ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559

ระหว่างวันที่ 15–16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ได้เกิดความพยายามกระทำรัฐประหารในประเทศตุรกี แต่ล้มเหลวในที่สุด กล่าวกันว่าเหตุการณ์นี้มาจากการวางแผนของกลุ่มทหารกลุ่มหนึ่งในกองทัพตุรกี[15][16][17] แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาพยายามก่อรัฐประหารด้วยสาเหตุใด ทหารกลุ่มดังกล่าวได้ออกมายึดอำนาจในช่วงที่ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน อยู่ระหว่างการพักร้อน โดยได้นำกองกำลัง รถถัง และเฮลิคอปเตอร์เข้ายึดสถานที่สำคัญ เช่น สถานีโทรทัศน์ ท่าอากาศยาน สะพานต่าง ๆ ในกรุงอังการาและนครอิสตันบูล ต่อมาแอร์โดอันเรียกร้องให้ประชาชนออกมารวมตัวกันตามท้องถนนเพื่อต่อต้านรัฐประหาร[18]

รัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559 (15 Temmuz Darbe Girişimi)
ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559ตั้งอยู่ในประเทศตุรกี
อังการา
อังการา
อิสตันบูล
อิสตันบูล
มาร์มาริส
มาร์มาริส
มาลัตยา
มาลัตยา
ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559 (ประเทศตุรกี)
วันที่15–16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สถานที่
อังการา, อิสตันบูล, มาร์มาริส[3] และมาลัตยา[4][5]
การปะทะกันอย่างรุนแรงน้อยกว่ารวมทั้งการจับกุมทั่วประเทศ[2]
สถานะ

ล้มเหลว[6]

เหตุการณ์เด่น :

  • อาคารรัฐสภาตุรกีถูกโจมตีด้วยระเบิด[7][8][9]
  • ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงอังการาถูกโจมตีด้วยระเบิด[10]
  • บ้านพักของแอร์โดอันในเมืองมาร์มาริสถูกโจมตี นำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับทหารที่สนับสนุนรัฐประหาร[3]
คู่สงคราม

ตุรกี สภาสันติภาพตุรกี

ตุรกี รัฐบาลตุรกี

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

อาคึน เอิซทืร์ค (ถูกกล่าวหา)
มูฮาร์แรม เคอแซ (ถูกกล่าวหา)

เฟทฮุลลาห์ กือแลน (ถูกกล่าวหา)

เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน (ประธานาธิบดี)
บีนาลี ยึลดือรีม (นายกรัฐมนตรี)
ฮูลูซี อาคาร์ (ประธานเสนาธิการกองทัพ)

อือมิท ดึนดาร์ (แม่ทัพภาคที่ 1/รักษาการประธานเสนาธิการ)
ความสูญเสีย
ทหารที่สนับสนุนรัฐประหารเสียชีวิต 104 นาย และถูกจับกุม 2,839 นาย[11] (นายพล 5 นาย และนายพัน 29 นาย)[12]
เฮลิคอปเตอร์ซิคอร์สกีถูกยิงตก 2 ลำ[1][13]
กองกำลังที่สนับสนุนรัฐบาลเสียชีวิต 114 นาย[11] (เจ้าหน้าที่ตำรวจ 41 นาย และทหาร 2 นาย)[14]
พลเรือนเสียชีวิต 47 คน[11]
ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 265 คน ผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 1,440 คน[11]

แม้ว่าความพยายามดังกล่าวจะไม่บรรลุผล แต่ทรัพย์สินต่าง ๆ ก็ถูกทำลาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่าพันคน และมีผู้เสียชีวิตกว่าสองร้อยคนเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เช่น อาคารรัฐสภาตุรกีและทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงอังการาถูกโจมตีด้วยระเบิด[7][8][9][10] จากรายงานของสำนักข่าวโดอัน ฝ่ายผู้ก่อการได้ระดมยิงใส่กลุ่มพลเรือนที่พยายามจะข้ามสะพานบอสพอรัสเพื่อประท้วงการก่อรัฐประหาร ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายคน[19] นอกจากนี้ยังมีรายงานเสียงปืนใกล้ท่าอากาศยานในกรุงอังการาและนครอิสตันบูลด้วย[19]

ปฏิกิริยาที่มีต่อความพยายามก่อรัฐประหารครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นไปในทางไม่เห็นด้วย ทั้งจากภายในประเทศและจากนานาชาติ พรรคฝ่ายค้านหลัก ๆ ในตุรกีต่างประณามการกระทำดังกล่าว ขณะที่บรรดาผู้นำในระดับนานาชาติ เช่น ผู้นำจากสหภาพยุโรป, องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ, สหรัฐอเมริกา ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในตุรกีเคารพสถาบันทางประชาธิปไตยและผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง[20][21]

รัฐบาลชุดปัจจุบันของตุรกีได้ประกาศว่าการก่อรัฐประหารประสบความล้มเหลวและเริ่มตามจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาแรกของทางการมาจากนายกรัฐมนตรีบีนาลี ยึลดือรึม ซึ่งออกแถลงการณ์ผ่านสื่อในวันถัดมาโดยระบุว่าสถานการณ์ "อยู่ภายใต้การควบคุม [ของรัฐบาล] โดยสมบูรณ์แล้ว" มีทหารจำนวน 2,839 นายถูกควบคุมตัวภายใน 48 ชั่วโมง[22]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "The Latest: Parliament speaker says lawmakers safe". Associated Press. 15 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-10. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Darbeci Generaller Gözaltında". Al Jazeera Turk. 16 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  3. 3.0 3.1 "Marmaris'te Erdoğan'ın oteli vuruldu". Milliyet. 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  4. "Malatya 2. Ordu Karargahına Cenaze Arabası Girdi". Malatya Haber. 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  5. "Malatya'da Askeri Linçten Polis Kurtardı". Sabah. 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  6. "Turkish premier: Country under full government control after coup attempt". Washington Post.
  7. 7.0 7.1 "Ankara parliament building 'bombed from air' – state agency". RT. 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  8. 8.0 8.1 FOX HABER [FOXhaber] (15 กรกฎาคม 2016). "Ankara'da TBMM yine ateş altında.. TMMM'ne yine hava saldırısı oldu. Gelişmeler canlı yayınla FOX Haber'de." (ทวีต).
  9. 9.0 9.1 Ömer Çelik [omerrcelik] (15 กรกฎาคม 2016). "Bugün YÜCE MECLİS'e saldıranlar hainlere ders verme günüdür.." (ทวีต).
  10. 10.0 10.1 "Shootout with mass casualties reported in central Ankara, over 150 injured in Istanbul". rt.com. Russia Today. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Turkey PM: Attempted coup leaves 265 people dead
  12. "Turkish PM Blames Coup Attempt on 'Terrorist Organization:' 161 Killed, 2,839 Detained". 16 July 2016.
  13. "Darbe Girişimi". Diken. 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  14. "LOCAL – Top commander saved but others remain hostage to Gülenist coup plotters: Military".
  15. "Turkish Military Says It Has Seized Control From Ankara Government". สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  16. "1. Ordu Komutanı'ndan açıklama!" [Explanation from the commander of the 1st Army !]. haber7.com (ภาษาตุรกี). 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  17. "Turkish coup bid crumbles as crowds answer call to streets, Erdogan returns". 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016 – โดยทาง Reuters.
  18. CNN, Steve Almasy. "Erdogan asks Turkish people to thwart coup attempt".
  19. 19.0 19.1 Suzan Fraser; Dominique Soguel. "Turkish officials say coup attempt appears to have failed". Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  20. Opposition parties reject the military coup attempt, Hürriyet Daily News (15 July 2016).
  21. Mutlu Civiroglu [@mutludc] (15 July 2016). "HDP Cochairs: "...HDP is under all circumstances and as a matter of principle against all kinds of coup..."" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  22. "Turkey: Mass arrests after coup bid quashed, says PM – BBC News". สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้