEN'S WORLD CUP". volleyballworld.com. 15 October 2019. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "07/10/2019 MEN'S WORLD CUP PLAYER STATISTICS - TOP FIVES". volleyballworld.com. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "JPN M: In final held without spectators, Stings win first-ever title; Nishida MVP". worldofvolley.com. 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "2019-20 V.LEAGUE DIVISION1 MEN V・ファイナルステージ ファイナル 試合結果のお知らせ". www.vleague.jp. 9 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "【バレー/Vリーグ】V1男子V・レギュラーラウンド最終順位が確定。個人賞はジェイテクト・西田とJT広島・小野寺が二冠獲得!". prtimes.jp. February 16, 2020. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "【バレー/Vリーグ】3連覇を狙うパナソニックパンサーズを撃破!フルセットの末にジェイテクトSTINGSが初優勝を飾る―V1男子最終結果と個人賞対象者―". prtimes.jp. 29 February 2020. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "2020-21 V.LEAGUE DIVISION1 MEN V・ファイナルステージ ファイナル 試合結果のお知らせ". www.vleague.jp. 4 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
- ↑ "2020/21 V.League 1 -serve score". www.vleague.jp. สืบค้นเมื่อ 21 May 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ยูจิ นิชิดะ บน อินสตาแกรม
- ช่องของยูจิ นิชิดะ บน ยูทูบ
- ยูจิ นิชิดะบนเว็บไซต์สโมสร[ลิงก์เสีย] (ภาษาญี่ปุ่น)
- Japan's Nishida Yuji on high trajectory to Tokyo 2020 ที่ olympic.com
- 西田有志に備わった強烈スパイク、サーブだけじゃない武器とは? ที่ number.bunshun.jp
- Tokyo Olympics: Yuji Nishida putting his body on the line for Japan ที่ The Times of India
- 西田有志が振り返る東京五輪ベスト8とブラジル戦の涙、愛着あるジェイテクトを離れイタリアへ「常識にとらわれたくない ที่ number.bunshun.jp
- 西田有志のイタリア挑戦は背番号「2」でスタート。バルドヴィン監督「4選手の獲得は我々の念願だった」 เก็บถาวร 2021-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ Yahoo! Japan
- 男子バレー西田有志がセリエAで新たなスタート。それでも「海外だけが正解じゃない」と話す理由 ที่ sportiva.shueisha
- 日本バレーが28年ぶりの4位と躍進。2つの武器が好調の要因だった ที่ sportiva.shueisha
- Tonno Callipo, altro test utile con Perugia a 8 giorni dall’esordio a Taranto ที่ Volley Callipo
- 「レベルの高さに衝撃を受けている」イタリア初挑戦の西田有志が近況を報告!「新しいことばかり」 เก็บถาวร 2022-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ Yahoo! Japan
- 「Vリーグは時代に逆行している」。西田有志が語る、イタリアに見習うべき日本バレー界の改善点 เก็บถาวร 2022-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ Yahoo! Japan