วิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่าน

หลังจากการปฏิวัติอิหร่านในปี 2522 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกากำหนดวิธีการบังคับต่อประเทศอิหร่านและขยายวิธีการบังคับให้รวมบริษัทห้างร้านที่ทำข้อตกลงกับรัฐบาลอิหร่านด้วยในปี 2538[1] ในปี 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 1696[2] และกำหนดวิธีการบังคับหลังอิหร่านไม่ยอมระงับโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของตน วิธีการบังคับของสหรัฐทีแรกมุ่งเป้าไปการลงทุนด้านน้ำมัน แก๊สและปิโตรเคมี การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น และธุรกิจที่ทำข้อตกลงกับเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ซึ่งรวมธุรกรรมการธนาคารและการประกันภัย (ซึ่งรวมถึงธนาคารกลางอิหร่าน) การขนส่งสินค้าทางเรือ บริการเว็บโฮสต์ติงในเชิงพาณิชย์ และบริการจดทะเบียนชื่อโดเมน[3]

เมื่อเวลาล่วงไป วิธีการบังคับมีผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและประชาชนอิหร่าน นับแต่ปี 2522 สหรัฐเป็นผู้นำความพยายามนานาชาติในการใช้วิธีการบังคับเพื่อให้มีอิทธิพลต่อนโยบายของอิหร่าน[4] ซึ่งรวมโครงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมของอิหร่าน ซึ่งรัฐบาลตะวันตกเกรงว่าเจตนาพัฒนาขีดความสามารถเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์ อิหร่านตอบโต้ว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนเป็นไปเพื่อความมุ่งหมายทางพลเรือน ซึ่งรวมถึงการผลิตไฟฟ้าและวัตถุประสงค์ทางการแพทย์[5]

เมื่อการเจรจานิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและรัฐบาลตะวันตกสะดุดและถูกมองว่าล้มเหลว ยิ่งถูกอ้างเป็นเหตุผลการบังคับใช้วิธีการบังคับทางเศรษฐกิจต่ออิหร่านที่หนักข้อขึ้น[6] วันที่ 2 เมษายน 2558 พี5+1 และอิหร่าน ซึ่งประชุมในโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ บรรลุความตกลงชั่วคราวเรื่องกรอบซึ่งเมื่อเสร็จสมบูรณ์และนำไปปฏิบัติแล้วจะยกเลิกวิธีการบังคับส่วนมากเพื่อแลกกับการจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านซึ่งกินเวลาอย่างน้อยสิบปี[7][8][9][10] ผลทำให้วิธีการบังคับของสหประชาชาติถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559

อ้างอิง แก้

  1. Ariel Zirulnick (24 February 2011). "Sanction Qaddafi? How 5 nations have reacted to sanctions: Iran". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 13 February 2012.
  2. "Security Council demands Iran suspend uranium enrichment by 31 August, or face possible economic, diplomatic sanctions". United Nations. 31 July 2006.
  3. "31 CFR 560.540 – Exportation of certain services and software incident to Internet-based communications". Legal Information Institute, Cornell University Law School. United States Statutes at Large. 10 March 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  4. Younis, Mohamed (7 February 2013). "Iranians Feel Bite of Sanctions, Blame U.S., Not Own Leaders". Gallup World. Gallup. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  5. Michelle Nichols and Louis Charbonneau (5 October 2012). "U.N. chief says sanctions on Iran affecting its people". Reuters. United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-29. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  6. Timothy Alexander Guzman (10 April 2013). "New Economic Sanctions on Iran, Washington's Regime Change Strategy". Global Research. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  7. "Iranian nuclear deal: Mixed reaction greets tentative agreement". 3 April 2015.
  8. Louis Charbonneau and Stephanie Nebehay (2 April 2015). "Iran, world powers reach initial deal on reining in Tehran's nuclear program". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
  9. "Iran nuclear talks: 'Framework' deal agreed". BBC News.
  10. Elise Labott, Mariano Castillo and Catherine E. Shoichet, CNN (2 April 2015). "Iran nuclear deal framework announced – CNN.com". CNN.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)